ไฮไลท์ตรงนี้
เมื่อได้ทราบเรื่อง ได้ประชุมปรึกษาร่วมกัน ปรับเปลี่ยนข้อสอบใหม่ .วรเดชก็ได้ทราบถึงการปรับเปลี่ยนข้อสอบ และยังได้กระทำซ้ำโดยมีพฤติการณ์ ทำนองเดียวกันอีก
โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ขณะที่การสอบยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ วรเดช จันทรศร ได้นำเอากล่องบรรจุซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่พิมพ์แล้ว ซึ่งได้เก็บรักษาไว้ในห้องทำงานของตน มาเปิดกล่องและใช้กรรไกรตัดซองเปิดนำเอาต้นฉบับข้อสอบวิชาหลักทุกวิชามาตรวจดู
ยกข้อความบางตอนมาให้อ่าน
ดังนั้น จึงทำการตรวจสอบ เรียกข้อสอบทั้งสองวิชามาเปิดดูตรวจสอบเปรียบเทียบพบว่า เนื้อหาสาระบางส่วนใกล้เคียงกับเอกสารและแบบฝึกหัดดังกล่าวอยู่บ้าง แต่ไม่เหมือนกัน เห็นว่าข้อสอบที่เปิดดูไม่ตรงกับแบบฝึกหัดหรือเอกสารที่สงสัย จึงนำเก็บใส่ซองปิดผนึกให้นางศศิธรลงลายมือกำกับ
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงพิจารณาแล้ว เห็นว่าการที่ ศ.ร.ต.อ.วรเดชเปิดดูต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ในวันที่ 30 มกราคม 2547 นั้น เป็นการเปิดก่อนส่งให้นายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ ฉะนั้น ถ้าข้อสอบรั่วจริงก็จะเป็นการรั่วในขั้นตอนของการสร้างข้อสอบ ซึ่งมีคณะกรรมการดำเนินการถึง 3 ขั้นตอน คือคณะกรรมการสร้างข้อสอบ คณะกรรมการกลั่นกรองข้อสอบ และคณะกรรมการจัดชุดข้อสอบ ซึ่งมี ศ.กาญจนา เป็นประธานวิชาภาษาไทย และ รศ.รัตนา เป็นประธานวิชาสังคมศึกษา
และตามหนังสือร้องเรียนของประชาชนที่ ศ.ร.ต.อ.วรเดช อ้างเป็นต้นเหตุขอให้ตำรวจสืบสวนทางลับ แท้จริงเป็นบัตรสนเท่ห์ที่กล่าวอ้างเลื่อนลอยโดยอ้างว่าอาจารย์ที่ออกข้อสอบอาจนำข้อสอบไปขายหรือไปให้สถาบันกวดวิชา โดยไม่ระบุชื่อ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0206/ว 218 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541
ศ.ร.ต.อ.วรเดช ดำรงตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ย่อมทราบดีว่าเอกสารข้อสอบนั้นเป็นเอกสารลับที่สุด ในกระบวนการสอบวัดความรู้ ซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบซึ่งปิดผนึกและประธานวิชาลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึกนี้ โดยสามัญสำนึกก็ดี โดยแบบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาก็ดี จะเปิดก่อนถึงเวลาที่จะนำไปปฏิบัติการ หรือก่อนเวลาที่จะพ้นจากการเป็นเอกสารลับโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นมิได้
ศ.ร.ต.อ.วรเดชอ้างว่า เหตุที่มิได้เชิญรองเลขาธิการฯ และประธานวิชาหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาร่วมเปิดซอง เพราะเชื่อว่ามีขบวนการทุจริตสอบเอ็นทรานซ์และน่าจะมีข้อสอบรั่วไปถึงโรงเรียนกวดวิชา และจากรายงานการสืบสวนของ ตำรวจที่ได้รับเป็นระยะๆ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะมีข้าราชการหรืออาจารย์คนใดจากฝ่ายใด และเด็กของใครนำข้อสอบไปขาย หรือให้กับโรงเรียนกวดวิชา ตนจึงเปิดซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบโดยไม่เรียกบุคคลดังกล่าวมาร่วมเปิด
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเห็นว่า การกล่าวอ้างของ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ไม่สมเหตุผล ไม่มีตัว ไม่มีชื่อผู้ต้องสงสัย มีแต่เพียงบัตรสนเท่ห์ที่กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย แม้แต่รายงานการสืบสวนทางลับของตำรวจที่นำมากล่าวอ้างก็เลื่อนลอย ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆ เป็นเพียงคาดการณ์เอาโดยไม่มีตัว ไม่มีชื่อผู้ต้องสงสัยเช่นเดียวกัน และเป็นการขอความร่วมมือจากเพื่อนตำรวจเป็นการส่วนตัว
จึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่พอจะให้คิดเชื่อมโยงไปได้ว่า น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯ ซึ่งเป็นกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบฯ และเป็นประธานอนุกรรมการฯ เกี่ยวกับการออกและตรวจข้อสอบ ศ.กาญจนา ประธานฯ วิชาภาษาไทย และ รศ.รัตนา ประธานฯ วิชาสังคมศึกษา อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง กับผู้ต้องสงสัยที่ไม่มีตัวตน จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่อาจรับฟังได้
ส่วนที่กล่าวอ้างว่า ตนในฐานะเป็นประธานดำเนินการสอบ และประธานกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบวัดความรู้ฯ มีหน้าที่กำกับและติดตามการดำเนินการสร้างข้อสอบให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งมีอำนาจที่จะเปิดข้อสอบดังกล่าวได้
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเห็นว่า การสอบวัดความรู้เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตามเรื่องนี้การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ล้วนดำเนินการในระบบคณะกรรมการทั้งสิ้น
ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยอย่างเช่น กรณีนี้ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบ ต้องการจะเปิดซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาที่ปิดผนึก และประธานฯ วิชาทั้งสองลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึก เพื่อรอส่งให้ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ เพื่อจะตรวจสอบกับเอกสารหรือแบบฝึกหัดของโรงเรียนกวดวิชา ว่ามีข้อสอบรั่วไปยังโรงเรียนกวดวิชาก่อนแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
ก็ชอบที่จะเรียกประชุมคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบ ซึ่งมี น.ส.จิรณี เป็นกรรมการด้วยช่วยพิจารณาวินิจฉัยว่า จะเปิดซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบออกตรวจสอบหรือไม่ และถ้าเปิด จะเปิดโดยวิธีใด จะเชิญประธานฯวิชาทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึก มาร่วมรู้เห็นเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยหรือไม่ เป็นต้น แล้วจึงดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ
อีกทั้งเรื่องนี้ก็ไม่มีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะต้องดำเนินการทันที และ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ก็ไม่มีหน้าที่โดยตรงที่จะนำเอาซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบ 2 วิชานี้มาเปิดดูเองตามลำพัง ประกอบกับคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบ ซึ่ง ศ.ร.ต.อ.วรเดชเป็นประธานนั้น ก็เป็นการแต่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการสอบคัดเลือกฯ และเพิ่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 นี้เอง
การกระทำของ ศ.ร.ต.อ.วรเดชในวันที่ 30 มกราคม 2547 นี้ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในระบบการสอบวัดความรู้ เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอย่างยิ่ง
หลังจากที่ ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้เปิดซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชา ภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาแล้ว มีเหตุการณ์ที่ตามมาคือ
เย็นวันศุกร์ที่ 30 มกราคม 2547 นายชาคร วิภูษณวนิช ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ ได้รับซองสีนํ้าตาลใหญ่ บรรจุซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา โดยซองใหญ่นั้นปิดผนึกมีลายมือชื่อของนางศศิธร ผอ.สำนักทดสอบกลางผู้เดียวกำกับรอยผนึก
เมื่อเปิดซองปรากฏว่าซองต้นฉบับการ์ด ข้อสอบวิชาภาษาไทย ไม่มีลายมือชื่อของ ศ.กาญจนา ประธานวิชาภาษาไทย กำกับรอยผนึก และซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาสังคมศึกษา ไม่มีลายมือชื่อของ รศ.รัตนา ประธานวิชาสังคมศึกษา กำกับรอยผนึก แตกต่างจากที่เคยปฏิบัติกันมาในครั้งก่อนๆ ซึ่งมีลายมือชื่อของประธานวิชาฯ กำกับรอยผนึกซองทุกครั้ง
นายชาครจึงโทรศัพท์สอบถามประธานวิชาฯ ทั้งสอง ได้รับการยืนยัน ว่าได้ลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึกซอง ตามที่เคยปฏิบัติมาทุกครั้ง นายชาครจึงนัดพบประธานวิชาฯทั้งสองเพื่อปรึกษาหารือ
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547 นายชาคร ศ.กาญจนา และ รศ.รัตนา ได้ไปพบกันที่ สกอ.ตามนัด และนายชาครได้ไปแจ้งเรื่องให้ น.ส.จิรณีซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการ ออกและตรวจข้อสอบทราบ และเชิญร่วมปรึกษาหารือ น.ส.จิรณี ได้เรียกนางศศิธรมาสอบถามต่อหน้าบุคคลทั้งสาม
นางศศิธรแจ้งว่า ศ.ร.ต.อ.วรเดชเรียกเอาซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบไปเปิดดูเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยนางศศิธรมิได้ร่วมดูด้วย
เมื่อนางศศิธรตอบข้อซักถามและออกจากห้องไปแล้ว บุคคลทั้งสี่มีความเห็นร่วมกันว่า เมื่อซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบถูกเปิดในลักษณะที่ผิดปกติ จะต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนข้อสอบและต่อมาเมื่อได้ปรับเปลี่ยนข้อสอบทั้งสองวิชาใหม่แล้ว จึงได้ส่งมอบต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่ปรับเปลี่ยนแล้ว ให้น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯเก็บรักษา และนายชาครได้รับไปจาก น.ส.จิรณีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์
สำหรับนายชาครนั้น เมื่อได้ทราบเรื่องราวดังกล่าวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547แล้ว นายชาครได้มีบันทึกลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 เรียนประธานอนุกรรมการออกและตรวจข้อสอบ (น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯ) รายงานข้อสังเกตเกี่ยวกับซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบ ซึ่งได้นัดพบพร้อมทั้งนำเสนอซองบรรจุต้นฉบับข้อสอบให้ประธานวิชาฯ ทั้งสองท่านพิจารณาและมีความเห็นร่วมกันว่า
สมควรรายงานเสนอสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อประธานอนุกรรมการออกและ ตรวจข้อสอบ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงที่มีการเปิดซอง ต้นฉบับข้อสอบก่อนนำส่งให้ประธานพิมพ์ข้อสอบ
น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯ ได้บันทึกเสนอต่อไปยัง ศ.ร.ต.อ. วรเดช เลขาธิการฯ แต่ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ไม่ได้สั่งการใดๆ การเปลี่ยนแปลงสถานที่เก็บรักษาต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่ได้พิมพ์เป็นข้อสอบแล้ว โดยวิธีปฏิบัติที่ผ่านมานั้น ต้นฉบับการ์ดข้อสอบ เมื่อพิมพ์เป็นข้อสอบฉบับร่างประธานวิชาฯ ตรวจพิสูจน์อักษร และพิมพ์เป็นตัวข้อสอบที่ให้สนามสอบใช้ในการสอบจนเสร็จภารกิจปิดงานพิมพ์แล้ว คณะอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบจึงจะรวบรวมต้นฉบับข้อสอบทุกวิชาทั้งหมด ที่เก็บรักษาไว้จัดส่งให้ สกอ.
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้เปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นนั้น โดยมีบันทึกข้อความลับ ด่วนที่สุด ถึงนายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบแจ้งว่า เมื่อได้ปฏิบัติภารกิจการพิมพ์ข้อสอบเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้นำต้นฉบับข้อสอบไปเก็บไว้ที่ทำการของ สกอ. โดยเร็วที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 นายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ ได้มีบันทึกข้อความถึงประธานอนุกรรมการออกและตรวจข้อสอบ นำส่งต้นฉบับข้อสอบวิชาภาคปฏิบัติ 17 วิชา 18 ซอง แต่ละซองปิดผนึกลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึก และแต่ละซอง บรรจุในซองพลาสติกปิดผนึกบรรจุลงกล่อง โดยนางพิศมัย นันทิสิงห์ อนุกรรมการและเลขานุการ เป็นผู้นำส่งมอบให้นางศศิธร ลงลายมือชื่อตรวจรับ และนางศศิธร นำไปเก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กในห้องทำงานชั้นที่ 13
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 นายชาครได้มีบันทึกข้อความเช่นเดียวกับครั้งแรกนำส่งต้นฉบับข้อสอบวิชาหลัก 16 วิชา 16 ซอง แต่ละซองบรรจุในซองกระดาษ และหุ้มด้วยซองพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งนี้นางศศิธร ได้ไปขอรับด้วยตนเอง โดยมี น.ส.รุจิรา เลขานุการหน้าห้อง ศ.ร.ต.อ.วรเดช ร่วมไปด้วย เมื่อนางศศิธรได้ตรวจรับแล้ว นายชาครได้บรรจุซองลงกล่อง 1 กล่อง และรัดด้วยสายพลาสติกสีเหลืองของโรงพิมพ์แล้วนำไปส่องมอบให้ ศ.ร.ต.อ.วรเดช
ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้เก็บรักษากล่องดังกล่าวไว้ในตู้ในห้องทำงาน ในวันนั้น ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้ทวงให้นางศศิธรส่งมอบต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่ได้รับมาครั้งแรก และเฉลยข้อสอบทั้งหมดทุกวิชาด้วย นางศศิธรจึงไปขอเบิกเฉลย ข้อสอบวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา ที่ได้ปรับเปลี่ยนใหม่แล้วมาจากน.ส.จิรณี แล้วนำมารวมไว้กับเฉลยข้อสอบวิชาอื่นที่เก็บอยู่แล้ว นำออกมารวมบรรจุลงกล่องรวมกับต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาเฉพาะ ส่งมอบให้ ศ.ร.ต.อ.วรเดชที่ห้องทำงาน ในวันที่ 1 มีนาคม 2547 การสั่งการให้ส่งข้อสอบเพิ่มเติมจากที่เคยปฏิบัติเดิม
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 นางศศิธร ผอ.สำนักทดสอบกลาง มีบันทึกข้อความถึงนายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ แจ้งว่าประธานกรรมการดำเนินการสอบฯ มีดำริว่า เมื่อจัดส่งข้อสอบให้สนามสอบแล้ว ขอให้จัดส่งข้อสอบสำหรับประธานกรรมการดำเนินการสอบฯ 1 ชุด ภายในวันที่ 27 กุมภาพัน.ธ์ 2547
การสั่งการดังกล่าวนี้ เป็นการสั่งการเพิ่มเติมจากแนวทางปฏิบัติที่เคยดำเนินการทุกครั้งที่ผ่านมา จากเดิมที่จัดส่งให้กับประธานวิชา และ ผอ.สำนักทดสอบกลางเท่านั้น โดยส่งให้ตอนเช้าของวันที่มีการสอบวิชานั้นๆ เพื่อใช้ในการประสานงานหากมีปัญหาเกี่ยวกับข้อสอบ
วันที่ 4 มีนาคม 2547 นางศศิธร ผอ.สำนักทดสอบกลาง และ น.ส.รุจิรา เลขานุการของ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ได้ไปรับข้อสอบดังกล่าว รวม 21 วิชา 29 ชุด บรรจุซองปิดผนึก นายชาครลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึกและหุ้มด้วยซองพลาสติกปิดผนึกอีกชั้นหนึ่ง แล้วบรรจุลงในกล่องกระดาษ ปิดผนึกด้านบนและด้านล่างของกล่องด้วยเทปกาวทั้งสองด้าน
เปิดผลสืบสวนเอ็นทรานซ์’ 47 ฉบับเต็ม
https://mgronline.com/qol/detail/9470000005364
จะเข้าเรียนยังโกงมาแล้ว เปิดผลสืบสวนเอ็นทรานซ์’ 47 ฉบับเต็ม
โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ขณะที่การสอบยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ วรเดช จันทรศร ได้นำเอากล่องบรรจุซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่พิมพ์แล้ว ซึ่งได้เก็บรักษาไว้ในห้องทำงานของตน มาเปิดกล่องและใช้กรรไกรตัดซองเปิดนำเอาต้นฉบับข้อสอบวิชาหลักทุกวิชามาตรวจดู
ยกข้อความบางตอนมาให้อ่าน
ดังนั้น จึงทำการตรวจสอบ เรียกข้อสอบทั้งสองวิชามาเปิดดูตรวจสอบเปรียบเทียบพบว่า เนื้อหาสาระบางส่วนใกล้เคียงกับเอกสารและแบบฝึกหัดดังกล่าวอยู่บ้าง แต่ไม่เหมือนกัน เห็นว่าข้อสอบที่เปิดดูไม่ตรงกับแบบฝึกหัดหรือเอกสารที่สงสัย จึงนำเก็บใส่ซองปิดผนึกให้นางศศิธรลงลายมือกำกับ
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงพิจารณาแล้ว เห็นว่าการที่ ศ.ร.ต.อ.วรเดชเปิดดูต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา ในวันที่ 30 มกราคม 2547 นั้น เป็นการเปิดก่อนส่งให้นายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ ฉะนั้น ถ้าข้อสอบรั่วจริงก็จะเป็นการรั่วในขั้นตอนของการสร้างข้อสอบ ซึ่งมีคณะกรรมการดำเนินการถึง 3 ขั้นตอน คือคณะกรรมการสร้างข้อสอบ คณะกรรมการกลั่นกรองข้อสอบ และคณะกรรมการจัดชุดข้อสอบ ซึ่งมี ศ.กาญจนา เป็นประธานวิชาภาษาไทย และ รศ.รัตนา เป็นประธานวิชาสังคมศึกษา
และตามหนังสือร้องเรียนของประชาชนที่ ศ.ร.ต.อ.วรเดช อ้างเป็นต้นเหตุขอให้ตำรวจสืบสวนทางลับ แท้จริงเป็นบัตรสนเท่ห์ที่กล่าวอ้างเลื่อนลอยโดยอ้างว่าอาจารย์ที่ออกข้อสอบอาจนำข้อสอบไปขายหรือไปให้สถาบันกวดวิชา โดยไม่ระบุชื่อ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0206/ว 218 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541
ศ.ร.ต.อ.วรเดช ดำรงตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ย่อมทราบดีว่าเอกสารข้อสอบนั้นเป็นเอกสารลับที่สุด ในกระบวนการสอบวัดความรู้ ซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบซึ่งปิดผนึกและประธานวิชาลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึกนี้ โดยสามัญสำนึกก็ดี โดยแบบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาก็ดี จะเปิดก่อนถึงเวลาที่จะนำไปปฏิบัติการ หรือก่อนเวลาที่จะพ้นจากการเป็นเอกสารลับโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นมิได้
ศ.ร.ต.อ.วรเดชอ้างว่า เหตุที่มิได้เชิญรองเลขาธิการฯ และประธานวิชาหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาร่วมเปิดซอง เพราะเชื่อว่ามีขบวนการทุจริตสอบเอ็นทรานซ์และน่าจะมีข้อสอบรั่วไปถึงโรงเรียนกวดวิชา และจากรายงานการสืบสวนของ ตำรวจที่ได้รับเป็นระยะๆ ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะมีข้าราชการหรืออาจารย์คนใดจากฝ่ายใด และเด็กของใครนำข้อสอบไปขาย หรือให้กับโรงเรียนกวดวิชา ตนจึงเปิดซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบโดยไม่เรียกบุคคลดังกล่าวมาร่วมเปิด
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเห็นว่า การกล่าวอ้างของ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ไม่สมเหตุผล ไม่มีตัว ไม่มีชื่อผู้ต้องสงสัย มีแต่เพียงบัตรสนเท่ห์ที่กล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย แม้แต่รายงานการสืบสวนทางลับของตำรวจที่นำมากล่าวอ้างก็เลื่อนลอย ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆ เป็นเพียงคาดการณ์เอาโดยไม่มีตัว ไม่มีชื่อผู้ต้องสงสัยเช่นเดียวกัน และเป็นการขอความร่วมมือจากเพื่อนตำรวจเป็นการส่วนตัว
จึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่พอจะให้คิดเชื่อมโยงไปได้ว่า น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯ ซึ่งเป็นกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบฯ และเป็นประธานอนุกรรมการฯ เกี่ยวกับการออกและตรวจข้อสอบ ศ.กาญจนา ประธานฯ วิชาภาษาไทย และ รศ.รัตนา ประธานฯ วิชาสังคมศึกษา อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง กับผู้ต้องสงสัยที่ไม่มีตัวตน จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่อาจรับฟังได้
ส่วนที่กล่าวอ้างว่า ตนในฐานะเป็นประธานดำเนินการสอบ และประธานกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบวัดความรู้ฯ มีหน้าที่กำกับและติดตามการดำเนินการสร้างข้อสอบให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งมีอำนาจที่จะเปิดข้อสอบดังกล่าวได้
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเห็นว่า การสอบวัดความรู้เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตามเรื่องนี้การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ล้วนดำเนินการในระบบคณะกรรมการทั้งสิ้น
ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยอย่างเช่น กรณีนี้ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบ ต้องการจะเปิดซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาที่ปิดผนึก และประธานฯ วิชาทั้งสองลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึก เพื่อรอส่งให้ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ เพื่อจะตรวจสอบกับเอกสารหรือแบบฝึกหัดของโรงเรียนกวดวิชา ว่ามีข้อสอบรั่วไปยังโรงเรียนกวดวิชาก่อนแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
ก็ชอบที่จะเรียกประชุมคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบ ซึ่งมี น.ส.จิรณี เป็นกรรมการด้วยช่วยพิจารณาวินิจฉัยว่า จะเปิดซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบออกตรวจสอบหรือไม่ และถ้าเปิด จะเปิดโดยวิธีใด จะเชิญประธานฯวิชาทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึก มาร่วมรู้เห็นเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยหรือไม่ เป็นต้น แล้วจึงดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ
อีกทั้งเรื่องนี้ก็ไม่มีความจำเป็นรีบด่วน ที่จะต้องดำเนินการทันที และ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ก็ไม่มีหน้าที่โดยตรงที่จะนำเอาซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบ 2 วิชานี้มาเปิดดูเองตามลำพัง ประกอบกับคณะกรรมการอำนวยการสร้างข้อสอบ ซึ่ง ศ.ร.ต.อ.วรเดชเป็นประธานนั้น ก็เป็นการแต่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการสอบคัดเลือกฯ และเพิ่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 นี้เอง
การกระทำของ ศ.ร.ต.อ.วรเดชในวันที่ 30 มกราคม 2547 นี้ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในระบบการสอบวัดความรู้ เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอย่างยิ่ง
หลังจากที่ ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้เปิดซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชา ภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาแล้ว มีเหตุการณ์ที่ตามมาคือ
เย็นวันศุกร์ที่ 30 มกราคม 2547 นายชาคร วิภูษณวนิช ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ ได้รับซองสีนํ้าตาลใหญ่ บรรจุซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา โดยซองใหญ่นั้นปิดผนึกมีลายมือชื่อของนางศศิธร ผอ.สำนักทดสอบกลางผู้เดียวกำกับรอยผนึก
เมื่อเปิดซองปรากฏว่าซองต้นฉบับการ์ด ข้อสอบวิชาภาษาไทย ไม่มีลายมือชื่อของ ศ.กาญจนา ประธานวิชาภาษาไทย กำกับรอยผนึก และซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาสังคมศึกษา ไม่มีลายมือชื่อของ รศ.รัตนา ประธานวิชาสังคมศึกษา กำกับรอยผนึก แตกต่างจากที่เคยปฏิบัติกันมาในครั้งก่อนๆ ซึ่งมีลายมือชื่อของประธานวิชาฯ กำกับรอยผนึกซองทุกครั้ง
นายชาครจึงโทรศัพท์สอบถามประธานวิชาฯ ทั้งสอง ได้รับการยืนยัน ว่าได้ลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึกซอง ตามที่เคยปฏิบัติมาทุกครั้ง นายชาครจึงนัดพบประธานวิชาฯทั้งสองเพื่อปรึกษาหารือ
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547 นายชาคร ศ.กาญจนา และ รศ.รัตนา ได้ไปพบกันที่ สกอ.ตามนัด และนายชาครได้ไปแจ้งเรื่องให้ น.ส.จิรณีซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการ ออกและตรวจข้อสอบทราบ และเชิญร่วมปรึกษาหารือ น.ส.จิรณี ได้เรียกนางศศิธรมาสอบถามต่อหน้าบุคคลทั้งสาม
นางศศิธรแจ้งว่า ศ.ร.ต.อ.วรเดชเรียกเอาซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบไปเปิดดูเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยนางศศิธรมิได้ร่วมดูด้วย
เมื่อนางศศิธรตอบข้อซักถามและออกจากห้องไปแล้ว บุคคลทั้งสี่มีความเห็นร่วมกันว่า เมื่อซองต้นฉบับการ์ดข้อสอบถูกเปิดในลักษณะที่ผิดปกติ จะต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนข้อสอบและต่อมาเมื่อได้ปรับเปลี่ยนข้อสอบทั้งสองวิชาใหม่แล้ว จึงได้ส่งมอบต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่ปรับเปลี่ยนแล้ว ให้น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯเก็บรักษา และนายชาครได้รับไปจาก น.ส.จิรณีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์
สำหรับนายชาครนั้น เมื่อได้ทราบเรื่องราวดังกล่าวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2547แล้ว นายชาครได้มีบันทึกลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 เรียนประธานอนุกรรมการออกและตรวจข้อสอบ (น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯ) รายงานข้อสังเกตเกี่ยวกับซองบรรจุต้นฉบับการ์ดข้อสอบ ซึ่งได้นัดพบพร้อมทั้งนำเสนอซองบรรจุต้นฉบับข้อสอบให้ประธานวิชาฯ ทั้งสองท่านพิจารณาและมีความเห็นร่วมกันว่า
สมควรรายงานเสนอสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อประธานอนุกรรมการออกและ ตรวจข้อสอบ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงที่มีการเปิดซอง ต้นฉบับข้อสอบก่อนนำส่งให้ประธานพิมพ์ข้อสอบ
น.ส.จิรณี รองเลขาธิการฯ ได้บันทึกเสนอต่อไปยัง ศ.ร.ต.อ. วรเดช เลขาธิการฯ แต่ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ไม่ได้สั่งการใดๆ การเปลี่ยนแปลงสถานที่เก็บรักษาต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่ได้พิมพ์เป็นข้อสอบแล้ว โดยวิธีปฏิบัติที่ผ่านมานั้น ต้นฉบับการ์ดข้อสอบ เมื่อพิมพ์เป็นข้อสอบฉบับร่างประธานวิชาฯ ตรวจพิสูจน์อักษร และพิมพ์เป็นตัวข้อสอบที่ให้สนามสอบใช้ในการสอบจนเสร็จภารกิจปิดงานพิมพ์แล้ว คณะอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบจึงจะรวบรวมต้นฉบับข้อสอบทุกวิชาทั้งหมด ที่เก็บรักษาไว้จัดส่งให้ สกอ.
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้เปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นนั้น โดยมีบันทึกข้อความลับ ด่วนที่สุด ถึงนายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบแจ้งว่า เมื่อได้ปฏิบัติภารกิจการพิมพ์ข้อสอบเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้นำต้นฉบับข้อสอบไปเก็บไว้ที่ทำการของ สกอ. โดยเร็วที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 นายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ ได้มีบันทึกข้อความถึงประธานอนุกรรมการออกและตรวจข้อสอบ นำส่งต้นฉบับข้อสอบวิชาภาคปฏิบัติ 17 วิชา 18 ซอง แต่ละซองปิดผนึกลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึก และแต่ละซอง บรรจุในซองพลาสติกปิดผนึกบรรจุลงกล่อง โดยนางพิศมัย นันทิสิงห์ อนุกรรมการและเลขานุการ เป็นผู้นำส่งมอบให้นางศศิธร ลงลายมือชื่อตรวจรับ และนางศศิธร นำไปเก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กในห้องทำงานชั้นที่ 13
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 นายชาครได้มีบันทึกข้อความเช่นเดียวกับครั้งแรกนำส่งต้นฉบับข้อสอบวิชาหลัก 16 วิชา 16 ซอง แต่ละซองบรรจุในซองกระดาษ และหุ้มด้วยซองพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งนี้นางศศิธร ได้ไปขอรับด้วยตนเอง โดยมี น.ส.รุจิรา เลขานุการหน้าห้อง ศ.ร.ต.อ.วรเดช ร่วมไปด้วย เมื่อนางศศิธรได้ตรวจรับแล้ว นายชาครได้บรรจุซองลงกล่อง 1 กล่อง และรัดด้วยสายพลาสติกสีเหลืองของโรงพิมพ์แล้วนำไปส่องมอบให้ ศ.ร.ต.อ.วรเดช
ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้เก็บรักษากล่องดังกล่าวไว้ในตู้ในห้องทำงาน ในวันนั้น ศ.ร.ต.อ.วรเดชได้ทวงให้นางศศิธรส่งมอบต้นฉบับการ์ดข้อสอบที่ได้รับมาครั้งแรก และเฉลยข้อสอบทั้งหมดทุกวิชาด้วย นางศศิธรจึงไปขอเบิกเฉลย ข้อสอบวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา ที่ได้ปรับเปลี่ยนใหม่แล้วมาจากน.ส.จิรณี แล้วนำมารวมไว้กับเฉลยข้อสอบวิชาอื่นที่เก็บอยู่แล้ว นำออกมารวมบรรจุลงกล่องรวมกับต้นฉบับการ์ดข้อสอบวิชาเฉพาะ ส่งมอบให้ ศ.ร.ต.อ.วรเดชที่ห้องทำงาน ในวันที่ 1 มีนาคม 2547 การสั่งการให้ส่งข้อสอบเพิ่มเติมจากที่เคยปฏิบัติเดิม
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 นางศศิธร ผอ.สำนักทดสอบกลาง มีบันทึกข้อความถึงนายชาคร ประธานอนุกรรมการพิมพ์ข้อสอบ แจ้งว่าประธานกรรมการดำเนินการสอบฯ มีดำริว่า เมื่อจัดส่งข้อสอบให้สนามสอบแล้ว ขอให้จัดส่งข้อสอบสำหรับประธานกรรมการดำเนินการสอบฯ 1 ชุด ภายในวันที่ 27 กุมภาพัน.ธ์ 2547
การสั่งการดังกล่าวนี้ เป็นการสั่งการเพิ่มเติมจากแนวทางปฏิบัติที่เคยดำเนินการทุกครั้งที่ผ่านมา จากเดิมที่จัดส่งให้กับประธานวิชา และ ผอ.สำนักทดสอบกลางเท่านั้น โดยส่งให้ตอนเช้าของวันที่มีการสอบวิชานั้นๆ เพื่อใช้ในการประสานงานหากมีปัญหาเกี่ยวกับข้อสอบ
วันที่ 4 มีนาคม 2547 นางศศิธร ผอ.สำนักทดสอบกลาง และ น.ส.รุจิรา เลขานุการของ ศ.ร.ต.อ.วรเดช ได้ไปรับข้อสอบดังกล่าว รวม 21 วิชา 29 ชุด บรรจุซองปิดผนึก นายชาครลงลายมือชื่อกำกับรอยผนึกและหุ้มด้วยซองพลาสติกปิดผนึกอีกชั้นหนึ่ง แล้วบรรจุลงในกล่องกระดาษ ปิดผนึกด้านบนและด้านล่างของกล่องด้วยเทปกาวทั้งสองด้าน
เปิดผลสืบสวนเอ็นทรานซ์’ 47 ฉบับเต็ม https://mgronline.com/qol/detail/9470000005364