[ขอปรึกษาเพื่อนๆครับ] จะไปต่างประเทศ มีไฟแนนซ์รถ ผ่อนไหวนะ แต่ประเด็นคือจะไปยาว มีแนวโน้มไม่กลับไทยสูงมาก

กำลังจะไปต่างประเทศช่วงมีนาคม
รถยนต์ทั่วไป ยื่นไฟแนนซ์สินเชื่อหนึ่งเอาไว้ ผ่อนตรงเวลา ครบถ้วน และผ่อนไหว เอาตรงๆก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรด้านการเงินที่จะต้องผ่อนจ่ายต่อด้วยซ้ำ

สำหรับการไปต่างประเทศ ก็เป็นการไปทำงานแบบถูกกฏหมาย มีวีซ่า มี Work Permit จากกระทรวงแรงงานถูกต้องทุกอย่าง
เงินเดือนที่ต่างประเทศตีเป็นเงินไทยก็ราว 5 ถึง 60,000 บาท

สำหรับยอดที่ค้างอยู่ของไฟแนนซ์ ก็ตกราวแค่ 250,000 บาท เท่านั้นเอง
รวมแล้ว ถ้าเอาแบบยอดผ่อนค้างรวมดอกเบี้ย เหลือค้างอีก 3 ปี (ถ้าไม่ปิดยอดก่อน) ตอนโน้นกู้มาเพื่อเอาไปต่อยอดธุรกิจ ซึ่งธุรกิจก็สำเร็จด้วยดี

ที่เล่ามาทั้งหมดคือผ่อนต่อไหว แต่ตามหัวข้อเลย คือมีแนวโน้มที่จะไม่กลับไทยอีกแล้ว (ต่อให้กลับมา ก็คงแค่มาเที่ยวแปปเดียวหรือทำเรื่องต่อเอกสาร เพราะไม่มีครอบครัว ไม่มีแฟน ไม่มีพันธะเลย)

มันก็เลยรู้สึกว่าขายต่อไปเลยดีกว่ามั๊ย? แต่เนื่องจากไม่เคยยื่นไฟแนนซ์อะไรมาก่อนนอกจากที่นี่ ก็เลยไม่มีความรู้ อยากขอปรึกษาเพื่อนสมาชิกหน่อยครับ ว่ากรณีแบบนี้ เพื่อนๆพอจะมีแนะนำด้านใดได้บ้าง?

รายละเอียดอื่นๆ : เป็นรถยนต์ธรรมดา แต่ว่าก็หลายปีแล้วเหมือนกัน อายุรถยนต์ประมาณ 3-4 ปี

ไปไล่อ่านเรื่องให้ขายทอดตลาด
ประมาณประมูล อาจจะได้มาแค่แสนเดียว แล้วผมค่อยจ่ายส่วนที่เหลือ เพราะประเด็นสำหรับผมคือไม่คิดว่าจะได้ใช้รถแล้วนี่ล่ะ ก็เลยประมูลถูกๆก็ไม่ได้แคร์แค่ลดค่าใช้จ่ายจากการผ่อน จะดีกว่ามั๊ย?

ย้ำ ว่ายังไม่ได้คิดจะทำขนาดนั้นหรอกนะ แต่อย่างที่บอกไม่มีความรู้เลย ก็เลยลองหาอ่านเอาเอง ว่ามันเกี่ยวกับกรณีนี้มั๊ย (และพวกที่อานเจอ ก็เป็นประมาณผ่อนต่อไม่ไหวทั้งหมดด้วย สุดท้ายก็เลยมาถามเอาดีกว่า เผื่อมีไอเดียดีกว่านี้)

ยังไม่ได้ไปปรึกษาไฟแนนซ์เลย ไม่อยากเสียเครดิต และก็เกรงใจบริษัทไฟแนนซ์ เพราะเจ้าหน้าที่ก็คุยกับผมดีด้วยเนื่องจากผ่อนกันไม่มีปัญหาอะไร จนถึงกับมาแนะนำให้กู้ไปทำธุรกิจเพิ่มด้วยซ้ำ

ขอบคุณท่านที่มาตอบล่วงหน้าเลยครับ

EDIT : เสริมตรงคำว่า ไม่มีครอบครัว ไม่มีแฟน ไม่มีพันธะ คือตอนไปต่างประเทศ รถนี้ก็คงจอดแช่ทิ้งเอาไว้ด้วยครับเพราะผมตัวคนเดียวจริงๆ ก็เลยรู้สึกไม่ได้ใช้ประโยชน์อีก (อาจจะไปให้ญาติห่างๆใช้แทน ซึ่งผมคุยกับญาติแล้วนะ ไม่มีใครซื้อ (แต่ก็จะเอาไปขับฟรีแหละ มันคงสะดวกญาติแบบนี้))
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่