คนที่มีอาชีพที่ต้องทำงานตอนกลางคืน ในระยะยาว สุขภาพจะเป็นอย่างไรบ้างครับ

คนที่มีอาชีพที่ต้องทำงานตอนกลางคืน เช่น พนักงานที่ต้องเข้าเวรหรือทำงานกะดึก , พ่อค้าแม่ค้า
คนทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่ชอบทำงานช่วงดึกไปจนถึงโต้รุ่ง ฯลฯ

ถ้าเทียบกับคนที่ทำงานช่วงเช้าตามปกติ และพักผ่อนในตอนกลางคืน ถ้าดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองไม่แตกต่างกัน
(เช่น พักผ่อนอย่างเพียงพอ, กินอาหารที่มีประโยชน์, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฯลฯ)

ในระยะยาวสุขภาพจะแตกต่างกันมั้ยครับ คือสงสัยว่าการทำงานตอนกลางคืนแล้วพักผ่อนในช่วงกลางวัน
ถ้าทำติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ท่านไหนที่มีประสบการณ์ที่ต้องทำงานตอนกลางคืนบ้างครับ สุขภาพโดยรวมแล้วเป็นอย่างไรกันบ้าง

ขอบคุณทุกความคิดเห็นมากครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
มีผลมากครับ  สำหรับคนทำงานกลางคืน

วิศกร หรือ ชาวโรงงาน เขาเลยต้องมีการหมุนกะ  เช่น เปลี่ยนกะทุกๆ สองสัปดาห์ เพื่อลดปัญหานี้

คุณจะไปเชื่อใครว่าไม่มีผลก็แล้วแต่นะครับ  แต่เพื่อนผม

คนที่ 1 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ เพราะชอบทำงานกลางคืน หน้าคอมพ์ นอนกลางวันก็ไม่เต็มอิ่ม ร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่
คนที่ 2 ต้องเข้าห้องไอซียู เกิดอาการหัวใจวาย ปั้มหัวใจทัน  หมอแนะนำให้มานอนตามเวลาคนทั่วไป

ร่างกายเราจะอาศัยแสงเป็นตัวกระตุ้นหรือบอกว่าควรจะนอนเวลาไหน ควรตื่นเวลาไหน

ตอนนอน ร่างกายจะหลังสารต่างๆ รวมถึงสร้างเม็ดเลือดขาวไว้ต่อสู้เชื้อโรค ปรับสมดุลฮอร์โมน

ถ้าคุณไปนอนกลางวัน มันจะไม่เงียบพอ อากาศไม่เย็นพอ แม้จะนอนห้องแอร์ แต่รังสีมันแผ่มานะครับ  มาโดนตัวเราก่อน แล้วให้ลมแอร์เป่าออกไป
อย่าเข้าใจว่า เปิดแอร์เย็นๆ นอนกลางวันมันจะเหมือนกลางคืน มันไม่เหมือนครับ

หลังคาสะสมความร้อน แผ่รังสีมาหาฝ้า ฝ้าแปลงเป็นความร้อน แผ่รังสีมาที่ตัวคุณ ตัวคุณจะร้อน แล้ว ลมแอร์ถึงจะเอาออกไป

ในขณะที่กลางคืน ความร้อนจะไม่มีจากดวงอาทิตย์  ตอนเช้าจะเห็นว่าแอร์จะทำงานน้อยมาก
ความคิดเห็นที่ 2
มีผลครับ และมีผลต่างกันพอสมควร

เท้าความก่อนว่า จขกท.น่าจะเคยได้ยินคำว่า "นาฬิกาชีวภาพ" หรือ circadian rhythm โดยปกตินาฬิกาชีวภาพนี้ อาศัย "แสง" เป็นตัวบอก ว่าเวลาไหน ควรจะทำอะไร เช่น เวลาไหนควรจะนอน เวลาไหนควรจะตื่น
- อย่างมนุษย์ เป็น diurnal animal คือ เป็นสัตว์ที่ตื่นกลางวัน นอนกลางคืน
- ขั้วตรงข้ามคือ nocturnal animal คือสัตว์ที่ตื่นกลางคืน นอนกลางวัน เช่น ค้างคาว นกฮูก
- ตรงกลางระหว่างสองขั้วคือ crepuscular animal คือสัตว์ที่ตื่นในช่วงย่ำรุ่ง หรือพระอาทิตย์เริ่มตกดิน เช่น แมวบ้าน แฮมสเตอร์ (กลุ่มนี้ พฤติกรรมของมนุษย์จะมีผลต่อการนอน เช่น พอคุ้นกับตารางชีวิตของมนุษย์ อาจจะนอนไล่เลี่ยกัน)
- ทำให้การเดินทางข้าม time zone เยอะๆ ทำให้เกิดอาการ jet lag คือนาฬิกาชีวภาพเอ๋อ เพราะแสงสว่างมันเปลี่ยนไปจาก time zone ที่เปลี่ยน
*ทั้งนี้ ไม่ใช่สัตวแพทย์ ฟังหูไว้หูตรงส่วนนี้ครับ

มีการศึกษามากมายที่ค้นหาและค้นพบถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการที่นาฬิกาชีวภาพมันรวนจากการทำงานกะดึก เช่น
- คุณภาพการนอนลดลง
- สุขภาพจิตเสีย จากโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์
- มีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น
- เกิดโรคทางเมตาบอลิสมมากขึ้น เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
- มะเร็ง (พบความสัมพันธ์ในสัตว์ทดลองชัดเจน จากการตรวจพบ gene mutation ในยีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็ง แต่การศึกษาในมนุษย์ยังมีไม่มากพอ แต่ "ไม่พบ" ไม่ได้แปลว่า "ไม่มี" แค่ยังสรุปไม่ได้)

ข้อมูลน่าจะค่อยๆมีมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลในตอนนี้อาจจะยังไม่ชัดเจนฟันธง แต่ในอีกสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้า องค์ความรู้อาจจะเปลี่ยนไปครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่