ในฐานะนายจ้าง คนจบ ม.ต่างประเทศ ม.ดังกับม.ธรรมดา ในประเทศ เวลาทำงานต่างกันจริง ๆ

ขอบคุณทุก ๆ ความเห็นมากครับ ....
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
นอกเรื่องนิดนึงนะครับ ...

จากที่นั่งอ่านที่ จขกท. เขียนทั้งหมด แล้วย้อนไปอ่านบางกระทู้ของ จขกท. ด้วยแล้ว ผมไม่แปลกใจเลยที่ จขกท. จะสามารถเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้ แต่สิ่งที่เห็นแล้วผมรู้สึกตะหงิดๆ (และคิดว่าคงเป็นประเด็นที่คุณ คห.4 ก็พูดถึงด้วยเช่นกัน) ก็คือ ผมสัมผัสได้ถึง Ego ที่ค่อนข้างหนาเอาการ ซึ่งผมเดาว่าคงเป็นเพราะคุณทำงานกับชาวต่างชาติมานาน อาจจะชินกับระบบและวัฒนธรรมการทำงานแบบชาวต่างชาติ มากกว่าวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ (ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นสาเหตุนึง ที่ทำให้ จขกท. มองผลผลิตจาก ม.ธรรมดา ในประเทศว่าไม่ดี โดยแทบไม่สะท้อนด้านอื่นให้เห็นเลย) จริงๆถ้าคุณจะพูดว่า "ทำงานเน้นแต่เนื้องาน เน้นที่คุณภาพเป็นสำคัญ" มันก็พูดได้ แต่นั่นมันอาจจะนำมาใช้กับวัฒนธรรมการทำงานของคนไทยได้ไม่ทั้งหมดครับ

ที่ผมเน้นคำว่า "วัฒนธรรมการทำงานของคนไทย" เพราะบริษัทก็คุณตั้งอยู่ในประเทศไทย แรงงานที่ใช้ก็เป็นคนไทย เผลอๆลูกค้าก็อาจจะมีคนไทยด้วยก็ได้ ดังนั้นคุณจะมาเอาความเคยชินที่ทำงานร่วมกับชาวต่างชาติเป็นหลักมาเป็นฐานคิด แล้วก็มาตัดสินว่าคนที่จบ ม.ธรรมดา ในประเทศ นั้นไร้คุณภาพ และการเมืองจัดเกินไป มันก็คงจะไม่ได้ (และไม่ดีต่อตัวคุณเองด้วย) ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า เป้าหมายในการทำงานของคนไทย กับคนต่างชาติที่คุณเคยร่วมทำงานด้วยนั้น มันต่างกันครับ จากที่ผมอ่านกระทู้คุณ ผมอนุมานได้ว่าคนต่างชาติที่คุณเคยร่วมงาน มักจะทำงานโดยเน้นที่ตัวเนื้องานจริงๆเป็นหลัก เพราะเขามาเพื่อทำงาน ส่วนองค์ประกอบอื่นๆที่พ่วงมากับงาน เช่นสิ่งแวดล้อมอย่างเพื่อนร่วมงาน หรือความสัมพันธ์ในสายการบังคับบัญชา เขามักจะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่นัก แต่กลับกัน เนื่องจากคนไทยเป็นชาวตะวันออก ชาวตะวันออกส่วนใหญ่มักจะทำงานแบบอยู่บนความสัมพันธ์ของที่ทำงานนั้นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยด้วยแล้ว ความสัมพันธ์เหล่านี้บางทีสำคัญกว่าตัวเนื้องานซะอีกเมื่อพูดถึงการได้เลื่อนขั้น ดูง่ายๆจากการเรียกชื่อกันในที่ทำงานก็ได้ คนไทยเวลาทำงานถ้าเป็นระดับเดียวกัน ไม่มีใครมานั่งเรียกชื่อจริงแบบเต็มๆหรอกครับ ทุกคนก็ล้วนเรียกชื่อเล่นด้วยกันทั้งนั้น + คำนำหน้าที่ขึ้นอยู่กับอายุของคนพูดว่าแก่กว่าหรือเด็กกว่า เช่น พี่ หรือ น้อง เป็นต้น

ผมกำลังจะสื่อว่า ถ้าคุณมองในอีกมุมนึง ลูกจ้างไทย ที่จบม.ธรรมดา ในประเทศ เขาก็มีมุมบวกได้เหมือนกัน สิ่งนั้นก็คือ พวกเขาปรับตัวง่ายต่อวัฒนธรรมการทำงานของประเทศไทย คือ ไม่ถือตัว อยู่ง่าย ไม่เรื่องมาก ไม่ทำตัวแปลกแยก ไม่ฉีกกฏเดิมที่มีอยู่ พูดง่ายๆคือ ถ้าคุณต้องการพนักงานแบบรอคำสั่งแล้วให้ทำตาม ก็ย่อมเป็นลูกจ้างที่มีความเหมาะสม ดังนั้น ไม่ใช่ว่าลูกจ้างประเภทนี้ไม่ดี แต่อยู่ที่ความเหมาะสมในการเลือกใช้งานมากกว่า ส่วนเรื่องการเมืองภายในนั้น ผมว่ามันเป็นนิสัยส่วนบุคคลครับ ที่จะมีคนบางจำพวกชอบทำตัวปลุกปั่นคนอื่น หรือหาทางรอดแบบรักสบายด้วยการใช้ลิ้น ซึ่งจะเอามาเหมารวมกับคนอื่นมันก็ดูใช่ที่นะ

ที่ผมต้องพูดตรงนี้ ก็เพราะว่ายังมีคนอีกมากมายที่เขามีฝีมือ แต่ขาดโอกาสครับ แค่เพียงเพราะว่าเขาเกิดมาไม่มีเงินจะเรียนใน ม.ชื่อดัง หรือไม่มีหวังจะเรียนในต่างประเทศ เขาก็เลยไม่มีสิทธิ์ที่จะได้ทำงานดีๆงั้นเหรอครับ ? ก็เพราะทุกบริษัทคิดอย่างงี้เหมือนกันหมดไง คนดีจึงท้อ ขโมยโจรมันถึงเต็มบ้านเต็มเมือง ก็เพราะว่าเมื่อเขาสมัครงานแล้วมันไม่ได้ เขาก็ถูกบีบให้ต้องไปทำอะไรสักอย่างเพื่อให้มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว สุดท้ายแล้วพออาชญากรรมมันเยอะมากๆ คนที่ต้องโดนปล้นหรือต้องเดือดร้อนก็คือนักธุรกิจอย่างพวกคุณนั่นแหละครับ ฉะนั้นจะมาบอกว่าไม่แคร์ภาพลักษณ์หรือไม่แคร์อะไรเลยมันก็เรื่องของคุณครับ เพราะผลกระทบที่คุณทำมันย่อมส่งผลย้อนกลับมาหาคุณเองสักทางนึงอยู่แล้ว แค่อยากจะฝากว่า ไอ้ผลการวิจัยที่คุณนั่งเขียนมาทั้งหมดน่ะ คุณแน่ใจเหรอว่ามันให้ข้อมูลรอบด้านดีแล้ว ? ไม่งั้นทำไมเดี๋ยวนี้เวลาทำโปรเจควิจัยเขาถึงต้องมีด้าน "ความรับผิดชอบต่อสังคม" ขึ้นมาเพิ่มด้วยล่ะครับ ?

บางทีพระจันทร์ด้านที่เรามองว่าสวย อาจจะเป็นแค่ด้านเดียวของพระจันทร์ทั้งดวงก็ได้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 4
I disagree with this broad generalization. I think it depends a lot on the level of education at which you recruit your staff.

At the undergraduate level, access to overseas education generally reflects one's ability to pay exorbitant tuition fees (with obvious exceptions for Royal Thai Government scholarship recipients, but those are the ultra-rare exceptions). Most of the top students who are from less endowed background may end up at top domestic universities. Wouldn't ranking them (at least in your mind) below overseas grads essentially tilts the playing field in the privileged ones' favor? Please also consider that these middle / lower class people eventually do find their way overseas for graduate degrees, where scholarships / funding schemes are more accessible. These folks may (and do) outperform the privileged ones. Ruling out domestic university graduates based on lack of privilege is rather ... what's the word ... unfair?

Likewise for those who attended "ordinary" universities (whatever that means). People can and do turn their life around, especially when one's options were initially limited, and can (and do) outperform their more privileged peers.

I don't work in the private sector, but if I were you, I would give them a standardized test. If there were two candidates with equal scores, and one is from a less-privileged background than the other, I actually might prefer the less privileged one. It's easy to get a 900+ on the TOEIC when you went to international schools all your life. Imagine the struggle from a kid from, say, the Deep South to strive to that level, and the grits required to do so. Grits trump privilege, sooner or later.

แค่ความคิดเห็นจากคนจบ ม.รัฐ ธรรมดาๆ ครับท่านนายจ้าง
ความคิดเห็นที่ 1
นี่คือความจริงครับ  ที่หลายคนไม่ยอมรับ หาว่าเข้าข้าง อวย ม ดัง

แน่นอนว่า ใน ม ไม่ดัง มันก็มีคนเด็ดๆอยู่บ้าง แต่มันหายาก  สู้สุ่มมาจาก ม ดัง โอกาสที่จะเจอของดีสูงกว่า

---
จบจาก ต่างประเทศ เขาฝึกให้คิดนอกกรอบ การเรียนต้องค้นคว้าเอง ทำเอง เอามาถกกันในห้องเรียน ต้องเสนอแนวคิดทุกแนวทางที่เป็นไปได้

ม ดัง อ. จะจบจากนอก แนวคิดพวกนี้ถูกนำมาปรับใช้กับเด็กๆ เพื่อการแข่งขัน

ส่วน ม ไม่ดัง อืม เขาเปิดเพื่อให้เด็กได้มีที่เรียนเวลา ม ดังเต็มละมั้งครับ

----
ปกติช่วง ใกล้จบ   บริษัทใหญ่ๆ จากไทย เขาจัดงาน recruit กันในเมืองใหญ่ อย่าง London, Newyork และเชิญนักศักษาไปร่วมงาน road show แล้วจองตัวกันก่อนจบแล้วละครับ เพราะด้วยทัศนคติแบบที่ จขกท เจอมานั่นแหละครับ
ความคิดเห็นที่ 34
ขอบคุณ จขกท. ที่มาแชร์ค่ะ   (ทั้งๆที่เป็นประเด็นดราม่า และอาจโดนทัวร์ลง)

1) เราไม่เห็นด้วยที่จะ"เสียเวลา"สร้างความสัมพันธ์มากมายแบบไทยๆ .. เล่นพรรคพวกเป็นข้อเสียต่อองค์กรด้วย
จขกท.มิได้มีความก้าวร้าวดูถูกคน (จากการตอบในทู้นี้ ใจเย็นและมีหลักการ)
... การที่ลูกน้องไม่เข้าหา อาจเป็นเพราะลูกเจ้าของ, เก่งเป๊ะ, และเฉย(ไม่ใช่หยิ่ง)  
.... แค่คุณไม่ตบโต๊ะด่ากราดในที่ประชุม , รับฟัง, เปิดกรอบให้แสดงผลงาน   แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว
... เราเชื่อว่า จขกท.สร้างความสัมพันธ์ได้ดีกว่านั้นด้วย    อาจไม่ถึงกับ"เล่นหัว"  แต่คงสถานะที่เข้าถึงได้พอควรแล้ว

เหตุที่ต่างชาติพัฒนากว่าเรา  เพราะเค้างดอารมณ์ แข่งผลงาน    (จริงอยู่ ที่ตะวันออกเน้นทำงานเป็นทีม  ... แต่การเป็นผู้นำทีม ไม่จำเป็นต้อง"เล่นหัว"   ผู้นำมีหลายๆๆๆแบบ   แบบVisionเลิศหลักแหลม  แบบครองใจลูกน้องมากมาย(ซึ่งต้องลงทุนเวลาและแรงมาก)  แบบนักขาย(รู้ใจลูกค้า และปรับตัวได้เร็ว) ฯลฯ  .. Sales Dogs ยังมีตั้ง5แบบต่างกัน

2) คนเราต่างกัน ตั้งแต่"ยังไม่เกิด" .... มันไม่ได้ตัดกันที่สถาบัน
คนที่เกิดในไทย ย่อมต่างจากเกิดในเมกา  เกิดในญี่ปุ่น
DNA ก็ต่างกัน .. ทัศนคติของสัญชาติ ของพ่อแม่  (ทำไมลูกคนจีนในไทย จึงเรียนดี เรียนสูงกว่า  โอกาสมากกว่า?)
การเติบโตมาก็ต่าง ... ต่างที่อาหาร  ต่างที่"ตัวตน"ของพ่อแม่  อาชีพพ่อแม่ (ลูกนักธุรกิจ แม้เรียนหมอ ก็มีSenseธุรกิจ  มันอยู่ในบทสนทนาบนโต๊ะอาหาร ... พ่อแม่วิศวกร  ลูกคงไม่IQน้อยหรือขาดโอกาส หรือใจเสาะ  แต่คิดเป็นระบบเป็นDiagram  .. ลูกที่เอาไปทิ้งให้ตายาย ก็ได้เห็นชีวิตตายาย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

3) จขกท.มุ่งที่ผลลัพธ์  ซึ่งก็ดีแล้ว .... เมื่อได้ผลลัพธ์ดี ย่อมพร้อมที่จะส่งต่อผลประโยชน์ดี ต่อผู้มีประสิทธิภาพดี
แล้วก็ดำรงรักษาคนดีดีไว้ได้  และดึงดูดคนดีดีเข้ามา ..   ผู้นำก็จะต่อยอดได้   โดยไม่ต้องเสียเวลาเก็บกวาดรายละเอียด ที่ไม่ใช่งานถนัดของคุณ

เพี้ยนชนแก้ว
ความคิดเห็นที่ 26
เห็นด้วยกับ จขกท ทุกประการ มันคือเรื่องของสถิติและความเป็นจริง

ถามว่าเพชรในตมมีมั้ย มีแหละ แต่อย่างคห.บนๆ ว่า ทำธุรกิจไม่ได้ทำการกุศล ใครจะมานั่งเสียสละเงิน แรง เวลา ควานหาเพชรในตม อยากได้เพชรก็ไปร้านเพชร แต่ใครที่จบม.ธรรมดาทั่วไปก็ไม่ต้องคิดมากไป เพราะไม่ใช่ทุกงานจะต้องการเพชร บางงาน เพชร = overqualified จ้างมาเปลืองเปล่าๆ ถ้าเนื้องานไม่ท้าทายพอ เงินไม่ดีพอ ก็เอาเพชรไม่อยู่ เพราะคนพวกนี้เก่ง ทางเลือกและโอกาสเขาเยอะแยะ พร้อมไปตลอดเช่นกัน

สุดท้ายมันก็แค่เลือกคนให้เหมาะกับงาน มันมีงานสำหรับทุกคนแหละถ้าไม่ใช่ว่าทำตัวไม่เอาอ่าวเละเทะจนเกินไปอะนะ เพียงแต่ผลตอบแทนมันก็ต้องตามนั้น ถ้าอยากได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ได้รับโอกาสที่มากขึ้น ก็ต้องพัฒนาตัวเองสร้างโปรไฟล์ให้ตัวเอง การมานั่งพร่ำโทษคนอื่นหรืออิจฉาคนอื่นไม่ทำให้ตัวคุณได้อะไรขึ้นมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่