กล้องฟิล์ม Manual ต้องอิงค่าอะเป็นหลักหรอครับถึงจะปรับอีกอย่าง?

สมมติว่าเราต้องการ f 2.8 แต่ไม่รู้ว่า speed shutter มันต้องไว้ที่เท่าไหร่อ่ะครับ(ตอนยังไม่ปรับ)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
การที่จขกท.บอกว่าเข้าใจขึ้นเยอะ
ผมกลับกลัวว่าจขกท.อาจจะยังไม่เข้าใจ
หรือไม่ก็ยังไม่เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ISO , SS , F
หรือไม่ก็ยังนับ stops ไม่เป็น
ไม่งั้นดูตัวเลขที่น้า phu pal พิมพ์ไว้ควรจะต้องเฉลียวใจว่ามันแปลกๆ
เรื่องทฤษฎีผมเชื่อโดยสนิทใจว่าน้า phu pal ความรู้เรื่องกล้องฟิล์มแม่นแน่ๆ
แต่น้าเขาอาจจะประมาณแบบกะๆเอาไม่ได้คำนวณ
เพราะการปรับจาก F 16 มาเป็น F 2.8 โดยการคำนวณการชดเชยปริมาณแสง
การชดเชย SS จาก 1/125 ให้เร็วขึ้น ต้องไม่ใช่แค่ 1/500 - 1/1000 แน่ๆ
เพราะ F ต่างกัน 5 stops แต่ SS ต่างกันแค่ 2-3 stops เท่านั้นเอง
ถ้าคนที่มีพื้นฐานอยู่แล้วจะเข้าใจได้ว่าเป็นการกะประมาณ ซึ่งไม่เป๊ะๆ
แต่ถ้ายังไม่มีพื้นฐาน
ผมว่าการทำความเข้าใจว่ามันมีหลักการที่สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ไว้เลยดีกว่า
เพราะเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องรู้ด้วย

มาที่กฎ sunny 16 ก่อน
อันนี้ไว้กะประมาณตอนที่กล้องไม่มีเครื่องวัดแสง
โดยดูจากสภาพแสง
ส่วน ISO , SS ประยุกต์โดยปรับตามความสัมพันธ์เป็น stops กับค่า F ได้



แต่ถ้ากล้องมีเครื่องวัดแสงหรือมีเครื่องวัดแสงแยกก็ใช้เครื่องวัดแสงแทนไปเลยก็ได้
ที่จริงเหมือนเคยอ่านเจอว่ามีพวก app ที่ใช้วัดแสงใน smartphone ด้วยนะครับ

ทีนี้จขกท.ต้องไปทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของ ISO , SS , F ให้ดี ( ซึ่งไม่ยาก )
หลักๆคือการที่จะให้ได้ปริมาณแสงเท่ากัน
สมมติว่าเดิมเราใช้ ISO = 100 , SS = 1/125 , F 16
เมื่อมีการปรับค่า ISO ให้สูงขึ้น 1 stop( รับแสงมากขึ้น ) สมมติว่าจาก 100 เป็น 200
ถ้าเราคงค่า F เท่าเดิม
เราต้องปรับ SS ให้เร็วขึ้น 1 stop เป็นการชดเชย
เช่นเดิม SS 1/125 เราต้องปรับให้เร็วขึ้น ( แสงเข้าน้อยลง ) เป็น 1/250
จึงจะได้ปริมาณแสงเท่าเดิม
หรือถ้าเราคงค่า SS ไว้ที่ 1/125 เท่าเดิม
เราต้องปรับค่า F ให้แคบลง ( แสงเข้าน้อยลง ) เป็น F 22 ( ตัวเลข F ยิ่งมาก รูรับแสงยิ่งแคบ )

นอกจากจะรู้หลักการชดเชย stops ให้ได้แสงเท่ากัน
จขกท.ต้องไปศึกษาดูว่า
ผลของการปรับค่า ISO , SS , F มีผลต่อภาพอย่างไรบ้าง
เช่น ISO ตำ่ ภาพจะเนียนละเอียดกว่า คุณภาพของภาพดีกว่าที่ ISO สูง
SS มีผลต่อการเคลื่อนไหว motion blur ถ้า SS ต่ำไป ถ้าสูงไปเวลาใช้แฟลชอาจจะเกิด flash sync speed
F มีผลต่อ DOF , และต้องระวังว่า F  ที่แคบเกินไปจะเกิด diffraction ของเลนส์ทำให้ภาพไม่คมชัด

จากนั้นต้องนับ stops ให้เป็น
เราจะได้รู้ว่าปรับค่าชดเชยเท่าไหร่ถึงจะได้แสงพอดีหรือ under เท่าไหร่ over เท่าไหร่
การนับไม่ยาก

ถ้าเป็น ISO คูณสองไปเลยจะเป็นการเพิ่มทีละ 1 stop
เช่น 100 เป็น 200 เพิ่ม 1 stop  
800 เป็น 1600 เพิ่ม 1 stop

ถ้าเป็น SS ก็เช่นกัน
1/125 เป็น 1/250 ( การเพิ่มให้เร็วขึ้น จะรับแสงน้อยลง ) ต่างกัน 1 stop
1/500 เป็น 1/1000 ต่างกัน 1 stop

ส่วน F ก็ไม่ยาก
แต่ต่างกับ 2 อย่างข้างบนคือ
การคูณ 2 จะต่างกัน 2 stops ไม่ใช่ 1 stops
อันนี้มือใหม่อาจจะไปคิดว่าเพิ่มแค่ 1 stop เหมือน ISO , SS ซึ่งไม่ใช่
การนับถ้าให้จำง่ายๆอยากให้เริ่มที่ F 1.4 กับ F 2 ต่างกัน 1 stop
แล้ว คูณสอง แล้วเอาตัวเลขโดยประมาณมาใส่เรียงกันต่อเนื่องไป
เช่น 1.4 , 2 , ( 1.4 x 2 = 2.8 ) , ( 2 x 2 = 4 ) , ( 2.8 x 2 = 5.6 ) , ( 4 x 2 = 8 ) ,
( 5.6 x 2 = 11.2 ประมาณ 11 ) , (8x 2 = 16 ) , ( 11 x 2 = 22 ), ( 16 x 2 = 32 )
เรียงเป็นทีละ 1 stop คือ
1.4 , 2 , 2.8 , 4 , 5.6 , 8 , 11 , 16 , 22 , 32
จะเห็นว่า 2 กับ 4  หรือ 4 กับ 8 หรือ 8 กับ 16
จะไม่ได้ต่างกันแค่ 1 stop แต่ต่างกัน 2 stops

ถ้าดูจากตัวเลขที่น้า phu pal พิมพ์มา
จาก F 16 ปรับเป็น 2.8
F จะกว้างขึ้น  F 11 = 1 stop ,  F 8 = 2 stops , F 5.6 = 3 stops , F 4 = 4 stops , F 2.8 = 5 stops
ถ้าเดิม SS 1/125 ต้องเร็วขึ้น 5 stops เช่นกันจึงจะได้ปริมาณแสงเท่ากัน
เร็วขึ้น 1 stop = 1/250
2 stops = 1/500
3 stops = 1/1000
4 stops = 1/2000
5 stops = 1/4000
ดังนั้นจะต้องใช้ SS 1/4000 ซึ่งกล้องฟิล์มหลายรุ่นอาจจะทำไม่ได้ ( SS ไม่เร็วได้ขนาดนั้น )
เราก็อาจจะปรับ F ให้แคบกว่า 2.8
หรือไม่ก็หาอะไรที่ลดแสงได้อย่างเช่นใส่ ND filter
ซึ่งก็มีพวก variable ND ซึ่งเลือกปรับลดแสงได้หลายค่ามาใส่หน้าเลนส์ก็ได้ครับ

*แก้คำที่พิมพ์ผิดครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่