นอร์เวย์ และสวีเดน รวมไปถึงดินแดนปกครองตนเอง ได้แก่ กรีนแลนด์ หมู่เกาะแฟโร และหมู่เกาะโอลันด์
ซึ่งจุดประสงค์หลัก ก็เพื่อให้ประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
- มีรัฐสวัสดิการให้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด โดยพ่อแม่สามารถเลือกรับเงินช่วยเหลือ หรือของใช้จำเป็นของทารกได้ ตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือน
- พ่อแม่สามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดได้นานกว่า 8 เดือน โดยยังคงได้รับค่าแรงจากการทำงานอยู่
- รัฐบาลสนับสนุนค่าเลี้ยงดูลูก จนถึงอายุ 3 ขวบ พร้อมทั้งให้รับวัคซีนฟรี และมีบริการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 16 ปี
- ประชาชนสามารถเรียนฟรีได้จนถึงอายุ 16 ปี และรัฐบาลยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าหอพัก ค่าเดินทาง และอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น
อีกทั้งยังมีทุนการศึกษา ที่สนับสนุนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย
- ในกรณีที่ตกงาน รัฐบาลจะช่วยหางานให้ และให้เงินช่วยเหลือเป็นระยะเวลา 400 วัน หรือประมาณ 13 เดือน
- ในประเทศฟินแลนด์ หลังเกษียณ หรือเมื่ออายุ 65 ปี จะได้รับเงินอย่างน้อยคนละ 31,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเงินก้อนนี้จะไม่ถูกหักภาษี หากไม่มีรายได้จากทางอื่น
พอประชาชนในประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็ลดลง
จึงทำให้กลุ่มประเทศนอร์ดิก มักได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
โดยข้อมูลจาก World Happiness Report ระบุว่าผลการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขมากที่สุด 3 อันดับแรกของโลก ในปี 2022 ได้แก่
อันดับ 1 ฟินแลนด์
อันดับ 2 เดนมาร์ก
อันดับ 3 ไอซ์แลนด์
อย่างไรก็ตาม การสร้างระบบรัฐสวัสดิการที่ดีนั้นก็มีต้นทุนเช่นกัน โดยแหล่งที่มาของเงินก็มาจาก การเก็บภาษีจากประชาชนเป็นหลัก
รู้ไหมว่า กลุ่มประเทศนอร์ดิกถือว่าเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีในอัตราสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ลองมาดูอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกลุ่มประเทศเหล่านี้กันบ้าง
- นอร์เวย์ 22-53%
- ฟินแลนด์ 25-67%
- เดนมาร์ก 27-42%
- ไอซ์แลนด์ 32-46%
- สวีเดน 32-55%
ซึ่งอัตราภาษีดังกล่าวนั้นก็สูงมาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศ อย่างกรณีของประเทศไทยนั้น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ที่เพียง 5-35%
ถึงตรงนี้ ก็คงพอสรุปได้ว่า
รัฐสวัสดิการที่ดี ก็ต้องแลกกับการที่จะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงเช่นกัน แต่หากภาษีที่เราจ่าย แลกกับคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าอยู่ไม่น้อย
ซึ่งเรื่องราวของประเทศกลุ่มนอร์ดิก ก็น่าจะเป็นสิ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดี
แม้จะเป็นกลุ่มประเทศที่ต้องเสียภาษีที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีความสุขมากที่สุดในโลกเช่นกัน..
ประเทศไทยพอจะมีหวังไหมครับที่จะมีสวัสดิการแบบที่ทั่วโลกให้การยอมรับแบบกลุ่มประเทศนอร์ดิกเช่นเดนมาร์กฟินแลนด์ไอซ์แลนด์
ซึ่งจุดประสงค์หลัก ก็เพื่อให้ประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
- มีรัฐสวัสดิการให้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด โดยพ่อแม่สามารถเลือกรับเงินช่วยเหลือ หรือของใช้จำเป็นของทารกได้ ตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือน
- พ่อแม่สามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดได้นานกว่า 8 เดือน โดยยังคงได้รับค่าแรงจากการทำงานอยู่
- รัฐบาลสนับสนุนค่าเลี้ยงดูลูก จนถึงอายุ 3 ขวบ พร้อมทั้งให้รับวัคซีนฟรี และมีบริการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 16 ปี
- ประชาชนสามารถเรียนฟรีได้จนถึงอายุ 16 ปี และรัฐบาลยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าหอพัก ค่าเดินทาง และอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น
อีกทั้งยังมีทุนการศึกษา ที่สนับสนุนจนถึงระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย
- ในกรณีที่ตกงาน รัฐบาลจะช่วยหางานให้ และให้เงินช่วยเหลือเป็นระยะเวลา 400 วัน หรือประมาณ 13 เดือน
- ในประเทศฟินแลนด์ หลังเกษียณ หรือเมื่ออายุ 65 ปี จะได้รับเงินอย่างน้อยคนละ 31,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเงินก้อนนี้จะไม่ถูกหักภาษี หากไม่มีรายได้จากทางอื่น
พอประชาชนในประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็ลดลง
จึงทำให้กลุ่มประเทศนอร์ดิก มักได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
โดยข้อมูลจาก World Happiness Report ระบุว่าผลการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขมากที่สุด 3 อันดับแรกของโลก ในปี 2022 ได้แก่
อันดับ 1 ฟินแลนด์
อันดับ 2 เดนมาร์ก
อันดับ 3 ไอซ์แลนด์
อย่างไรก็ตาม การสร้างระบบรัฐสวัสดิการที่ดีนั้นก็มีต้นทุนเช่นกัน โดยแหล่งที่มาของเงินก็มาจาก การเก็บภาษีจากประชาชนเป็นหลัก
รู้ไหมว่า กลุ่มประเทศนอร์ดิกถือว่าเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีในอัตราสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ลองมาดูอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกลุ่มประเทศเหล่านี้กันบ้าง
- นอร์เวย์ 22-53%
- ฟินแลนด์ 25-67%
- เดนมาร์ก 27-42%
- ไอซ์แลนด์ 32-46%
- สวีเดน 32-55%
ซึ่งอัตราภาษีดังกล่าวนั้นก็สูงมาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศ อย่างกรณีของประเทศไทยนั้น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ที่เพียง 5-35%
ถึงตรงนี้ ก็คงพอสรุปได้ว่า
รัฐสวัสดิการที่ดี ก็ต้องแลกกับการที่จะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงเช่นกัน แต่หากภาษีที่เราจ่าย แลกกับคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าอยู่ไม่น้อย
ซึ่งเรื่องราวของประเทศกลุ่มนอร์ดิก ก็น่าจะเป็นสิ่งสะท้อนได้เป็นอย่างดี
แม้จะเป็นกลุ่มประเทศที่ต้องเสียภาษีที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีความสุขมากที่สุดในโลกเช่นกัน..