ทำไมคนไต้หวันจึงยอมพลีชีพปกป้องยูเครน
Article informationAuthor,โซฟี วิลเลียมส์
Role,บีบีซี นิวส์
14 ธันวาคม 2022
เจิง เซิ่งกวง คือชาวไต้หวันคนแรกที่เสียชีวิตจากการสู้รบในสงครามครั้งนี้
ที่โบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลวิฟทางตะวันตกของยูเครน แม่ของ เจิง เซิ่งกวง ทอดสายตามองหน้าลูกชายที่นอนอยู่ในหีบศพเป็นครั้งสุดท้าย
เธอและคนในครอบครัว รวมทั้งชาวยูเครนจำนวนหนึ่งที่ต้องการร่วมไว้อาลัยให้แก่ชายที่ยอมสละชีพ...ให้ประเทศที่เขาไม่เคยเยือนมาก่อน
“เซิ่งกวงลูกชายของแม่ แม่อยากให้รู้ว่าลูกกล้าหาญมาก...ลูกจะเป็นลูกของแม่ตลอดไป และแม่ภูมิใจในตัวลูก” แม่ผู้เศร้าโศกกล่าว
เจิง เซิ่งกวง ร่วมรบในกองพันนานาชาติพิทักษ์ดินแดนแห่งยูเครน (The International Legion of Territorial Defence of Ukraine)
ตอนที่เขาเสียชีวิตในการสู้รบที่เมืองลีมาน ทางภาคตะวันออกของยูเครน เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
เขาคือชาวไต้หวันคนแรกที่เสียชีวิตจากการสู้รบในสงครามครั้งนี้
กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันได้ออกแถลงการณ์ต่อการเสียชีวิตของเจิง เซิ่งกวง ว่า เขาได้ “สละชีพในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของยูเครน”
แม่ของ เจิง เซิ่งกวง เดินทางไปยูเครนเพื่อรับร่างลูกชายกลับบ้าน
หลังจากรัสเซียยกทัพฯ ยูเครนก็มีชาวต่างชาติหลายพันคนเดินทางไปช่วยรบให้ยูเครน ในจำนวนนี้รวมถึงชาวไต้หวันกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 คน
การที่ยูเครนถูกเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่อย่างรัสเซียเข้ารุกรานทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยงกับคนไต้หวันจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากจีนที่มองว่าไต้หวันคือมณฑลหนึ่งของตน และจะใช้กำลังทหารเข้ายึดครองหากจำเป็น
ความตึงเครียดข้ามช่องแคบไต้หวันทวีความรุนแรงขึ้น หลังจาก นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางเยือนกรุงไทเป เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงให้แก่รัฐบาลจีนที่ตอบโต้ด้วยการจัดซ้อมรบใหญ่รอบเกาะไต้หวัน
แซมมี ลิน ซึ่งได้รู้จักกับเจิง เซิ่งกวง ทางออนไลน์เล่าว่า เพื่อนของเขาคนนี้กังวลว่าสักวันหนึ่งไต้หวันอาจต้องเผชิญชะตากรรมแบบเดียวกับยูเครน
ไต้หวันกำหนดให้ชายหนุ่มร่างกายสมบูรณ์ทุกคนต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ทำให้ผู้ผ่านการเกณฑ์ทหารที่ว่านี้มีสิทธิเข้าร่วมกองพันทหารนานาชาติของยูเครน
แจ็ค เหยา วัย 28 ปี คือหนึ่งในผู้ตัดสินใจเข้าร่วมรบให้ยูเครน โดยเดินทางถึงยูเครน 3 วันหลังจากประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี เรียกร้องให้ชาวต่างชาติเข้าเป็นทหารอาสาต่อสู้กับรัสเซีย
เขาเล่าให้บีบีซีฟังว่า “ผมติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่ปีก่อน โดยเฉพาะช่วงที่รัสเซียระดมกำลังทหารและรถถังไปประจำการที่พรมแดนยูเครน ไม่มีใครเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นจริง”
“สถานการณ์ในไต้หวันกับที่ยูเครนเหมือนกันมาก ผมคิดว่าจะช่วยเหลือยูเครนได้อย่างไรบ้าง”
แจ็ค เหยา เข้าร่วมกองพันต่างชาติจอร์เจีย มีภารกิจลาดตระเวนและต่อสู้ระยะประชิด แจ็ค เหยา ได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องไต้หวันกับสมาชิกในหน่วย
“ชายคนหนึ่งเคยอาศัยในไต้หวัน 2 ปี และรู้สถานการณ์ที่นั่นดี ไต้หวันกับยูเครนเปรียบเสมือนพี่น้อง...พวกเขาบอกผมว่าห้ามผมตายอยู่ที่นี่ เพราะผมต้องกลับไปปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของผม”
แจ็ค เหยา เดินทางจากไทเปไปโปแลนด์ก่อนจะมุ่งหน้าสู่เมืองหลวงยูเครน
ในวิดีโอขององค์กรการกุศลยูเครน ชาวไต้หวัน 2 คน เล่าถึงเหตุผลที่พวกเขาร่วมการสู้รบครั้งนี้
“เหตุผลหลักที่พวกเรามายูเครนคือเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ชาวยูเครน” พวกเขากล่าวพร้อมกับชูธงไต้หวัน
“พวกเรากลัวว่าถ้ารัสเซียชนะสงคราม จีนจะทำแบบเดียวกันกับไต้หวัน ดังนั้นพวกเราจึงมายูเครนเพื่อสละชีวิตและเสรีภาพของเราแลกกับความปลอดภัยของผู้คนที่นี่”
ขณะที่ หลี่ เฉิงหลิง ชาวไต้หวันอีกคนมีเหตุผลที่ต่างออกไป โดยในการให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวบีบีซีแผนกภาษาจีนเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาเขาเล่าว่าไปร่วมรบให้ยูเครนเพราะอยาก “มีชีวิตที่น่าจดจำ”
เขาบอกว่า หากไต้หวันถูกรุกราน เขาจะเข้าร่วมรบหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับท่าทีของรัฐบาลไต้หวันและสหรัฐฯ
ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวย้ำว่าสหรัฐฯ จะปกป้องไต้หวันหากถูกจีนโจมตี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ มีนโยบายอย่างเป็นทางการที่เรียกว่า "ความคลุมเครือทางยุทธศาสตร์” ซึ่งไม่ให้คำมั่นสัญญาที่จะปกป้องไต้หวัน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้เรื่องนี้
เมื่อเดือน พ.ย.นายไบเดนกล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าภัยที่จีนจะรุกรานไต้หวันจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ หลังจากได้พบปะกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงแบบตัวต่อตัวในระหว่างการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ จี20 ที่เกาะบาหลี
ส่วนคนไต้หวันทั่วไปมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปถึงความเป็นไปได้เรื่องการถูกจีนเข้ารุกราน
พอล หวง จาก Taiwan Public Opinion Forum กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นคนไต้หวันพบข้อบ่งชี้ที่น่าสนใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกวิตกกังวลเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม หากเกิดสงครามขึ้นจริง คนไต้หวันส่วนใหญ่คิดว่าไต้หวันไม่น่าจะต้านทานกองทัพจีนได้นานเท่ากับที่ยูเครนต้านทานกองทัพรัสเซีย
แม้จะโศกเศร้าที่ต้องสูญเสียลูกชายไป แต่แม่ของ เจิง เซิ่งกวง บอกว่าการตัดสินใจของลูกชายในการต่อสู้ร่วมกับชาวยูเครนช่วยให้เธอพอทำใจได้
“การได้รู้ว่าในห้วงเวลาสุดท้ายในชีวิตเจิง เซิ่งกวง เขาได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเหล่านักรบผู้กล้า ซึ่งคอยช่วยเหลือกันและกันทั้งยามเป็นและยามตาย แม้จะเจ็บปวด แต่ฉันก็รู้สึกสบายใจขึ้นมาก” เธอกล่าว
1.ไทเปชี้จีนเฝ้าดูสงครามยูเครนเพื่อพัฒนา “กลยุทธ์ลูกผสม” ต่อไต้หวัน
2.ทำความเข้าใจความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน
จีน-ไต้หวัน : ความสัมพันธ์และความบาดหมางของสองชาติจากรากเดียวกัน
bbc.com
สรุปง่ายๆ คือ ทหารไต้หวันกลัวกองทัพจีนบุกยึดประเทศไต้หวันคืน โดยมโนแจ่มว่า ประเทศจีน จะใช้ปฎิบัติทางทหารต่อไต้หวัน แบบรัสเซียกับยูเครน.... แต่สุดท้ายก็โดน เซเลนสกี้ หลอกมาพลีชีพที่ยูเครน... แบบ ทหารต่างชาติคนอืนๆ
เซเลนสกี้ หุ่นเชิดอเมริกา ได้มาดูชีวิตและเคารพทหารต่างชาติ ที่มาจบชีวิตบ้างมั้ย?
บทความพิเศษ ทำไมทหารไต้หวัน ถึงยอมไปพลีชีพที่ยูเครน ทำไมถึงกลัวรัสเซียชนะสงคราม
Article informationAuthor,โซฟี วิลเลียมส์
Role,บีบีซี นิวส์
14 ธันวาคม 2022
เจิง เซิ่งกวง คือชาวไต้หวันคนแรกที่เสียชีวิตจากการสู้รบในสงครามครั้งนี้
ที่โบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลวิฟทางตะวันตกของยูเครน แม่ของ เจิง เซิ่งกวง ทอดสายตามองหน้าลูกชายที่นอนอยู่ในหีบศพเป็นครั้งสุดท้าย
เธอและคนในครอบครัว รวมทั้งชาวยูเครนจำนวนหนึ่งที่ต้องการร่วมไว้อาลัยให้แก่ชายที่ยอมสละชีพ...ให้ประเทศที่เขาไม่เคยเยือนมาก่อน
“เซิ่งกวงลูกชายของแม่ แม่อยากให้รู้ว่าลูกกล้าหาญมาก...ลูกจะเป็นลูกของแม่ตลอดไป และแม่ภูมิใจในตัวลูก” แม่ผู้เศร้าโศกกล่าว
เจิง เซิ่งกวง ร่วมรบในกองพันนานาชาติพิทักษ์ดินแดนแห่งยูเครน (The International Legion of Territorial Defence of Ukraine)
ตอนที่เขาเสียชีวิตในการสู้รบที่เมืองลีมาน ทางภาคตะวันออกของยูเครน เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
เขาคือชาวไต้หวันคนแรกที่เสียชีวิตจากการสู้รบในสงครามครั้งนี้
กระทรวงการต่างประเทศไต้หวันได้ออกแถลงการณ์ต่อการเสียชีวิตของเจิง เซิ่งกวง ว่า เขาได้ “สละชีพในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของยูเครน”
แม่ของ เจิง เซิ่งกวง เดินทางไปยูเครนเพื่อรับร่างลูกชายกลับบ้าน
หลังจากรัสเซียยกทัพฯ ยูเครนก็มีชาวต่างชาติหลายพันคนเดินทางไปช่วยรบให้ยูเครน ในจำนวนนี้รวมถึงชาวไต้หวันกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 คน
การที่ยูเครนถูกเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่อย่างรัสเซียเข้ารุกรานทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยงกับคนไต้หวันจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากจีนที่มองว่าไต้หวันคือมณฑลหนึ่งของตน และจะใช้กำลังทหารเข้ายึดครองหากจำเป็น
ความตึงเครียดข้ามช่องแคบไต้หวันทวีความรุนแรงขึ้น หลังจาก นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางเยือนกรุงไทเป เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงให้แก่รัฐบาลจีนที่ตอบโต้ด้วยการจัดซ้อมรบใหญ่รอบเกาะไต้หวัน
แซมมี ลิน ซึ่งได้รู้จักกับเจิง เซิ่งกวง ทางออนไลน์เล่าว่า เพื่อนของเขาคนนี้กังวลว่าสักวันหนึ่งไต้หวันอาจต้องเผชิญชะตากรรมแบบเดียวกับยูเครน
ไต้หวันกำหนดให้ชายหนุ่มร่างกายสมบูรณ์ทุกคนต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ทำให้ผู้ผ่านการเกณฑ์ทหารที่ว่านี้มีสิทธิเข้าร่วมกองพันทหารนานาชาติของยูเครน
แจ็ค เหยา วัย 28 ปี คือหนึ่งในผู้ตัดสินใจเข้าร่วมรบให้ยูเครน โดยเดินทางถึงยูเครน 3 วันหลังจากประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี เรียกร้องให้ชาวต่างชาติเข้าเป็นทหารอาสาต่อสู้กับรัสเซีย
เขาเล่าให้บีบีซีฟังว่า “ผมติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่ปีก่อน โดยเฉพาะช่วงที่รัสเซียระดมกำลังทหารและรถถังไปประจำการที่พรมแดนยูเครน ไม่มีใครเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นจริง”
“สถานการณ์ในไต้หวันกับที่ยูเครนเหมือนกันมาก ผมคิดว่าจะช่วยเหลือยูเครนได้อย่างไรบ้าง”
แจ็ค เหยา เข้าร่วมกองพันต่างชาติจอร์เจีย มีภารกิจลาดตระเวนและต่อสู้ระยะประชิด แจ็ค เหยา ได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องไต้หวันกับสมาชิกในหน่วย
“ชายคนหนึ่งเคยอาศัยในไต้หวัน 2 ปี และรู้สถานการณ์ที่นั่นดี ไต้หวันกับยูเครนเปรียบเสมือนพี่น้อง...พวกเขาบอกผมว่าห้ามผมตายอยู่ที่นี่ เพราะผมต้องกลับไปปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของผม”
แจ็ค เหยา เดินทางจากไทเปไปโปแลนด์ก่อนจะมุ่งหน้าสู่เมืองหลวงยูเครน
ในวิดีโอขององค์กรการกุศลยูเครน ชาวไต้หวัน 2 คน เล่าถึงเหตุผลที่พวกเขาร่วมการสู้รบครั้งนี้
“เหตุผลหลักที่พวกเรามายูเครนคือเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ชาวยูเครน” พวกเขากล่าวพร้อมกับชูธงไต้หวัน
“พวกเรากลัวว่าถ้ารัสเซียชนะสงคราม จีนจะทำแบบเดียวกันกับไต้หวัน ดังนั้นพวกเราจึงมายูเครนเพื่อสละชีวิตและเสรีภาพของเราแลกกับความปลอดภัยของผู้คนที่นี่”
ขณะที่ หลี่ เฉิงหลิง ชาวไต้หวันอีกคนมีเหตุผลที่ต่างออกไป โดยในการให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวบีบีซีแผนกภาษาจีนเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาเขาเล่าว่าไปร่วมรบให้ยูเครนเพราะอยาก “มีชีวิตที่น่าจดจำ”
เขาบอกว่า หากไต้หวันถูกรุกราน เขาจะเข้าร่วมรบหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับท่าทีของรัฐบาลไต้หวันและสหรัฐฯ
ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวย้ำว่าสหรัฐฯ จะปกป้องไต้หวันหากถูกจีนโจมตี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ มีนโยบายอย่างเป็นทางการที่เรียกว่า "ความคลุมเครือทางยุทธศาสตร์” ซึ่งไม่ให้คำมั่นสัญญาที่จะปกป้องไต้หวัน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้เรื่องนี้
เมื่อเดือน พ.ย.นายไบเดนกล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าภัยที่จีนจะรุกรานไต้หวันจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ หลังจากได้พบปะกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงแบบตัวต่อตัวในระหว่างการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ จี20 ที่เกาะบาหลี
ส่วนคนไต้หวันทั่วไปมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปถึงความเป็นไปได้เรื่องการถูกจีนเข้ารุกราน
พอล หวง จาก Taiwan Public Opinion Forum กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นคนไต้หวันพบข้อบ่งชี้ที่น่าสนใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกวิตกกังวลเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม หากเกิดสงครามขึ้นจริง คนไต้หวันส่วนใหญ่คิดว่าไต้หวันไม่น่าจะต้านทานกองทัพจีนได้นานเท่ากับที่ยูเครนต้านทานกองทัพรัสเซีย
แม้จะโศกเศร้าที่ต้องสูญเสียลูกชายไป แต่แม่ของ เจิง เซิ่งกวง บอกว่าการตัดสินใจของลูกชายในการต่อสู้ร่วมกับชาวยูเครนช่วยให้เธอพอทำใจได้
“การได้รู้ว่าในห้วงเวลาสุดท้ายในชีวิตเจิง เซิ่งกวง เขาได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเหล่านักรบผู้กล้า ซึ่งคอยช่วยเหลือกันและกันทั้งยามเป็นและยามตาย แม้จะเจ็บปวด แต่ฉันก็รู้สึกสบายใจขึ้นมาก” เธอกล่าว
1.ไทเปชี้จีนเฝ้าดูสงครามยูเครนเพื่อพัฒนา “กลยุทธ์ลูกผสม” ต่อไต้หวัน
2.ทำความเข้าใจความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน
จีน-ไต้หวัน : ความสัมพันธ์และความบาดหมางของสองชาติจากรากเดียวกัน
bbc.com
สรุปง่ายๆ คือ ทหารไต้หวันกลัวกองทัพจีนบุกยึดประเทศไต้หวันคืน โดยมโนแจ่มว่า ประเทศจีน จะใช้ปฎิบัติทางทหารต่อไต้หวัน แบบรัสเซียกับยูเครน.... แต่สุดท้ายก็โดน เซเลนสกี้ หลอกมาพลีชีพที่ยูเครน... แบบ ทหารต่างชาติคนอืนๆ
เซเลนสกี้ หุ่นเชิดอเมริกา ได้มาดูชีวิตและเคารพทหารต่างชาติ ที่มาจบชีวิตบ้างมั้ย?