คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
สธ.เผยโควิดเริ่มมีแนวโน้มลดลง ช่วงเทศกาลปีใหม่ประชาชนใช้ชีวิตได้ปกติ คาดปี 2566 จะเป็นการระบาดตามฤดูกาล ย้ำ !! ต้องรับวัคซีนครบ 4 เข็ม
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่จะมีกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมากนั้น ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ ย้ำ ฉีดวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม โดยจะเพิ่มสถานที่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑลและจังหวัดท่องเที่ยว
คาดการณ์ว่าปี 2566 จะพบการระบาดของโรคในลักษณะการระบาดตามฤดูกาลเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับยารักษาและเตียงรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ข้อมูลวันที่ 25 ธันวาคม 2565 มียาฟาวิพิราเวียร์คงเหลือ 1.53 ล้านเม็ด ยาโมลนูพิราเวียร์ 17.62 ล้านเม็ด ส่วนอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 12.2% โดยเตียงระดับ 3 อัตราการครองเตียงอยู่ที่ 40.5% ถือว่ายังมีเพียงพอรองรับสถานการณ์
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid034cKULjx29ViCxosxi1U7cTAKKGMPF48ifKEAiA2p6tKt3f3gAv6bqwUagU5VxLxTl
อภ.ได้ทะเบียนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ รักษาโควิดแล้ว พร้อมผลิตและกระจายปลายเดือน ธ.ค.นี้
ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรมได้วิจัยและพัฒนายาสำหรับนำมาใช้กับผู้ป่วยชาวไทยเป็นผลสำเร็จจากแนวทางการรักษาของประเทศไทยในการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ และไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ตามแนวทางการรักษาโรคโควิด 19 ล่าสุดองค์การเภสัชกรรมได้พัฒนายาต้านไวรัสโควิด-19 รายการใหม่ขึ้นสำเร็จ ภายใต้ชื่อ ยาโมโนเวียร์ หรือชื่อสามัญทางยาคือ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ในรูปแบบแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกรัม ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นรายการยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการรักษาของประเทศไทยล่าสุด ซึ่งเดิมต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ปัจจุบันการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ประมาณวันละ 1-2 แสนแคปซูล ที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมได้จัดหาและสำรองยาอย่างเพียงพอ และขณะนี้เริ่มผลิตยาโมโนเวียร์แล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นคง และผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้น
องค์การเภสัชกรรมได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาและผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยคัดเลือกแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาสูตรตำรับ จนขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ยาดังกล่าวมีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลและมีผลการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence study) ซึ่งเป็นการศึกษาระดับยาในเลือดเทียบเท่ายาต้นแบบ โดยองค์การเภสัชกรรมได้เตรียมความพร้อมในการเริ่มผลิตและกระจายยาไปยังสถานพยาบาลภาครัฐ และเอกชน ปลายเดือนธันวาคมนี้ และสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและมีใบสั่งยาจากแพทย์สามารถซื้อยาได้ที่ ร้านยาขององค์การเภสัชกรรมทั้ง 8 สาขา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GPO Call Center 1648
ที่มา องค์การเภสัชกรรม
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02fwRsNcwWaJny3JKLDYByehXt9BS9Rv3go3kyMxMjXA4Lb7faspYdE8eBeY5KHYXAl
สถานการณ์โควิคต่างประเทศ
เริ่มแล้ววันนี้ !! ฮ่องกงยกเลิกมาตรการควบคุม COVID-19 ทั้งหมด ยังคงบังคับให้สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะต่อไป
สนข.BBC รายงานว่า ฮ่องกงประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมที่เกี่ยวกับ COVID-19 ทั้งหมด โดยในเริ่มมีผลใน 29 ธ.ค.65 อาทิ ยกเลิกการให้ผู้เดินทางเข้าฮ่องกงต้องตรวจหาเชื้อแบบ PCR ยกเลิกระบบวัคซีนพาสปอร์ต ยกเลิกการห้ามรวมกลุ่มเกิน 12 คน แต่ยังคงบังคับให้ ต้องใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะต่อไป โดยนาย John Lee ผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกงระบุเหตุผลของการยกเลิกมาตรการดังกล่าวว่า เนื่องจากชาวฮ่องกงมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง โดยประชากร ร้อยละ 93 ได้รับวัคซีน 2 เข็ม และมากกว่าร้อยละ 83 ได้รับวัคซีน 3 เข็ม โดยฮ่องกงใช้วัคซีน COVID-19 หลายชนิด รวมถึงวัคซีนแบบ mRNA ขณะที่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ใช้วัคซีนที่ผลิตในจีนเท่านั้น นอกจากนี้ ฮ่องกงยังมียารักษา COVID-19 มากเพียงพอ และบุคลากรด้านสาธารณสุขก็มีประสบการณ์ในการรับมือโรคเป็นอย่างดี
ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid024MuRHDDw2s2rpjt6fyMEaouzyPgWhvYu2mDaFtVq4pa3GD8ztYdagyPDhpVQfYi2l
สธ.เผยโควิดเริ่มมีแนวโน้มลดลง ช่วงเทศกาลปีใหม่ประชาชนใช้ชีวิตได้ปกติ คาดปี 2566 จะเป็นการระบาดตามฤดูกาล ย้ำ !! ต้องรับวัคซีนครบ 4 เข็ม
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่จะมีกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมากนั้น ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ ย้ำ ฉีดวัคซีนให้ครบ 4 เข็ม โดยจะเพิ่มสถานที่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑลและจังหวัดท่องเที่ยว
คาดการณ์ว่าปี 2566 จะพบการระบาดของโรคในลักษณะการระบาดตามฤดูกาลเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับยารักษาและเตียงรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ข้อมูลวันที่ 25 ธันวาคม 2565 มียาฟาวิพิราเวียร์คงเหลือ 1.53 ล้านเม็ด ยาโมลนูพิราเวียร์ 17.62 ล้านเม็ด ส่วนอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 12.2% โดยเตียงระดับ 3 อัตราการครองเตียงอยู่ที่ 40.5% ถือว่ายังมีเพียงพอรองรับสถานการณ์
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid034cKULjx29ViCxosxi1U7cTAKKGMPF48ifKEAiA2p6tKt3f3gAv6bqwUagU5VxLxTl
อภ.ได้ทะเบียนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ รักษาโควิดแล้ว พร้อมผลิตและกระจายปลายเดือน ธ.ค.นี้
ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรมได้วิจัยและพัฒนายาสำหรับนำมาใช้กับผู้ป่วยชาวไทยเป็นผลสำเร็จจากแนวทางการรักษาของประเทศไทยในการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ และไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ตามแนวทางการรักษาโรคโควิด 19 ล่าสุดองค์การเภสัชกรรมได้พัฒนายาต้านไวรัสโควิด-19 รายการใหม่ขึ้นสำเร็จ ภายใต้ชื่อ ยาโมโนเวียร์ หรือชื่อสามัญทางยาคือ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ในรูปแบบแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกรัม ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นรายการยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการรักษาของประเทศไทยล่าสุด ซึ่งเดิมต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ปัจจุบันการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ประมาณวันละ 1-2 แสนแคปซูล ที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมได้จัดหาและสำรองยาอย่างเพียงพอ และขณะนี้เริ่มผลิตยาโมโนเวียร์แล้ว เพื่อให้เกิดความมั่นคง และผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้น
องค์การเภสัชกรรมได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาและผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยคัดเลือกแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาสูตรตำรับ จนขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ยาดังกล่าวมีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลและมีผลการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence study) ซึ่งเป็นการศึกษาระดับยาในเลือดเทียบเท่ายาต้นแบบ โดยองค์การเภสัชกรรมได้เตรียมความพร้อมในการเริ่มผลิตและกระจายยาไปยังสถานพยาบาลภาครัฐ และเอกชน ปลายเดือนธันวาคมนี้ และสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและมีใบสั่งยาจากแพทย์สามารถซื้อยาได้ที่ ร้านยาขององค์การเภสัชกรรมทั้ง 8 สาขา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GPO Call Center 1648
ที่มา องค์การเภสัชกรรม
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02fwRsNcwWaJny3JKLDYByehXt9BS9Rv3go3kyMxMjXA4Lb7faspYdE8eBeY5KHYXAl
สถานการณ์โควิคต่างประเทศ
เริ่มแล้ววันนี้ !! ฮ่องกงยกเลิกมาตรการควบคุม COVID-19 ทั้งหมด ยังคงบังคับให้สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะต่อไป
สนข.BBC รายงานว่า ฮ่องกงประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมที่เกี่ยวกับ COVID-19 ทั้งหมด โดยในเริ่มมีผลใน 29 ธ.ค.65 อาทิ ยกเลิกการให้ผู้เดินทางเข้าฮ่องกงต้องตรวจหาเชื้อแบบ PCR ยกเลิกระบบวัคซีนพาสปอร์ต ยกเลิกการห้ามรวมกลุ่มเกิน 12 คน แต่ยังคงบังคับให้ ต้องใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะต่อไป โดยนาย John Lee ผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกงระบุเหตุผลของการยกเลิกมาตรการดังกล่าวว่า เนื่องจากชาวฮ่องกงมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง โดยประชากร ร้อยละ 93 ได้รับวัคซีน 2 เข็ม และมากกว่าร้อยละ 83 ได้รับวัคซีน 3 เข็ม โดยฮ่องกงใช้วัคซีน COVID-19 หลายชนิด รวมถึงวัคซีนแบบ mRNA ขณะที่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ใช้วัคซีนที่ผลิตในจีนเท่านั้น นอกจากนี้ ฮ่องกงยังมียารักษา COVID-19 มากเพียงพอ และบุคลากรด้านสาธารณสุขก็มีประสบการณ์ในการรับมือโรคเป็นอย่างดี
ที่มา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid024MuRHDDw2s2rpjt6fyMEaouzyPgWhvYu2mDaFtVq4pa3GD8ztYdagyPDhpVQfYi2l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭เตรียมชงฉีดวัคซีนโควิดฟรีให้นักท่องเที่ยวทุกชาติที่เข้าไทย/นายกฯ ปลื้ม! อภ.ผลิตยาโมนูลพิราเวียร์ได้
"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา" เตรียมชงฉีดวัคซีนป้องกัน "โควิด-19" ฟรีให้กับนักท่องเที่ยวทุกชาติที่เข้ามาไทย เพื่อต้อนรับจีนเปิดประเทศ พร้อมคาด 3 เดือนแรก คนจีนมาเที่ยวไทย 3 แสนคน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยว่า วันที่ 5 ม.ค.นี้ จะมีการจัดประชุมร่วม 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีนเป็นการเฉพาะ หลังจากจีนเปิดประเทศ ประกาศยกเลิกมาตรการกักตัว มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.เป็นต้นไป โดยหนึ่งในวาระที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะเสนอต่อที่ประชุม คือการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นป้องกันโควิด-19 ฟรีแก่นักท่องเที่ยวทุกคนที่ประสงค์ขอรับวัคซีนในประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะแค่นักท่องเที่ยวชาวจีนเท่านั้น แต่รวมถึงจากประเทศอื่นๆ ด้วย เหมือนเมื่อครั้งที่มีการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกๆ คนไทยบางส่วนเดินทางไปฉีดวัคซีนที่ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ จะขอหารือถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นฟรี แก่นักท่องเที่ยวจากทุกชาติที่ประสงค์ขอรับวัคซีนในไทย และต้องหารือกับเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยก่อนในเรื่องนี้ เพราะส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องคุ้ม เหมือนเป็นโปรโมชั่นดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้น เนื่องจากวัคซีนมีต้นทุนหลักร้อยบาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเฉลี่ย 40,000 บาทต่อคน คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% อยู่ที่ประมาณ 2,800 บาทที่นักท่องเที่ยวจ่ายให้ภาครัฐ ก็คุ้มค่ากับราคาวัคซีนหลักร้อยบาทแล้ว โดยควรจะมีการของบกลางจากรัฐบาล ให้ สธ.ซื้อวัคซีนเพิ่มมาฉีดให้นักท่องเที่ยว ถ้าเราต้องการดึงพวกเขาเข้ามาจับจ่ายในประเทศไทยมากขึ้น
รวมทั้ง จะหารือร่วมกับ สธ.ด้วย ว่ามีวัคซีนเหลือมากน้อยแค่ไหน เพราะจะขอให้เร่งนำวัคซีนส่วนที่เหลือมาเร่งฉีดเข็มกระตุ้นแก่คนไทยที่เป็นพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและใกล้ชิดนักท่องเที่ยว พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มพนักงานด้านท่องเที่ยวออกมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกันถ้วนหน้า และขอความร่วมมือให้พนักงานฯยังสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีน เชื่อว่าน่าจะยังใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันอยู่แล้ว
“ข้อเสนอดังกล่าวของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ อยู่ภายใต้มุมมองที่ว่า ในเมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา เราต้องดูแลเขา ในฐานะที่ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศที่มีระบบสาธารณสุขดีที่สุดของโลก”
สำหรับความคืบหน้าเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวประเทศไทยจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ค่าเหยียบแผ่นดิน” ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ยืนยันเดินหน้าจัดเก็บ โดยในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) วันที่ 24 ม.ค.2566 จะเสนอผลสรุปการศึกษาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวฯทางบก หลังต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเดินทางข้ามชายแดน เมื่อได้รับการเห็นชอบจาก ท.ท.ช. จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวฯ ในเดือน ก.พ.2566 หาก ครม.อนุมัติ คาดมีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2566 เป็นต้นไป
ทางด้าน นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยภายหลังหารือภาคเอกชนท่องเที่ยวว่า ผลการหารือกับภาคเอกชน คาดการณ์จะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าไทยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2566 ราว 300,000 คน เปรียบเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้าไทยทั้งปีในปี 2565 ที่มีประมาณ 274,000 คน โดยจะเริ่มออกเดินทางหลัง 15 ม.ค. ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอง และด้วยข้อจำกัดของเที่ยวบินระหว่างกัน และจะมีจำนวนหนึ่งที่เดินทางเข้ามาผ่านด้านทางบก เช่น เชียงแสน, หนองคาย โดยมากับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งการเดินทางเข้าประเทศ ควรใช้แนวปฏิบัติเหมือนการนักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่อยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยของประเทศและคนไทย ไม่เสี่ยงต่อการกลับไประบาดซ้ำ
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเตรียมความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยวที่จำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นมาตรการป้องกันตัวเอง โดยจะแนะนำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น และนำมาตรการ SHA กลับมาใช้อย่างเข้มข้น นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการ ทั้ง Ground Handling จำนวนเที่ยวบิน มัคคุเทศก์ ให้เพียงพอกับจำนวนความต้องการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น
https://www.thairath.co.th/business/economics/2590121
นายกฯ ปลื้ม! องค์การเภสัชผลิตยาโมนูลพิราเวียร์ได้เอง ย้ำเป็นก้าวสำคัญตอกย้ำศักยภาพและการพัฒนาด้านสาธารณสุข
นายกรัฐมนตรี ยินดีองค์การเภสัชสามารถผลิตยาโมนูลพิราเวียร์ได้เอง อีกก้าวสำคัญตอกย้ำศักยภาพและการพัฒนาด้านสาธารณสุขและเวชภัณฑ์ของไทย เผยชาติอาเซียนขยายกรอบความร่วมมือด้านยาต่อเนื่อง เสริมความมั่งคงด้านสาธารณสุขให้ประชาชนในภูมิภาคเข้าถึงยาที่มีคุณภาพ
วันที่ 29 ธ.ค.65 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยินดีกับความก้าวหน้าในการพัฒนายาที่สำคัญของประเทศไทย โดยล่าสุดองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กระทรวงสาธารณสุข สามารถพัฒนายาโมลนูพิราเวียร์ ภายใต้ชื่อ ยาโมโนเวียร์ ในรูปแบบแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม และผลิตได้เองซึ่งจะมาทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศต่อไป
โดยปัจจุบันยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาหลักที่ใช้รักษาโรคโควิด19 ตามแนวทางการรักษาของประเทศไทย โดยมีการใช้ยาอยู่ประมาณ 1-2 แสนแคปซูลต่อวัน ซึ่งขณะนี้ อภ. ได้เริ่มผลิตยาและอยู่ระหว่างการกระจายยาไปยังสถานพยาบาลรัฐและเอกชน เพื่อเป็นยาสำหรับผู้ป่วยโควิด19 ที่ได้รับวินิจฉัยว่าควรได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ทั้งผู้ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือผู้มีใบสั่งยาจากแพทย์ก็สามารถไปซื้อยาได้ที่ร้านยาของ อภ.ทั้ง 8 สาขาได้
“นับแต่เกิดการระบาดของโควิด19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านเวชภัณฑ์ทั้งยารักษาโรค วัคซีน เครื่องมือการตรวจคัดกรองต่างๆ ในส่วนของยาก่อนหน้านี้ อภ. ก็สามารถผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ได้สำเร็จ และครั้งนี้สามารถผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ได้ โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ย้ำถึงความสามารถในการพัฒนายาของไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นอกจากการวิจัยและพัฒนาในประเทศแล้ว ปัจจุบันไทยมีความร่วมมือกับองค์กรและต่างประเทศ รวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับเรื่องยาในหลายมิติ ซึ่งล่าสุดมีการขับเคลื่อนกรอบการกำกับดูแลด้านยาของอาเซียน (ASEAN Pharmaceutical Regulatory Framework: APRF) ซึ่งขณะนี้ประเทศสมาชิกอยู่ระหว่างทยอยให้การรับรอง โดยการดำเนินการส่วนของไทย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 65 ได้เห็นกรอบดังกล่าวและมอบหมายให้ รมว.พาณิชย์หรือผู้แทน และรมว.สาธารณสุข หรือผู้แทน ร่วมกันรับรองในนามประเทศไทยต่อไป
โดย APRF จะเป็นแนวทางการกำกับดูแลยาที่สอดคล้องกันในอาเซียน สร้างความมั่นใจว่าคนในภูมิภาคอาเซียนจะเข้าถึงยาที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ด้วยการเชื่อมโยงหน่วยงานกำกับดูแลยา สาธารณสุขและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิด วางพื้นฐานในการพัฒนาความตกลงของอาเซียนว่าด้วยการกำกับดูแลด้านยา (APRF Agreement) ให้เป็นเอกสารทางกฎหมายที่กำหนดความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในกฎระเบียบด้านยา และการค้า นำไปสู่การดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคทางเทคนิคที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา เพื่ออนาคตของตลาดยาอาเซียน ส่งเสริมความมั่นคง การพึ่งตนเองด้านยาในภูมิภาค เป็นการรับรองการเข้าถึงยาคุณภาพสูง ปลอดภัย มีประสิทธิภาพทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์โรคต่างๆ
https://siamrath.co.th/n/411200
ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ..