โตเกียวชัดเจนเลือก “ไทย” เป็นที่จัดซัมมิตครั้งประวัติศาสตร์ “คิชิดะ-สี” ฮือฮา! คอมเฟิร์มรายชื่อผู้นำโลกมาเอเปคเพียบรวม “มาครง-กมลา-ทรูโด-มกุฎราชกุมารซาอุฯ” แต่ปูตินไม่มา
เอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – โตเกียวแถลงยืนยันวันนี้(14 พ.ย)ว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ จะประชุมซัมมิตร่วมกับประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ที่กรุงเทพฯในวันพฤหัสบดี(17 พ.ย)ระหว่างการประชุมเอเปคที่จะเกิดขึ้นในไทยระหว่างวันที่ 18 พ.ย – วันที่ 19 พ.ย พบมีผู้นำระดับโลกเข้าร่วมจำนวนมากทั้งจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ฝรั่งเศส ชิลี ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ปาปัวนิวกินี จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย แต่สหรัฐฯและรัสเซียส่งรองประธานาธิบดีเข้าร่วม
เอเอฟพีรายงานวันนี้(14 พ.ย)ว่า โฆษกรัฐบาลโตเกียว ฮิโระคาซุ มัตซุโนะ(Hirokazu Matsuno) แถลงวันจันทร์(14)กับนักข่าวว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ มีกำหนดที่จะหารือในการประชุมซัมมิตญี่ปุ่น-จีนร่วมกับประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ในวันที่ 17 พ.ยในงานการประชุมเอเปค”
ทั้งนี้บรรดาผู้นำได้ทำการหารือทางโทรศัพท์ในตุลาคมเมื่อปี 2021 หลังการเลือกตั้งของคิชิดะ แต่ทว่านี่เป็นครั้งแรกที่จะมีการพบกันอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นระหว่างคิชิดะและสี
จีนและญี่ปุ่นต่างเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกด้วยกันทั้งคู่และปัจจุบันต่างมีความสัมพันธ์ไม่สู้ดีระหว่างกันถึงแม้ว่าก่อนวิกฤตโควิด-19 ผู้นำจีนจะเคยมีกำหนดการไปเยือนกรุงโตเกียว
ความสัมพันธ์ที่ร้าวฉานเกิดมาจากการที่จีนแผ่อิทธิพลทางการทหารและเพิ่มมาตรการทางการทหารและใช้มาตรการที่แข็งกร้าวต่อฝ่ายตรงข้ามโดยเฉพาะไต้หวันรวมไปถึงภายในภูมิภาคและโพ้นทะเล
หนึ่งในมิสไซล์จีนที่ยิงออกไประหว่างฝึกซ้อมช่วงการปิดล้อมไต้หวันเมื่อสิงหาคมเพื่อตอบโต้การเยือนครั้งสำคัญของประธานรัฐสภาสหรัฐฯ แนนซี เพโลซี นั้นตกลงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลญี่ปุ่น
และรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของปักกิ่งรอบหมู่เกาะพิพาทเซ็งกากุ (Senkaku Islands) หรือหมู่เกาะเตียวหยูในภาษาจีนที่อยู่ในความครอบครองของโตเกียวแต่ปักกิ่งอ้างสิทธิ์
ญี่ปุ่นนั้นให้การสนับสนุนยูเครนร่วมกับพันธมิตรชาติตะวันตกยิ่งทำให้ความสัมพันธ์กับจีนที่ยืนอยู่เคียงข้างรัสเซียร้าวฉานหนักขึ้น คิชิดะเคยเตือนว่า การรุกรานยูเครนวันนี้อาจเกิดขึ้นกับเอเชียตะวันออกในวันพรุ่งนี้โดยอ้างอิงไปถึงกรณีปักกิ่งต้องการใช้กำลังทหารเพื่อบุกไต้หวัน
การประชุมเอเปคที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 18 พ.ย – วันที่ 19 พ.ย ที่กรุงเทพฯนั้น สื่อไทยภาคภาษาอังกฤษรายงานว่า ไทยต้องใช้กำลังตำรวจถึง 25,000 นายเพื่อรักษาความปลอดภัยการประชุมที่มีผู้นำระดับโลกชื่อดังเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
โดยกำลัง 25,000 นายนี้จะถูกส่งเพื่อลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง และจะมีการจัดกำลังเฝ้าประจำที่ตึกสูงระฟ้าเพื่อมอนิเตอร์สถานการณ์เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับคณะผู้นำประเทศต่างชาติ
กำลังเจ้าหน้าที่จะถูกจัดออกไปประจำตามที่พักโรงแรมของบรรดาคณะผู้นำต่างประเทศเช่นกัน โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยอมรับว่าต้องจับตากลุ่มความเคลื่อนไหวทางการเมืองและกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาล รวมไปถึงยังเรียกร้องให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลแจ้งเจ้าหน้าที่หากพบสิ่งผิดปกติ โดยจะมีการตั้งด่าน 50 จุดตลอดเวลาขึ้นในช่วงการจัดงานโอเปค
สำหรับประชาชนทั่วไปรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT จะปิดให้บริการสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที้ 16 พ.ย – วันที่ 19 พ.ย และจะปิดน่านฟ้าห้ามบินสำหรับโดรนระหว่างวันที่ 16 พ.ยถึงวันที่ 21 พ.ย
สำหรับแขกผู้นำระดับชาติผู้นำที่ตอบรับคำเชิญจากรัฐบาลไทยเข้าร่วมงานเอเปคนี้ สื่อสตาร์ออนไลน์ของมาเลเซียรายงานวันจันทร์(14)ว่า มีผู้นำชื่อดังเป็นจำนวนมากเข้าร่วม โดยมาจากทั้งภายในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานีซ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น และนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี เจมส์ มาราเป ซึ่งชาติหมู่เกาะแปซิฟิกกำลังเป็นจุดร้อนภายในภูมิภาคแข่งขันระหว่างออสเตรเลียและจีน
การประชุมนี้ยังเป็นการเยือนไทยครั้งแรกของผู้นำหลายชาติ ที่สำคัญเป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานีส, ประธานาธิบดีชิลี กาบริเอล โบริช ,ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ บองบอง มาร์กอส ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง จอห์น ลี นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ มกุฎราชกุมาร เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย อันเดรย์ เบโลอูซอฟ และรองประธานาธิบดีเปรู ดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา
สำหรับรัสเซียนั้นประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ไม่ได้เดินทางมาร่วมแต่ส่งเบโลอูซอฟซึ่งเคยนั่งเป็นประธานกรรมการบอร์ดบริหารบริษัทพลังงานรอสเนฟต์( Rosneft )ยักษ์ใหญ่ของรัสเซียมาแทน อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการรอสเนฟต์ที่ระบุว่าได้รับเลือกในการประชุมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิ.ย ปี 2015 ซึ่งในปัจจุบันอ้างอิงจากวิกีพีเดียพบว่า อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมัน แกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ กำลังดำรงตำแหน่งนี้อยู่
ทั้งนี้ ผู้นำจากเวียดนาม จีน ฝรั่งเศส และมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย จะใช้ช่วงเวลาระหว่างการประชุมนี้เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย
โดยรายชื่อเต็มของชาติที่เข้าร่วมงานเอเปค ไทยแลนด์ 2022 ได้แก่
***เขตเศรษฐกิจเอเปค***
(1) ออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรี แอนโธนี อัลบานีซ
(2) บรูไน สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 29 และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน
(3) แคนาดา นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด
(4) ชิลีประธานาธิบดี กาบริเอล โบริก ฟอนต์ (Gabriel Boric Font)
(5) จีน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping)
(6) จีนฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จอห์น ลี คา-ชิว (John Lee Ka-Chiu)
(7) อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด
(8) ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ
(9) เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ฮัน ด็อก-ซู
(10) มาเลเซีย เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี (Tan Sri Dato’ Seri Mohd Zuki Ali)
(11) เม็กซิโก เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย เบร์นาโด กอร์โดบา เตโย (Bernardo Córdova Tello)
(12) นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น
(13) ปาปัวนิวกินี นายกรัฐมนตรี เจมส์ มาราเป (James Marape)
(14) เปรู รองประธานาธิบดี คนที่ 1 ดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา (Dina Ercilia Boluarte Zegarra)
(15) ฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ โรมูอัลเดซ มาร์กอซ จูเนียร์
(16) รัสเซีย รองนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย คนที่ 1 อันเดรย์ เบโลอูซอฟ (Andrey Belousov)
(17) สิงคโปร์นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง
(18) จีนไทเป ผู้แทน (ผู้ก่อตั้งบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC)) มอร์ริส จาง (นายจาง จงโหมว) (Mr. Morris Chang)
(19) ไทย นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(20) สหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส
(21) เวียดนาม ประธานาธิบดี หวียน ซวน ฟุก (Nguyen Xuan Phuc)
***แขกพิเศษ***
(22) กัมพูชา นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน
(23) ฝรั่งเศส ประธานาธิบดี เอ็มมานุแอล มาครง
(24) ซาอุดีอาระเบีย มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรี เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud)
https://mgronline.com/around/detail/9650000108616
ไทยชักจะดังไปทั่วโลกอีกแล้วนะคะ
ญี่ปุ่น-จีน จะใช้สถานที่ประเทศไทยพูดคุยกัน
ส่วนเอเปคนั้น ดิฉันตื่นเต้นไปกับคนไทยทุกคน
มีผู้นำทั่วโลกเดินทางมาไทยมากมายในรอบหลายสิบปีที่ขาดหายไปเพราะคนไทยเอาแต่ทะเลาะกัน
ลุงตู่ท่านทำได้ ท่านมีความสุข มีความภาคภูมิใจมาก ท่านยิ้มและอารมณ์ดีเป็นพิเศษเชียวค่ะ
ช่วยกันเป็นเจ้าภาพที่ดีกันนะคะ
เอาใจช่วยลุงทำให้ไทยรุ่งโรจน์กว่ายุคใดๆ
💛มาลาริน💛โตเกียวเลือก“ไทย”เป็นที่จัดซัมมิตครั้งประวัติศาสตร์“คิชิดะ-สี” ฮือฮา! คอมเฟิร์มรายชื่อผู้นำโลกมาเอเปค
เอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – โตเกียวแถลงยืนยันวันนี้(14 พ.ย)ว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ จะประชุมซัมมิตร่วมกับประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ที่กรุงเทพฯในวันพฤหัสบดี(17 พ.ย)ระหว่างการประชุมเอเปคที่จะเกิดขึ้นในไทยระหว่างวันที่ 18 พ.ย – วันที่ 19 พ.ย พบมีผู้นำระดับโลกเข้าร่วมจำนวนมากทั้งจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ฝรั่งเศส ชิลี ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ปาปัวนิวกินี จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย แต่สหรัฐฯและรัสเซียส่งรองประธานาธิบดีเข้าร่วม
เอเอฟพีรายงานวันนี้(14 พ.ย)ว่า โฆษกรัฐบาลโตเกียว ฮิโระคาซุ มัตซุโนะ(Hirokazu Matsuno) แถลงวันจันทร์(14)กับนักข่าวว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ มีกำหนดที่จะหารือในการประชุมซัมมิตญี่ปุ่น-จีนร่วมกับประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ในวันที่ 17 พ.ยในงานการประชุมเอเปค”
ทั้งนี้บรรดาผู้นำได้ทำการหารือทางโทรศัพท์ในตุลาคมเมื่อปี 2021 หลังการเลือกตั้งของคิชิดะ แต่ทว่านี่เป็นครั้งแรกที่จะมีการพบกันอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นระหว่างคิชิดะและสี
จีนและญี่ปุ่นต่างเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกด้วยกันทั้งคู่และปัจจุบันต่างมีความสัมพันธ์ไม่สู้ดีระหว่างกันถึงแม้ว่าก่อนวิกฤตโควิด-19 ผู้นำจีนจะเคยมีกำหนดการไปเยือนกรุงโตเกียว
ความสัมพันธ์ที่ร้าวฉานเกิดมาจากการที่จีนแผ่อิทธิพลทางการทหารและเพิ่มมาตรการทางการทหารและใช้มาตรการที่แข็งกร้าวต่อฝ่ายตรงข้ามโดยเฉพาะไต้หวันรวมไปถึงภายในภูมิภาคและโพ้นทะเล
หนึ่งในมิสไซล์จีนที่ยิงออกไประหว่างฝึกซ้อมช่วงการปิดล้อมไต้หวันเมื่อสิงหาคมเพื่อตอบโต้การเยือนครั้งสำคัญของประธานรัฐสภาสหรัฐฯ แนนซี เพโลซี นั้นตกลงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลญี่ปุ่น
และรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของปักกิ่งรอบหมู่เกาะพิพาทเซ็งกากุ (Senkaku Islands) หรือหมู่เกาะเตียวหยูในภาษาจีนที่อยู่ในความครอบครองของโตเกียวแต่ปักกิ่งอ้างสิทธิ์
ญี่ปุ่นนั้นให้การสนับสนุนยูเครนร่วมกับพันธมิตรชาติตะวันตกยิ่งทำให้ความสัมพันธ์กับจีนที่ยืนอยู่เคียงข้างรัสเซียร้าวฉานหนักขึ้น คิชิดะเคยเตือนว่า การรุกรานยูเครนวันนี้อาจเกิดขึ้นกับเอเชียตะวันออกในวันพรุ่งนี้โดยอ้างอิงไปถึงกรณีปักกิ่งต้องการใช้กำลังทหารเพื่อบุกไต้หวัน
การประชุมเอเปคที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 18 พ.ย – วันที่ 19 พ.ย ที่กรุงเทพฯนั้น สื่อไทยภาคภาษาอังกฤษรายงานว่า ไทยต้องใช้กำลังตำรวจถึง 25,000 นายเพื่อรักษาความปลอดภัยการประชุมที่มีผู้นำระดับโลกชื่อดังเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
โดยกำลัง 25,000 นายนี้จะถูกส่งเพื่อลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง และจะมีการจัดกำลังเฝ้าประจำที่ตึกสูงระฟ้าเพื่อมอนิเตอร์สถานการณ์เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับคณะผู้นำประเทศต่างชาติ
กำลังเจ้าหน้าที่จะถูกจัดออกไปประจำตามที่พักโรงแรมของบรรดาคณะผู้นำต่างประเทศเช่นกัน โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยอมรับว่าต้องจับตากลุ่มความเคลื่อนไหวทางการเมืองและกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาล รวมไปถึงยังเรียกร้องให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลแจ้งเจ้าหน้าที่หากพบสิ่งผิดปกติ โดยจะมีการตั้งด่าน 50 จุดตลอดเวลาขึ้นในช่วงการจัดงานโอเปค
สำหรับประชาชนทั่วไปรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT จะปิดให้บริการสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที้ 16 พ.ย – วันที่ 19 พ.ย และจะปิดน่านฟ้าห้ามบินสำหรับโดรนระหว่างวันที่ 16 พ.ยถึงวันที่ 21 พ.ย
สำหรับแขกผู้นำระดับชาติผู้นำที่ตอบรับคำเชิญจากรัฐบาลไทยเข้าร่วมงานเอเปคนี้ สื่อสตาร์ออนไลน์ของมาเลเซียรายงานวันจันทร์(14)ว่า มีผู้นำชื่อดังเป็นจำนวนมากเข้าร่วม โดยมาจากทั้งภายในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานีซ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น และนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี เจมส์ มาราเป ซึ่งชาติหมู่เกาะแปซิฟิกกำลังเป็นจุดร้อนภายในภูมิภาคแข่งขันระหว่างออสเตรเลียและจีน
การประชุมนี้ยังเป็นการเยือนไทยครั้งแรกของผู้นำหลายชาติ ที่สำคัญเป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานีส, ประธานาธิบดีชิลี กาบริเอล โบริช ,ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ บองบอง มาร์กอส ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง จอห์น ลี นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ มกุฎราชกุมาร เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย อันเดรย์ เบโลอูซอฟ และรองประธานาธิบดีเปรู ดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา
สำหรับรัสเซียนั้นประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ไม่ได้เดินทางมาร่วมแต่ส่งเบโลอูซอฟซึ่งเคยนั่งเป็นประธานกรรมการบอร์ดบริหารบริษัทพลังงานรอสเนฟต์( Rosneft )ยักษ์ใหญ่ของรัสเซียมาแทน อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการรอสเนฟต์ที่ระบุว่าได้รับเลือกในการประชุมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิ.ย ปี 2015 ซึ่งในปัจจุบันอ้างอิงจากวิกีพีเดียพบว่า อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมัน แกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ กำลังดำรงตำแหน่งนี้อยู่
ทั้งนี้ ผู้นำจากเวียดนาม จีน ฝรั่งเศส และมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย จะใช้ช่วงเวลาระหว่างการประชุมนี้เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย
โดยรายชื่อเต็มของชาติที่เข้าร่วมงานเอเปค ไทยแลนด์ 2022 ได้แก่
***เขตเศรษฐกิจเอเปค***
(1) ออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรี แอนโธนี อัลบานีซ
(2) บรูไน สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 29 และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน
(3) แคนาดา นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด
(4) ชิลีประธานาธิบดี กาบริเอล โบริก ฟอนต์ (Gabriel Boric Font)
(5) จีน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping)
(6) จีนฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จอห์น ลี คา-ชิว (John Lee Ka-Chiu)
(7) อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด
(8) ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ
(9) เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ฮัน ด็อก-ซู
(10) มาเลเซีย เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี (Tan Sri Dato’ Seri Mohd Zuki Ali)
(11) เม็กซิโก เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย เบร์นาโด กอร์โดบา เตโย (Bernardo Córdova Tello)
(12) นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น
(13) ปาปัวนิวกินี นายกรัฐมนตรี เจมส์ มาราเป (James Marape)
(14) เปรู รองประธานาธิบดี คนที่ 1 ดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา (Dina Ercilia Boluarte Zegarra)
(15) ฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ โรมูอัลเดซ มาร์กอซ จูเนียร์
(16) รัสเซีย รองนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย คนที่ 1 อันเดรย์ เบโลอูซอฟ (Andrey Belousov)
(17) สิงคโปร์นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง
(18) จีนไทเป ผู้แทน (ผู้ก่อตั้งบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC)) มอร์ริส จาง (นายจาง จงโหมว) (Mr. Morris Chang)
(19) ไทย นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
(20) สหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส
(21) เวียดนาม ประธานาธิบดี หวียน ซวน ฟุก (Nguyen Xuan Phuc)
***แขกพิเศษ***
(22) กัมพูชา นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน
(23) ฝรั่งเศส ประธานาธิบดี เอ็มมานุแอล มาครง
(24) ซาอุดีอาระเบีย มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรี เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud)
https://mgronline.com/around/detail/9650000108616
ไทยชักจะดังไปทั่วโลกอีกแล้วนะคะ
ญี่ปุ่น-จีน จะใช้สถานที่ประเทศไทยพูดคุยกัน
ส่วนเอเปคนั้น ดิฉันตื่นเต้นไปกับคนไทยทุกคน
มีผู้นำทั่วโลกเดินทางมาไทยมากมายในรอบหลายสิบปีที่ขาดหายไปเพราะคนไทยเอาแต่ทะเลาะกัน
ลุงตู่ท่านทำได้ ท่านมีความสุข มีความภาคภูมิใจมาก ท่านยิ้มและอารมณ์ดีเป็นพิเศษเชียวค่ะ
ช่วยกันเป็นเจ้าภาพที่ดีกันนะคะ
เอาใจช่วยลุงทำให้ไทยรุ่งโรจน์กว่ายุคใดๆ