สงสัยว่าทำไม 2 จังหวัดนี้ ถึงยังไม่มีสถานีกรมอุตุมาตั้ง แต่กรุงเทพ มี 4 สถานี เรียงอยู่ในแนวๆ ใกล้กันกัน แต่ฝั่งธนบุรีไม่มีเลย สมุทรปราการนี่ก็มีสถานีอยู่เยอะมากๆ ตั้งใกล้ๆ กัน ปทุมธานีมีอยู่แค่ตรงคลองหลวง นครปฐมไปมีอยู่สถานีเดียวตรงกำแพงแสนนู่นเลย
ถ้าเหตุผลเพราะสภาพอากาศใกล้เคียงกัน ก็เห็นด้วยในเรื่องอุณหภูมิ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมทีกรุงเทพ กับ สมุทรปราการ ถึงตั้งสถานีเยอะๆ ใกล้ๆ กัน แทนที่จะกระจายออกไปยังบริเวณที่ไม่มีสถานี และถ้าบอกว่าปริมาณฝนใกล้เคียงกันไม่มีทางแน่ๆ เพราะเท่าที่สังเกตในเรดาร์ เรามักจะเห็นเคสที่ฝนก่อตัวเน้นหนัก เฉพาะใน นนทบุรี หรือ สมุทรสาคร หรือฝั่งธนบุรี อยู่บ่อยครั้งพอสมควร ขณะที่ บริเวณสถานีตรวจอากาศอุตุใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในกรุงเทพ (ฝั่งพระนคร) บ้าง สมุทรปราการมั่ง จะโดนหางๆ หรือบางเคสก็คือบริเวณสถานีไม่มีฝนเลย กรมอุตุก็จะสรุปอากาศจากสถานีว่า วันนี้ไม่มีฝน เผลอๆ เอาไปพยากรณ์อากาศวันต่อๆ ไป ว่า กรุงเทพ ปริมณฑล ไม่มีฝน ทั้งๆ ที่ บางพื้นที่มีฝนตกหนักอ่วมไปแล้ว
ผมว่าถ้ากรมอุตุตั้งสถานีในนนทบุรี ฝั่งธน สมุทรสาคร ย่านละ 1 สถานี น่าจะช่วยให้การพยากรณ์อากาศดีขึ้นได้นะครับ อันนี้เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวที่อยากเสนอแนะ ไม่แน่ใจว่าสมาชิกคนอื่นๆ มีความเห็นอย่างไรบ้าง
ทำไม จ.นนทบุรี กับ จ.สมุทรสาคร ถึงยังไม่มีสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุฯ อีกครับ
ถ้าเหตุผลเพราะสภาพอากาศใกล้เคียงกัน ก็เห็นด้วยในเรื่องอุณหภูมิ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมทีกรุงเทพ กับ สมุทรปราการ ถึงตั้งสถานีเยอะๆ ใกล้ๆ กัน แทนที่จะกระจายออกไปยังบริเวณที่ไม่มีสถานี และถ้าบอกว่าปริมาณฝนใกล้เคียงกันไม่มีทางแน่ๆ เพราะเท่าที่สังเกตในเรดาร์ เรามักจะเห็นเคสที่ฝนก่อตัวเน้นหนัก เฉพาะใน นนทบุรี หรือ สมุทรสาคร หรือฝั่งธนบุรี อยู่บ่อยครั้งพอสมควร ขณะที่ บริเวณสถานีตรวจอากาศอุตุใกล้เคียง ซึ่งอยู่ในกรุงเทพ (ฝั่งพระนคร) บ้าง สมุทรปราการมั่ง จะโดนหางๆ หรือบางเคสก็คือบริเวณสถานีไม่มีฝนเลย กรมอุตุก็จะสรุปอากาศจากสถานีว่า วันนี้ไม่มีฝน เผลอๆ เอาไปพยากรณ์อากาศวันต่อๆ ไป ว่า กรุงเทพ ปริมณฑล ไม่มีฝน ทั้งๆ ที่ บางพื้นที่มีฝนตกหนักอ่วมไปแล้ว
ผมว่าถ้ากรมอุตุตั้งสถานีในนนทบุรี ฝั่งธน สมุทรสาคร ย่านละ 1 สถานี น่าจะช่วยให้การพยากรณ์อากาศดีขึ้นได้นะครับ อันนี้เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวที่อยากเสนอแนะ ไม่แน่ใจว่าสมาชิกคนอื่นๆ มีความเห็นอย่างไรบ้าง