ดูข่าว อะมีทิสไปดวงจันทร์ในรอบ50ปี แต่ไม่มีคน เลยสงสัยว่าที่ไม่ส่งคนไปเพราะไปไม่ได้รึป่าว แล้วครั้งก่อนละ?

อะมีทิสไปดวงจัทร์ในรอบ50ปี แต่ไม่มีคนไป

เลยสงสัย คราวที่แล้วที่คนลงดวงจันทร์ สรุป ยังไง

1 ขาไปทำไมลำบากจัง ทีมงานเป็นพัน ฐานยิงเป็นพันไร่ น้ำมันล้านลิตร กว่าจะออกไปได้ แต่ขากลับยานลำเล็ก กลับมาได้ง่ายจัง ไม่มีลานบินฐานยิงใดๆ ทั้งที่มีแรงดึงดูด แม้จะ1ใน6ก็เถอะ

2 ขากลับตอนลงโลก ต้องมีรันเวย์ อิลอนมัสเพิ่งมาทำจรวดลงแนวตั้งเอง ทำไมไม่ทำแบบยานที่ลงดวงจันทร์ละ ไม่ต้องใช้พื้นที่อะไรเลย
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
ผมขอตอบตรงส่วนที่ตอนกลับโลกนะคับ
😎😎😎แรงโน้มถ่วงเบากว่าโลกหลายเท่าตัวจึงทำไห้การขึ้นไปและทำวงโครจรได้ง่ายนับบินอวกาศจะทำวงตีไปที่โลก หลังจาหตีไปที่โลกเสร็จแล้วดขาก็จะรอ1วันกว่าเพื่อไห้แรงเฉื่ยไปที่โลกแล้วกลับโลกลงอย่างปลอดภัย😎😎😎
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
อะมีทิสไปดวงจันทร์ในรอบ50ปี แต่ไม่มีคน
เลยสงสัยว่าที่ไม่ส่งคนไปเพราะไปไม่ได้รึป่าว


5555 .... เริ่มแล้วสินะครับ  ตรรกะขายหัวเราะ 😂🤣😅😆
ผมขอเรียนว่า  โครงการ Artemis จะแบ่งเป็น 3 phase
1. Phase แรก คือ Artemis I  กำลังปฏิบัติการอยู่
    เป็นการทดลองปล่อยยานโดยไม่มีมนุษย์
    เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับ phase 2
2. Phase 2 คือ Artemis II  ตาม plan คือปี 2024
    มีนักบินไปด้วย 4 คน  แต่แค่โคจรรอบดวงจันทร์
    ไม่ Landing ดวงจันทร์
3. Artemis III  ตาม plan คือปี 2025
    มีนักบินไปลงดวงจันทร์ 4 คน

สรุปก็คือ  โครงการนี้ดำเนินการตามแผนครับ
มิใช่ว่าจะส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ตั้งแต่ phase แรก
เพราะ 2 phase แรกคือ test flight  ต้องเก็บรายละเอียดมากมาย
เนื่องจากปัจจัยทั้งหมดมันต่างจากสมัย Apollo มาก
เมื่อพร้อมจึงจะลงดวงจันทร์ใน phase 3

1 ขาไปทำไมลำบากจัง ทีมงานเป็นพัน ฐานยิงเป็นพันไร่ น้ำมันล้านลิตร กว่าจะออกไปได้ แต่ขากลับยานลำเล็ก กลับมาได้ง่ายจัง ไม่มีลานบินฐานยิงใดๆ ทั้งที่มีแรงดึงดูด แม้จะ1ใน6ก็เถอะ
เพราะขาไป เนี่ย
มันต้องแบกน้ำหนักจรวดส่ง + ส่วนของยาน (เรียกว่า pay load)
ต้องแบกน้ำหนักทั้งหมด (ประมาณ 3,100 ตัน)
ต้านความโน้มถ่วงโลกขึ้นอวกาศ
ส่วนขากลับ .... ยานที่พุ่งออกจากผิวดวงจันทร์นั้น
"เบา" มาก ๆ (4.8 ตัน) เทียบกับน้ำหนักขาไป (3,100 ตัน)
และความโน้มถ่วงดวงจันทร์ก็น้อยมากด้วย  
ดังนั้น  ยานส่วน ascent stage จึงใช้เครื่องยนต์พ่นไม่แรงมาก  
ก็สามารถสร้าง momentum ให้ยานลอยขึ้นไปจากผิวดวงจันทร์ได้แล้ว

2 ขากลับตอนลงโลก ต้องมีรันเวย์ อิลอนมัสเพิ่งมาทำจรวดลงแนวตั้งเอง ทำไมไม่ทำแบบยานที่ลงดวงจันทร์ละ ไม่ต้องใช้พื้นที่อะไรเลย
ไม่ใช่นะครับ
ภารกิจดวงจันทร์ทั้ง Apollo และ Artemis
ไม่มีการใช้รันเวย์  แต่จะใช้ module นักบิน
แยกตัวออกมาจากยาน  และพุ่งลงมาจากอวกาศเลย
เรียกว่า Re-entry capsule  (ภาพจาก Apollo 17)

การใช้วิธีลงจอดแนวตั้งแบบ SpaceX  นั้น
จะต้องใช้เชื้อเพลิงมาก และ ยานที่ลงจอดต้องมีเครื่องยนต์
มันคือภาระยุ่งยากมากสำหรับการลงจอดเมื่อกลับจากดวงจันทร์
ใช้วิธี re-entry capsule ง่ายกว่า

ส่วนที่ท่าน จขกท.กล่าวว่า
ขากลับตอนลงโลก ต้องมีรันเวย์
อันนั้นคือ "กระสวยอวกาศ" (Space shuttle) ครับ
ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่