อยากทราบแนวคิดโจทย์คณิตศาสตร์ข้อนี้ครับ

วิชิตเปิดบัญชีกับธนาคารโรงเรียน 7 บัญชีโดยมีข้อมูล ชื่อบัญชี - จำนวนเงิน - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ (ต่อเดือน) ดังนี้

A 6,460 4.5%

B 2920 11%

C 3155 5%

D 6245 5.5%

E 1780 3.5%

F 5185 6%

G 1860 4%

จากเงื่อนไขต่อไปนี้

(1) มีรายจ่ายในแต่ละเดือนเป็นค่า W 160, X 240, Y 240, Z 108 บาท ตามลำดับ

(2) รายจ่ายแต่ละอย่างถอนจากบัญชีใดบัญชีหนึ่งเท่านั้น และหนึ่งบัญชีใช้จ่ายได้แค่หนึ่งอย่าง (เช่น A จ่ายค่า W จะใช้จ่ายค่า X, Y, Z ด้วยไม่ได้)

(3) ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยโดยคำนวณจากยอดเงินคงเหลือในบัญชีของเดือนก่อนหน้า

ถ้าต้องการให้มีจำนวนยอดเงินรวมทั้ง 7 บัญชีเยอะที่สุดในอีก 7 เดือน 

1. วิชิตต้องเลือกให้ธนาคารตัดรายจ่ายในแต่ละเดือนจากบัญชีใดบ้าง (ไม่จำเป็นต้องตัดจากบัญชีเดิมทุกเดือน)

2. ยอดเงินรวมทั้ง 7 บัญชีเป็นเท่าใด

อยากทราบแนวคิดของแต่ละท่านครับ มีวิธีคิดโจทย์ข้อนี้ยังไง ? สามารถตั้งสมการออกมาได้ไหม ? เป็นโจทย์เอามาถามนักเรียนมัธยมปลาย แต่ไม่ได้จำกัดเนื้อหาความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้

ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่