การสอบลัคนา

กระทู้สนทนา
Cr: รหัสวิทยา

การสอบลัคนาให้ทำทุกครั้งไม่ว่าจะรู้เวลาเกิดแน่นอนเพียงใด โดยการสอบถามนิสัยเด่นๆของเจ้าชะตา แล้วให้ลองเปลี่ยนเวลาเดินหน้าถอยหลังครั้งละ 1 ชั่วโมง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงลัคนา ตนุเศษ ดาวย้ายราศี รวมทั้งฤกษ์
.
ครั้งต่อไปก็เปลี่ยนครั้งละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ละเอียดยิ่งขึ้น ถ้าลัคนาใดตรง ตนุเศษตรง ก็ให้ใช้ลัคนานั้นเลย
.
การย้ายลัคนาจะต้องย้ายโดยการเปรียบเทียบเวลาเท่านั้น ไม่ใช่ย้ายดื้อๆ ย้ายแต่ตำแหน่งลัคนา
.
สำหรับปัญหาลัคนาคาบเส้น บางครั้งเวลาผิดกันแค่นาทีเดียวก็เปลี่ยนราศีเป็นคนละราศีได้
.
ปัญหาเช่นนี้ก็ให้ใช้วิธีลองย้ายลัคนา ดูทั้งสองราศีที่เกี่ยวข้องว่าราศีไหนถูกต้องกับตัวตนของเจ้าชะตามากกว่ากัน ก็ให้ใช้ราศีนั้นไปเลย เพราะทั้งสองราศีจะให้ผลกับเจ้าชะตาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
.
การย้ายลัคนาต้องเปลี่ยนเวลาเกิดด้วย เพราะตนุเศษจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงอาจมีดาวย้ายราศีในช่วงเวลานั้นด้วย
.
เมื่อย้ายราศีแล้วก็ขาดจากอีกราศีหนึ่งโดยสิ้นเชิงเช่นกัน ไม่มีการผสมสองราศีหรือเป็นคนสองราศีโดยเด็ดขาด (เวลาต่างกันเป็นชั่วโมงถ้าไม่ถูกต้องย้ายลัคนาได้ นี่แค่นาทีเดียวยิ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เกิดผลทางจิตวิทยาทำให้เกิดความลังเลก็เท่านั้น)
.
ดาวอื่นๆก็เช่นกัน อยู่ราศีไหนก็แสดงผลราศีนั้น ไม่มีการแสดงผลคาบ 2 ราศี 
.
คนที่เกิดในวันเดือนปีเดียวกัน ลัคนาจะสถิตในราศีที่แตกต่างกันได้ถึง 12 ราศี เพราะในวันหนึ่งๆ  จะมี 12 ราศี คนที่เกิดและมีดาวอาทิตย์สถิตอยู่ราศีอะไรก็หมายความว่าตั้งต้นนับตั้งแต่ราศีนั้นเป็นเงื่อนไขแรก
.
คือเกิดเวลา 06.00-08.00น. โดยประมาณ ลัคนาก็จะสถิตอยู่ในราศีนั้นจริงๆ (เช่นถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเมษลัคนาก็จะสถิตราศีเมษ) แต่ถ้าเกิดเวลา 08.00-10.00น. โดยประมาณ ลัคนาก็จะเลื่อนไปอยู่ในราศีถัดไป (เช่นถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเมษลัคนาก็จะสถิตราศีพฤษภ)
.
และจะเปลี่ยนเลื่อนไปโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ชม. ต่อ 1 ราศี (ความจริงแล้วแต่ละราศีใช้เวลาไม่เท่ากัน ค่ารายละเอียดตรงนี้ต้องเกิดจากการคำนวณเท่า) วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมงก็คือ 12 ราศีพอดี
.
แต่ถ้าจะวางให้ละเอียดก็ต้องแบ่ง 1 ราศีออกเป็น 3 ตรียางค์ และแบ่ง 1 ตรียางค์ออกเป็น 3 นวางค์ สรุปว่าจะแบ่งย่อยจริงๆใน 1 วันจะได้ 108 นวางค์ คือแบ่งคนได้ 108 ประเภท
🙂
เรียบเรียงจากหนังสือ : โหราศาสตร์ไทยแนวตรรกะ ระบบวิเคราะห์-วิจารณ์ดวง
เขียนโดย : อ.ยืนยง นาวาสมุทร (แดงเมืองตราด)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่