🇹🇭💙มาลาริน💙🇹🇭ย้ำติดโควิดรีบมา รพ. ช่วยลดการตาย ยันวัคซีนมีเพียงพอ/หมอ ยง' แนะรับมือโควิดที่ติดง่ายขึ้นด้วยกฎเหล็ก

ย้ำกลุ่มเสี่ยงติด "โควิด" รีบพามา รพ. ช่วยลดอัตราตาย ยันวัคซีนมีเพียงพอหลัง สธ.สั่งทุก รพ.เปิดจุดฉีด



กรมควบคุมโรคยันวัคซีนโควิดมีเพียงพอ หลัง สธ.สั่งทุก รพ.ลุยเปิดจุดฉีดทั่วประเทศ เน้นกลุ่ม 608 เด็กเล็ก ส่วนกลุ่มภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ดี แนะรับการฉีด LAAB กระจายทุกภูมิภาคแล้วเพียงพอ หากติดเชื้อให้รีบมา รพ. ให้ยาฉีดหรือ LAAB ลดอัตราเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้สั่งการให้ทุก รพ.จัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั่วประเทศ ซึ่งในส่วนของวัคซีนโควิดและภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ที่เราส่งไปทั่วประเทศยังเพียงพอ เราเตรียมไว้ที่กรมควบคุมโรคเป็นแหล่งสำรอง อีกที่หนึ่งคือสถาบันบำราศนราดูร เราเปิดให้บริการฉีดทุกวัน หากไม่สะดวกก้มาติดต่อที่นี่ได้ มารับบริการแบบวอล์กอินได้ แต่ทางที่ดีควรโทรนัดหมายมา เพื่อจะได้เหลื่อมเวลารับบริการจากคนที่มารับบริการจำนวนมาก สำหรับการฉีดวัคซีนขอแนะนำให้ฉีดถึงเข็มกระตุ้น ซึ่งตั้งแต่เข็ม 3 ขึ้นไป แต่เราพบว่ารับเข็ม 3 เกิน 4 เดือน บางคนภูมิคุ้มกันจะลดลง เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว และเด็ก 6 เดือน - 4 ปีก็ควรไปฉีดวัคซีน

นพ.ธเรศกล่าวว่า ส่วนผู้เสียชีวิตขณะนี้เกือบ 100% อายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว ปัจจัยที่พบคือ มักไม่ได้วัคซีนหรือรับ 1-2 เข็มประมาณ 70% ขึ้นไป เราพยายามกระตุ้นกลุ่ม 608 ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้นมารับวัคซีน ซึ่งปลัด สธ.สั่งการไปทุกจังหวัดแล้ว และให้ อสม.ช่วยสำรวจและชักชวนมาฉีด โดยกลุ่มภูมิคุ้มกันที่ขึ้นไม่ค่อยดี เช่น ฉีดหรือกินยากดภูมิ รักษาโรคมะเร็ง หรือมีปัญหากับการฉีดวัคซีนปกติ เรามี LAAB มาฉีดได้ เรากระจายไปทุกภูมิภาคอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว หรือรับวัคซีนมานานเกิน 4 เดือนแล้ว ควรมาที่สถานพยาบาลเพื่อรับการดูแลรักษาโดยเร็วที่สุด สถานพยาบาลจะให้การรักษาในกลุ่มยาฉีดหรือกลุ่ม LAAB ทันที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต

https://mgronline.com/qol/detail/9650000112500

เริ่มแรง! จนท.กู้ภัยเผยผ่านมา 3 วัน พบผู้เสียชีวิตจากโควิดเพิ่มขึ้น



เจ้าหน้าที่กู้ภัยร่วมกตัญญูโพสต์เฟซบุ๊ก พบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดในพื้นที่ กทม.ในช่วง 2-3 วันที่ผ่ามมาเพิ่มมากขึ้น

เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “NAKON45 อัญวุฒิ โพธิ์อำไพ” เจ้าหน้าที่กู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู ได้โพสต์คลิปวิดีโอสุดเศร้า หลังเจ้าตัวและทีมปฏิบัติงานเข้าเก็บร่างผู้เสียชีวิต พบ 2-3 วันที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 พ.ย. เจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าเก็บร่างผู้เสียชีวิตภายในคอนโดฯ แห่งหนึ่งภายในซอยลาดพร้าว 101 ซึ่งพบว่าผู้เสียชีวิตติดโควิดตั้งแต่วันอาทิตย์จากบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งมีพนักงานติดโควิดประมาณ 5-8 คน ทางบริษัทได้ทำการให้พนักงาน work from home และมีประชุมออนไลน์กันทุกวัน แต่ผู้ตายขาดการประชุมมา 2 วันแล้ว วันนี้เพื่อนๆ ร่วมงานจึงเดินทางมาตรวจสอบที่พักพบว่าเสียชีวิต

ต่อมาวันที่ 24 พ.ย. พบผู้เสียชีวิตอีกรายภายในซอยอ่อนนุช 66 แยก 25 พบ ATK ขึ้น 2 ขีด เป็นผู้สูงอายุวัย 80 ปี ป่วยติดเตียง คาดว่าติดมาจากลูกสาวที่กักตัวเองอยู่บนชั้น 2 ของบ้าน

นอกจากนี้ ในวันเดียวกันผู้โพสต์ยังได้เดินทางไปเก็บร่างผู้เสียชีวิตอีก 1 รายจากการติดโควิด ย่านจรัญฯ 35

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000112398

หมอ ยง' แนะรับมือโควิดที่ติดต่อง่ายขึ้นด้วยกฎเหล็ก



ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า…

โควิด 19  เชื้อโควิคติดต่อได้ง่ายขึ้น
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
24 พฤศจิกายน 2565

ระยะเวลาที่ผ่านมา ไวรัส covid 19 ได้พัฒนาตัวเองเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ติดต่อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายโรคได้ง่าย แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น เราจะเห็นว่าสายพันธุ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนามาโดยตลอด 

สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายก็จะเข้ามาแทนที่

ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง เกิดจากมีภูมิต้านทาน จากวัคซีนหรือการติดเชื้อ

ร่างกายของคนทั้งหมดรู้จักเชื้อไวรัสตัวนี้ และเมื่อเกิดการติดเชื้อ ทำให้อาการลดลง ยกเว้นผู้ที่มีร่างกายเปราะบาง
การหลีกหนีจากไวรัสตัวนี้ ต่อไปจะทำได้ยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะมีการผ่อนปรนและการดำรงชีวิตเข้าสู่ภาวะปกติ

แนวทางการปฏิบัติที่จะทำได้ในขณะนี้ คือ....👇

1 ทำร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย ความสะอาด กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

2 สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ covid19  ด้วยการรับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม และใครได้รับเข็มสุดท้าย หรือติดเชื้อมาแล้วเกิน 6 เดือน อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรจะได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นอย่างยิ่ง หรือใครคิดว่าเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่าย ก็สมควรที่จะได้รับวัคซีนในการป้องกัน เช่นบุคลากรด่านหน้า

3 หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด คนหมู่มาก ถ้าจำเป็นต้องไปก็ต้องปฏิบัติตัว อย่างเคร่งครัด ในการป้องกันตนเอง คนปกติแข็งแรงไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK  เช่นจะไปโรงเรียน 

4 เมื่อมีอาการต้องสงสัยโรคทางเดินหายใจ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย เช่น  ตรวจ ATK ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และป้องกันการกระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

5 เมื่อติดเชื้อหรือป่วย ควรดูแล รับการรักษาอย่างเหมาะสม เก็บตัวอย่างน้อย 5 วัน ป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น หลังจากนั้นถึงแม้ว่าจะออกสู่สังคมก็ควรป้องกันของโรคต่ออีก 5 วัน

6 อาการที่ยังคงอยู่หลัง covid-19 (long covid) จะเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกๆและส่วนใหญ่จะหายไป ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่เกี่ยวกับความรู้สึก โดยที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปตื่นกลัว อย่างที่มีการให้ข่าวกัน ประชากรส่วนใหญ่ขณะนี้มีการติดเชื้อไปแล้วหรือป่วยไปแล้วประมาณร้อยละ 70  ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดก็ดำรงชีวิตได้อย่างปกติไม่ได้มีปัญหาอะไร 

7 ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป ในภาวะปัจจุบัน ไม่ควรให้ covid-19 มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต

https://siamrath.co.th/n/401977

ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่