หลวงตาบัวสอนอานาปานสติ

อานาปานสติภาวนา
ถือลมหายใจเข้า หายใจออก เป็นอารมณ์
ของใจ 
มีความรู้ และสติอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก
เบื้องต้น
การตั้งลม ควรตั้งที่ปลายจมูก หรือเพดาน

เพราะ เป็นที่กระทบลมหายใจ พอถือเอา
เป็นเครื่องหมายได้
เมื่อทำจนชำนาญ 
และลมละเอียดเข้าเท่าไร จะค่อยรู้

หรือเข้าใจความสัมผัสของลมเข้าไปโดยลำดับ

จนปรากฏลมที่อยู่ท่ามกลางอก หรือลิ้นปี่เเห่งเดียว
ทีนี้ ! จงกำหนดลม ณ ที่นั้น
ไม่ต้องกังวล ออกมากำหนด หรือตามรู้ลม

ที่ปลายจมูก หรือเพดาน อีกต่อไป
การกำหนดลม...
จะตามด้วย พุทโธ เป็นคำบริกรรมกำกับลมหายใจเข้า-ออกด้วยก็ได้

เพื่อ...เป็นการพยุงผู้รู้ให้เด่น จะได้ปรากฏลม

ชัดขึ้น กับใจ

เมื่อชำนาญในลมแล้ว

ต่อไปทุกครั้งที่กำหนด จงกำหนดลงที่ลม

หายใจ ท่ามกลางอก หรือลิ้นปี่โดยเฉพาะ

ทั้งนี้ สำคัญอยู่ที่สติ จงตั้งสติ...กับใจ

ให้มีความรู้สึก...ในลมทุกขณะ ที่ลมเข้า และ

ลมออก สั้น หรือยาว

จนกว่า

จะรู้ชัด ในลมหายใจ มีความละเอียดเข้าไป

ทุกที และจนปรากฏความละเอียดของลม

กับใจ เป็นอันเดียวกัน

ทีนี้ ! ให้กำหนดลมอยู่จำเพาะใจ

ไม่ต้องกังวล ในคำบริกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น

เพราะ...การกำหนดลมเข้า-ออก

และสั้น-ยาว ตลอดคำบริกรรมนั้น ๆ

ก็เพื่อ...จะให้จิตถึงความละเอียด

เมื่อถึงลมละเอียดที่สุด

จิต จะปรากฏมีความสว่างไสว เยือกเย็น

เป็นความสงบสุข และรู้ อยู่...เฉพาะใจ

ไม่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ใด ๆ

แม้ที่สุดกองลม ก็ลดละความเกี่ยวข้อง
ในขณะนั้น

ไม่มี ความกังวล

เพราะ...จิตวางภาระ มีความรู้อยู่จำเพาะใจ...ดวงเดียว

คือ เป็นหนึ่ง นี่คือ...ผลที่ได้รับ

จาก

การเจริญอานาปานสติกรรมฐาน."
---------------------------------------
องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่