ในที่สุดความสำเร็จมันก็เกิดขึ้นจนได้สำหรับการเดินทางอันยาวนานของทีมชาติ ญี่ปุ่น นับตั้งแต่ลิ้มรสชาติบอลโลกครั้งแรกเมื่อปี 1998
การคว่ำ เยอรมัน แชมป์ฟุตบอลโลก 4 สมัยสร้างความสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ให้แฟนฟุตบอลทั่วโลกโดยเฉพาะพวกเราชาวเอเชียหลัง ซาอุดิอาระเบีย เพิ่งปักธงพลิกล็อกชนะ อาร์เจนติน่า ด้วยสกอร์เดียวกันเมื่อวานนี้
ในแง่ของความภารกิจผมมองว่าแข้ง “ซามูไร” เจอบททดสอบยากกว่า ซาอุฯ หลายเท่านัก เอาแค่สรีระเล่นลูกกลางอากาศและช่วงตัวการวิ่งเป็นรองทุกอย่าง
การเพรสและใช้การเข้าปะทะอย่างที่ ซาอุฯ จัดใส่ อาร์เจนติน่า (ที่สัดส่วนสูสีกัน) จึงแทบเป็นไปไม่ได้
ทางเลือกอื่นๆในการรับมือ เยอรมัน ของ ญี่ปุ่น ในครึ่งแรกถือว่าจำกัดขำเขี่ยเอามากๆ
ความยำเกรง (Respect) ทีมระดับโลกจึงเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ที่ ฮาจิเมะ โมริยาสุ กุนซือจึงตัดสินใจเลือก “ซื้อเกมรับ” รัวๆตั้งแต่เริ่มเกม
ทั้ง 2 ทีมจุดประสงค์แรกเริ่มวางไว้ต่างกันทำให้ “อินทรีเหล็ก” ใช้จุดนี้ข่มข้างเดียวสู้กันไม่ได้ ความรู้สึก ณ ตอนนั้นของพวกเราคือ ญี่ปุ่น ลงเอยจะโดนกี่เม็ด
อย่างไรก็ตามกฏเหล็กของฟุตบอลการค้างสกอร์อยู่ที่ 1-0 นานเกินไป ฝ่ายที่ได้เปรียบไม่ใช่ทีมนำนะครับ
บอลไม่มีอะไรจะเสียเป็นอะไรที่น่ากลัวมาก จากที่เกรงๆ เยอรมัน การส่งตัวรุกลงมา 4 ตัวทำให้เกมเอียงทันที
การเพรสการเข้าบอลดุดันกว่าครึ่งแรกแบบคนละเรื่อง ถ้าคิดจะเอาดีทางนี้ต้องไปให้สุด
ลองสังเกตดูจังหวะท้ายครึ่งแรกที่ ญี่ปุ่น ไปเพรสสูงแต่ไม่เร็วและหนักพอจนกระทั่ง เยอรมัน สาดขึ้นมาและยิงประตูที่ 2 (ก่อนล้ำหน้า)
จริงๆวันนี้ไม่น่ามี content อะไรด้วยซ้ำหาก อิลคาย กุนโดกาน ไม่ยิงชนเสาช่วงต้นครึ่งหลังหรือจังหวะเซฟรัวๆ 4 หนใน 1 นาทีของ ชูอิจิ กอนดะ ผู้รักษาประตู ญี่ปุ่น ที่วันนี้ดูหลวมๆล่กๆแต่ยื้อจนเกมพลิกในที่สุด
ทาคุมิ มินามิโนะ (โมนาโก), ทาคุมะ อาซาโนะ (โบคุ่ม), คาโอรุ มิโทมะ (ไบรท์ตัน), ริสึ โดอัน (ไฟร์บวร์ก) นี่คือ 4 แข้งตัวรุกที่ทยอยลงมาสร้างประวัติศาสตร์
พวกนี้ฝีเท้าไม่ใช่ระดับนั่งข้างสนามนะครับ เป็นตัวจริงตัวหลักของต้นสังกัดในยุโรปทั้งนั้นแต่ priority แท็คติกส์ “รับ” ของโค้ชต่างหาก
เกร็ดเล็กน้อยจากผู้บรรยายในเกมนี้ระบุว่า ญี่ปุ่น มีนักเตะตัวสำรองยิงประตูในรอบคัดเลือกได้ 10 ลูกมากที่สุดในเอเชีย
การดึงบอลโด่งและเล่นต่อได้เลย (โดยที่สปีดการวิ่งไม่เสีย) ของ ทาคุมะ อาซาโนะ ที่ทำให้ นิโก้ ชล๊อตเตอร์เบ็ค อยู่ในเหลี่ยมที่ตัวใหญ่กว่าแต่ไม่กล้าทำฟาว์ลในเขตโทษ
ความโหดต่อมาคือมุมที่ยิงเหลืออยู่แค่ 13 องศา ทั้ง 2 ช็อตที่ว่านี้เป็นผลงานมาสเตอร์พีซระดับโลกอย่างแท้จริง
ครับ 2 ประตูที่ ญี่ปุ่น ทำได้ผมเผลอดีใจตะโกนลั่นบ้านจนลืมไปว่ามันไม่ใช่ทีมชาติเรา
แต่เบื้องหน้าแห่งความสำเร็จของทีม “นิปปอน” แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดขึ้นปุ๊บปั๊บแค่ 4 ปี 8 ปีด้วยการให้ “มาดาม” หรือห้างร้านมาอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นนะครับ
แต่ ญี่ปุ่น มองไกลกว่านั้น ไกลจนคนรุ่นนี้อาจอยู่ไม่ทันดูความสำเร็จด้วยซ้ำแต่พวกเขามองว่าความมั่นคงในระยะยาวคือความยั่งยืนที่แท้จริง
ทันทีที่เข้าร่วมฟุตบอลโลกหนแรกในปี 1998 และเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2002
ในอีก 3 ปีต่อมาหรือในปี 2005 ญี่ปุ่นเปิดตัว “โปรเจค” DREAM เพื่อตั้งเป้าเป็นแชมป์โลกให้ได้ภายในปี 2050 ไล่นับนิ้วแล้วอีก 28 ปีนับจากนี้
เมื่อปีที่แล้ว ญี่ปุ่น เพิ่งวางโครงการระยะยาวกับแผน 100 ปี สร้างสโมสรอาชีพให้ได้ 100 ทีมภายในปี 2092
100 ปี!! มันต้องคิดถึงอนาคตลูกหลานและตั้งใจจริงขนาดไหนครับแค่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีพวกเรายังถอดใจ
ครับทีมเยอะขึ้น นักเตะเยอะขึ้น ตัวเลือกเยอะขึ้น การส่งออกต่างแดนยกระดับฝีเท้าย่อมนำมาสู่การคัดสรรนักเตะฝีเท้าดีสู่ทีมชาติมากขึ้นเช่นกัน
11 ตัวจริงที่ออก start ในเกมเปิดสนามมีนักเตะที่ค้าแข้งใน เยอรมัน ถึง 6 คน+ลีกยุโรปอีก 3 และอีก 2 เล่นในเจลีก
แม้การคว่ำ เยอรมัน เป็นเพียงแค่ชนะในบอลโลกหนที่ 6 จากการเข้าร่วมเป็นสมัยที่ 7
แต่วลี “ญี่ปุ่น” นี่มัน “ญี่ปุ่น” ที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ แชมป์บอลโลกในอีกเกือบ 30 ปีสำหรับพวกเขาแล้วมันไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันเลยครับ...
สถิติ สถิติ สถิติ
ญี่ปุ่น พลิกกลับมาชนะในเกมฟุตบอลโลกหลังเสียประตูแรกให้คู่แข่งไปก่อนเป็นหนแรกในประวัติศาตร์ (ก่อนหน้านี้เสมอ 2 แพ้ 7)
ทัพนักเตะญี่ปุ่นในฟุตบอลโลกหนนี้มีถึง 8 คนที่เล่นให้ เยอรมัน และมีแค่ 7 คนเท่านั้นที่มาจากลีกในประเทศ
อีกาย กุนโดกาน ยิงประตูที่ 9 จากการลงสนาม 22 นัดให้ เยอรมันนับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2021 ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 2011-2020 แข้ง แมนฯซิตี้ ลงเล่นไปถึง 42 เกมและยิงได้แค่ 8 ลูกเท่านั้น
ในวัย 19 ปีกับอีก 270 วัน จามาล มูเซียล่า เป็นนักเตะเยอรมันอายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นในฟุตบอลโลกนับตั้งแต่ คาร์ล ไฮนซ์ ชเนลลิงเกอร์ ในปี 1958 (19 ปี 72 วัน) และหากนับรวมทั้งหมดมีนักเตะเมืองเบียร์แค่ 3 คนเท่านั้นที่อายุน้อยกว่า มูเซียล่า
https://www.soccersuck.com/boards/topic/2225299
ญี่ปุ่นคว่ำเยอรมัน โปรเจค DREAM เริ่มแล้ว
การคว่ำ เยอรมัน แชมป์ฟุตบอลโลก 4 สมัยสร้างความสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ให้แฟนฟุตบอลทั่วโลกโดยเฉพาะพวกเราชาวเอเชียหลัง ซาอุดิอาระเบีย เพิ่งปักธงพลิกล็อกชนะ อาร์เจนติน่า ด้วยสกอร์เดียวกันเมื่อวานนี้
ในแง่ของความภารกิจผมมองว่าแข้ง “ซามูไร” เจอบททดสอบยากกว่า ซาอุฯ หลายเท่านัก เอาแค่สรีระเล่นลูกกลางอากาศและช่วงตัวการวิ่งเป็นรองทุกอย่าง
การเพรสและใช้การเข้าปะทะอย่างที่ ซาอุฯ จัดใส่ อาร์เจนติน่า (ที่สัดส่วนสูสีกัน) จึงแทบเป็นไปไม่ได้
ทางเลือกอื่นๆในการรับมือ เยอรมัน ของ ญี่ปุ่น ในครึ่งแรกถือว่าจำกัดขำเขี่ยเอามากๆ
ความยำเกรง (Respect) ทีมระดับโลกจึงเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ที่ ฮาจิเมะ โมริยาสุ กุนซือจึงตัดสินใจเลือก “ซื้อเกมรับ” รัวๆตั้งแต่เริ่มเกม
ทั้ง 2 ทีมจุดประสงค์แรกเริ่มวางไว้ต่างกันทำให้ “อินทรีเหล็ก” ใช้จุดนี้ข่มข้างเดียวสู้กันไม่ได้ ความรู้สึก ณ ตอนนั้นของพวกเราคือ ญี่ปุ่น ลงเอยจะโดนกี่เม็ด
อย่างไรก็ตามกฏเหล็กของฟุตบอลการค้างสกอร์อยู่ที่ 1-0 นานเกินไป ฝ่ายที่ได้เปรียบไม่ใช่ทีมนำนะครับ
บอลไม่มีอะไรจะเสียเป็นอะไรที่น่ากลัวมาก จากที่เกรงๆ เยอรมัน การส่งตัวรุกลงมา 4 ตัวทำให้เกมเอียงทันที
การเพรสการเข้าบอลดุดันกว่าครึ่งแรกแบบคนละเรื่อง ถ้าคิดจะเอาดีทางนี้ต้องไปให้สุด
ลองสังเกตดูจังหวะท้ายครึ่งแรกที่ ญี่ปุ่น ไปเพรสสูงแต่ไม่เร็วและหนักพอจนกระทั่ง เยอรมัน สาดขึ้นมาและยิงประตูที่ 2 (ก่อนล้ำหน้า)
จริงๆวันนี้ไม่น่ามี content อะไรด้วยซ้ำหาก อิลคาย กุนโดกาน ไม่ยิงชนเสาช่วงต้นครึ่งหลังหรือจังหวะเซฟรัวๆ 4 หนใน 1 นาทีของ ชูอิจิ กอนดะ ผู้รักษาประตู ญี่ปุ่น ที่วันนี้ดูหลวมๆล่กๆแต่ยื้อจนเกมพลิกในที่สุด
ทาคุมิ มินามิโนะ (โมนาโก), ทาคุมะ อาซาโนะ (โบคุ่ม), คาโอรุ มิโทมะ (ไบรท์ตัน), ริสึ โดอัน (ไฟร์บวร์ก) นี่คือ 4 แข้งตัวรุกที่ทยอยลงมาสร้างประวัติศาสตร์
พวกนี้ฝีเท้าไม่ใช่ระดับนั่งข้างสนามนะครับ เป็นตัวจริงตัวหลักของต้นสังกัดในยุโรปทั้งนั้นแต่ priority แท็คติกส์ “รับ” ของโค้ชต่างหาก
เกร็ดเล็กน้อยจากผู้บรรยายในเกมนี้ระบุว่า ญี่ปุ่น มีนักเตะตัวสำรองยิงประตูในรอบคัดเลือกได้ 10 ลูกมากที่สุดในเอเชีย
การดึงบอลโด่งและเล่นต่อได้เลย (โดยที่สปีดการวิ่งไม่เสีย) ของ ทาคุมะ อาซาโนะ ที่ทำให้ นิโก้ ชล๊อตเตอร์เบ็ค อยู่ในเหลี่ยมที่ตัวใหญ่กว่าแต่ไม่กล้าทำฟาว์ลในเขตโทษ
ความโหดต่อมาคือมุมที่ยิงเหลืออยู่แค่ 13 องศา ทั้ง 2 ช็อตที่ว่านี้เป็นผลงานมาสเตอร์พีซระดับโลกอย่างแท้จริง
ครับ 2 ประตูที่ ญี่ปุ่น ทำได้ผมเผลอดีใจตะโกนลั่นบ้านจนลืมไปว่ามันไม่ใช่ทีมชาติเรา
แต่เบื้องหน้าแห่งความสำเร็จของทีม “นิปปอน” แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดขึ้นปุ๊บปั๊บแค่ 4 ปี 8 ปีด้วยการให้ “มาดาม” หรือห้างร้านมาอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นนะครับ
แต่ ญี่ปุ่น มองไกลกว่านั้น ไกลจนคนรุ่นนี้อาจอยู่ไม่ทันดูความสำเร็จด้วยซ้ำแต่พวกเขามองว่าความมั่นคงในระยะยาวคือความยั่งยืนที่แท้จริง
ทันทีที่เข้าร่วมฟุตบอลโลกหนแรกในปี 1998 และเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2002
ในอีก 3 ปีต่อมาหรือในปี 2005 ญี่ปุ่นเปิดตัว “โปรเจค” DREAM เพื่อตั้งเป้าเป็นแชมป์โลกให้ได้ภายในปี 2050 ไล่นับนิ้วแล้วอีก 28 ปีนับจากนี้
เมื่อปีที่แล้ว ญี่ปุ่น เพิ่งวางโครงการระยะยาวกับแผน 100 ปี สร้างสโมสรอาชีพให้ได้ 100 ทีมภายในปี 2092
100 ปี!! มันต้องคิดถึงอนาคตลูกหลานและตั้งใจจริงขนาดไหนครับแค่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีพวกเรายังถอดใจ
ครับทีมเยอะขึ้น นักเตะเยอะขึ้น ตัวเลือกเยอะขึ้น การส่งออกต่างแดนยกระดับฝีเท้าย่อมนำมาสู่การคัดสรรนักเตะฝีเท้าดีสู่ทีมชาติมากขึ้นเช่นกัน
11 ตัวจริงที่ออก start ในเกมเปิดสนามมีนักเตะที่ค้าแข้งใน เยอรมัน ถึง 6 คน+ลีกยุโรปอีก 3 และอีก 2 เล่นในเจลีก
แม้การคว่ำ เยอรมัน เป็นเพียงแค่ชนะในบอลโลกหนที่ 6 จากการเข้าร่วมเป็นสมัยที่ 7
แต่วลี “ญี่ปุ่น” นี่มัน “ญี่ปุ่น” ที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ แชมป์บอลโลกในอีกเกือบ 30 ปีสำหรับพวกเขาแล้วมันไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันเลยครับ...
สถิติ สถิติ สถิติ
ญี่ปุ่น พลิกกลับมาชนะในเกมฟุตบอลโลกหลังเสียประตูแรกให้คู่แข่งไปก่อนเป็นหนแรกในประวัติศาตร์ (ก่อนหน้านี้เสมอ 2 แพ้ 7)
ทัพนักเตะญี่ปุ่นในฟุตบอลโลกหนนี้มีถึง 8 คนที่เล่นให้ เยอรมัน และมีแค่ 7 คนเท่านั้นที่มาจากลีกในประเทศ
อีกาย กุนโดกาน ยิงประตูที่ 9 จากการลงสนาม 22 นัดให้ เยอรมันนับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2021 ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 2011-2020 แข้ง แมนฯซิตี้ ลงเล่นไปถึง 42 เกมและยิงได้แค่ 8 ลูกเท่านั้น
ในวัย 19 ปีกับอีก 270 วัน จามาล มูเซียล่า เป็นนักเตะเยอรมันอายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นในฟุตบอลโลกนับตั้งแต่ คาร์ล ไฮนซ์ ชเนลลิงเกอร์ ในปี 1958 (19 ปี 72 วัน) และหากนับรวมทั้งหมดมีนักเตะเมืองเบียร์แค่ 3 คนเท่านั้นที่อายุน้อยกว่า มูเซียล่า
https://www.soccersuck.com/boards/topic/2225299