Stonehenge เคยเป็นของเอกชนมาก่อน

.
.
Stonehenge ก่อนบูรณะ
.
.

เมื่อ 104 ปีก่อน
Stonehenge เป็นของตระกูล Antrobus
เพิ่งจะยกเป็นสมบัติสาธารณะของชาติอังกฤษ
เดิมมีก้อนหินหลายก้อนต้องใช้ไม้ค้ำยัน 
เพื่อป้องกันการพังถล่มลงมากองบนพื้นดิน
เพราะตระกูล Antrobus ที่ครอบครอง
มาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ม่ายเบี้ย
(บ่จี๊ ไม่มีเงิน) ในการบูรณะ/ซ่อมแซม
จึงนำมาประมูลขายทอดตลาดในปี ค.ศ.1915

โดยขายทอดตลาดได้ในราคา £6,600 
(ราว £528,000 ค่าเงินในปี 2018
หรือราว 24.94 ล้านบาท 43/1 ในปี 2022)
โดย นาย Cecil  Chubb เป็นผู้ประมูลได้
ทั้งนี้เพราะนาง Mary Chubb ได้รับเงินมรดก
ในปี ค.ศ. 1905 จำนวนเงิน £100,000
โดยสามี Mary Chubb ได้ขอเงินส่วนหนึ่ง
จากกองมรดกของเธอมาประมูล
ซื้อพื้นที่ Stonehenge ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1915

ต่อมาทั้งนาย Cecil และนาง Mary Chubb
ทั้งคู่ยกให้เป็นสมบัติของชาติอังกฤษ
ในวันที่ 26 ตุลาคม 1918 
หลังจากเอามาดูแลได้ราว 3 ปี

หนึ่งปีให้หลัง
นาย Cecil และนาง Mary Chubb
ได้รับการแต่งตั้งเป็นชั้นอัศวินจากราชินีอังกฤษ
เพราะมอบ Stonehenge ให้เป็นสมบัติของชาติ
ได้รับเกียรติว่า Sir Cecil กับ Lady Chubb

ช่วงนั้นอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 
(28 กค.1914 - 11 พย.1918) 
ทำให้หลายคนกลายเป็นคนเคยรวยมาก่อน 
เพราะข้าวยากหมากแพงในช่วงนั้น 
ของกินไม่ได้แต่เท่ จึงไม่จำเป็น 
ขายได้รีบขายไปก่อนอดตาย ไม่มีจะกิน
.
.
.
นาย Cecil และนาง Mary Chubb
.

.
Kate Mavor หัวหน้าผู้บริหารมรดกแห่งชาติ
English Heritage's Chief Executive กล่าวว่า
" ความเอื้ออาทรใจดีของคนทั้งสองนี้
ช่วยต่ออายุ Stonehenge และเปลี่ยนแปลง
จากสภาพซากปรักหักพังใกล้ล้มเต็มที
ให้กลายเป็นสมบัติของชาติและมรดกโลก
ของขวัญล้ำค่าของทั้งสองท่านนี้
ทำให้ได้เริ่มโครงการอนุรักษ์
ดูแลกลุ่มก้อนหินโบราณบริเวณรอบ ๆ
และการปรับปรุงภูมิทัศน์อย่างต่อเนื่อง
จนสวยงามเป็นระเบียบในทุกวันนี้ "

Brian Edwards นักวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
University of the West of England
ที่ศึกษาอัตชีวประวัติของคนทั้งคู่นี้ กล่าวว่า
" Lady Mary Chubb มีความสำคัญอย่างแรง
เพราะถ้าไม่ได้เงินจากมรดกของเธอ
Stonehenge ก็คงไม่มีใครซื้อในเวลานั้น "

(เพราะพื้นที่ทำเกษตรก็ไม่ได้ มีแต่หิน
ยุคนั้นการท่องเที่ยวก็ยังไม่มีใครรู้จัก
และอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ไม่มีใครรู้ว่า สงครามจะจบเมื่อใด)

Susan Greaney นักประวัติศาสตร์มรดกชาติ
English Heritage ได้กล่าวว่า
" หินในรูปวงกลมที่ตั้งล้อมรอบอยู่
ต่างตกอยู่ในสภาพแย่มาก
จนต้องรีบซ่อมแซมบูรณะทันที
หลังจากได้รับความมีน้ำใจแสนยิ่งใหญ่
ที่ไม่มีใครลืมเลือนจากตระกูล Chubbs
เพราะเจ้าของเดิมม่ายเบี้ยในการบูรณะ "

พื้นที่หลักได้เริ่มลงมือทำ
เป็นสองช่วงในปี 1919 - 1921 
และในช่วงปี 1950-1960
เพื่อวางก้อนหินขนาดเบ้ง (ใหญ่มาก)
ในตำแหน่งที่ถูกต้อง 
(ตรวจจากภาพถ่าย/ภาพวาดเดิม
เศษซากหินที่/รอยกดทับหินเดิม
ถ้าทุกวันนี้ตรวจอายุก้อนหิน
และวิธีตรวจทางวิทยาศาสตร์)
.
.
.
คนงานในปี 1919-1920
.

.
.
ศ. Willian Gowland หัวหน้าทีมขุดค้น
ในเดือนกันยายน 1991
.

.
ทุกวันนี้ Stonehenge 
กลายเป็นที่ชุมนุมของคนนับหมื่น 
เพื่อมาเยี่ยมชมดวงตะวันส่องผ่าน
เป็นแนวเส้นตรงในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ
ช่วงครีษมายัน (กลางวันยาวนาน)
เหมายัน (กลางคืนยาวนาน)

พื้นที่ Stonehenge ได้รับอนุมัติ
ให้เป็นพื้นที่มรดกโลก
Unesco World Heritage Site

แต่การเดินทางโดยรถยนต์รอบ ๆ
คือ ภัยคุกคามพื้นที่ทางโบราณสถาน
(แรงสั่นสะเทือนจากรถยนต์ที่วิ่ง
มลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์

แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะต้องการสร้าง
อุโมงค์ยาว 1.9 ไมล์ (3 กิโลเมตร)
เพื่อทดแทนถนนที่วิ่งเลียบโบราณสถาน
และบรรเทาการจราจรแออัดได้

ทั้งทางหลวงอังกฤษ Highways England
ก็เห็นด้วยกับการสร้างอุโมงค์ว่า
จะช่วยลดการจราจรแออัด
และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ให้เงียบสงบกว่าเดิมเพราะไร้รถยนต์

แต่นักประวัติศาสตร์คัดค้านว่า
ยิ่งทำยิ่งเละ เผลอ ๆ ชิxหายกว่าเก่า
เพราะแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักร
และแนวดินที่มีการขยายตัวหดตัว
แบบการตอกเสาเข็ม ขุดบ่อน้ำ
มักจะมีผลกระทบอาคารข้างเคียง
ยิ่งเสี่ยงภัยกว่าเดิม สู้อยู่เฉย ๆ ดีกว่า

ทาง Unesco ก็เห็นด้วยว่า
การสร้างทางเลี่ยงออกไปดีกว่า
ถ้าทางอังกฤษยังดื้อรั้นสร้างอุโมงค์
จะถอนสภาพ World Heritage Status ทันที
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://bbc.in/3P9bL5D
https://bit.ly/3XSIWhu
.

.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ

ภาพการยกหิน Stonehenge
มักจะมีการมโนทิพย์/ทฤษฏีสมคบคิดว่า
เป็นของสร้างใหม่ขึ้นมาหลอกลวงชาวโลก
แต่การบูรณะยุคหลัง ๆ มีการเทคอนกรีต
เสริมเหล็กแถวฐานรากป้องกันหินพังลงมา
และเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในทางโบราณคดี
แบบการบูรณะอาคารสถานโบราณในทุกวันนี้
.

.

Chubb คือ ชื่อตู้นิรภัยยอดนิยมธนาคารไทย
มักจะติดตั้งกันที่บริเวณห้องมั่นคง/ตู้เก็บเงินสด
ยี่ห้อนี้ของอังกฤษมีชื่อเสียงมากว่า 200 ปีแล้ว
เลยไม่แน่ใจว่าเกี่ยวพันกับคนบริจาคนี้หรือไม่

ก่อนปี 2540
จขกท. รู้จักช่างติดตั้งตู้นิรภัย Chubb คนหนึ่ง
แกเดินสายมาทางภาคใต้บ่อยมาก
เพราะยุคนั้นธนาคารไทยแข่งกันเปิดสาขา
จนหาดใหญ่มีสาขาทุกธนาคารไทย
จำนวนสาขามากกว่า 40 สาขา
ธนาคารไทยมักจะเลือกใช้ตู้เซฟยี่ห้อ Chupp

แกเล่าว่า ถ้าลืมรหัสตู้หรือกุญแจหาย
แบบธนาคารบางแห่งมีเพียงชุดเดียว
หรือรอส่งจากกรุงเทพฯ ใช้เวลา 2 วัน
ในยุคการเดินทางลำบากกว่าทุกวันนี้

ถ้าเจ้าของยินยอมจะใช้สว่านเจาะตู้เซฟ
ตรงบริเวณเหนือรหัส 1 นิ้วให้ทะลุ
แล้วจะใช้เหล็กเขี่ยสลักออกก็จะเปืดตู้ได้
แกเลยมีภาพถ่ายหลายโรงพักมาก
ในตอนไปทำลายกุญแจเปิดตู้นิรภัยในที่ต่าง ๆ

แต่ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องทำแบบเดิมแล้ว
ดูตัวอย่างตู้นิรภัยใน ช่างเปิดตู้เซฟ
มีหลายท่านมากที่มืออาชีพ /คำค้นในอากู๋
.

.

รอก คาน เชือก
คือ เทคโนโลยียุค Analog
รอก ใช้ดึงของหนัก ๆ แบบผ่อนแรง
คาน ใช้ดีด ใช้งัด ของหนัก ๆ
แบบอาร์คีมีดิสจะงัดโลก
สามารถใช้งานในพื้นที่จำกัด พื้นที่คับแคบ
ที่ที่รถเครน รถเฮียบ เข้าไปในหน้างานไม่ได้

คนงานรถไฟยังใช้งานกันทุกวันนี้
ขอให้ยกรางรถไฟขนาด 10-15 เมตร
แบกหามเข้าไปได้ แล้วจะตั้งรอก วางคาน
มัดของหนัก ๆ เลื่อนขึ้นลงบนรางรถไฟ
ใช้ดึง/ผ่อนของหนักในการยกขึ้นลงของ

คานใช้ดีดของหนัก งัดของหนัก 
ของหนักหลาย ๆ ตันที่ยกไม่ไหว
ก็ยกขึ้นลงสบาย ๆ จากสองข้างทางรถไฟ
ยกเว้นรอกต้องมีขนาดรับน้ำหนัก
ถ้าหนักเกินไปรอกอาจจะพังได้

ทุกวันนี้มีแม่แรงกะปุกขนาดเบ้ง(เติบ/ใหญ่)
ที่ยกของหนักได้ 50 ตันสบาย ๆ
ก็ใช้เสริมการยกของหนัก ๆ
เวลารถไฟตกรางใกล้สถานี/รอบนอก
จะใช้แม่แรงยกหัวท้ายตู้ที่ตกราง 6 ตัว
แล้วค่อย ๆ ใช้ชะแลง(คาน)งัดล้อให้เข้าที่
ช่วย ๆ ดันไปพร้อมกับปรับระดับแม่แรงกะปุก
จนตู้รถไฟตกรางเข้าในรางรถไฟแล้ว
ก็ใช้ชะแลงงัดล้อให้ตู้รถไฟเคลื่อนที่
ก็จะผลักให้เดินหน้าได้แบบหลักแรงเฉื่อย
แต่ความเร็วอย่างไรก็ยังแพ้หัวรถจักรลาก
.

.

.
.
.

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่