ประเทศที่ไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แต่ค่าแรงสูงกว่าไทย จะเป็นประเทศที่ประชากรน้อย และ ร่ำรวย

ดูข้อมูล  เหล่านี้จะเห็นว่า ประเทศที่ไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ  แต่ค่าแรงสูงกว่าไทยมาก   จะเป็นประเทศที่ประชากรน้อยในยุโรป และ ร่ำรวย  ประชากรมีการศึกษาดีเป็นประเทศพัฒนาแล้ว       มีข้อกำหนดระหว่างนายจ้างลูกจ้างชัดเจน  สหภาพแรงงานเข้มแข็งที่สำคัญมีสวัสดิการที่ดีจากรัฐบาล   

    1. สวีเดน – เป็นประเทศต้นแบบในการยกเลิกการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ หันมาใช้ “โมเดลนอร์ดิก” (Nordic Model) ที่กำหนดค่าแรงให้พนักงานผ่าน “การร่วมเจรจาต่อรอง” โดยสวีเดน มีสหภาพแรงงานกว่า 110 แห่ง ที่จะไปเจรจาต่อรองกับผู้แทนองค์กร ถึงค่าแรงที่สมาชิกในสหภาพควรจะได้ต่อชั่วโมง รวมถึงค่าล่วงเวลาด้วย บนพื้นฐานทางกฎหมายว่า พนักงงานต้องทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีวันลาพักร้อน 25 วัน และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 13 วันต่อปี  
    2. เดนมาร์ก - ลักษณะเดียวกับสวีเดน และตามที่กล่าวไว้ข้างต้นในบทความ
ไอซ์แลนด์ - เมื่อมีสถานะเป็นพนักงาน ทุกคนจะถูกบรรจุเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในทันที โดยสหภาพแรงงานเหล่านี้ จะเจรจาตกลงค่าแรงที่พนักงานควรได้กับผู้แทนองค์กรเอง
    3. นอร์เวย์ - ใช้หลักการเจรจาต่อรองร่วมเหมือนเดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ ด้วยค่าแรงที่อยู่ในระดับสูง ยกตัวอย่าง แรงงานทักษะต่ำ อาทิ ภาคการเกษตร ก่อสร้าง และทำความสะอาด จะมีรายได้ขั้นต่ำ 556-730 บาทต่อชั่วโมง 
    4. สวิตเซอร์แลนด์ - ให้มีผู้มีสิทธิลงคะแนนเป็นผู้ลงคะแนนกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ โดยเมื่อปี 2020 ประชามติกำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่ 855 บาทต่อชั่วโมง ในทุกอุตสาหกรรม
    5. สิงคโปร์ – มีตลาดแรงงานที่ปราศจากการแทรกแซงโดยรัฐบาลอย่างสิ้นเชิง โดยผู้แทนแรงงานและนายจ้าง กำหนดค่าตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ อ้างอิงตามประสบการณ์ ทักษะ การศึกษา และความสามารถ
 
https://www.msn.com/th-th/news/other/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-12-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2/ar-AA15b6mT?cvid=f14179ef11d540c0933c8249790c22e7

 ปล 
        - ประเทศไทย  ถ้าคิดอยากมีสวัสดิการที่ดี ค่าแรงสูง รัฐบาลดูแลประชาชนได้        ประชากรมันต้องเหลือน้อย  ๆ 8-10 ล้านคน แบบมีคุณภาพและเสียภาษีสูงตามเค้ามันจึงทำได้                
        -  ถ้ายังมีประชากรยั้วเยี้ย 70 ล้าน คน เสียภาษีไม่ถึงครึ่ง แถมเป็นคนที่ไม่ได้มีคุณภาพสูง ๆ  อีก  คงยากจะฝันถึงรัฐสวัสดิการแบบยุโรปได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่