แฝงแสง

กระทู้สนทนา
Credit: รหัสวิทยา

เขียนเรื่อง แฝงเรือน ไปแล้ว แฝงดาว ก็เขียนแล้ว คราวนี้มาเรื่อง “แฝงแสง” บ้าง
.
หลักการเรื่องแฝงแสงนี้ไม่มีอะไรยุ่งยาก คือดาวทุกดวงย่อมมีแสง และแสงดาวส่งไปถึงที่ไหน กำลังหรือคุณสมบัติของนั้นย่อมถูกส่งไปถึงที่นั่น ส่วนดาวอื่นที่อยู่ข้างๆ(อยู่ร่วมราศีเดียวกัน)ก็ย่อมถูกแสงของดาวพวกนี้พาติดตัวไปด้วย
.
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจกับเรื่อง “แสงดาว” กันก่อน
.
เรื่องของแสงดาวนี้ ดูเหมือนว่าแต่ละสำนักอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ที่นิยมใช้กันโดยมากก็จะประกอบไปด้วย
.
1. ดาวทุกดวงย่อมส่องแสงเต็มพื้นที่ในราศีที่ตัวมันสถิต ดังนั้นดาวอื่นๆที่อยู่ร่วมราศีเดียวกันจึงได้รับกำลังหรือคุณสมบัติของแสงดาวไปอย่างเต็มที่
.
2. ดาวทุกดวงย่อมส่งแสงไปยังราศีที่อยู่ฟากตรงข้าง(เป็น7กับราศีที่สถิต) เช่นถ้าดาวศุกร์อยู่ราศีเมษ ที่ราศีตุลที่อยู่ตรงข้ามก็ย่อมได้รับแสงจากดาวพฤหัส ทำให้ดาวที่สถิตในราศีตุลพลอยได้รับกำลังหรือคุณสมบัติของดาวศุกร์ไปด้วย
.
3. ดาวพฤหัสจะส่องแสงไปยังราศีที่ 5 (ปุตตะ) และ 9 (ศุภะ) นับจากราศีที่ตัวเองสถิตอยู่
.
4 ดาวอังคารจะส่องแสงไปยังราศีที่ 4 (พันธุ) และ 8 (มรณะ) นับจากราศีที่ตัวเองสถิตอยู่
.
5. ดาวเสาร์จะส่องแสงไปยังราศีที่ 3 (สหัชชะ) และ 10 (กัมมะ) นับจากราศีที่ตัวเองสถิตอยู่
.
ความจริงยังหมีหลักเกณฑ์อื่นสำหรับดาวอื่นๆอีก แต่เห็นว่าให้ผลน้อยไม่ชัดเจนเต็มกำลังเหมือนอย่างดาวสามดวงนี้จึงขอข้ามไปก่อน(ค่อยกลับมาเขียนใหม่)วันหลัง
.
คราวนี้กลับมาดูเรื่องของการแฝงแสง
.
จะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ โดยสมมุติว่ามีดาวพฤหัสอยู่ในราศีตุล โดยมีดาวพุธอยู่ร่วมในราศีตุลนั้นด้วย
.
เราทราบดีแล้วว่า ดาวพฤหัสจะส่องแสงไปยังราศีที่ 5 และ 9 ดังนั้นที่ราศีกุมภ์(นับจากตุลไป5) และราศีเมถุน(นับจากตุลไป9) จึงคล้ายกับว่ามีดาวพฤหัสสถิตอยู่ด้วยโดยอาศัยแสงของตัวมันเองเป็นตัวพาไป
.
ทีนี้เจ้าดาวพุธที่อยู่ร่วมราศีกับดาวพฤหัสอยู่นั้น แม้จะไม่มีหลักเกณฑ์เรื่องแสงดาวอะไร แต่ก็โดนแสงของดาวพฤหัสเพื่อนร่วมราศีลากติดร่างแห พาไปอยู่ตรงที่ราศีกุมภ์และราศีเมถุนกับเขาด้วย
ยิ้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่