โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ "โรคเบาหวาน เรื่องไม่เล็กสำหรับเด็กและวัยรุ่น"
โรคเบาหวานเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมน “อินซูลิน”
หรือประสิทธิภาพการทำงานของ “อินซูลิน” ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ
โดยทั่วไปแล้วโรคเบาหวานมักจะพบในผู้สูงอายุและในคนที่มีรูปร่างอ้วน กินหวานมาก ไม่ออกกำลังกาย และมีกรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวานเท่านั้น
ปัจจุบันเราพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีจำนวนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยมีการศึกษาในเชิงระบาดวิทยา พบอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ในประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพิ่มขึ้นทุกปี
โดยเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถพบเจอได้ตั้งแต่เด็กวัยก่อนเรียน จนกระทั่งวัยรุ่น ส่วยในเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น มักจะพบในเด็กช่วงกำลังเข้าวัยรุ่น
ภาวะโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้มากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ได้ยากกว่าวัยผู้ใหญ่และปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อผู้ป่วยเด็กเจริญเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่
ใครบ้างที่ควรทำการตรวจหาโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีแต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
ผู้ที่อ้วน (มีดัชนีมวลกาย ≥ 25 กิโลกรัม/เมตร2 และ/หรือ มีรอบเอว > 32 นิ้วในผู้หญิง หรือ >36 นิ้วในผู้ชาย)
มีพ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง> 250 มก./ดล. และ/หรือ HDL คอเลสเตอรอลในเลือดตํ่ากว่า 35 มก./ดล.
ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกที่มีนํ้าหนักตัวแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ที่มีโรคถุงนํ้าในรังไข่
ชนิดของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย หรือผลิตได้น้อยมาก และมักตรวจพบตั้งแต่วัยเด็ก
หรือเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักต้องรับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ในประเทศไทย (ประมาณร้อยละ 95)
และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ทั่วโลกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้ แต่อาจผลิตในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
เพราะอินซูลินที่ผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
อาการของโรคเบาหวาน ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หิวบ่อย รับประทานจุแต่น้ำหนักลดลง
และมีอาการอ่อนเพลีย ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย ติดเชื้อรา โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด
ตาพร่ามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า
การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน คนไข้ควบคุมอาหาร รับประทานสม่ำเสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
วัดผลการควบคุม พบแพทย์ตามนัด และใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากยาเบาหวานบางชนิดมักมีอาการ รู้สึกไม่สบายเฉียบพลัน หิวมาก มือสั่น เหงื่อออกมาก
ตัวเย็น เห็นภาพซ้อน หน้าซีด พูดไม่ชัก กรณีรุนแรงมากอาจซัก หมดสติ ถ้าเกิดเวลากลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ตื่นขึ้นมา
รับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลาและจำกัดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป
ฉีดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณและให้ตรงตามเวลาที่ควรได้รับ
ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยเพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
ควรมีน้ำผลไม้ ลูกกวาด น้ำตาลก้อนติดตัวไว้กรณีฉุกเฉิน ค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=lcN3aSoDF2M
https://www.thonburihospital.com/DM.html
โรคเบาหวาน เรื่องไม่เล็กสำหรับเด็กและวัยรุ่น
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ "โรคเบาหวาน เรื่องไม่เล็กสำหรับเด็กและวัยรุ่น"
โรคเบาหวานเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมน “อินซูลิน”
หรือประสิทธิภาพการทำงานของ “อินซูลิน” ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ
โดยทั่วไปแล้วโรคเบาหวานมักจะพบในผู้สูงอายุและในคนที่มีรูปร่างอ้วน กินหวานมาก ไม่ออกกำลังกาย และมีกรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวานเท่านั้น
ปัจจุบันเราพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีจำนวนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยมีการศึกษาในเชิงระบาดวิทยา พบอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ในประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพิ่มขึ้นทุกปี
โดยเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถพบเจอได้ตั้งแต่เด็กวัยก่อนเรียน จนกระทั่งวัยรุ่น ส่วยในเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น มักจะพบในเด็กช่วงกำลังเข้าวัยรุ่น
ภาวะโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้มากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ได้ยากกว่าวัยผู้ใหญ่และปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อผู้ป่วยเด็กเจริญเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่
ใครบ้างที่ควรทำการตรวจหาโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีแต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
ผู้ที่อ้วน (มีดัชนีมวลกาย ≥ 25 กิโลกรัม/เมตร2 และ/หรือ มีรอบเอว > 32 นิ้วในผู้หญิง หรือ >36 นิ้วในผู้ชาย)
มีพ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง> 250 มก./ดล. และ/หรือ HDL คอเลสเตอรอลในเลือดตํ่ากว่า 35 มก./ดล.
ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกที่มีนํ้าหนักตัวแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ที่มีโรคถุงนํ้าในรังไข่
ชนิดของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย หรือผลิตได้น้อยมาก และมักตรวจพบตั้งแต่วัยเด็ก
หรือเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักต้องรับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ในประเทศไทย (ประมาณร้อยละ 95)
และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ทั่วโลกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้ แต่อาจผลิตในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
เพราะอินซูลินที่ผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
อาการของโรคเบาหวาน ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หิวบ่อย รับประทานจุแต่น้ำหนักลดลง
และมีอาการอ่อนเพลีย ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย ติดเชื้อรา โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด
ตาพร่ามัว ชาปลายมือ ปลายเท้า
การดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน คนไข้ควบคุมอาหาร รับประทานสม่ำเสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
วัดผลการควบคุม พบแพทย์ตามนัด และใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากยาเบาหวานบางชนิดมักมีอาการ รู้สึกไม่สบายเฉียบพลัน หิวมาก มือสั่น เหงื่อออกมาก
ตัวเย็น เห็นภาพซ้อน หน้าซีด พูดไม่ชัก กรณีรุนแรงมากอาจซัก หมดสติ ถ้าเกิดเวลากลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ตื่นขึ้นมา
รับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลาและจำกัดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป
ฉีดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ทั้งปริมาณและให้ตรงตามเวลาที่ควรได้รับ
ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยเพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
ควรมีน้ำผลไม้ ลูกกวาด น้ำตาลก้อนติดตัวไว้กรณีฉุกเฉิน ค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=lcN3aSoDF2M
https://www.thonburihospital.com/DM.html