สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 27
มาวิเคราะห์ต่อจากความคิดเห็นก่อนหน้ากันค่ะ
สายมนุษยศาสตร์
สาขาวรรณกรรมเราว่าค่อนข้างยากสำหรับนักเขียนไทยด้วยสาเหตุหลายประการ อย่างแรกเลยก็คือกำแพงด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรม ทำให้คณะกรรมการตัดสินอาจจะไม่รู้สึกอิน หรือซาบซึ้งกับวรรณกรรมไทย สังเกตว่าที่ผ่านมารางวัลโนเบลสาขานี้จะให้กับนักเขียนทวีปยุโรปมากกว่า
สาเหตุต่อมาคือประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ ไม่ได้มีอิทธิพลต่อโลกเท่าไหร่นัก ซึ่งส่งผลให้ชาติอื่นไม่ค่อยหันมาศึกษาความเป็นไทย และสิ่งสุดท้ายที่เป็นประเด็นสำคัญเลยก็คือประเทศไทยมีคนสนใจอ่านและวิจารณ์งานวรรณกรรมอย่างจริงๆ จังๆ น้อยมากๆ เพียงแค่หยิบมือเดียวเท่านั้น ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร อาจเป็นเพราะเศรษฐกิจที่รัดตัว ทำให้ไม่มีเวลาว่างมาอ่านหนังสือ หรืออาจเป็นเพราะวัฒนธรรมการอ่านของไทยไม่เข้มแข็ง คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ เหมือนกับวลีที่แซวกันว่าอ่านไม่เกินแปดบรรทัด ^^
แวดวงวรรณกรรมของไทยจึงซบเซาสุดขีด บางครั้งงานดีๆ ก็ไม่มีใครเห็นค่า อย่างเช่นเรื่องเงาสีขาว ที่ถูกปฏิเสธจากรางวัลซีไรต์ แต่ไปโด่งดังในต่างประเทศ ซึ่งนิยายไทยน้อยเรื่องมากที่จะตีตลาดระดับอินเตอร์ได้ วรรณกรรมไทยกว่าจะไปถึงระดับรางวัลโนเบล อย่างน้อยก็ต้องได้รับการแปลให้แพร่หลายในต่างประเทศก่อน ประเด็นนี้มีคลิปที่วิเคราะห์ไว้ว่า ทำไมหนังสือไทย ไม่ไประดับโลก? ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้นะคะ https://www.youtube.com/watch?v=dYesdcSH23k
เราว่าประเทศไทยค่อนข้างโชคดี ที่มีกวีพรสวรรค์ราวร่วงหลั่นจากสวรรค์ชั้นกวี ลงมาจุติในประเทศไทยอยู่เรื่อยๆ อย่างน้อยร้อยปีก็จะมีซักคน อย่างเช่นท่านสุนทรภู่ และท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เราค่อนข้างเสียดาย คิดว่าถ้าภาษาไทยเป็นภาษาสากลเหมือนภาษาอังกฤษ ก็คงมีโอกาสได้เห็นคนไทยได้รับรางวัลในสาขานี้บ้าง
แต่จะว่าไปรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมก็ค่อนข้างอินดี้อยู่เหมือนกัน นักเขียนดังๆ ที่ควรจะได้รับรางวัล อย่างเช่น Borges Chekhov Ibsen Joyce Nabokov Orwell Proust Tolstoy ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลโนเบลเสมอไปค่ะ
ส่วนรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีนี้เป็นของ Maria Ressa นักข่าวชาวฟิลิปปินส์ เป็นชาวอาเซียนเช่นเดียวกับอองซานซูจี สังเกตว่าผู้ได้รับรางวัลในสาขานี้จำนวนมากมาจากประเทศที่มีความขัดแย้ง เกิดสงคราม หรือประเทศที่กดขี่ข่มเหง ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งประเทศไทยของเรายังไม่เข้าขั้นนั้น โนเบลสาขานี้ยังมีข้อครหา ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าให้รางวัลได้ไม่เหมาะสม อย่างเช่นตอนที่ให้กับ Kissinger และ Obama นับว่าทำลายความน่าเชื่อถือของรางวัลนี้ไปมากเลยทีเดียว
สายมนุษยศาสตร์
สาขาวรรณกรรมเราว่าค่อนข้างยากสำหรับนักเขียนไทยด้วยสาเหตุหลายประการ อย่างแรกเลยก็คือกำแพงด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรม ทำให้คณะกรรมการตัดสินอาจจะไม่รู้สึกอิน หรือซาบซึ้งกับวรรณกรรมไทย สังเกตว่าที่ผ่านมารางวัลโนเบลสาขานี้จะให้กับนักเขียนทวีปยุโรปมากกว่า
สาเหตุต่อมาคือประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ ไม่ได้มีอิทธิพลต่อโลกเท่าไหร่นัก ซึ่งส่งผลให้ชาติอื่นไม่ค่อยหันมาศึกษาความเป็นไทย และสิ่งสุดท้ายที่เป็นประเด็นสำคัญเลยก็คือประเทศไทยมีคนสนใจอ่านและวิจารณ์งานวรรณกรรมอย่างจริงๆ จังๆ น้อยมากๆ เพียงแค่หยิบมือเดียวเท่านั้น ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร อาจเป็นเพราะเศรษฐกิจที่รัดตัว ทำให้ไม่มีเวลาว่างมาอ่านหนังสือ หรืออาจเป็นเพราะวัฒนธรรมการอ่านของไทยไม่เข้มแข็ง คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ เหมือนกับวลีที่แซวกันว่าอ่านไม่เกินแปดบรรทัด ^^
แวดวงวรรณกรรมของไทยจึงซบเซาสุดขีด บางครั้งงานดีๆ ก็ไม่มีใครเห็นค่า อย่างเช่นเรื่องเงาสีขาว ที่ถูกปฏิเสธจากรางวัลซีไรต์ แต่ไปโด่งดังในต่างประเทศ ซึ่งนิยายไทยน้อยเรื่องมากที่จะตีตลาดระดับอินเตอร์ได้ วรรณกรรมไทยกว่าจะไปถึงระดับรางวัลโนเบล อย่างน้อยก็ต้องได้รับการแปลให้แพร่หลายในต่างประเทศก่อน ประเด็นนี้มีคลิปที่วิเคราะห์ไว้ว่า ทำไมหนังสือไทย ไม่ไประดับโลก? ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้นะคะ https://www.youtube.com/watch?v=dYesdcSH23k
เราว่าประเทศไทยค่อนข้างโชคดี ที่มีกวีพรสวรรค์ราวร่วงหลั่นจากสวรรค์ชั้นกวี ลงมาจุติในประเทศไทยอยู่เรื่อยๆ อย่างน้อยร้อยปีก็จะมีซักคน อย่างเช่นท่านสุนทรภู่ และท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เราค่อนข้างเสียดาย คิดว่าถ้าภาษาไทยเป็นภาษาสากลเหมือนภาษาอังกฤษ ก็คงมีโอกาสได้เห็นคนไทยได้รับรางวัลในสาขานี้บ้าง
แต่จะว่าไปรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมก็ค่อนข้างอินดี้อยู่เหมือนกัน นักเขียนดังๆ ที่ควรจะได้รับรางวัล อย่างเช่น Borges Chekhov Ibsen Joyce Nabokov Orwell Proust Tolstoy ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลโนเบลเสมอไปค่ะ
ส่วนรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีนี้เป็นของ Maria Ressa นักข่าวชาวฟิลิปปินส์ เป็นชาวอาเซียนเช่นเดียวกับอองซานซูจี สังเกตว่าผู้ได้รับรางวัลในสาขานี้จำนวนมากมาจากประเทศที่มีความขัดแย้ง เกิดสงคราม หรือประเทศที่กดขี่ข่มเหง ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งประเทศไทยของเรายังไม่เข้าขั้นนั้น โนเบลสาขานี้ยังมีข้อครหา ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่าให้รางวัลได้ไม่เหมาะสม อย่างเช่นตอนที่ให้กับ Kissinger และ Obama นับว่าทำลายความน่าเชื่อถือของรางวัลนี้ไปมากเลยทีเดียว
ความคิดเห็นที่ 4
ชาวเอเชียคนแรกที่ได้รางวัลโนเบลในสาขาวิทยาสตร์ คือ C. V. Raman ในสาขาฟิสิกส์ ปี1930 จากการศึกษาspectroscopy ค้นพบRaman Effect
ตัดภาพมาที่การศึกษาไทยในปี1930 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพึ่งก่อตั้งมาสิบปีกว่าๆ คณะวิทยาศาสตร์ยังไม่แยกออกจากคณะอักษรศาสตร์เลย spectroscopyก็คงยังไม่รู้จัก อาจารย์ที่สอนอยู่ตอนนั้นก็คือแพทย์ซึ่งสอนวิทยาศาสตร์เชิงลึกไม่ได้ นิสิตในยุคนั้นก็ใช้ภาษาอังกฤษยังไม่ได้ หน้าที่หลักในตอนนั้นยังเป็นการสอนวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้นิสิตแพทย์อยู่ และเป็นแบบนี้ไปอีกหลายสิบปีจนมีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและแยกตัวออกมา คณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะวิทยาศาสตร์จริงๆมาแค่50กว่าปี แค่เริ่มต้นก็ช้ากว่าชาวบ้านเค้ามากแล้ว การวางระบบก็เละเทะ กว่าจะขยับตัวเปลี่ยนแปลงก็ช้าแสนช้า การเมืองก็ไม่มีเสถียรภาพนโยบายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พอเหมือนจะไปถูกทางแปปๆอำนาจก็เปลี่ยนมือ ไม่แปลกเลยที่การศึกษาวิทยาสาสตร์ในอดีตมันจะห่วย การศึกษาระดับในอุดมศึกษาประเทศเรามาได้ไกลขนาดนี้ก็นับว่าน่าเหลือเชื่อแล้ว ถ้าพัฒนาด้วยอัตราระดับนี้ไปเรื่อยๆการที่คนไทยได้รางวัลโนเบลอาจจะเป็นจริงขึ้นมาก็ได้
แต่ปัญหาคือการศึกษามันไม่ได้ระดับเดียว ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษามามันห่วยทุกระดับเลย คุณภาพนักเรียนก็ห่วย คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ห่วย สภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนก็ห่วย นอกจากห่วยแล้วยังเหลื่อมล้ำอีก ยิ่งห่างไกลยิ่งห่วยแบบทวีคูณ
ถ้าไม่ได้มีคนโคตรอัฉริยะมาเกิดแบบอินเดีย ก็ต้องพัฒนาระบบการศึกษาให้มันดีซะก่อน ถ้ามันการศึกษามันดี คนเก่งๆจะได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเยอะ แวดวงวิชาการจะได้เข้มแข็ง มันจะได้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้แบบเป็นะบบ มันจะผลักดันให้เกิดผลงานระดับลุ้นโนเบลได้
ญี่ปุ่นได้โนเบลสาขาวิทยาศาสตร์มากสุดในเอเชียก็เพราะในอดีตเค้ามีการวางรากฐานการศึกษาที่เป็นระบบและรุดหน้าที่สุดในเอเชีย ถ้าอยากได้รางวัลแบบเค้าก็ต้องลงมือทำให้ได้แบบเค้าซะก่อน
ตัดภาพมาที่การศึกษาไทยในปี1930 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพึ่งก่อตั้งมาสิบปีกว่าๆ คณะวิทยาศาสตร์ยังไม่แยกออกจากคณะอักษรศาสตร์เลย spectroscopyก็คงยังไม่รู้จัก อาจารย์ที่สอนอยู่ตอนนั้นก็คือแพทย์ซึ่งสอนวิทยาศาสตร์เชิงลึกไม่ได้ นิสิตในยุคนั้นก็ใช้ภาษาอังกฤษยังไม่ได้ หน้าที่หลักในตอนนั้นยังเป็นการสอนวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้นิสิตแพทย์อยู่ และเป็นแบบนี้ไปอีกหลายสิบปีจนมีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและแยกตัวออกมา คณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะวิทยาศาสตร์จริงๆมาแค่50กว่าปี แค่เริ่มต้นก็ช้ากว่าชาวบ้านเค้ามากแล้ว การวางระบบก็เละเทะ กว่าจะขยับตัวเปลี่ยนแปลงก็ช้าแสนช้า การเมืองก็ไม่มีเสถียรภาพนโยบายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พอเหมือนจะไปถูกทางแปปๆอำนาจก็เปลี่ยนมือ ไม่แปลกเลยที่การศึกษาวิทยาสาสตร์ในอดีตมันจะห่วย การศึกษาระดับในอุดมศึกษาประเทศเรามาได้ไกลขนาดนี้ก็นับว่าน่าเหลือเชื่อแล้ว ถ้าพัฒนาด้วยอัตราระดับนี้ไปเรื่อยๆการที่คนไทยได้รางวัลโนเบลอาจจะเป็นจริงขึ้นมาก็ได้
แต่ปัญหาคือการศึกษามันไม่ได้ระดับเดียว ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษามามันห่วยทุกระดับเลย คุณภาพนักเรียนก็ห่วย คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ห่วย สภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนก็ห่วย นอกจากห่วยแล้วยังเหลื่อมล้ำอีก ยิ่งห่างไกลยิ่งห่วยแบบทวีคูณ
ถ้าไม่ได้มีคนโคตรอัฉริยะมาเกิดแบบอินเดีย ก็ต้องพัฒนาระบบการศึกษาให้มันดีซะก่อน ถ้ามันการศึกษามันดี คนเก่งๆจะได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเยอะ แวดวงวิชาการจะได้เข้มแข็ง มันจะได้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้แบบเป็นะบบ มันจะผลักดันให้เกิดผลงานระดับลุ้นโนเบลได้
ญี่ปุ่นได้โนเบลสาขาวิทยาศาสตร์มากสุดในเอเชียก็เพราะในอดีตเค้ามีการวางรากฐานการศึกษาที่เป็นระบบและรุดหน้าที่สุดในเอเชีย ถ้าอยากได้รางวัลแบบเค้าก็ต้องลงมือทำให้ได้แบบเค้าซะก่อน
ความคิดเห็นที่ 26
เราขอแยกรางวัลโนเบลออกเป็นสองสายนะคะ คือสายวิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
สายวิทยาศาสตร์
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่ารางวัลโนเบล (ส่วนใหญ่) สะท้อนความสำเร็จในอดีตที่นานมากนะคะ เพราะกรรมการผู้ตัดสินต้องแน่ใจว่าผลงานที่ได้รับรางวัลนั้นทรงคุณค่าจริงๆ ไม่ให้เสียชื่อเสียงของรางวัลโนเบล กว่าจะมอบรางวัลนี้ให้ใครจึงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างยาวนาน นักวิทยาศาสตร์หลายท่านสร้างผลงานเด่นๆ ตั้งแต่ยังอายุน้อย แต่กว่าจะได้รับรางวัลก็เข้าสู่บั้นปลายชีวิตแล้ว และอีกหลายท่านก็เสียชีวิตไปก่อนอย่างน่าเสียดาย ตัวอย่างเช่นนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลปีนี้ ศาสตราจารย์ Alain Aspect ท่านได้ทำการทดลอง Bell test มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นตัวเต็งรางวัลโนเบลมาเนิ่นนาน แต่ก็เพิ่งจะได้รับรางวัลเมื่อปีนี้เอง
เพราะฉะนั้น การที่ประเทศไทยจะได้รับรางวัลโนเบลสายวิทยาศาสตร์ในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ง่ายเลยค่ะ สมมติว่าเราเริ่มพัฒนาการศึกษา พัฒนาคนตั้งแต่วันนี้ กว่าจะสร้างทรัพยากรบุคคลระดับที่จะคว้ารางวัลโนเบลได้ต้องใช้เวลาเป็นสิบปี กว่าที่ผลงานนั้นจะได้รับรางวัลก็อีกหลายทศวรรษ อย่างน้อยเราว่าน่าจะอีกซัก 50 ปี กว่าจะมีโอกาสเห็นคนไทยได้รับรางวัลโนเบล ถึงเวลานั้น เราอาจจะได้เห็นบอลไทยไปบอลโลกก่อนก็ได้นะคะ ^^
หันมาเปรียบเทียบกับประเทศรอบตัวของเราบ้าง อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ได้มีการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์มานานนับศตวรรษแล้ว และต้นกล้าวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกดอกบานสะพรั่งในช่วงปี 2000 นี้เอง ตั้งแต่นั้นมาชาวญี่ปุ่นได้รับรางวัลโนเบลเกือบทุกปี เป็นเกียรติเป็นศรีแก่ประเทศเป็นอย่างมาก
ด้านเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเวียดนาม ถึงแม้จะยังไม่มีคนที่ได้รางวัลโนเบลสายวิทยาศาสตร์ แต่การศึกษาก็พัฒนาก้าวหน้า เราเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศเหล่านี้จะประสบความสำเร็จ อย่างประเทศเวียดนามในตอนนี้ ก็มีผู้ได้รับรางวัล Fields Medal ซึ่งเปรียบเสมือนโนเบลสาขาคณิตศาสตร์แล้ว รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลที่สูงส่งไม่แพ้รางวัลโนเบลเลยค่ะ
เมื่อสามปีก่อน นิตยสาร Forbes ได้มีบทความที่จัดอันดับ 25 ประเทศที่ฉลาดที่สุด โดยใช้ดัชนีชี้วัดคือรางวัลโนเบล ระดับไอคิว และผลการศึกษา เป็นบทความที่น่าสนใจ สามารถเข้าไปอ่านที่ลิงก์นี้ได้นะคะ https://www.forbes.com/sites/duncanmadden/2019/01/11/ranked-the-25-smartest-countries-in-the-world/?sh=725ef5f6163f
สายวิทยาศาสตร์
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่ารางวัลโนเบล (ส่วนใหญ่) สะท้อนความสำเร็จในอดีตที่นานมากนะคะ เพราะกรรมการผู้ตัดสินต้องแน่ใจว่าผลงานที่ได้รับรางวัลนั้นทรงคุณค่าจริงๆ ไม่ให้เสียชื่อเสียงของรางวัลโนเบล กว่าจะมอบรางวัลนี้ให้ใครจึงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างยาวนาน นักวิทยาศาสตร์หลายท่านสร้างผลงานเด่นๆ ตั้งแต่ยังอายุน้อย แต่กว่าจะได้รับรางวัลก็เข้าสู่บั้นปลายชีวิตแล้ว และอีกหลายท่านก็เสียชีวิตไปก่อนอย่างน่าเสียดาย ตัวอย่างเช่นนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลปีนี้ ศาสตราจารย์ Alain Aspect ท่านได้ทำการทดลอง Bell test มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นตัวเต็งรางวัลโนเบลมาเนิ่นนาน แต่ก็เพิ่งจะได้รับรางวัลเมื่อปีนี้เอง
เพราะฉะนั้น การที่ประเทศไทยจะได้รับรางวัลโนเบลสายวิทยาศาสตร์ในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ง่ายเลยค่ะ สมมติว่าเราเริ่มพัฒนาการศึกษา พัฒนาคนตั้งแต่วันนี้ กว่าจะสร้างทรัพยากรบุคคลระดับที่จะคว้ารางวัลโนเบลได้ต้องใช้เวลาเป็นสิบปี กว่าที่ผลงานนั้นจะได้รับรางวัลก็อีกหลายทศวรรษ อย่างน้อยเราว่าน่าจะอีกซัก 50 ปี กว่าจะมีโอกาสเห็นคนไทยได้รับรางวัลโนเบล ถึงเวลานั้น เราอาจจะได้เห็นบอลไทยไปบอลโลกก่อนก็ได้นะคะ ^^
หันมาเปรียบเทียบกับประเทศรอบตัวของเราบ้าง อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ได้มีการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์มานานนับศตวรรษแล้ว และต้นกล้าวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกดอกบานสะพรั่งในช่วงปี 2000 นี้เอง ตั้งแต่นั้นมาชาวญี่ปุ่นได้รับรางวัลโนเบลเกือบทุกปี เป็นเกียรติเป็นศรีแก่ประเทศเป็นอย่างมาก
ด้านเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเวียดนาม ถึงแม้จะยังไม่มีคนที่ได้รางวัลโนเบลสายวิทยาศาสตร์ แต่การศึกษาก็พัฒนาก้าวหน้า เราเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศเหล่านี้จะประสบความสำเร็จ อย่างประเทศเวียดนามในตอนนี้ ก็มีผู้ได้รับรางวัล Fields Medal ซึ่งเปรียบเสมือนโนเบลสาขาคณิตศาสตร์แล้ว รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลที่สูงส่งไม่แพ้รางวัลโนเบลเลยค่ะ
เมื่อสามปีก่อน นิตยสาร Forbes ได้มีบทความที่จัดอันดับ 25 ประเทศที่ฉลาดที่สุด โดยใช้ดัชนีชี้วัดคือรางวัลโนเบล ระดับไอคิว และผลการศึกษา เป็นบทความที่น่าสนใจ สามารถเข้าไปอ่านที่ลิงก์นี้ได้นะคะ https://www.forbes.com/sites/duncanmadden/2019/01/11/ranked-the-25-smartest-countries-in-the-world/?sh=725ef5f6163f
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนไทยถึงไม่เคยได้รับราลวัลโนเบลล์