ยูเครนเวลานี้ --การต่อสู้กันระหว่าง ‘แพทริออต’ ขีปนาวุธเพื่อการป้องกันเมดอินยูเอสเอ กับ ‘อิสกันเดอร์’ ขีปนาวุธเพื่อการโจมตีของรัสเซีย
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2565 02:59
ประธานาธิบดีโวโลดีมาร์ เซเลนสกี ของยูเครน ขณะไปกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ระหว่างการเยือนกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม โดยที่มีรองประธานาธิบด กมลา แฮร์ริส ของสหรัฐฯ (ซ้าย) ในฐานะประธานวุฒิสภา และ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ช่วยกันถือธงชาติยูเครน ซึ่ง เซเลนสกี มอบให้แก่พวกเธอ
สงครามยูเครนในเวลานี้ มอสโกแสดงความมุ่งมั่นที่จะไม่ยอมถอยหลังกลับ
ขณะที่โอกาสซึ่ง เคียฟ จะได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์ก็ไม่เคยเป็นอะไรมากไปกว่าการปล่อยตัวให้เริงร่าอยู่ในความฝันจินตนาการ เมื่อมองดูหนทางข้างหน้า
ขณะที่ แพทริออต เป็นอาวุธเพื่อการป้องกันซึ่งจะทำให้ภาวะชะงักงันยืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ อิสกันเดอร์ กลับเป็นอาวุธซึ่งมีศักยภาพที่จะกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกม
จากการที่พรรครีพับลิกันตั้งท่าเตรียมเข้าควบคุมสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป ถึงแม้ได้ครองเสียงเกินกึ่งหนึ่งเพียงหน่อยเดียวก็ตามที
เรื่องนี้ทำให้คณะบริหารไบเดนกำลังทุ่มเทความพยายามเพื่อดูดเงินงบประมาณออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับเอาไปใช้ในสงครามตัวแทนเพื่อเล่นงานรัสเซียในยูเครน ก่อนที่จุดศูนย์กลางความสนใจในกิจการทางนิติบัญญัติของคองเกรสจะเกิดการปรับเปลี่ยน
โดยที่ขณะนี้ทำเนียบขาวกำลังเสนอขอเงินก้อนใหม่เพื่อใช้ในการนี้เกือบๆ 45,000 ล้านดอลลาร์ แล้วใครล่ะที่สามารถหาคะแนนสนับสนุนเรื่องนี้ได้ดีเท่ากับนักแสดง-นักการเมืองผู้มีผลงานความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์แล้ว?
ตรงนี้เองที่ ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ เซเลนสกี เดินเข้าฉาก เมื่อ เซเลนสกี เสนอตัวในวันที่ 18 ธันวาคมว่า เขาสามารถหาเวลาไปเยือนกรุงวอชิงตันได้สัก 2-3 ชั่วโมงในวันที่ 21 ธันวาคม ประธานาธิบดีไบเดน ก็รีบตกลงทันที
สำหรับ เซเลนสกี ก็เช่นเดียวกัน มันคุ้มค่าที่จะให้ใครๆ ได้เห็นภาพเขากำลังกุมมือของ ไบเดน เอาไว้ ท่ามกลางข่าวลือแพร่สะพัดเกี่ยวกับการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันในกรุงเคียฟ
แน่นอนล่ะ เมื่อพิจารณาจากภาพมุมกว้างในทางยุทธศาสตร์ ฉากเหตุการณ์ที่อยู่ด้านหลังการที่ เซเลนสกี ตัดสินใจเดินทางไปวอชิงตันอย่างเร่งด่วน
ย่อมต้องเป็นทริป 1 วันไปยังกรุงมินสก์ ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ซึ่งส่งผลเป็นการเขย่าภูมิรัฐศาสตร์แห่งความมั่นคงของยุโรปทีเดียว
ทั้งนี้การตัดสินใจของเครมลิมที่จะจัดหาการป้องปรามด้านนิวเคลียร์ให้แก่ เบลารุส คราวนี้ ทำให้ เคียฟ และ วอชิงตัน ต้องพากันจับจ้องตาเขม็ง
เรื่อง NATO nuclear compass rendered unavailing
https://www.indianpunchline.com/nato-nuclear-compass-rendered-unavailing/)
พูดแบบสรุปรวบย่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ ปูติน ไปเยือนกรุงมินสก์คราวนี้ คือ เบลารุสเได้รับกำแพงปกป้องคุ้มครองสุดแกร่ง
ซึ่งจำเป็นสำหรับการที่ มินสก์ จะดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษทางทหารของรัสเซียในยูเครนต่อไป
เวลาเดียวกัน กำแพงแกร่งนี้ก็ตอบสนองวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดประการหนึ่งของฝ่ายมอสโกไปด้วย เมื่อพิจารณาว่า เบลารุส เอื้ออำนวยให้เกิดความล้ำลึกทางยุทธศาสตร์ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการพิเศษทางการทหารของรัสเซียในยูเครนในเฟสต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฝันของนาโต้ที่ต้องการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ “ช่องว่างซูวัลกี” (Suwalki Gap) และตัดขาดฐานนิวเคลียร์อันใหญ่โตมโหฬารในแคว้นคาลินินกราด (Kaliningrad) ริมทะเลบอลติก ออกจาก เบลารุส และดินแดนตอนในเข้าไปของรัสเซีย เป็นอันว่าถูกบดขยี้ลงแล้ว
ประวัติศาสตร์แห่งยุคหลังสงครามเย็นจึงกำลังเปลี่ยนเส้นทางกันแล้วอย่างแท้จริงในอาณาบริเวณแผ่นดินใหญ่แถบนี้ของยุโรป
ผลก็คือ มอสโกอาจจะเพิ่งส่งสัญญาณออกมาว่า ยุทธศาสตร์ของฝ่ายอังกฤษ-อเมริกันที่จะติดอาวุธยูเครนมากขึ้นทุกทีๆ รวมทั้งอาจแอบซ่อนอำพรางไว้ด้วยแผนการบุกโจมตีเข้าไปภายในดินแดนรัสเซียด้วยนั้น ไม่ใช่จะดำเนินไปโดยไม่ถูกตอบโต้ อันที่จริงแล้ว
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ของเบลารุส ประกาศว่า ระบบจรวด เอส-400 (S-400) และระบบจรวดอิสกันเดอร์ (Iskander) ที่จัดส่งมาให้โดยรัสเซีย ได้รับการติดตั้งประจำการเพื่อปฏิบัติหน้าที่สู้รบแล้ว
อิสกันเดอร์ เป็นระบบขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missile) แบบเคลื่อนย้ายที่ตั้งได้อย่างคล่องแคล่ว โดดเด่นด้วยสมรรถนะการโจมตีอย่างแม่นยำแบบสมัยใหม่ มีพิสัยทำการ 400 กิโลเมตรและมีศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ มันมีการเชื่อมต่อกับระบบตัวเซนเซอร์ที่จัดวางเป็นเครือข่าย และสามารถใช้เป็นขีปนาวุธโจมตีได้อย่างรวดเร็วเพื่อเล่นงานเป้าหมายต่างๆ ทั่วทั้งยุทธบริเวณโดยต้องการระยะเวลาเตรียมการแค่สั้นๆ
อิสกันเดอร์ ยังมีศักยภาพในการเคลื่อนที่ด้วยอัตราความเร็วจี๋ถึง 2.1 กิโลเมตร/วินาที ขณะอยู่ในระยะสุดท้ายเมื่อมันกลับลงมาจากชั้นบรรยากาศระดับสูงและดำดิ่งพุ่งสู่เป้าหมาย (high terminal phase) ขีปนาวุธแบบนี้ติดตั้งอุปกรณ์ก่อกวนสัญญาณเพื่อต่อสู้กับพวกเป้าหลอกของข้าศึก และเป็นยุทโธปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีทั้งสำหรับการต่อกรกับพวกเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ และการโจมตีใส่เป้าหมายอยู่กับที่แห่งสำคัญๆ เป็นต้นว่า กองบัญชาการ, โรงงานผลิตทางอุตสาหกรรม, โครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติฝ่ายพลเรือนซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด, และพวกที่ตั้งคลังอาวุธยุทธสัมภาระซึ่งมีเกราะป้องกันแน่นหนา
ในอีกด้านหนึ่ง ไบเดน ก็ใช้วาทศิลป์อย่างดีที่สุดของเขาในการโยนฉายาต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการผรุสวาทเข้าใส่ปูติน ขณะที่มี เซเลนสกี ยืนอยู่ข้างๆ เขาที่ทำเนียบขาว รวมทั้งเอาเรื่องเล่าด้วยความรู้สึกลำพองแบบผู้พิชิตของวอชิงตัน มาพูดซ้ำอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวด้วยว่า สหรัฐฯจะสนับสนุนยูเครน “เรื่อยไปไม่ว่าจะนานแค่ไหน”
อย่างไรก็ดี ชีวิตนั้นเป็นของจริง ขณะที่โวหารวาทศิลป์ในทางการเมืองน้อยนักที่จะแปรเปลี่ยนกลายเป็นความเป็นจริง การพยากรณ์อนาคตจากสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจำเป็นต้องกระทำอย่างระมัดระวัง
ในการแถลงสรุปกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของทำเนียบขาวที่ไม่มีการระบุว่าเป็นผู้ใด แม้พูดยืนยันว่าสหรัฐฯกำลังอยู่ระหว่างการนำเอาระบบขีปนาวุธสำหรับป้องกันขีปนาวุธ “แพทริออต” (Patriot) ไปให้แก่ยูเครน แต่ก็เสริมด้วยคำเตือนว่า ยังจะต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือนก่อนที่ขีปนาวุธ แพทริออต จะไปถึงยูเครนจริงๆ นอกเหนือจากจะต้องใช้เวลา “หลายเดือน” ในการฝึกกองทัพยูเครนให้ใช้งานระบบอาวุธนี้ได้
(ดูเพิ่มเติมได้ที่
https://www.whitehouse.gov/briefing-room/speeches-remarks/2022/12/21/background-press-call-on-the-upcoming-visit-of-president-zelenskyy-of-ukraine/)
เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวว่า เพนตากอน (กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ) “จะฝึกฝ่ายยูเครนในประเทศที่สามให้ใช้ชุดขีปนาวุธนี้ ในทันทีที่ฝึกเสร็จ พวกเขาจะกลับเข้าไปในยูเครนพร้อมกับชุดขีปนาวุธที่จะนำไปใช้งาน มันจะไม่ใช่บุคลากรสหรัฐฯที่ทำหน้าที่เหล่านี้ และดังนั้นจึงไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในแง่นี้ ... (เรา) ไม่ได้กำลังหาทางเพื่อเข้าพัวพันในการทำสงครามโดยตรงกับรัสเซีย และในวันพรุ่งนี้ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องนี้หรอก”
ชัดเจนมากว่า นี่คือความพยายามที่จะลดทอนความอึกทึกเกรียวกราวของเรื่องนี้ มอสโกกล่าวเตือนเอาไว้แล้วว่า ถ้าสหรัฐฯเดินหน้าจัดส่ง แพทริออต ไปให้ยูเครนแล้ว ก็จะเกิด “ผลต่อเนื่อง” และกองกำลังฝ่ายรัสเซียจะถือว่ามันเป็นเป้าหมายที่จะโจมตีได้
นอกจากนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้นี้ยังกล่าวย้ำยืนยันว่า “ท่านประธานาธิบดี (ไบเดน) มีความชัดเจนอย่างมากๆ ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เขาไม่ได้โลเล และเขาก็จะไม่มีการโลเลในวันพรุ่งนี้ หรือในเดือนหน้า หรือในปีหน้า จากที่ได้ยืนยันเอาไว้แล้วว่าสหรัฐฯไม่ส่งกองกำลังไปยังยูเครนเพื่อทำการสู้รบโดยตรงกับฝ่ายรัสเซีย”
สิ่งที่เป็นแก่นแกนในการไปเยือนวอชิงตันของ เซเลนสกี ก็คือ ความจำเป็นเร่งด่วนของคณะบริหารไบเดนที่จะต้องประคับประคองให้ได้รับความสนับสนุน “จากทั้งสองพรรคใหญ่” และ “จากทั้งสองสภา” ในรัฐสภาสหรัฐฯ สำหรับการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีก 45,000 ล้านดอลลาร์แก่ยูเครน
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามตรงๆ ณ การแถลงข่าวร่วมกับ เซเลนสกี ที่ทำเนียบขาว เกี่ยวกับการจัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกลที่สามารถโจมตีถึงรัสเซียไปให้แก่ยูเครน ไบเดน ก็กล่าวยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า “ความคิดที่ว่าเราจะให้วัสดุอุปกรณ์แก่ ยูเครน ซึ่งมีความแตกต่างในระดับรากฐานจากสิ่งที่กำลังส่งไปที่นั่นอยู่แล้วนั้น เป็นสิ่งที่มีลู่ทางโอกาสทีเดียวที่จะสร้างความแตกแยกขึ้นในนาโต้ และสร้างความแตกแยกขึ้นในสหภาพยุโรป ตลอดจนในส่วนอื่นๆ ของโลก ... (บรรดาพันธมิตรของสหรัฐฯ) ไม่ต้องการที่จะเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 3 ...
“ผมใช้เวลาไปแล้วหลายร้อยชั่วโมงในการพูดคุยกันตรงๆ กับพวกพันธมิตรยุโรปของเรา และกับพวกประมุขแห่งรัฐของประเทศเหล่านี้ และในการชี้แจงเหตุผลว่าการที่พวกเขายังคงให้ความสนับสนุนยูเครนต่อไปนั้นคือสิ่งซึ่งเป็นผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างมหาศาลขนาดไหน พวกเขาเข้าใจเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แต่พวกเขาไม่ได้คิดที่จะเข้าทำสงครามกับรัสเซีย พวกเขาไม่ได้คิดที่จะทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้นมา”
(ดูเพิ่มเติมได้ที่
https://www.whitehouse.gov/briefing-room/speeches-remarks/2022/12/21/remarks-by-president-biden-and-president-zelenskyy-of-ukraine-in-joint-press-conference/)
นี่เป็นคำแถลงที่ไม่ธรรมดาเลย โดยเฉพาะเมื่อออกมาในช่วงจังหวะเวลานี้ มันมีความหมายเท่ากับเป็นการยื่นช่อมะกอกสันติภาพไปยังมอสโกว่า สหรัฐฯไม่ได้ต้องการไต่บันไดทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน มันก็ทำให้เกิดปริศนาขึ้นมาเกี่ยวกับการไปเยือนสหรัฐฯของ เซเลนสกี
ถึงแม้ทริปไปวอชิงตันของ เซเลนสกี ถูกกำหนดจัดวางเอาไว้ล่วงหน้าว่าคือการแสดงออกในทางยุทธศาสตร์ถึงความสมัครสมานสามัคคีกัน ทว่ามันก็ไม่สามารถปกปิดรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นมา --นั่นก็คือความหวาดกลัวอันลึกเร้นที่ว่า แรงหนุนหลัง เคียฟ อาจจะจืดจางลงขณะที่การสู้รบยืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ พูดกันง่ายๆ ก็คือว่า ความรู้สึกที่ว่าความช่วยเหลือที่สหรัฐฯให้แก่ยูเครนไม่ควรอยู่ในลักษณะของการมอบ “เช็กเปล่า” เพื่อให้กรอกตัวเงินกันตามใจชอบนั้น มีแต่จะกลายเป็นกระแสแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ ในรัฐสภาอเมริกัน
ตัว ไบเดน เองคาดการณ์ว่า การสู้รบขัดแย้งยูเครน จะกลายเป็นประเด็นหนึ่งของการรณรงค์หาเสียงในปี 2024 และจะมีการตั้งคำถามต่างๆ ขึ้นมามากมาย
อย่างที่สื่อ “เดอะฮิลล์” (The Hill) เขียนเอาไว้ว่า “พวกที่สงสัยข้องใจพากันโต้แย้งว่า สหรัฐฯไม่ได้มีผลประโยชน์สำคัญยิ่งยวดอะไรในยูเครน เงินที่ไหลทะลักเข้าไปให้ เคียฟ นั้นมากมายเหลือล้นเกินไปแล้ว และยังแปดเปื้อนด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น แถมสงครามนี้ยังเป็นการหันเหความสนใจออกไปจากปัญหาต่างๆ
ภายในประเทศที่มีอยู่มากมายท่วมท้น ซึ่งล้วนแต่เรียกร้องต้องการความใส่ใจ”
(เดอะฮิลล์ เป็นสื่ออเมริกันที่เน้นรายงานข่าวเกี่ยวกับรัฐสภา, ประธานาธิบดีและฝ่ายบริหาร, และการรณรงค์หาเสียงในสหรัฐฯ ดูเพิ่มเติมได้ที่
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Hill_(newspaper) -ผู้แปล)
ในทำนองเดียวกัน ความกังวลใจที่อยู่ในความคิดของชาวยุโรปนั้น เห็นชัดเจนว่าคือเรื่องที่พวกคอมเมนเตเตอร์ชื่อดังทรงอิทธิพลชาวแองโกล-แซกซอน และพวกนักการเมืองในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก กำลังกลายเป็นผู้ที่กำหนดวาระการปฏิบัติการของยุโรปไปเสียแล้ว
ทั้งนี้ น่าสนใจมากที่ประธานาธิบดีแฟรงก์-วอลเทอร์ สไตน์ไมเออร์ (Frank-Walter Steinmeier) ของเยอรมนี ซึ่งเป็นนักการทูตมากประสบการณ์ ได้โทรศัพท์ถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนในวันที่ 20 ธันวาคม อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เซเลนสกี ไปวอชิงตัน
บันทึกสรุปย่อการหารือคราวนี้ของฝ่ายจ
ยูเครน-การสู้กันระหว่าง ‘แพทริออต’ ขีปนาวุธป้องกันUSA กับ ‘อิสกันเดอร์’ ขีปนาวุธโจมตีของรัสเซีย
ยูเครนเวลานี้ --การต่อสู้กันระหว่าง ‘แพทริออต’ ขีปนาวุธเพื่อการป้องกันเมดอินยูเอสเอ กับ ‘อิสกันเดอร์’ ขีปนาวุธเพื่อการโจมตีของรัสเซีย
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2565 02:59
ประธานาธิบดีโวโลดีมาร์ เซเลนสกี ของยูเครน ขณะไปกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ระหว่างการเยือนกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม โดยที่มีรองประธานาธิบด กมลา แฮร์ริส ของสหรัฐฯ (ซ้าย) ในฐานะประธานวุฒิสภา และ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ช่วยกันถือธงชาติยูเครน ซึ่ง เซเลนสกี มอบให้แก่พวกเธอ
สงครามยูเครนในเวลานี้ มอสโกแสดงความมุ่งมั่นที่จะไม่ยอมถอยหลังกลับ
ขณะที่โอกาสซึ่ง เคียฟ จะได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์ก็ไม่เคยเป็นอะไรมากไปกว่าการปล่อยตัวให้เริงร่าอยู่ในความฝันจินตนาการ เมื่อมองดูหนทางข้างหน้า
ขณะที่ แพทริออต เป็นอาวุธเพื่อการป้องกันซึ่งจะทำให้ภาวะชะงักงันยืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ อิสกันเดอร์ กลับเป็นอาวุธซึ่งมีศักยภาพที่จะกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกม
จากการที่พรรครีพับลิกันตั้งท่าเตรียมเข้าควบคุมสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป ถึงแม้ได้ครองเสียงเกินกึ่งหนึ่งเพียงหน่อยเดียวก็ตามที
เรื่องนี้ทำให้คณะบริหารไบเดนกำลังทุ่มเทความพยายามเพื่อดูดเงินงบประมาณออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับเอาไปใช้ในสงครามตัวแทนเพื่อเล่นงานรัสเซียในยูเครน ก่อนที่จุดศูนย์กลางความสนใจในกิจการทางนิติบัญญัติของคองเกรสจะเกิดการปรับเปลี่ยน
โดยที่ขณะนี้ทำเนียบขาวกำลังเสนอขอเงินก้อนใหม่เพื่อใช้ในการนี้เกือบๆ 45,000 ล้านดอลลาร์ แล้วใครล่ะที่สามารถหาคะแนนสนับสนุนเรื่องนี้ได้ดีเท่ากับนักแสดง-นักการเมืองผู้มีผลงานความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์แล้ว?
ตรงนี้เองที่ ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ เซเลนสกี เดินเข้าฉาก เมื่อ เซเลนสกี เสนอตัวในวันที่ 18 ธันวาคมว่า เขาสามารถหาเวลาไปเยือนกรุงวอชิงตันได้สัก 2-3 ชั่วโมงในวันที่ 21 ธันวาคม ประธานาธิบดีไบเดน ก็รีบตกลงทันที
สำหรับ เซเลนสกี ก็เช่นเดียวกัน มันคุ้มค่าที่จะให้ใครๆ ได้เห็นภาพเขากำลังกุมมือของ ไบเดน เอาไว้ ท่ามกลางข่าวลือแพร่สะพัดเกี่ยวกับการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันในกรุงเคียฟ
แน่นอนล่ะ เมื่อพิจารณาจากภาพมุมกว้างในทางยุทธศาสตร์ ฉากเหตุการณ์ที่อยู่ด้านหลังการที่ เซเลนสกี ตัดสินใจเดินทางไปวอชิงตันอย่างเร่งด่วน
ย่อมต้องเป็นทริป 1 วันไปยังกรุงมินสก์ ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ซึ่งส่งผลเป็นการเขย่าภูมิรัฐศาสตร์แห่งความมั่นคงของยุโรปทีเดียว
ทั้งนี้การตัดสินใจของเครมลิมที่จะจัดหาการป้องปรามด้านนิวเคลียร์ให้แก่ เบลารุส คราวนี้ ทำให้ เคียฟ และ วอชิงตัน ต้องพากันจับจ้องตาเขม็ง
เรื่อง NATO nuclear compass rendered unavailing https://www.indianpunchline.com/nato-nuclear-compass-rendered-unavailing/)
พูดแบบสรุปรวบย่อ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ ปูติน ไปเยือนกรุงมินสก์คราวนี้ คือ เบลารุสเได้รับกำแพงปกป้องคุ้มครองสุดแกร่ง
ซึ่งจำเป็นสำหรับการที่ มินสก์ จะดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษทางทหารของรัสเซียในยูเครนต่อไป
เวลาเดียวกัน กำแพงแกร่งนี้ก็ตอบสนองวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดประการหนึ่งของฝ่ายมอสโกไปด้วย เมื่อพิจารณาว่า เบลารุส เอื้ออำนวยให้เกิดความล้ำลึกทางยุทธศาสตร์ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการพิเศษทางการทหารของรัสเซียในยูเครนในเฟสต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฝันของนาโต้ที่ต้องการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ “ช่องว่างซูวัลกี” (Suwalki Gap) และตัดขาดฐานนิวเคลียร์อันใหญ่โตมโหฬารในแคว้นคาลินินกราด (Kaliningrad) ริมทะเลบอลติก ออกจาก เบลารุส และดินแดนตอนในเข้าไปของรัสเซีย เป็นอันว่าถูกบดขยี้ลงแล้ว
ประวัติศาสตร์แห่งยุคหลังสงครามเย็นจึงกำลังเปลี่ยนเส้นทางกันแล้วอย่างแท้จริงในอาณาบริเวณแผ่นดินใหญ่แถบนี้ของยุโรป
ผลก็คือ มอสโกอาจจะเพิ่งส่งสัญญาณออกมาว่า ยุทธศาสตร์ของฝ่ายอังกฤษ-อเมริกันที่จะติดอาวุธยูเครนมากขึ้นทุกทีๆ รวมทั้งอาจแอบซ่อนอำพรางไว้ด้วยแผนการบุกโจมตีเข้าไปภายในดินแดนรัสเซียด้วยนั้น ไม่ใช่จะดำเนินไปโดยไม่ถูกตอบโต้ อันที่จริงแล้ว
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ของเบลารุส ประกาศว่า ระบบจรวด เอส-400 (S-400) และระบบจรวดอิสกันเดอร์ (Iskander) ที่จัดส่งมาให้โดยรัสเซีย ได้รับการติดตั้งประจำการเพื่อปฏิบัติหน้าที่สู้รบแล้ว
อิสกันเดอร์ เป็นระบบขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missile) แบบเคลื่อนย้ายที่ตั้งได้อย่างคล่องแคล่ว โดดเด่นด้วยสมรรถนะการโจมตีอย่างแม่นยำแบบสมัยใหม่ มีพิสัยทำการ 400 กิโลเมตรและมีศักยภาพติดหัวรบนิวเคลียร์ มันมีการเชื่อมต่อกับระบบตัวเซนเซอร์ที่จัดวางเป็นเครือข่าย และสามารถใช้เป็นขีปนาวุธโจมตีได้อย่างรวดเร็วเพื่อเล่นงานเป้าหมายต่างๆ ทั่วทั้งยุทธบริเวณโดยต้องการระยะเวลาเตรียมการแค่สั้นๆ
อิสกันเดอร์ ยังมีศักยภาพในการเคลื่อนที่ด้วยอัตราความเร็วจี๋ถึง 2.1 กิโลเมตร/วินาที ขณะอยู่ในระยะสุดท้ายเมื่อมันกลับลงมาจากชั้นบรรยากาศระดับสูงและดำดิ่งพุ่งสู่เป้าหมาย (high terminal phase) ขีปนาวุธแบบนี้ติดตั้งอุปกรณ์ก่อกวนสัญญาณเพื่อต่อสู้กับพวกเป้าหลอกของข้าศึก และเป็นยุทโธปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีทั้งสำหรับการต่อกรกับพวกเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ และการโจมตีใส่เป้าหมายอยู่กับที่แห่งสำคัญๆ เป็นต้นว่า กองบัญชาการ, โรงงานผลิตทางอุตสาหกรรม, โครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติฝ่ายพลเรือนซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวด, และพวกที่ตั้งคลังอาวุธยุทธสัมภาระซึ่งมีเกราะป้องกันแน่นหนา
ในอีกด้านหนึ่ง ไบเดน ก็ใช้วาทศิลป์อย่างดีที่สุดของเขาในการโยนฉายาต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการผรุสวาทเข้าใส่ปูติน ขณะที่มี เซเลนสกี ยืนอยู่ข้างๆ เขาที่ทำเนียบขาว รวมทั้งเอาเรื่องเล่าด้วยความรู้สึกลำพองแบบผู้พิชิตของวอชิงตัน มาพูดซ้ำอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวด้วยว่า สหรัฐฯจะสนับสนุนยูเครน “เรื่อยไปไม่ว่าจะนานแค่ไหน”
อย่างไรก็ดี ชีวิตนั้นเป็นของจริง ขณะที่โวหารวาทศิลป์ในทางการเมืองน้อยนักที่จะแปรเปลี่ยนกลายเป็นความเป็นจริง การพยากรณ์อนาคตจากสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจำเป็นต้องกระทำอย่างระมัดระวัง
ในการแถลงสรุปกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของทำเนียบขาวที่ไม่มีการระบุว่าเป็นผู้ใด แม้พูดยืนยันว่าสหรัฐฯกำลังอยู่ระหว่างการนำเอาระบบขีปนาวุธสำหรับป้องกันขีปนาวุธ “แพทริออต” (Patriot) ไปให้แก่ยูเครน แต่ก็เสริมด้วยคำเตือนว่า ยังจะต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือนก่อนที่ขีปนาวุธ แพทริออต จะไปถึงยูเครนจริงๆ นอกเหนือจากจะต้องใช้เวลา “หลายเดือน” ในการฝึกกองทัพยูเครนให้ใช้งานระบบอาวุธนี้ได้
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.whitehouse.gov/briefing-room/speeches-remarks/2022/12/21/background-press-call-on-the-upcoming-visit-of-president-zelenskyy-of-ukraine/)
เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวว่า เพนตากอน (กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ) “จะฝึกฝ่ายยูเครนในประเทศที่สามให้ใช้ชุดขีปนาวุธนี้ ในทันทีที่ฝึกเสร็จ พวกเขาจะกลับเข้าไปในยูเครนพร้อมกับชุดขีปนาวุธที่จะนำไปใช้งาน มันจะไม่ใช่บุคลากรสหรัฐฯที่ทำหน้าที่เหล่านี้ และดังนั้นจึงไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในแง่นี้ ... (เรา) ไม่ได้กำลังหาทางเพื่อเข้าพัวพันในการทำสงครามโดยตรงกับรัสเซีย และในวันพรุ่งนี้ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องนี้หรอก”
ชัดเจนมากว่า นี่คือความพยายามที่จะลดทอนความอึกทึกเกรียวกราวของเรื่องนี้ มอสโกกล่าวเตือนเอาไว้แล้วว่า ถ้าสหรัฐฯเดินหน้าจัดส่ง แพทริออต ไปให้ยูเครนแล้ว ก็จะเกิด “ผลต่อเนื่อง” และกองกำลังฝ่ายรัสเซียจะถือว่ามันเป็นเป้าหมายที่จะโจมตีได้
นอกจากนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่สหรัฐฯผู้นี้ยังกล่าวย้ำยืนยันว่า “ท่านประธานาธิบดี (ไบเดน) มีความชัดเจนอย่างมากๆ ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เขาไม่ได้โลเล และเขาก็จะไม่มีการโลเลในวันพรุ่งนี้ หรือในเดือนหน้า หรือในปีหน้า จากที่ได้ยืนยันเอาไว้แล้วว่าสหรัฐฯไม่ส่งกองกำลังไปยังยูเครนเพื่อทำการสู้รบโดยตรงกับฝ่ายรัสเซีย”
สิ่งที่เป็นแก่นแกนในการไปเยือนวอชิงตันของ เซเลนสกี ก็คือ ความจำเป็นเร่งด่วนของคณะบริหารไบเดนที่จะต้องประคับประคองให้ได้รับความสนับสนุน “จากทั้งสองพรรคใหญ่” และ “จากทั้งสองสภา” ในรัฐสภาสหรัฐฯ สำหรับการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีก 45,000 ล้านดอลลาร์แก่ยูเครน
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามตรงๆ ณ การแถลงข่าวร่วมกับ เซเลนสกี ที่ทำเนียบขาว เกี่ยวกับการจัดส่งขีปนาวุธพิสัยไกลที่สามารถโจมตีถึงรัสเซียไปให้แก่ยูเครน ไบเดน ก็กล่าวยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า “ความคิดที่ว่าเราจะให้วัสดุอุปกรณ์แก่ ยูเครน ซึ่งมีความแตกต่างในระดับรากฐานจากสิ่งที่กำลังส่งไปที่นั่นอยู่แล้วนั้น เป็นสิ่งที่มีลู่ทางโอกาสทีเดียวที่จะสร้างความแตกแยกขึ้นในนาโต้ และสร้างความแตกแยกขึ้นในสหภาพยุโรป ตลอดจนในส่วนอื่นๆ ของโลก ... (บรรดาพันธมิตรของสหรัฐฯ) ไม่ต้องการที่จะเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 3 ...
“ผมใช้เวลาไปแล้วหลายร้อยชั่วโมงในการพูดคุยกันตรงๆ กับพวกพันธมิตรยุโรปของเรา และกับพวกประมุขแห่งรัฐของประเทศเหล่านี้ และในการชี้แจงเหตุผลว่าการที่พวกเขายังคงให้ความสนับสนุนยูเครนต่อไปนั้นคือสิ่งซึ่งเป็นผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างมหาศาลขนาดไหน พวกเขาเข้าใจเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แต่พวกเขาไม่ได้คิดที่จะเข้าทำสงครามกับรัสเซีย พวกเขาไม่ได้คิดที่จะทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้นมา”
(ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.whitehouse.gov/briefing-room/speeches-remarks/2022/12/21/remarks-by-president-biden-and-president-zelenskyy-of-ukraine-in-joint-press-conference/)
นี่เป็นคำแถลงที่ไม่ธรรมดาเลย โดยเฉพาะเมื่อออกมาในช่วงจังหวะเวลานี้ มันมีความหมายเท่ากับเป็นการยื่นช่อมะกอกสันติภาพไปยังมอสโกว่า สหรัฐฯไม่ได้ต้องการไต่บันไดทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลาย อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน มันก็ทำให้เกิดปริศนาขึ้นมาเกี่ยวกับการไปเยือนสหรัฐฯของ เซเลนสกี
ถึงแม้ทริปไปวอชิงตันของ เซเลนสกี ถูกกำหนดจัดวางเอาไว้ล่วงหน้าว่าคือการแสดงออกในทางยุทธศาสตร์ถึงความสมัครสมานสามัคคีกัน ทว่ามันก็ไม่สามารถปกปิดรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นมา --นั่นก็คือความหวาดกลัวอันลึกเร้นที่ว่า แรงหนุนหลัง เคียฟ อาจจะจืดจางลงขณะที่การสู้รบยืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ พูดกันง่ายๆ ก็คือว่า ความรู้สึกที่ว่าความช่วยเหลือที่สหรัฐฯให้แก่ยูเครนไม่ควรอยู่ในลักษณะของการมอบ “เช็กเปล่า” เพื่อให้กรอกตัวเงินกันตามใจชอบนั้น มีแต่จะกลายเป็นกระแสแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ ในรัฐสภาอเมริกัน
ตัว ไบเดน เองคาดการณ์ว่า การสู้รบขัดแย้งยูเครน จะกลายเป็นประเด็นหนึ่งของการรณรงค์หาเสียงในปี 2024 และจะมีการตั้งคำถามต่างๆ ขึ้นมามากมาย
อย่างที่สื่อ “เดอะฮิลล์” (The Hill) เขียนเอาไว้ว่า “พวกที่สงสัยข้องใจพากันโต้แย้งว่า สหรัฐฯไม่ได้มีผลประโยชน์สำคัญยิ่งยวดอะไรในยูเครน เงินที่ไหลทะลักเข้าไปให้ เคียฟ นั้นมากมายเหลือล้นเกินไปแล้ว และยังแปดเปื้อนด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น แถมสงครามนี้ยังเป็นการหันเหความสนใจออกไปจากปัญหาต่างๆ
ภายในประเทศที่มีอยู่มากมายท่วมท้น ซึ่งล้วนแต่เรียกร้องต้องการความใส่ใจ”
(เดอะฮิลล์ เป็นสื่ออเมริกันที่เน้นรายงานข่าวเกี่ยวกับรัฐสภา, ประธานาธิบดีและฝ่ายบริหาร, และการรณรงค์หาเสียงในสหรัฐฯ ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/The_Hill_(newspaper) -ผู้แปล)
ในทำนองเดียวกัน ความกังวลใจที่อยู่ในความคิดของชาวยุโรปนั้น เห็นชัดเจนว่าคือเรื่องที่พวกคอมเมนเตเตอร์ชื่อดังทรงอิทธิพลชาวแองโกล-แซกซอน และพวกนักการเมืองในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก กำลังกลายเป็นผู้ที่กำหนดวาระการปฏิบัติการของยุโรปไปเสียแล้ว
ทั้งนี้ น่าสนใจมากที่ประธานาธิบดีแฟรงก์-วอลเทอร์ สไตน์ไมเออร์ (Frank-Walter Steinmeier) ของเยอรมนี ซึ่งเป็นนักการทูตมากประสบการณ์ ได้โทรศัพท์ถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนในวันที่ 20 ธันวาคม อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เซเลนสกี ไปวอชิงตัน
บันทึกสรุปย่อการหารือคราวนี้ของฝ่ายจ