หนัก! ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ กรุงเทพพุ่ง 190 อากาศย่ำแย่อันดับ 4 ของโลก
ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ถือว่ายังคงเลวร้ายต่อเนื่อง หลังจากการจัดอันดับดัชนีคุณภาพอากาศ กรุงเทพ อยู่อันดับที่ 4 คู่ AQI พุ่ง 190
เว็บไซต์ IQAir รายงาน การจัดอันดับดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) หรือ ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ของกรุงเทพ ว่าค่า AQI ณ เวลา 8.21 น. ของวันที่ 2 กุมภาพันธ์นั้น คุณภาพอากาศกรุงเทพ มีคุณภาพย่ำแย่ถึง 190 อยู่อันดับที่ 4 มีค่าฝุ่นที่อันตรายและมีผลกระทบกับประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่สุขภาพแข็งแรง หรือ ประชาชนที่มีโรคทางเดินหายใจก็ตาม
สำหรับอันดับอื่นๆนั้น อันดับ 1 เป็นกรุงคูเวตซิตี้ เมืองหลวงของประเทศคูเวต, อันดับ 2 นครลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน และ อันดับ 3 ฉงชิ่ง ประเทศจีน
ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องฝุ่นกรุงเทพว่า เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยวันนี้ (1 ก.พ. 66) ณ เวลา 18.00 น. ค่าฝุ่นสูงขึ้นในระดับสีแดง มากกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จำนวน 14 พื้นที่ เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ส่งผลให้ฝุ่นเกิดการสะสมตัวมากขึ้น และจากการคาดการณ์แนวโน้มฝุ่นจะมีค่าสูงต่อเนื่องในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. 66
ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง PM 2.5 และการหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วจึงดำเนินการตามมาตรการดังนี้...👇
WFH 2 วัน (2-3 กุมภาพันธ์ 2566)
– หน่วยงาน กทม. WFH ยกเว้นส่วนที่ให้บริการประชาชน (บุคลากร กทม. ที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ขอให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา)
– ประสานกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานราชการในพื้นที่ให้ WFH
– ให้ผู้อำนวยการเขตประสานกับเอกชนในพื้นที่ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ให้ความร่วมมือในการ WFH และสรุปรายงานผลความร่วมมือ ภายในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566
กลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ และเด็กเล็ก)
– ศูนย์บริการสาธารณะสุข ทั้ง 69 ศูนย์ และ อสส. ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่
แจกหน้ากากอนามัย ให้คำแนะนำ และเฝ้าระวังอาการ
– ขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย และลดกิจกรรมภายนอกอาคาร
– หากมีอาการให้ปรึกษาคลินิกมลพิษทางอากาศ ของกทม. ทั้ง 5 แห่ง
-รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ -ตากสิน -สิรินธร -ราชพิพัฒน์ -โรงพยาบาลกลาง
เปิดทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 08.00-15.00 น. สามารถสอบถาม 1646 สายด่วนสุขภาพ
โรงเรียน กทม.
กทม.ไม่ได้สั่งปิดโรงเรียนทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าครูและบุคลากรในโรงเรียน กทม. ได้เตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ และสามารถช่วยดูแลเด็กได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้ปกครอง จึงดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้
– ให้นักเรียนสวมหน้ากากตลอดเวลา (นอกอาคารสวมหน้ากาก 2 ชั้น และ 1 ชั้นในอาคาร)
– ห้ามทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด
– อยู่บ้านแบบสมัครใจได้ หากที่บ้านมีพื้นที่ปลอดฝุ่น
– ทำความสะอาดโรงเรียนเพื่อลดฝุ่น
สถานที่ก่อสร้าง
– ควบคุมการเกิดฝุ่นละอองในสถานที่ก่อสร้างที่อยู่ในกำกับของ กทม. ทุกแห่งอย่างเคร่งครัด
– ตรวจสอบและขอความร่วมมือสถานที่ก่อสร้างเอกชนให้ควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการขนส่งอย่างเคร่งครัด
กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ
– ให้ผู้อำนวยการเขตทุกเขตประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ งดการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า การเผาขยะ
การเดินทาง
– ประสานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล กวดขันการการจราจรและการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
– ขอความร่วมมือประชาชนใช้บริการรถขนส่งมวลชน
– กวดขันไม่ให้รถเครื่องยนต์ดีเซลที่มีค่าไอเสียเกินมาตรฐานมาวิ่งบนท้องถนน
https://thethaiger.com/th/news/766832/
ฝุ่น PM2.5 และ โรคCOVID-19 สัมพันธ์กันอย่างไร?
ฝุ่นจิ๋วที่สร้างความเสียหายมหาศาลคือฝุ่นละอองขนาดจิ๋วขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เทียบขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมากในอากาศร่วมกับความชื้นในอากาศ จะทำให้มองดูคล้ายกับมีม่านหมอกควันในช่วงฤดูแล้ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาซากอุตสาหกรรมเกษตร (ข้าว ข้าวโพด อ้อย)ในที่โล่งแทบทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง) รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคเหนือตอนบนมีสาเหตุมาจากไฟในป่าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังได้รับฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ข้ามพรมแดนจากการเผาซากอุตสาหกรรมเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านผสมโรงด้วยเช่นกัน ส่วนฝุ่นจิ๋วPM2.5ที่เกิดจากการสันดาปของยานยนต์ ปากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือในเขตเมืองอุตสาหกรรมหนัก แต่ไม่ใช่เป็นสาเหตุหลักในช่วงฤดูแล้ง
ด้วยขนาดฝุ่นจิ๋วPM2.5 ที่เล็กมาก เล็กจนสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนบนลงไปยังหลอดลม ถุงลมปอด และสามารถซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยเข้าสู่กระแสเลือดแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายหลายระบบอวัยวะ ส่วนจะเกิดอะไรขึ้น ขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคล (พันธุกรรม อายุ ความแข็งแรง การมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย สภาพแวดล้อม) ระดับความเข้มข้นของPM2.5 และระยะเวลาที่สูด ผลกระทบจึงมีทั้งแบบระยะเฉียบพลัน (ในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงถึงสัปดาห์) ระยะกึ่งเฉียบพลัน (ในระยะเวลาเป็นเดือนถึงหลายเดือน) และระยะเรื้อรัง (ในระยะเวลาเป็นปีถึงหลายปีหรือชั่วอายุขัย)
ในระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันระบบที่มีผลกระทบได้รวดเร็วและบ่อยที่สุด คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่นPM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ ทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างอักเสบ เช่น (โพรงจมูก, โพรงไซนัส, คอ, กล่องเสียง, หลอดลม, และปอด มีการอักเสบ) จากฝุ่นจิ๋วPM2.5 และมักถูกผสมโรงด้วยการติดเชื้อซ้ำเติมทั้งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เนื่องจากฝุ่นPM2.5 ทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลงทั้งภูมิต้านทานด่านหน้า (ภูมิต้านทานของเยื่อบุระบบการหายใจ) และภูมิต้านทานด่านหลัง (ภูมิต้านทานผ่านระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองและภูมิต้านทานระบบเซลล์) ทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียตามมาได้ง่าย เกิดการอักเสบรุนแรงกว่าผู้ที่มีการติดเชื้อเพียงอย่างเดียวในสภาพอากาศที่สะอาดไม่มีฝุ่นจิ๋วPM2.5 มาเกี่ยวข้อง
ในช่วงสองปีที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก มีผลงานวิจัยหลายชิ้นในหลายประเทศค้นพบความเชื่อมโยงระหว่าง ฝุ่น PM 2.5 กับการติดเชื้อไวรัส COVID-19 แสดงให้เห็นว่า แม้คนสุขภาพดี เมื่อหายใจสูด PM 2.5 ที่เข้มข้นเข้าไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ภูมิต้านทานด่านหน้าคือทางเดินหายใจและถุงลมในปอดอ่อนแอลง ภูมิต้านทานผ่านระบบน้ำเหลืองและระบบเซลล์(ซึ่งเปรียบเสมือนภูมิต้านทานด่านหลัง)อ่อนแอลงไปด้วย ทำให้สามารถติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น เชื้อไวรัสจึงสามารถเข้าไปเพิ่มปริมาณในปอดได้มากขึ้น และทำให้ทวีความรุนแรงของปอดอักเสบมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่ามลพิษPM2.5ในอากาศสูงอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้ได้รับผลกระทบ จาก COVID-19 สูงขึ้นได้หลายเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่อาศัยในชุมชนที่มีมลพิษต่ำ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 และ COVID-19 มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากผลกระทบในระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันต่อระบบการหายใจแล้ว มลพิษฝุ่นจิ๋วPM2.5 ยังทำให้มีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน(stroke) เพิ่มขึ้น ในระยะยาวผ่านไปหลายปี มีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแคบ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคภูมิแพ้ของระบบการหายใจ (เช่น ภูมิแพ้โพรงจมูก หอบหืด), โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบไปถึงการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบของโรคจนต้องเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉินหรือต้องนอนโรงพยาบาล และทำให้มีอัตราการเสียชีวิตรายวันที่เพิ่มสูงขึ้นส่วนในระยะยาวโรคต่างๆ เหล่านี้ย่อมทำให้อายุขัยของประชากรสั้นลงกว่าที่ควร
เพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ทุกคนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พร้อมกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นติดตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่ตนเองอยู่อาศัย หากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน อาจต้องลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอยู่ภายในอาคาร หรือห้องที่มีการกรองอากาศก่อนเข้าตัวอาคาร หรืออาคารหรือห้องที่มีเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง
(HEPA filter) ที่สามารถกรองฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ให้มีค่าต่ำที่สุด (เช่น 0-10 มคก./ลบ.ม) ซึ่งสามารถวัดค่าภายในห้องหรืออาคารที่ไม่มีความชื้นอากาศมากเกินไป โดยใช้เครื่องวัดราคาต่ำได้ซึ่งเชื่อถือได้ดีพอสมควรอาศัยเป้นแนวทางได้ดีกว่าอิงค่าเครื่องวัดมาตรฐานที่อยู่ห่างไกลที่อยู่อาศัยหลายกิโลเมตรซึ่งไม่สามารถสะท้อนค่าฝุ่นจิ๋วPM2.5ในอาคารหรือในห้องได้ นอกจากนี้อาคารหรือห้องขนาดย่อมที่ที่มีผู้ใช้งานหลายคนเช่นห้องเรียนห้องประชุมสัมมนา ห้องอาหาร ห้องสันทนาการในบ้านหรือในที่ทำงาน ควรมีการถ่ายเทหรือการไหลเวียนของอากาศที่เพียงพอ(4-6ACH,Air Chang per Hour)จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสCOVID-19และไวรัสชนิดอื่นๆ ที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เมื่อต้องอยู่นอกอาคารหรือพื้นที่สาธารณะควรสวมหน้ากากN95ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อไวรัสCOVID-19 เชื้อไวรัสอื่นๆ เชื้อแบคทีเรียและฝุ่นจิ๋วPM2.5ไปพร้อมกัน ซึ่งลักษณะของหน้ากาก N95 จะครอบลงไปที่ปากและจมูกอย่างมิดชิดทำให้ละอองฝอย(droplet,ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง50-100ไมครอน)ที่มีเชื้อไวรัสไม่สามารถเล็ดลอดผ่านรอยช่องว่างระหว่างโครงใบหน้ากับหน้ากากได้ และใยกรองของหน้ากากมีประสิทธิภาพสูงในการกรองละอองฝอยขนาดจิ๋ว (aerosol,ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง<5ไมครอน) ที่มีเชื้อไวรัสกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป (surgical mask)
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19สามารถแพร่ได้ทั้งแบบละอองฝอย (droplet) เมื่อผู้แพร่เชื้อไอจามหรือพูดดคุยอยู่ใกล้ชิด และแบบละอองจิ๋ว (aerosol) แม้ผู้แพร่เชื้ออยู่ห่างหลายเมตรหรือแม้ผู้แพร่เชื้อออกไปจากห้องนั้นแล้วหลายชั่วโมงก็ตามเชื้อในละอองจิ๋วยัง แขวนลอยในห้องหรือในลิฟท์น้ันได้อยู่ นอกจากนี้ควรถือโอกาสงดสูบบุรี่ เพราะควันบุหรี่เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแหล่งกาเนิดของฝุ่นจิ๋วPM2.5ในครัวเรือน
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และรับประทานยาหรือสูดยาตามแพทย์แนะนำและสอบถามแพทย์ถึงแผนการดูแลตนเองเบื้องต้นหากมีอาการทรุดลง พบว่าตนเองและผู้ใกล้ชิดมีปัญหาด้านสุขภาพในช่วงที่มีฝุ่นพิษสูง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและวางแผนทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ข้อมูลโดย ศ.นพ. ชายชาญ โพธิรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/hilight-news/8942/
นพ.ธีระ' เผยโลกกำลังจับตาวัคซีนโควิดชนิดพ่นทางจมูก!
'หมอธีระ' แจงข้อมูลโควิดโลก เผยผลวิจัยแดนปลาดิบชี้ BA.5 ออกอาการเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์อื่น บอกโลกกำลังจับวัคซีนชนิดพ่นทางจมูกว่าจะใช้ทดแทนแบบฉีดได้ดีแค่ไหน
ที่หลายคนจับตามองคือ วัคซีนชนิดพ่นทางจมูก ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 5 ตัวที่บางประเทศที่ได้เริ่มนำไปใช้แล้ว ได้แก่ จีน (2) อินเดีย (1) รัสเซีย (1) และอิหร่าน (1) ทั้งนี้ยังคงต้องมีการติดตามศึกษากันต่อไปว่า วัคซีนที่ใช้พ่นทางจมูกนี้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดฉีดที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน
https://www.thaipost.net/covid-19-news/315336/
ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ...[img]
https://f.ptcdn.info/726/079/000/rpg
🇹🇭🛟มาลาริน🛟🇹🇭หนัก! ฝุ่นPMกรุงเทพพุ่ง190 อันดับ4โลก/ฝุ่นPM2.5 และโรคCOVID19 สัมพันธ์กันอย่างไร/โลกสนใจวัคซีนพ่นจมูก
ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ถือว่ายังคงเลวร้ายต่อเนื่อง หลังจากการจัดอันดับดัชนีคุณภาพอากาศ กรุงเทพ อยู่อันดับที่ 4 คู่ AQI พุ่ง 190
เว็บไซต์ IQAir รายงาน การจัดอันดับดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) หรือ ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ของกรุงเทพ ว่าค่า AQI ณ เวลา 8.21 น. ของวันที่ 2 กุมภาพันธ์นั้น คุณภาพอากาศกรุงเทพ มีคุณภาพย่ำแย่ถึง 190 อยู่อันดับที่ 4 มีค่าฝุ่นที่อันตรายและมีผลกระทบกับประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่สุขภาพแข็งแรง หรือ ประชาชนที่มีโรคทางเดินหายใจก็ตาม
สำหรับอันดับอื่นๆนั้น อันดับ 1 เป็นกรุงคูเวตซิตี้ เมืองหลวงของประเทศคูเวต, อันดับ 2 นครลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน และ อันดับ 3 ฉงชิ่ง ประเทศจีน
ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องฝุ่นกรุงเทพว่า เนื่องจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยวันนี้ (1 ก.พ. 66) ณ เวลา 18.00 น. ค่าฝุ่นสูงขึ้นในระดับสีแดง มากกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จำนวน 14 พื้นที่ เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ส่งผลให้ฝุ่นเกิดการสะสมตัวมากขึ้น และจากการคาดการณ์แนวโน้มฝุ่นจะมีค่าสูงต่อเนื่องในช่วงวันที่ 2-4 ก.พ. 66
ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง PM 2.5 และการหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วจึงดำเนินการตามมาตรการดังนี้...👇
WFH 2 วัน (2-3 กุมภาพันธ์ 2566)
– หน่วยงาน กทม. WFH ยกเว้นส่วนที่ให้บริการประชาชน (บุคลากร กทม. ที่ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ขอให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา)
– ประสานกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานราชการในพื้นที่ให้ WFH
– ให้ผู้อำนวยการเขตประสานกับเอกชนในพื้นที่ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ให้ความร่วมมือในการ WFH และสรุปรายงานผลความร่วมมือ ภายในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566
กลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ และเด็กเล็ก)
– ศูนย์บริการสาธารณะสุข ทั้ง 69 ศูนย์ และ อสส. ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่
แจกหน้ากากอนามัย ให้คำแนะนำ และเฝ้าระวังอาการ
– ขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย และลดกิจกรรมภายนอกอาคาร
– หากมีอาการให้ปรึกษาคลินิกมลพิษทางอากาศ ของกทม. ทั้ง 5 แห่ง
-รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ -ตากสิน -สิรินธร -ราชพิพัฒน์ -โรงพยาบาลกลาง
เปิดทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 08.00-15.00 น. สามารถสอบถาม 1646 สายด่วนสุขภาพ
โรงเรียน กทม.
กทม.ไม่ได้สั่งปิดโรงเรียนทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าครูและบุคลากรในโรงเรียน กทม. ได้เตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ และสามารถช่วยดูแลเด็กได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้ปกครอง จึงดำเนินการตามมาตรการดังต่อไปนี้
– ให้นักเรียนสวมหน้ากากตลอดเวลา (นอกอาคารสวมหน้ากาก 2 ชั้น และ 1 ชั้นในอาคาร)
– ห้ามทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด
– อยู่บ้านแบบสมัครใจได้ หากที่บ้านมีพื้นที่ปลอดฝุ่น
– ทำความสะอาดโรงเรียนเพื่อลดฝุ่น
สถานที่ก่อสร้าง
– ควบคุมการเกิดฝุ่นละอองในสถานที่ก่อสร้างที่อยู่ในกำกับของ กทม. ทุกแห่งอย่างเคร่งครัด
– ตรวจสอบและขอความร่วมมือสถานที่ก่อสร้างเอกชนให้ควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการขนส่งอย่างเคร่งครัด
กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ
– ให้ผู้อำนวยการเขตทุกเขตประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ งดการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า การเผาขยะ
การเดินทาง
– ประสานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล กวดขันการการจราจรและการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
– ขอความร่วมมือประชาชนใช้บริการรถขนส่งมวลชน
– กวดขันไม่ให้รถเครื่องยนต์ดีเซลที่มีค่าไอเสียเกินมาตรฐานมาวิ่งบนท้องถนน
https://thethaiger.com/th/news/766832/
ฝุ่น PM2.5 และ โรคCOVID-19 สัมพันธ์กันอย่างไร?
ฝุ่นจิ๋วที่สร้างความเสียหายมหาศาลคือฝุ่นละอองขนาดจิ๋วขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เทียบขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมากในอากาศร่วมกับความชื้นในอากาศ จะทำให้มองดูคล้ายกับมีม่านหมอกควันในช่วงฤดูแล้ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาซากอุตสาหกรรมเกษตร (ข้าว ข้าวโพด อ้อย)ในที่โล่งแทบทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง) รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคเหนือตอนบนมีสาเหตุมาจากไฟในป่าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังได้รับฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ข้ามพรมแดนจากการเผาซากอุตสาหกรรมเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านผสมโรงด้วยเช่นกัน ส่วนฝุ่นจิ๋วPM2.5ที่เกิดจากการสันดาปของยานยนต์ ปากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือในเขตเมืองอุตสาหกรรมหนัก แต่ไม่ใช่เป็นสาเหตุหลักในช่วงฤดูแล้ง
ด้วยขนาดฝุ่นจิ๋วPM2.5 ที่เล็กมาก เล็กจนสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนบนลงไปยังหลอดลม ถุงลมปอด และสามารถซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยเข้าสู่กระแสเลือดแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายหลายระบบอวัยวะ ส่วนจะเกิดอะไรขึ้น ขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคล (พันธุกรรม อายุ ความแข็งแรง การมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย สภาพแวดล้อม) ระดับความเข้มข้นของPM2.5 และระยะเวลาที่สูด ผลกระทบจึงมีทั้งแบบระยะเฉียบพลัน (ในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงถึงสัปดาห์) ระยะกึ่งเฉียบพลัน (ในระยะเวลาเป็นเดือนถึงหลายเดือน) และระยะเรื้อรัง (ในระยะเวลาเป็นปีถึงหลายปีหรือชั่วอายุขัย)
ในระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันระบบที่มีผลกระทบได้รวดเร็วและบ่อยที่สุด คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่นPM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ ทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างอักเสบ เช่น (โพรงจมูก, โพรงไซนัส, คอ, กล่องเสียง, หลอดลม, และปอด มีการอักเสบ) จากฝุ่นจิ๋วPM2.5 และมักถูกผสมโรงด้วยการติดเชื้อซ้ำเติมทั้งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เนื่องจากฝุ่นPM2.5 ทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลงทั้งภูมิต้านทานด่านหน้า (ภูมิต้านทานของเยื่อบุระบบการหายใจ) และภูมิต้านทานด่านหลัง (ภูมิต้านทานผ่านระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองและภูมิต้านทานระบบเซลล์) ทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียตามมาได้ง่าย เกิดการอักเสบรุนแรงกว่าผู้ที่มีการติดเชื้อเพียงอย่างเดียวในสภาพอากาศที่สะอาดไม่มีฝุ่นจิ๋วPM2.5 มาเกี่ยวข้อง
ในช่วงสองปีที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก มีผลงานวิจัยหลายชิ้นในหลายประเทศค้นพบความเชื่อมโยงระหว่าง ฝุ่น PM 2.5 กับการติดเชื้อไวรัส COVID-19 แสดงให้เห็นว่า แม้คนสุขภาพดี เมื่อหายใจสูด PM 2.5 ที่เข้มข้นเข้าไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ภูมิต้านทานด่านหน้าคือทางเดินหายใจและถุงลมในปอดอ่อนแอลง ภูมิต้านทานผ่านระบบน้ำเหลืองและระบบเซลล์(ซึ่งเปรียบเสมือนภูมิต้านทานด่านหลัง)อ่อนแอลงไปด้วย ทำให้สามารถติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น เชื้อไวรัสจึงสามารถเข้าไปเพิ่มปริมาณในปอดได้มากขึ้น และทำให้ทวีความรุนแรงของปอดอักเสบมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่ามลพิษPM2.5ในอากาศสูงอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้ได้รับผลกระทบ จาก COVID-19 สูงขึ้นได้หลายเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่อาศัยในชุมชนที่มีมลพิษต่ำ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 และ COVID-19 มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากผลกระทบในระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันต่อระบบการหายใจแล้ว มลพิษฝุ่นจิ๋วPM2.5 ยังทำให้มีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน(stroke) เพิ่มขึ้น ในระยะยาวผ่านไปหลายปี มีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแคบ, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคภูมิแพ้ของระบบการหายใจ (เช่น ภูมิแพ้โพรงจมูก หอบหืด), โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบไปถึงการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบของโรคจนต้องเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉินหรือต้องนอนโรงพยาบาล และทำให้มีอัตราการเสียชีวิตรายวันที่เพิ่มสูงขึ้นส่วนในระยะยาวโรคต่างๆ เหล่านี้ย่อมทำให้อายุขัยของประชากรสั้นลงกว่าที่ควร
เพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ทุกคนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พร้อมกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นติดตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่ตนเองอยู่อาศัย หากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน อาจต้องลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอยู่ภายในอาคาร หรือห้องที่มีการกรองอากาศก่อนเข้าตัวอาคาร หรืออาคารหรือห้องที่มีเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง
(HEPA filter) ที่สามารถกรองฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ให้มีค่าต่ำที่สุด (เช่น 0-10 มคก./ลบ.ม) ซึ่งสามารถวัดค่าภายในห้องหรืออาคารที่ไม่มีความชื้นอากาศมากเกินไป โดยใช้เครื่องวัดราคาต่ำได้ซึ่งเชื่อถือได้ดีพอสมควรอาศัยเป้นแนวทางได้ดีกว่าอิงค่าเครื่องวัดมาตรฐานที่อยู่ห่างไกลที่อยู่อาศัยหลายกิโลเมตรซึ่งไม่สามารถสะท้อนค่าฝุ่นจิ๋วPM2.5ในอาคารหรือในห้องได้ นอกจากนี้อาคารหรือห้องขนาดย่อมที่ที่มีผู้ใช้งานหลายคนเช่นห้องเรียนห้องประชุมสัมมนา ห้องอาหาร ห้องสันทนาการในบ้านหรือในที่ทำงาน ควรมีการถ่ายเทหรือการไหลเวียนของอากาศที่เพียงพอ(4-6ACH,Air Chang per Hour)จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสCOVID-19และไวรัสชนิดอื่นๆ ที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เมื่อต้องอยู่นอกอาคารหรือพื้นที่สาธารณะควรสวมหน้ากากN95ซึ่งสามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อไวรัสCOVID-19 เชื้อไวรัสอื่นๆ เชื้อแบคทีเรียและฝุ่นจิ๋วPM2.5ไปพร้อมกัน ซึ่งลักษณะของหน้ากาก N95 จะครอบลงไปที่ปากและจมูกอย่างมิดชิดทำให้ละอองฝอย(droplet,ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง50-100ไมครอน)ที่มีเชื้อไวรัสไม่สามารถเล็ดลอดผ่านรอยช่องว่างระหว่างโครงใบหน้ากับหน้ากากได้ และใยกรองของหน้ากากมีประสิทธิภาพสูงในการกรองละอองฝอยขนาดจิ๋ว (aerosol,ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง<5ไมครอน) ที่มีเชื้อไวรัสกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป (surgical mask)
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19สามารถแพร่ได้ทั้งแบบละอองฝอย (droplet) เมื่อผู้แพร่เชื้อไอจามหรือพูดดคุยอยู่ใกล้ชิด และแบบละอองจิ๋ว (aerosol) แม้ผู้แพร่เชื้ออยู่ห่างหลายเมตรหรือแม้ผู้แพร่เชื้อออกไปจากห้องนั้นแล้วหลายชั่วโมงก็ตามเชื้อในละอองจิ๋วยัง แขวนลอยในห้องหรือในลิฟท์น้ันได้อยู่ นอกจากนี้ควรถือโอกาสงดสูบบุรี่ เพราะควันบุหรี่เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแหล่งกาเนิดของฝุ่นจิ๋วPM2.5ในครัวเรือน
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และรับประทานยาหรือสูดยาตามแพทย์แนะนำและสอบถามแพทย์ถึงแผนการดูแลตนเองเบื้องต้นหากมีอาการทรุดลง พบว่าตนเองและผู้ใกล้ชิดมีปัญหาด้านสุขภาพในช่วงที่มีฝุ่นพิษสูง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและวางแผนทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ข้อมูลโดย ศ.นพ. ชายชาญ โพธิรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/hilight-news/8942/
นพ.ธีระ' เผยโลกกำลังจับตาวัคซีนโควิดชนิดพ่นทางจมูก!
'หมอธีระ' แจงข้อมูลโควิดโลก เผยผลวิจัยแดนปลาดิบชี้ BA.5 ออกอาการเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์อื่น บอกโลกกำลังจับวัคซีนชนิดพ่นทางจมูกว่าจะใช้ทดแทนแบบฉีดได้ดีแค่ไหน
ที่หลายคนจับตามองคือ วัคซีนชนิดพ่นทางจมูก ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 5 ตัวที่บางประเทศที่ได้เริ่มนำไปใช้แล้ว ได้แก่ จีน (2) อินเดีย (1) รัสเซีย (1) และอิหร่าน (1) ทั้งนี้ยังคงต้องมีการติดตามศึกษากันต่อไปว่า วัคซีนที่ใช้พ่นทางจมูกนี้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดฉีดที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน
https://www.thaipost.net/covid-19-news/315336/
ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ...[img]https://f.ptcdn.info/726/079/000/rpg