ใจความสำคัญ
เรือโดยสารเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม นับเป็น “เส้นทางเดินเรือสีเขียว” สายแรกของไทย เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 โดยใช้พลังงาน
ไฟฟ้า ขับเคลื่อนทั้งหมดตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ที่ต้องการฟื้นฟูคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และคลองอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานครให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และจัดระเบียบใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางทั้งระบบ “ล้อ ราง เรือ” แบบไร้รอยต่อ
บริการเรือโดยสารเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษมเป็นประโยชน์กับประชาชนหลายกลุ่ม ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และนักท่องเที่ยว เปิดให้บริการวันละ 39 เที่ยว ผ่าน 11 ท่าเรือ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสถานีรถไฟหัวลำโพง รวมทั้งท่าเรือคลองแสนแสบ ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และป้ายรถโดยสารประจำทางอีกหลายสาย
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทดลองเดินเรือโดยสารเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 โดยเริ่มจากท่าเรือหัวลำโพง ไปถึงท่าเรือเทเวศร์ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่าน 9 ท่าเรือ โดยในช่วงแรกให้บริการเรือโดยสาร 12 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำ ก่อนจะเพิ่มเป็น 6 ลำ นอกจากนี้ ยังนำเรือไฟฟ้าต้นแบบที่ดัดแปลงมาจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 1 ลำ โดยสารได้ 40 ที่นั่ง มาทดลองให้บริการแก่ประชาชนเรื่อยมาจนได้ฤกษ์เปิดให้บริการแก่พี่น้องประชาชนอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบแล้ว เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี
ดยในครั้งนั้น พลเอก ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่า “รู้สึกพอใจ สิ่งที่คิดมาแล้วเกิดเป็นรูปธรรม ขอบคุณ กทม. กระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่า และทุกหน่วยงานที่ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อจากนี้เหมือนกับรถไฟ รถไฟฟ้า มันไม่มีวันสิ้นสุด เพราะคนเพิ่มขึ้น เส้นทางเพิ่มขึ้น จึงก็ต้องดูแลประชาชนให้ทั่วถึง ”
พระเอกสำคัญของเรือสายคลองผดุงกรุงเกษมที่ทุกคนต้องกล่าวถึงคือ เรือพลังงานไฟฟ้า 100 % ทั้ง 7 ลำ ที่นำมาให้บริการแทนเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นความริเริ่มที่รัฐบาล และกรุงเทพมหานครต้องการให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็น “เส้นทางสีเขียว” ของไทยที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังลดมลพิษทางเสียงและอากาศ เนื่องจากเรือเดินด้วยเสียงที่เบาและปลอดฝุ่นควันเพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ด้วย
เรือไฟฟ้าแต่ละลำจะมีหลังคาที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 12 แผง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับระบบไฟส่องสว่างในเรือและสำรองไว้เป็นพลังงาน
ขับเคลื่อน โดยในการชาร์จแบตเตอรี่เต็ม 1 ครั้ง จะสามารถให้บริการได้นาน 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ ตัวเรือยังเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ที่สำคัญ สามารถรองรับผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์ได้ 1 คัน และมีการออกแบบที่นั่งและทางเดินบนเรือให้สะดวกสบายขึ้น มีลายกันลื่นตลอดพื้นเรือเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร เรือแต่ละลำสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ที่นั่ง
ความเร็วสูงสุดในการเดินเรืออยู่ที่ 10-15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เรือสามารถกลับลำได้ 360 องศา เพื่อลดปัญหาการกลับลำเรือในคลอง และมีระบบจีพีเอสติดตามตำแหน่งเรือ รวมทั้งกล้องวงจรปิด เพื่อติดตามตรวจสอบการให้บริการประชาชน เส้นทางเดินเรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษมครอบคลุม 4 พื้นที่เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน ประกอบด้วยท่าเรือ 11 ท่า ได้แก่ 1. ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง 2. ท่าเรือหัวลำโพง 3. ท่าเรือนพวงศ์ 4. ท่าเรือยศเส 5. ท่าเรือกระทรวงพลังงาน 6. ท่าเรือแยกหลานหลวง 7. ท่าเรือนครสวรรค์ 8. ท่าเรือราชดำเนินนอก 9. ท่าเรือประชาธิปไตย 10. ท่าเรือเทเวศร์ และ 11. ท่าเรือตลาดเทวราช
เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม ให้บริการทุกวัน วันละ 39 เที่ยว เรือออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 – 19.00 น. (อาจปรับเปลี่ยนเวลาเดินเรือตามความเหมาะสม) โดยในช่วง 6 เดือนแรก (27 พฤศจิกายน 2563 – 26 พฤษภาคม 2564) ให้บริการฟรี หลังจากนั้นจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราไม่เกิน 10 บาท ตลอดสาย
จุดเด่นอีกประการของเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษมคือ สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนครบตามนโยบาย “ล้อ ราง เรือ” ด้วยจุดเชื่อมต่อกับรถโดยสารประจำทางตลอดเส้นทาง รวมทั้ง ท่าเรือและรถไฟอื่น ๆ ดังนี้
จุดที่ 1 ต่อรถ
ไฟฟ้า
MRT สายสีน้ำเงิน ที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง
จุดที่ 2 ต่อรถไฟชานเมือง ที่ท่าเรือรถไฟหัวลำโพง
จุดที่ 3 ต่อเรือแสนแสบ ที่ท่าเรือกระทรวง
พลังงาน
จุดที่ 4 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟาก ที่ท่าเรือตลาดเทวราช
การพัฒนาและยกระดับคลองสำคัญเส้นนี้ จนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทำให้ชื่อ ผดุงกรุงเกษม ที่หมายความว่า “ค้ำจุนบ้านเมืองให้มั่นคงและมั่งคั่ง”
https://www.pmdu.go.th/khlong-phadung-krung-kasem/
คลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อเพื่อประชาชน
ใจความสำคัญ
เรือโดยสารเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม นับเป็น “เส้นทางเดินเรือสีเขียว” สายแรกของไทย เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 โดยใช้พลังงาน
ไฟฟ้า ขับเคลื่อนทั้งหมดตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ที่ต้องการฟื้นฟูคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และคลองอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานครให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และจัดระเบียบใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางทั้งระบบ “ล้อ ราง เรือ” แบบไร้รอยต่อ
บริการเรือโดยสารเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษมเป็นประโยชน์กับประชาชนหลายกลุ่ม ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และนักท่องเที่ยว เปิดให้บริการวันละ 39 เที่ยว ผ่าน 11 ท่าเรือ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสถานีรถไฟหัวลำโพง รวมทั้งท่าเรือคลองแสนแสบ ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และป้ายรถโดยสารประจำทางอีกหลายสาย
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทดลองเดินเรือโดยสารเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 โดยเริ่มจากท่าเรือหัวลำโพง ไปถึงท่าเรือเทเวศร์ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่าน 9 ท่าเรือ โดยในช่วงแรกให้บริการเรือโดยสาร 12 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำ ก่อนจะเพิ่มเป็น 6 ลำ นอกจากนี้ ยังนำเรือไฟฟ้าต้นแบบที่ดัดแปลงมาจากระบบน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 1 ลำ โดยสารได้ 40 ที่นั่ง มาทดลองให้บริการแก่ประชาชนเรื่อยมาจนได้ฤกษ์เปิดให้บริการแก่พี่น้องประชาชนอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบแล้ว เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี
ดยในครั้งนั้น พลเอก ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่า “รู้สึกพอใจ สิ่งที่คิดมาแล้วเกิดเป็นรูปธรรม ขอบคุณ กทม. กระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่า และทุกหน่วยงานที่ดำเนินการให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อจากนี้เหมือนกับรถไฟ รถไฟฟ้า มันไม่มีวันสิ้นสุด เพราะคนเพิ่มขึ้น เส้นทางเพิ่มขึ้น จึงก็ต้องดูแลประชาชนให้ทั่วถึง ”
พระเอกสำคัญของเรือสายคลองผดุงกรุงเกษมที่ทุกคนต้องกล่าวถึงคือ เรือพลังงานไฟฟ้า 100 % ทั้ง 7 ลำ ที่นำมาให้บริการแทนเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นความริเริ่มที่รัฐบาล และกรุงเทพมหานครต้องการให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็น “เส้นทางสีเขียว” ของไทยที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังลดมลพิษทางเสียงและอากาศ เนื่องจากเรือเดินด้วยเสียงที่เบาและปลอดฝุ่นควันเพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ด้วย
เรือไฟฟ้าแต่ละลำจะมีหลังคาที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 12 แผง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับระบบไฟส่องสว่างในเรือและสำรองไว้เป็นพลังงาน
ขับเคลื่อน โดยในการชาร์จแบตเตอรี่เต็ม 1 ครั้ง จะสามารถให้บริการได้นาน 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ ตัวเรือยังเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ที่สำคัญ สามารถรองรับผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์ได้ 1 คัน และมีการออกแบบที่นั่งและทางเดินบนเรือให้สะดวกสบายขึ้น มีลายกันลื่นตลอดพื้นเรือเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร เรือแต่ละลำสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ที่นั่ง
ความเร็วสูงสุดในการเดินเรืออยู่ที่ 10-15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เรือสามารถกลับลำได้ 360 องศา เพื่อลดปัญหาการกลับลำเรือในคลอง และมีระบบจีพีเอสติดตามตำแหน่งเรือ รวมทั้งกล้องวงจรปิด เพื่อติดตามตรวจสอบการให้บริการประชาชน เส้นทางเดินเรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษมครอบคลุม 4 พื้นที่เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน ประกอบด้วยท่าเรือ 11 ท่า ได้แก่ 1. ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง 2. ท่าเรือหัวลำโพง 3. ท่าเรือนพวงศ์ 4. ท่าเรือยศเส 5. ท่าเรือกระทรวงพลังงาน 6. ท่าเรือแยกหลานหลวง 7. ท่าเรือนครสวรรค์ 8. ท่าเรือราชดำเนินนอก 9. ท่าเรือประชาธิปไตย 10. ท่าเรือเทเวศร์ และ 11. ท่าเรือตลาดเทวราช
เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม ให้บริการทุกวัน วันละ 39 เที่ยว เรือออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00 – 19.00 น. (อาจปรับเปลี่ยนเวลาเดินเรือตามความเหมาะสม) โดยในช่วง 6 เดือนแรก (27 พฤศจิกายน 2563 – 26 พฤษภาคม 2564) ให้บริการฟรี หลังจากนั้นจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราไม่เกิน 10 บาท ตลอดสาย
จุดเด่นอีกประการของเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษมคือ สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนครบตามนโยบาย “ล้อ ราง เรือ” ด้วยจุดเชื่อมต่อกับรถโดยสารประจำทางตลอดเส้นทาง รวมทั้ง ท่าเรือและรถไฟอื่น ๆ ดังนี้
จุดที่ 1 ต่อรถ
ไฟฟ้า
MRT สายสีน้ำเงิน ที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง
จุดที่ 2 ต่อรถไฟชานเมือง ที่ท่าเรือรถไฟหัวลำโพง
จุดที่ 3 ต่อเรือแสนแสบ ที่ท่าเรือกระทรวง
พลังงาน
จุดที่ 4 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟาก ที่ท่าเรือตลาดเทวราช
การพัฒนาและยกระดับคลองสำคัญเส้นนี้ จนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทำให้ชื่อ ผดุงกรุงเกษม ที่หมายความว่า “ค้ำจุนบ้านเมืองให้มั่นคงและมั่งคั่ง”
https://www.pmdu.go.th/khlong-phadung-krung-kasem/