Credit: Cosmo Biography
ฟังพอดแคสต์พูดถึงการเรียนโหราศาสตร์ โดย Host เขาเป็นอาจารย์สอนโหราศาสตร์มานานหลายปีมาก เขาบอกว่าการเรียนโหราศาสตร์ เหมือนการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด นักเรียนโหราศาสตร์ส่วนใหญ่คิดว่า การเรียน คือ การลงทะเบียนเรียนคอร์ส เรียนจบแล้วก็เก่งเลย แต่จริงๆแล้ว เราจะเรียนรู้จากลูกค้าที่เราให้คำปรึกษา หรือดูดวงมากกว่าเสียอีก
ผมเข้าใจคนที่พึ่งเรียนโหราศาสตร์นะ ตอนเริ่มต้น ผมก็ไม่กล้าลงสนาม ไม่กล้าทายใคร เออในบทสัมภาษณ์เขาก็คุยกันถึงประเด็นนี้เหมือนกัน อจ.ท่านนั้นบอกว่า เราก็ใช้ความรู้เท่าที่เรามีนี้แหละ แค่พื้นฐานก็เพียงพอ มีเท่าไรก็ใช้เท่านั้น ผมเข้าใจว่าเขาน่าจะหมายถึงไม่ไปมั่วเกินความรู้ ให้ใช้ตามที่เราเรียนมา
ตรงนี้ในหัวผมแว๊บกลับไปตอนเริ่มทายดวงแรกๆ ตอนนั้นรับทำทายบนเวปไซต์ มีคนถามมา ผมนั่งตรวจดวงอยู่ประมาณ 2 วัน เปิดมันทุกตำรา ดูนู้นนี้นั้น ไล่เรือน พระเคราะห์สนธิ มีโค้งถึงอะไรบ้าง ไหนดวงโซลล่ารีเทิร์นเป็นอย่างไง เขียนตอบกับไปยังกับเรียงความ ฮา นึกถึงเรื่องนี้ที่ไรก็ขำเสมอ เป็นเรื่องเล่าที่ผมมักเล่าให้น้องๆสายโหราศาสตร์ฟัง แถมทายไป ก็ไม่รู้ถูกไหมด้วยนะ เพราะต้องรอการตอบกลับของแต่ละคน
ถ้าให้ผมแนะนำตอนนี้ ผมจะแนะนำว่า หาคนที่เราดูให้แล้วเขาสามารถ Feed back เราได้ว่า ตรงไหม ถูกไหม หรือเขาเป็นอย่างไง จะได้พอเห็นภาพดาวเพิ่มขึ้นบ้าง อ้อๆ ให้ดีอย่าพึ่งดูดวงคนในครอบครัว หรือใกล้ตัว ให้ลองหาคนไกลตัวออกไปนิดนึงก่อน คุณจะได้ตัดเรื่อง Bias ออกไป
ยิ่งถ้าเราได้ฝึกใช้ภาษาดาว และได้ข้อมูลตอบรับมาบ่อยๆ เราก็จะเข้าใจโหราศาสตร์ลึกซึ้งขึ้น มีคลังศัพท์มากขึ้นด้วย ฝึกนานเข้า เราจะเห็นการผสมดาว/เรือน/ราศี เนียนขึ้น และสังเคราะห์คำพยากรณ์ออกมาเอง ผมเห็นครูบาอาจารย์ท่านดูพื้นดวง แปลดาวได้เนียนกริบ บางทีก็เป็นตัวพื้นฐานๆ ประกอบๆกัน สังเคราะห์ออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งๆที่รากจริงๆมาจากเรื่องพื้นฐานมากๆ
วันก่อน อาจารย์กามล แสงวงศ์ เขียนเรื่อง มีคนถามว่าจะเก่งได้ต้องทำอย่างไง ดีมากเลยนะ ลองไปอ่านดู หลักใหญ่ คือ อจ.ท่านแนะนำให้ สนุก ใช้ให้บ่อย ฝึกฝน และเรียนรู้ตลอดเวลา และที่สำคัญ อยากเก่ง ต้องกล้าทาย จะทายถูกหรือทายผิดก็เป็นครูได้ทั้งนั้น สนุกไปกับผลงานตัวเอง ปรับปรุงและเดินไปข้างหน้าต่อ
ฝึกทายโหราศาสตร์
ฟังพอดแคสต์พูดถึงการเรียนโหราศาสตร์ โดย Host เขาเป็นอาจารย์สอนโหราศาสตร์มานานหลายปีมาก เขาบอกว่าการเรียนโหราศาสตร์ เหมือนการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด นักเรียนโหราศาสตร์ส่วนใหญ่คิดว่า การเรียน คือ การลงทะเบียนเรียนคอร์ส เรียนจบแล้วก็เก่งเลย แต่จริงๆแล้ว เราจะเรียนรู้จากลูกค้าที่เราให้คำปรึกษา หรือดูดวงมากกว่าเสียอีก
ผมเข้าใจคนที่พึ่งเรียนโหราศาสตร์นะ ตอนเริ่มต้น ผมก็ไม่กล้าลงสนาม ไม่กล้าทายใคร เออในบทสัมภาษณ์เขาก็คุยกันถึงประเด็นนี้เหมือนกัน อจ.ท่านนั้นบอกว่า เราก็ใช้ความรู้เท่าที่เรามีนี้แหละ แค่พื้นฐานก็เพียงพอ มีเท่าไรก็ใช้เท่านั้น ผมเข้าใจว่าเขาน่าจะหมายถึงไม่ไปมั่วเกินความรู้ ให้ใช้ตามที่เราเรียนมา
ตรงนี้ในหัวผมแว๊บกลับไปตอนเริ่มทายดวงแรกๆ ตอนนั้นรับทำทายบนเวปไซต์ มีคนถามมา ผมนั่งตรวจดวงอยู่ประมาณ 2 วัน เปิดมันทุกตำรา ดูนู้นนี้นั้น ไล่เรือน พระเคราะห์สนธิ มีโค้งถึงอะไรบ้าง ไหนดวงโซลล่ารีเทิร์นเป็นอย่างไง เขียนตอบกับไปยังกับเรียงความ ฮา นึกถึงเรื่องนี้ที่ไรก็ขำเสมอ เป็นเรื่องเล่าที่ผมมักเล่าให้น้องๆสายโหราศาสตร์ฟัง แถมทายไป ก็ไม่รู้ถูกไหมด้วยนะ เพราะต้องรอการตอบกลับของแต่ละคน
ถ้าให้ผมแนะนำตอนนี้ ผมจะแนะนำว่า หาคนที่เราดูให้แล้วเขาสามารถ Feed back เราได้ว่า ตรงไหม ถูกไหม หรือเขาเป็นอย่างไง จะได้พอเห็นภาพดาวเพิ่มขึ้นบ้าง อ้อๆ ให้ดีอย่าพึ่งดูดวงคนในครอบครัว หรือใกล้ตัว ให้ลองหาคนไกลตัวออกไปนิดนึงก่อน คุณจะได้ตัดเรื่อง Bias ออกไป
ยิ่งถ้าเราได้ฝึกใช้ภาษาดาว และได้ข้อมูลตอบรับมาบ่อยๆ เราก็จะเข้าใจโหราศาสตร์ลึกซึ้งขึ้น มีคลังศัพท์มากขึ้นด้วย ฝึกนานเข้า เราจะเห็นการผสมดาว/เรือน/ราศี เนียนขึ้น และสังเคราะห์คำพยากรณ์ออกมาเอง ผมเห็นครูบาอาจารย์ท่านดูพื้นดวง แปลดาวได้เนียนกริบ บางทีก็เป็นตัวพื้นฐานๆ ประกอบๆกัน สังเคราะห์ออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งๆที่รากจริงๆมาจากเรื่องพื้นฐานมากๆ
วันก่อน อาจารย์กามล แสงวงศ์ เขียนเรื่อง มีคนถามว่าจะเก่งได้ต้องทำอย่างไง ดีมากเลยนะ ลองไปอ่านดู หลักใหญ่ คือ อจ.ท่านแนะนำให้ สนุก ใช้ให้บ่อย ฝึกฝน และเรียนรู้ตลอดเวลา และที่สำคัญ อยากเก่ง ต้องกล้าทาย จะทายถูกหรือทายผิดก็เป็นครูได้ทั้งนั้น สนุกไปกับผลงานตัวเอง ปรับปรุงและเดินไปข้างหน้าต่อ