พวกสำเนียงหรือภาษาถิ่นเล็ก ๆ ที่ใช้กันไม่เท่าไหร่
อย่าง
- ระยอง
( ในตัวจังหวัดระยอง จันทบุรี และ ตราด )
- โคราช ( นครราชสีมา
บางส่วนของชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ ลพบุรี )
- สุโขทัย
( ในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์
บางส่วนของตาก พิษณุโลก )
ถ้าเกิดว่า เราไม่ใช่คนในพื้นที่จังหวัดพวกนี้นี่
ก็ไม่ได้มีโอกาสจะได้ยินคนพูดเลยจริง ๆ
เหมือนกับว่าจำนวนคนพูดนับว่าน้อยลง
จนเหมือนใกล้จะถูกกลืนเข้าไปเต็มทีแล้ว
กลับกันพวกภาษาถิ่นใหญ่ ๆ
เหนือ อีสาน ใต้
อันนี้คนพูดกันแพร่หลาย เยอะแยะมาก ๆ
มีทั้งในสื่อบันเทิง โทรทัศน์ สื่อออนไลน์
ต่อให้คุณเอง ไม่ใช่คนในพื้นที่
คุณก็ต้องเคยได้ยินบ้างอยู่แล้ว ทุกคนแน่นอน
ถึงได้รู้จักกันว่า นี่ภาษาเหนือ นี่ภาษาใต้
เป็นแบบนี้นี่เอง
แถมในปัจจุบัน มีสื่อออนไลน์ โซเชียล
มีโอกาสได้ยิน ได้สัมผัสยิ่งเยอะ
มาในส่วนของผู้พูด
คือ ถูกที่ว่า เด็กรุ่นใหม่ หันมาพูดภาษากลาง
กันมากขึ้น เยอะขึ้น
ก็ถูกต้องกับเด็กรุ่นใหม่บางส่วน
โดยเฉพาะเด็กในเมือง
ถ้าเป็นคนที่อยู่ตามนอกเมือง ชนบท
ที่ผมสัมผัสครับ
ทั้งคนเหนือ คนอีสาน คนใต้
ยังคงพูดภาษาถิ่นของตัวเองกันอยู่เยอะ
นับว่าเยอะเลย
จะต่างจากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ
แค่ตรงหันมาใช้คำภาษากลางเยอะขึ้นชัดเจน
คำดั้งเดิมบางคำก็เริ่มไม่ใช้กันแล้ว
ส่วนคำถามตามหัวกระทู้เลยครับ
เพราะอะไรนี่สงสัยเหมือนกัน
เพราะอะไร ภาษาถิ่นใหญ่ ๆ ถึงไม่ถูกกลืน หรือ ใกล้หายไปแบบภาษาถิ่นเล็ก ๆ ครับ
อย่าง
- ระยอง
( ในตัวจังหวัดระยอง จันทบุรี และ ตราด )
- โคราช ( นครราชสีมา
บางส่วนของชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ ลพบุรี )
- สุโขทัย
( ในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์
บางส่วนของตาก พิษณุโลก )
ถ้าเกิดว่า เราไม่ใช่คนในพื้นที่จังหวัดพวกนี้นี่
ก็ไม่ได้มีโอกาสจะได้ยินคนพูดเลยจริง ๆ
เหมือนกับว่าจำนวนคนพูดนับว่าน้อยลง
จนเหมือนใกล้จะถูกกลืนเข้าไปเต็มทีแล้ว
กลับกันพวกภาษาถิ่นใหญ่ ๆ
เหนือ อีสาน ใต้
อันนี้คนพูดกันแพร่หลาย เยอะแยะมาก ๆ
มีทั้งในสื่อบันเทิง โทรทัศน์ สื่อออนไลน์
ต่อให้คุณเอง ไม่ใช่คนในพื้นที่
คุณก็ต้องเคยได้ยินบ้างอยู่แล้ว ทุกคนแน่นอน
ถึงได้รู้จักกันว่า นี่ภาษาเหนือ นี่ภาษาใต้
เป็นแบบนี้นี่เอง
แถมในปัจจุบัน มีสื่อออนไลน์ โซเชียล
มีโอกาสได้ยิน ได้สัมผัสยิ่งเยอะ
มาในส่วนของผู้พูด
คือ ถูกที่ว่า เด็กรุ่นใหม่ หันมาพูดภาษากลาง
กันมากขึ้น เยอะขึ้น
ก็ถูกต้องกับเด็กรุ่นใหม่บางส่วน
โดยเฉพาะเด็กในเมือง
ถ้าเป็นคนที่อยู่ตามนอกเมือง ชนบท
ที่ผมสัมผัสครับ
ทั้งคนเหนือ คนอีสาน คนใต้
ยังคงพูดภาษาถิ่นของตัวเองกันอยู่เยอะ
นับว่าเยอะเลย
จะต่างจากผู้ใหญ่ คนสูงอายุ
แค่ตรงหันมาใช้คำภาษากลางเยอะขึ้นชัดเจน
คำดั้งเดิมบางคำก็เริ่มไม่ใช้กันแล้ว
ส่วนคำถามตามหัวกระทู้เลยครับ
เพราะอะไรนี่สงสัยเหมือนกัน