🇹🇭💠มาลาริน💠🇹🇭หมอ ยง'ฟันธง คนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้ว 70%/คาดญี่ปุ่น​ ดีเดย์โควิด-19​ เป็นโรคติดเชื้อทั่วไป​ พ.ค.นี้​

หมอ ยง'ฟันธง คนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้ว 70%
“ประชากรไทยน่าจะติดเชื้อไปแล้ว 70% ถ้าพูดว่าคนไทยเป็นลองโควิดกันเท่าจำนวนผู้ติดเชื้อ เราคงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ส่วนตัวคิดว่าลองโควิด เป็นอาการในแง่จิตใจมากกว่า และการจะเกิดลองโควิด หรือไม่ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคด้วย “
 
26 ม.ค.2566- บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จัดสัมมาพิเศษหัวข้อ “A NEW NORMAL WITH COVID-19 IN 2023 ” โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ในภาพรวมของโควิด-19 ทั่วโลก ศ. นพ.ยง  ย้อนเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว พร้อมกับกล่าวถึง การก้าวสู่ปีที่ 4 ของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกว่า  มีประชากรที่ถูกบันทึกว่าติดเชื้อโควิด แล้วกว่า 600 ล้านคน และเสียชีวิต 1.3 ล้านคน แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจริงๆอาจจะมากถึง 5,000-6,000 ล้านคน หากเปรียบเทียบตัวเลขของการระบาดในเดือน ม.ค.ปี 2565 น้อยกว่าปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งการรายงานนี้อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้นหากยังคงมีการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ในอนาคตอันใกล้องค์การอนามัยโลกคงจะยุติการรายสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพราะการรายงานผู้ติดเชื้อที่ไม่เป็นจริง
 
ถ้าถามว่าคนไทย ติดเชื้อโควิด-19ไปแล้วกี่คน กระทรวงสาธารณสุขบอกว่าประมาณกว่า 4 ล้านกคน ซึ่งส่วนตัวนั้นไม่เชื่อ  เพราะเคยถามนักเรียนในห้องว่าใครติดเชื้อบ้าง ปรากฎว่าทุกคนยกมือบอกว่าเคยติดเชื้อมาแล้วทั้งห้อง ดังนั้น เพหลังจากสถานการณ์ความรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอนลดลง การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงรายงานเฉพาะผู้ติดเชื้อ ที่นอนรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะมีผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอยู่อีก แต่ตัวเลขอัตราการเสียชีวิตต่ออาทิตย์มีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งคาดคะเนว่าจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตน่าจะอยู่ที่น้อยกว่า 1 ใน 1,000 คน โดยการคาดคะเนนี้มีตัวเลขที่เริ่มมีความใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะมีส่วนในการประเมินการฉีดวัคซีนสำหรับบุคลทั่วไปในระยะต่อไป อาจจะฉีดแค่ปีละ 1 ครั้ง ส่วนกลุ่มคนที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะฉีด 2 ครั้งต่อปี


ศ. นพ.ยง  กล่าวอีกว่า ในการหาว่าคนไทยติดเชื้อโควิดไปแล้วเท่าไหร่ ตนจึงได้ทำการศึกษา  ในเด็กอายุ 5-6 ปี และ 6-7 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 พบว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนมีเด็กติดเชื้อประมาณ 65-70% แต่ในช่วงสายพันธุ์เดลต้าพบว่าการติดเชื้อลดลงเหลือ 10-20% ในภาพรวม พบว่า มีเด็กเคยติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 70-80% เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการเจาะเลือดตรวจต่อโปรตีนนิวคลีโอแคปซิดยังพบว่า 1 ใน 3 คน เป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และในจำนวน 3 คน จะรู้ว่าติดเชื้อเพียง 2 คน ซึ่งทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ ก็ไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อไปแล้ว ส่งผลให้ต่อมามีการตรวจภูมิ พบว่าในภาพรวมของตรวจแอนติบอดีในเด็กพบ 90% มีภูมิคุ้มกัร ซึ่งค่อนข้างสูง ส่งผลให้ความรุนแรงของโรคน้อยมาก

ศ.นพ.ยง ยังเผยอีกว่า ตนได้ศึกษาเพิ่มเติมในพื้นที่ จ.ชลบุรี ทั้งการตรวจเลือดและซักประวัติ จากตัวอย่าง 1,211 คน    เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อในทุกช่วงวัย พบว่า เด็กที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วในต่ำกว่าอายุ 5 ขวบมีถึง 82%  ลดลงมาในอายุ 5-10 ปี อยู่ที่ 76%  ในวัยทำงานติดเชื้อไปแล้วอยู่ที่ 70% และส่วนน้อยที่สุดคือกลุ่มผู้สูงวัยอายุตั้งแต่ 70 ปี อยู่ที่ 46%โดยสาเหตุที่เด็กมีการติดเชื้อในชลบุรีเยอะนั้น มาจากการเปิดโรงเรียน จึงมีการแพร่ระบาดของเชื้อ เพราะในกลุ่มเด็กเล็กที่พบแอนติบอดีน้อยที่สุด


ในการป้องกันโควิด-19 โดยการส่วมใส่หน้ากากอนามัยซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นที่สำคัญ  ศ. นพ.ยง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า เด็กเล็กระดับอนุบาลหรือประถมที่มีการใส่หน้ากากอนามัยใน 1 ชั่วโมง จะมีการสัมผัสที่หน้ากากอนามัยจำนวน 8-20 ครั้ง ซึ่งก่อนสัมผัสไม่มีการล้างมือมาก่อน  ดังนั้นการให้เด็กเล็กการใส่หน้ากากอนามัยที่โรงเรียนไม่ได้ช่วยป้องกันมากนัก และอาจจะส่งผลต่อการเรียนรู้ เพราะเด็กเล็กต้องอาศัยการสื่อสารทั้งภาษาพูด ภาษากาย การแสดงออกทางใบหน้า ดังนั้น หากในไทยจะมีการยกเลิกใส่หน้าการอนามัยก็ควรจะยกเลิกในกลุ่มเด็กเล็กก่อน และหันไปเน้นการล้างมือและความสะอาดต่างๆแทน ส่วนผู้ใหญ่แนวโน้มในอนาคตอาจจะเน้นการใส่หน้ากากอนามัยในกลุ่มคนที่ไม่สบาย

จะมีโควิดสายพันธุ์ใหม่ ระบาดในไทยอีกหรือไม่ ศ.นพ.ยงกล่าวว่า   ศ. นพ.ยง กล่าวว่า เรื่องสายพันธุ์ของโควิด-19 มีวิวัฒนาการเรื่อยๆ อย่างสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย เช่น คือจากอู่ฮั่น อัลฟ่า เดลต้า และโอมิครอน ซึ่งในสายพันธุ์โอมิครอน เกิดขึ้น แต่ก็มีการแตกย่อยออกเป็น BA.1 BA.2 BA.4 BA.5 แต่ ณ ขณะนี้การระบาดในประเทศไทยส่วนใหญ่ คือ สายพันธุ์ BA.2.75 ที่ก็คงจะหายไป และได้คาดการณ์ไว้ว่าสายพันธุ์ใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศไทยคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่กำลังระบาดในสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าโควิดสายพันธุ์ใหม่จะมีความรุนแรงลดลง แต่มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานของวัคซีน หรือภูมิจากการเคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วมากขึ้น  ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดการแพร่ระบาดแล้ว วัคซีนที่เคยได้ฉีดไปนั้นอาจจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในอเมริกามีการศึกษาประชากรที่คิดเชื้อไวรัส XBB.1.5 พบว่าแม้จะฉีดวัคซีนสูตรไขว้มา 4 เข็ม การกระตุ้นภูมิขึ้นไม่มากนักในสายพันธุ์ XBB.1.5  
“วัคซีนในขณะนี้ไม่มีวัคซีนตัวไหนที่อยู่ในระดับเทพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมามีการเรียกร้องการใช้ mRNA เพราะเชื่อว่าป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ตอนนี้เราได้รู้แล้วว่าไม่มีวัคซีนตัวไหนที่ป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแค่ช่วยลดความรุนแรงของโรคลง ดังนั้นการฉีดวัคซีนครบอย่างน้อยต้องได้รับวัคซีน 3 เข้ม คือ การฉีดวัคซีน 2 เข้มแรก และมีการฉีดกระตุ้นอีก 1 เข้ม หรือเข้มที่4 เข้มที่ 5 ก็ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่วนในเด็กก็สามารถได้รับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5-11 ปี และต่ำสุดในช่วงอายุ 6 เดือน และสามารถฉีดสูตรไขว้ได้ มีระดับภูมิต้านที่เพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพึงพอใจ และหากคนไข้ที่เป็นโควิด-19 และไม่เคยได้รับวัคซีน ประเทศไทยจะมีการให้ monoclonal antibodies ซึ่งมีจำนวนที่เพียงพอ ในส่วนภาพรวมประชากรไทยที่มีภูมิต้านโดยตรวจแอนติบอดีต่อ Spike กว่า 96% ดังนั้นหากจะทำการทดลองวัคซีน และหาอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อโควิด-19 เลย ที่เหลือเพียง 2-3% ตอนนี้นับว่าหายากมาก”

ศ. นพ.ยง แสดงความเห็นอีกว่า ส่วนผู้ที่กังวลหากติดเชื้อซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคจากการติดเชื้อซ้ำแล้ว ในช่วงที่มีการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการมากกว่าการติดเชื้อครั้งที่สอง ซึ่งมีอาการทั่วไปน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ไข้ ไอ ความเครียด ฯลฯ  แต่มีอยู่หนึ่งอาการที่มีอาการเท่ากันคือ น้ำมูกไหล ทั้งนี้ถ้าไม่มีการป้องกันโรคโควิด-19 เหมือนที่ผ่านมา ปล่อยให้ติดเชื้อ การระบาดจะอยู่แค่ 1 ปี แล้วจบลง แต่อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณะสุขจะรองรับผู้ป่วยไม่ไหว ประเทศจึงมีมาตรการต่างๆในการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้องมือบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่จายของโรค เพื่อยืดเวลาให้การระบาดยาวขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อมีการป้องกันมากเท่าไหร่ โรคโควิด-19 ก็จะยังอยู่กับเราทุกคนตลอดไป ดังนั้นในการหยุดวิกฤตตอนต้นต้องอาศัยทุกประเทศร่วมมือกัน เพื่อลดการแพร่กระจ่ายให้น้อยที่สุด เพื่อจะได้ไม่มีการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น 

“ผมมองว่า หากมีกาาระบาดอีก จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ในช่วงเดือน เดือนม.ค.-พฤษภา การระบาดสงบลง แล้วระบาดจะกลับมาอีกในช่วงกลางปี “

ในเรื่อง Long Covid ศ.นพ.ยง บอกว่าจริงๆแล้วประชากรไทยน่าจะติดเชื้อไปแล้ว 70% ถ้าพูดว่าคนไทยเป็นลองโควิดกันเท่าจำนวนผู้ติดเชื้อ เราคงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว ส่วนตัวคิดว่าลองโควิด เป็นอาการในแง่จิตใจมากกว่า และการจะเกิดลองโควิด หรือไม่ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคด้วย

https://www.thaipost.net/news-update/310889/

คาดญี่ปุ่น​ ดีเดย์โควิด-19​ เป็นโรคติดเชื้อทั่วไป​ พ.ค.นี้​



ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยกลางแจ้งใกล้กับสถานีชิบูย่าของโตเกียว เมื่อวันที่ 20 มกราคม? 2566 วันเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นประกาศลดระดับโควิด-19 ให้เทียบเท่ากับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 

เกียวโดนิวส์​ รายงาน​ (27​ ม.ค.)​ ญี่ปุ่นวางแผนที่จะจัดประเภทโรคติดต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ให้อยู่ในประเภทเดียวกับโรคติดเชื้อทั่วไป เช่น ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีผลตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.
แหล่งข่าวของรัฐบาลระบุเมื่อวันพฤหัสบดี​ คาดว่าในวันศุกร์หน่วยงานของรัฐบาลจะตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับลดระดับหมวดหมู่ของโรคโควิด-19​ เป็นระดับ 5 โดยผ่อนคลายขั้นตอนที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน รวมถึงมาตรการที่เข้มงวดและการกำหนดโรงพยาบาลสำหรับการรักษา เนื่องจากโรคนี้ลดความรุนแรง

ปัจจุบัน ภายใต้กฎหมาย​ในญี่ปุ่น​กำหนดให้โรคโควิด-19​ อยู่ในหมวดหมู่พิเศษเทียบเท่าหรือเข้มงวดกว่าระดับ 2 ซึ่งครอบคลุมโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเขาจะ "ค่อยๆ" ทบทวนข้อจำกัดของ โควิด-19 ทั้งได้แสดงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะยังแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการฉีดวัคซีนในขณะนี้ แม้ว่าจะเป็นภายหลังจากลดสถานะของโรคแล้วก็ตาม แหล่งข่าวกล่าว

คิชิดะ มีความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขกฎเกี่ยวกับการสวมหน้ากากป้องกัน ดังนั้นการสวมหน้ากากจึงน่าจะเป็นการตัดสินใจของบุคคล

ญี่ปุ่นล้าหลังประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ ในการผ่อนปรนข้อจำกัดด้านโควิด-19 ท่ามกลางความหวาดกลัวเกี่ยวกับการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น

เมื่อ โควิด-19 ถูกลดเป็นระดับ 5 ข้อกำหนดระยะเวลามาตรการกักกัน 7 วันสำหรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสและ 5 วันสำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะถูกยกเลิก

ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลธรรมดาแทนสถานพยาบาลที่กำหนด และรัฐบาลจะหยุดจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าดูแลผู้ติดเชื้อ

แหล่งข่าวยังกล่าวว่า​ ในเดือนมีนาคม รัฐบาลคิชิดะจะตัดสินใจว่ารัฐบาลจะจัดหาเงินทุนจำนวนเท่าใดสำหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และระยะเวลาที่เงินทุนดังกล่าวจะดำเนินต่อไป
 
นอกจากนี้​ แม้ว่าในอนาคต​จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอีก การประกาศภาวะฉุกเฉินหรือกึ่งสภาวะฉุกเฉินจะไม่ถูกบังคับใช้
ญี่ปุ่นจะอยู่ท่ามกลางการติดเชื้อระลอกที่ 8 แต่รัฐบาลกำลังพิจารณาลดสถานะของโรคเนื่องจากการฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างครอบคลุม​ ท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ ทำให้โรคนี้เสียชีวิตน้อยลง ทั้งยังมีเสียงเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นในการกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดโรค

รัฐบาลยังวางแผนที่จะยกเลิกกฎระเบียบเกี่ยวกับโควิด-19 ในกิจกรรมต่างๆ โดยอนุญาตให้ผู้ชมโห่ร้องและส่งเสียงได้​ แม้ว่าสถานที่จะเป็นพื้นที่แออัดเต็มความจุฯ​ ก็ตาม แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี

ทั้งนี้​ ปัจจุบันรัฐบาลอนุญาตให้พูดเสียงดังในกิจกรรมขนาดใหญ่ เช่น เกมกีฬาระดับมืออาชีพหรือคอนเสิร์ต เฉพาะเมื่อผู้เข้าร่วมอยู่ในขีดจำกัดสูงสุดที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของความจุของสถานที่

https://mgronline.com/japan/detail/9660000008527

ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8

สธ.เกาะติดสถานการณ์โควิด19 เผยเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ของปี 66 ผู้ติดเชื้อใหม่ยังลดลง สวนทางจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไหลเข้าไทยเพิ่มต่อเนื่อง

วันที่ 27 ม.ค. 66 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รายงานข้อมูลล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด19 รายใหม่ ในประเทศยังคงปรับตัวลดลง สวนทางกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุถึงข้อมูลนักท่องเที่ยวล่าสุดว่าตั้งแต่วันที่ 1-21 ม.ค. 66 มีต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยแล้ว 1,342,365 คน โดย 5 อันดับแรกได้แก่ นักท่องเที่ยวจากรัสเซีย(143,580คน) มาเลเซีย(138,737คน) เกาหลีใต้(111,522คน) อินเดีย(68,609คน) และ ลาว(56,517คน) ตามลำดับ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 15–21 ม.ค. 66 ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 3 ของปี 66 ในการายงานสถานการณ์โควิด19 พบว่า มีรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 627 ราย เฉลี่ยวันละ 90 ราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า(8-14ม.ค.) ที่มีผู้ป่วยใหม่ 969 คน เฉลี่ยวันละ 138 คน ขณะที่ผู้เสียชีวิตตลอดสัปดาห์อยู่ที่ 44 ราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่เสียชีวิต 65 ราย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด19 และผู้เสียชีวิตจะลดลง รัฐบาลยังคงสนับสนุนให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มีความห่วงใยและเชิญชวนให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มป้องกันโควิด19 เข็มกระตุ้น ณ สถานพยาบาลหรือจุดบริการวัคซีนใกล้บ้านเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และยังคงการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคเช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ หากมีไข้ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรสชาติให้ตรวจ ATK เพื่อคัดกรองและป้องกันการนำเชื้อไปสู่บุคคลใกล้ชิด

ทางด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้เน้นย้ำกับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขให้ดำเนินตามข้อปฏิบัติเพื่อเฝ้าระวังโควิด19 ตามแนวทางของคณะกรรมการด้านวิชาการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยให้พิจารณาใช้มาตรการต่างๆ ต่อผู้เดินทางจากทุกประเทศโดยคำนึงถึงหลักการเท่าเทียม ตั้งบนพื้นฐานด้านวิชาการให้เกิดความสมดุลระหว่างการป้องกันควบคุมโรคกับผลต่อเศรษฐกิจและสังคมสามารถสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0cdM32HZvuidXF12HEGSW7ngsuyfT1QJC2DFM4LrbiBU3D4KL6CHCnsWJxjvVAVX8l


สธ.เปิดจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 นทท.ต่างชาติ “กทม.-ตจว.” ย้ำ!! ทุกหน่วยฉีดฯ คนไทยควบคู่กัน

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยบริการฉีดวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดให้บริการแล้วหลายแห่ง สำหรับในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์การแพทย์บางรัก สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สถาบันโรคผิวหนัง โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน และ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี รวมถึงในจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต และสงขลา ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติค่อนข้างดี

โดยมีอัตราค่าบริการสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นค่าบริการวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 800 บาทต่อเข็ม และไฟเซอร์ 1,000 บาทต่อเข็ม และมีค่าบริการทางการแพทย์อีก 380 บาท สำหรับในจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทยอยแจ้งความจำนงขอเป็นจุดบริการฉีด ขณะนี้กรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อหน่วยบริการซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 แห่ง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และวางแผนในการจัดสรรและจัดส่งวัคซีน

ทั้งนี้ ขอให้ทุกหน่วยบริการจัดทำทะเบียนการเก็บข้อมูลรายได้จากค่าบริการให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต้นสังกัดและกระทรวงการคลัง เพื่อการตรวจสอบที่โปร่งใส

สำหรับการเปิดจุดบริการฉีดของภาคเอกชนนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเตรียมแนวทาง และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเนื่องจากต้องมีการวางแผนเรื่องแนวทางปฏิบัติและการกำกับติดตามที่แตกต่างจากโรงพยาบาลรัฐ อาทิ การทำข้อตกลง กระบวนการส่งคืนเงินค่าวัคซีน ระหว่างนี้หน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการเป็นจุดบริการฉีดวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถทำหนังสือแสดงความจำนงมาได้ที่กรมควบคุมโรค และหากแนวทางการปฏิบัติมีความชัดเจน กรมควบคุมโรคจะมีการนัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทาง และนัดหมายเพื่อลงนามข้อตกลงต่อไป

ยืนยัน!! ว่ากระทรวงสาธารณสุข มีวัคซีนเพียงพอ และขอให้ทุกหน่วยบริการที่เป็นจุดฉีดวัคซีนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องมีการให้บริการฉีดวัคซีนคนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปด้วย
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid037n2WkZimZrDv2HPzKgjnTGtvEBDgZbep1sAV1pKCd8c75n6R2VR9woyxP8ha1Yk2l



กรมควบคุมโรค เผยไทยรับมือโควิดได้ดีผลงานเป็นที่ชื่นชมขององค์การอนามัยโลกและนานาชาติ ภาพรวมโครงการส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมชี้แจงเหตุผลต่อรายงานการตรวจสอบของ สตง. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=31629
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0HpfVX1PdSaJb9e7zny75DmD9F8yVmxde76B7LiwApK3RndmtX4bw1df5UZiWW8dXl&id=100068069971811
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่