'ดร.สุวินัย'แชร์บทความ 'เปลือยทักษิณ ผู้ไม่เคารพกฏหมาย' ชำแหละภูมิหลังเข้าสู่การเมือง วิถี'ประชานิยม' เป็นไปเพื่อให้ได้สส.มากที่สุด ในสมัยลูกก็เอาเงินคนอื่นมาซื้อเสียงเพื่อได้อำนาจการเมือง ฟันธงค่าแรงวันละ 600 ค่าจ้าง เงินเฟ้อ จะตามมาอีกเป็นงูกินหาง
9 ธ.ค.65 - ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
เปลือยทักษิณ ผู้ไม่เคารพกฏหมาย โดย ศ.ดร. ชวินทร์ ลีนะบรรจง อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
//////
คนรุ่นผู้เขียนน่าจะเข้าใจทักษิณได้ดีกว่าคนรุ่นอื่น
ทักษิณเข้ามาสู่การเมืองก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 แต่มาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็เมื่อมีการลดค่าเงินบาทเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 1 ก.ค.40
ใครที่กู้เงินตราต่างประเทศได้รับผลร้ายจากการลดค่าเงินบาทโดยถ้วนหน้า แต่กิจการของทักษิณกลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เขาฉลาดกว่าผู้อื่นหรืออย่างไร?
คำตอบก็คือ การตัดสินใจลดค่าเงินบาทในครั้งนั้นมิได้มีเฉพาะผู้ว่าธปท.กับนายกฯเหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติ หากแต่มีบุคคลที่ 3 ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมรับรู้ด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณก็เคยอภิปรายในเรื่องนี้ ถูกฟ้อง และศาลก็ยกฟ้อง
การรู้ว่าเมื่อไรจะลดค่าเงินบาทจึงเป็นประเด็นที่นำมาอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลมากที่สุดว่าทักษิณที่ในขณะนั้นร่ำรวยมหาศาลจากการเป็นเจ้าของกิจการผูกขาดโทรศัพท์มือถือที่ได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ ทำไมจึงเข้ามาในวงการเมืองที่เป็นเสมือนเตาเผาเงิน
ถ้าไม่เชื่อลองไปขอเงิน 500 ล้าน จาก เมีย พ่อ หรือใครก็ได้ บอกว่า เพื่อมาลงทุนเล่นการเมือง ตั้งพรรคการเมือง ดูซิว่าจะได้อะไร?
เงินที่ได้จากข้อมูลการลดค่าเงินบาทจึงเป็น “เงินร้อน” ที่ไม่สามารถบอกใครที่ไหนได้ แต่เหมาะสมที่สุดที่จะนำไปใช้ลงทุนในการเมืองโดยไม่ต้องควักกระเป๋าแม้แต่บาทเดียว รายจ่ายทางการเมืองมันชี้แจงตรงไปตรงมาไม่ได้อยู่แล้วจริงไหม
ถ้าศึกษาภูมิหลังทักษิณ เขาไม่ได้มีเงินถุงเงินถังมาก่อน หากแต่ต้องดิ้นรนทำมาค้าขายทุกอย่างตั้งแต่ขายคอมพิวเตอร์จนถึงบัสซาวด์ พร้อมๆกับรับราชการเป็นตำรวจไปด้วย ธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับคนอื่นส่วนใหญ่ล้มเหลว
การออกมาทำธุรกิจเต็มตัวก็ด้วยระเบียบราชการที่ไปต่อไม่ได้หากเป็นบุคคลล้มละลาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือธุรกิจผูกขาด ทักษิณจึงได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่า การเป็นผู้กำหนดกติกากับผู้เล่นตามกติกาอันไหนสบายกว่ากัน การเข้าสู่การเมืองในฐานะผู้ออกกฎจึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อปกป้องกิจการผู้ขาดทั้งโทรศัพท์มือถือและกิจการดาวเทียมที่ตนเองได้มาอย่างลำบาก
อย่าลืมว่าเมื่อคุณใช้เงินเพื่อให้ได้มาซึ่งการผูกขาด(จากอำนาจรัฐ เช่น สัมปทาน) ย่อมมีคนยินดีจ่ายมากกว่าเพื่อแย่งมันไปจากคุณหากเห็นว่ามีกำไรดี
แต่การเข้าสู่การเมืองโดยเป็นเจ้าของสัมปทานมันถูกห้ามโดยกฎหมายเพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การซุกหุ้น(หรืออำพรางความเป็นเจ้าของในกิจการที่ค้าขายกับรัฐ) ทั้งในชื่อคนรถคนสวนคนใช้จึงเป็นภาคแรกและติดตามมาด้วยภาคสองในชื่อน้องเมีย น้องสาวและลูกในเวลาต่อมา ในคดียึดทรัพย์ที่ศาลสั่งยึดก็เพราะศาลไม่เชื่อว่าน้องเมีย น้องสาวและลูก 2 คนจะเป็นเจ้าของหุ้นตัวจริง
ทักษิณไม่เคยอายที่จะไม่เคารพกฎหมาย แม้แต่ฉบับเดียวก็ว่าได้
........
ตัวตนทักษิณโดยย่อข้างต้นจึงแสดงออกถึงวิธีการดำเนินงานทางการเมืองของเขาด้วยการเอาเงินคนอื่น(ภาษี) มาซื้อเสียงที่เรียกว่า “ประชานิยม”
เพราะอาศัยการวาดฝันเอาใจประชาชนผู้ลงคะแนนไม่ว่าในทางใดก็ตามเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนที่จะพาตนเองเข้าสู่อำนาจทางการเมือง
ในสายตาเขาประชาชนจึงเปรียบเสมือน “คนตาบอดที่ไม่กลัวเสือ”
วิถี “ประชานิยม” จึงเป็นไปเพื่อบรรลุจุดประสงค์เดียวคือให้ได้ สส. เข้าสภามากที่สุด โดยมีรูปแบบดังนี้
(1) วาดฝันเรื่องกินดีอยู่ดีโดยไม่แจงที่มา
(2) ออกนโยบายเสื้อโหล one size fits all เช่น กองทุนหมู่บ้าน หรือ หนึ่งตำบล หนึ่งทุน ที่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ทุกคนแบบ “เหวี่ยงแห” แต่ไม่ได้คำนึงเลยว่า แต่ละหมู่บ้านต้องการเงินทุน 1 ล้านบาทหรือไม่ แต่ ผู้สมัคร สส. เอาไปหาเสียงได้ง่าย และ
(3) เป็นแนวนโยบายที่แทรกแซงกลไกตลาดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงขอบเขตหน้าที่ของรัฐ เช่น จำนำข้าวทุกเมล็ด
ทักษิณจึง “คิดใหม่ ทำใหม่” เพราะไม่ได้ซื้อคะแนนเสียงโดยใช้เงินตัวเองเหมือนนักการเมืองอื่นที่ทำมา หากแต่กระทำยิ่งกว่านั้นคือเอาเงินคนอื่น(ภาษี) มาซื้อเสียงเพื่อให้ตนเองชนะ
คนเคยใกล้ชิดจึงติดนิสัยเอาอย่าง เช่น บำนาญประชาชนเดือนละ 3,000 บาท เป็นการเอาเงินคนอื่นมาจ่ายบำนาญเพื่อซื้อเสียงจากคนแก่หรือลูกหลานที่อยากผลักภาระไม่อยากเลี้ยงดู
ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วันจึงไม่ใช่นโยบายที่แปลกสำหรับทักษิณเพราะคนออกกฎ(นโยบาย) ไม่ใช่คนจ่ายค่าจ้าง เช่นเดียวกับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาท
เพราะเงินที่เอามาจ่ายคือเงินภาษี แต่ตัวเขาและพวกได้ประโยชน์จากการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง
ทักษิณอวดอ้างว่ารู้ดีเรื่องเศรษฐศาสตร์และอะไรอีกหลายศาสตร์ทั้งที่จบเรื่องอาชญวิทยาจากมหาวิทยาลัยบ้านนอก จึงหารู้ไหมว่านายจ้างจะจ้างงานหรือมีอุปสงค์ในการจ้างงานก็เพราะ
ปัจจัย(1) ราคาสินค้าที่คนงานผลิต กับ(2) ประสิทธิภาพ(marginal product) ที่แรงงานนั้นมีอยู่
ดังนั้นที่ลูกสาวมาแก้ตัวในภายหลังว่าทำได้แน่นอนเมื่อเศรษฐกิจดีนั้น ระหว่างราคาสินค้าที่คนงานผลิตหรือประสิทธิภาพความสามารถที่คนงานจะมีมากขึ้นนั้น มันจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 2 เท่าจากปัจจุบันประมาณ 300 เป็น 600 บาท/วัน ไปได้อย่างไร?
คนงานเคยทำก๋วยเตี๋ยวขายได้วันละ 200 ใบจะเพิ่มเป็น 400 ใบใน 5 ปี(พ.ศ.2570) ไปได้อย่างไร มีมืองอกเพิ่มอีก 2 มือหรืออย่างไร?
หรือ ราคาก๋วยเตี๋ยวที่จะขายสามารถขึ้นราคาจาก 50 บาทเป็น 100 บาทใน 5 ปีได้หรือ?
ถ้าฝืนขึ้นไปโดยที่คนงานยังทำก๋วยเตี๋ยวได้เท่าเดิม แต่ได้เงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นในระบบแต่สินค้า/บริการจะมีเท่าเดิม
เงินเฟ้อก็เพิ่มตามมา 2 เท่าเช่นกัน!
สุดท้ายลูกจ้างก็จะบอกว่ามีรายได้วันละ 600 บาทไม่พอกินต้องให้ขึ้นค่าจ้างอีกและเงินเฟ้อก็จะตามมาอีกเป็นงูกินหาง
ไม่รู้ว่านักอาชญวิทยาที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจผูกขาดด้วยอำนาจรัฐอย่างทักษิณจะรู้บ้างหรือไม่เกี่ยวกับ wage-price spiral (ค่าจ้าง-เงินเฟ้อ แบบงูกินหาง) การแก้ปัญหารายได้เขาไม่ทำกันแบบนี้
........
ทักษิณในช่วงแรกจึงเข้ามาสู่การเมืองเพื่อปกป้องกิจการตนเอง ซุกหุ้น ออกภาษีสรรพสามิตเพื่อลดการจ่ายค่าสัมปทานพร้อมกับกีดกันคู่แข่ง แต่เมื่อมีอำนาจก็แสวงหาผลประโยชน์จนต้องโทษในหลายๆคดี เช่น คดีที่ดินรัชดา
นโยบายประชานิยมจึงเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายเข้าสู่อำนาจปกครองและอาศัยอำนาจนี้เพื่อประโยชน์ตนเองเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์ประชาชนตามที่อวดอ้าง เช่น นิรโทษกรรมสุดซอยในสมัยนายกฯ ””
ในสมัยลูกครั้งนี้ก็เช่นกัน เอาเงินคนอื่นมาซื้อเสียงเพื่อได้อำนาจการเมือง เป้าหมายที่ไม่ได้บอกก็คือกลับบ้านแบเท่ๆ(ไม่ติดคุก) ถ้าทำแบบนี้แล้วคนไทยในชาติใครจะยอม
ทุกคนจึงต้องเคารพกฎหมายที่ทักษิณออก แต่ทักษิณไม่เคยอายที่จะไม่เคารพกฎหมาย แม้แต่ฉบับเดียวก็ว่าได้
ชวินทร์ ลีนะบรรจง
*****
อ่านบทความนี้แล้ว อย่าสิ้นหวังไปเลย
เพราะถ้าไม่มีเหล่านักรบแห่งธรรมและนักรบแห่งแสง ทักษิณและสมุนคงยึดประเทศนี้แบบถาวรไปแล้ว ...
มันแค่ต้องสู้กันระหว่างพลังความดีความถูกตัอง กับพลังความชั่วเท่านั้นเอง
https://www.thaipost.net/x-cite-news/280215/
ชำแหละวิถี 'ประชานิยม' เพื่อให้ได้สส.มากที่สุด เอาเงินคนอื่นมาซื้อเสียงเพื่อได้อำนาจการเมือง
9 ธ.ค.65 - ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
เปลือยทักษิณ ผู้ไม่เคารพกฏหมาย โดย ศ.ดร. ชวินทร์ ลีนะบรรจง อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
//////
คนรุ่นผู้เขียนน่าจะเข้าใจทักษิณได้ดีกว่าคนรุ่นอื่น
ทักษิณเข้ามาสู่การเมืองก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 แต่มาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็เมื่อมีการลดค่าเงินบาทเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ 1 ก.ค.40
ใครที่กู้เงินตราต่างประเทศได้รับผลร้ายจากการลดค่าเงินบาทโดยถ้วนหน้า แต่กิจการของทักษิณกลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เขาฉลาดกว่าผู้อื่นหรืออย่างไร?
คำตอบก็คือ การตัดสินใจลดค่าเงินบาทในครั้งนั้นมิได้มีเฉพาะผู้ว่าธปท.กับนายกฯเหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติ หากแต่มีบุคคลที่ 3 ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมรับรู้ด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณก็เคยอภิปรายในเรื่องนี้ ถูกฟ้อง และศาลก็ยกฟ้อง
การรู้ว่าเมื่อไรจะลดค่าเงินบาทจึงเป็นประเด็นที่นำมาอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลมากที่สุดว่าทักษิณที่ในขณะนั้นร่ำรวยมหาศาลจากการเป็นเจ้าของกิจการผูกขาดโทรศัพท์มือถือที่ได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์ ทำไมจึงเข้ามาในวงการเมืองที่เป็นเสมือนเตาเผาเงิน
ถ้าไม่เชื่อลองไปขอเงิน 500 ล้าน จาก เมีย พ่อ หรือใครก็ได้ บอกว่า เพื่อมาลงทุนเล่นการเมือง ตั้งพรรคการเมือง ดูซิว่าจะได้อะไร?
เงินที่ได้จากข้อมูลการลดค่าเงินบาทจึงเป็น “เงินร้อน” ที่ไม่สามารถบอกใครที่ไหนได้ แต่เหมาะสมที่สุดที่จะนำไปใช้ลงทุนในการเมืองโดยไม่ต้องควักกระเป๋าแม้แต่บาทเดียว รายจ่ายทางการเมืองมันชี้แจงตรงไปตรงมาไม่ได้อยู่แล้วจริงไหม
ถ้าศึกษาภูมิหลังทักษิณ เขาไม่ได้มีเงินถุงเงินถังมาก่อน หากแต่ต้องดิ้นรนทำมาค้าขายทุกอย่างตั้งแต่ขายคอมพิวเตอร์จนถึงบัสซาวด์ พร้อมๆกับรับราชการเป็นตำรวจไปด้วย ธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับคนอื่นส่วนใหญ่ล้มเหลว
การออกมาทำธุรกิจเต็มตัวก็ด้วยระเบียบราชการที่ไปต่อไม่ได้หากเป็นบุคคลล้มละลาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://www.thaipost.net/x-cite-news/280215/