.
.
Mokomokai ของสะสมของ
Horatio Gordon Robley
นายทหารอังกฤษ © Wikimedia
.
.
.
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
การค้าขายที่น่าอัปยศเกิดขึ้นในนิวซีแลนด์
ระหว่างชาวเมารีพื้นเมืองกับพ่อค้าชาวยุโรป
ที่จัดหาอาวุธปืนคาบศิลาให้ชาวเมารี
ในทางกลับกัน
ชาวเมารีได้มอบสินค้าให้กับพ่อค้าชาวอังกฤษ
เป็นหัวชาวเมารีที่ตายแบบหัวขาดและแห้งแล้ว
หัวที่มีลายสักลวดลายสวยงามบนใบหน้า
หัวเหล่านี้เรียกว่า Mokomokai
และเป็นข้าวของชาวเมารีที่มีค่าในอดีต
รอยสักบนใบหน้า/ที่รู้จักกันในชื่อ Moko
เคยพบเห็นได้ทั่วไปในหมู่บ้านชาวเมารี
ซึ่งแตกต่างจากรอยสักสมัยใหม่
เพราะนี่เป็นมากกว่าการตกแต่งร่างกาย
รอยสักมีความเชื่อมโยงอย่างประณีต
กับชีวิตทางสังคม การเมือง และศาสนา
บ่งบอกถึงสถานะและยศที่สูง
การออกแบบมักมีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อสาย
เผ่า อาชีพ ยศ การไต่เต้าทางชนชั้นของคนนั้น
การสัก Moko ถือเป็นก้าวสำคัญในชีวิต
มักถูกทำเครื่องหมายว่าผ่านพิธีกรรม
เช่น วัยแรกรุ่น ผ่านการรบ เด็ดหัวไปกึ่คน
เมื่อคนที่มี Moko เสียชีวิต
หัวมักจะถูกตัดออกจากร่างกาย
ในขั้นแรกจะควักสมองและตาออก
ช่องปากผนึกด้วยเส้นใยป่านและยางไม้
จากนั้นนำหัวไปต้มหรือนึ่งในหม้อ
ก่อนจะนำไปรมควันในกองไฟ
แล้วตากแดดให้แห้งเป็นเวลาหลายวัน
จากนั้นนำไปชุบ/ทาด้วยน้ำมันปลาฉลาม
หัวที่ได้รับการอนุรักษ์ Mokomokai
จะกลายเป็นสมบัติล้ำค่าของครอบครัว
และนำออกมาแสดงในโอกาสพิเศษเท่านั้น
.
.
.
หัวหน้า Tuterei Karewa
.
.
.
หัวหน้า Tāmati Wāka Nene
.
.
.
ชาวเมารียังตัดหัวหัวหน้าศัตรู/พวกศัตรู
ในการรบระหว่างชนเผ่าเป็นรางวัลสงคราม
แล้วเปลี่ยนหัวพวกนั้นให้เป็น Mokomokai
หัวเหล่านั้นมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับสงครามและสันติภาพ
เพราะมีบทบาทสำคัญในการเจรจาทางการฑูต
ระหว่างชนเผ่าที่อยู่ระหว่างรบกัน
ในการเจรจาสงบศึกหรือรบต่อ
การแลกเปลี่ยน Mokomokai ซึ่งกันและกัน
จะเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สำคัญในเรื่องสันติภาพ
(ชนเผ่าเมารียังมีการกินเนื้อศพศัตรู
นัยว่าข่มผีให้กลัว ไม่มาหลอกหลอน ทำร้าย
มีตำนานการรบครั้งหนึ่ง
ที่ศพของศัตรูเยอะมากจนกินไม่ทัน
ต้องโยนทิ้งในหุบเหว ทะเล เพราะเน่าเหม็น)
ในปี ค.ศ. 1770
เมื่อเรือ
HMB Endeavour
ซึ่งมี
James Cook เป็นกัปตันอยู่ในนิวซีแลนด์
Joseph Banks นักพฤกษศาสตร์บนเรือ
ได้พบกับชาวเมารีสูงอายุบนเรือแคนู
ที่มีหัว Mokomokai จำนวน 3 หัวอยู่ในเรือ
Joseph Banks จึงขอแลกของกับ Mokomokai
แต่ชายชราคนนั้นลังเลใจอยู่สักพัก
จน Joseph Banks ทำท่าว่าจะยกเลิก
การแลกเปลี่ยน Mokomokai กับชายชรา
ในที่สุด ชายชราชาวเมารีก็มอบ Mokomokai
ซึ่งเป็นหัวของเด็กชายวัยรุ่นอายุราว 14 ปี
เพื่อแลกเปลี่ยนกับเสื้อผ้ากางเกงชั้นใน
นี่เป็นครั้งแรกที่ Mokomokai
ตกอยู่ในการครอบครองโดยชาวยุโรป
และไม่ต้องสงสัยเลยว่าหัวขาดที่ถูกสักใบหน้า
จะได้รับความสนใจอย่างมาก
เมื่อมันถูกนำกลับไปยังประเทศอังกฤษ
.
.
.
HMB Endeavour
.
.
.
James Cook
.
.
.
Joseph Banks
.
.
.
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ชาวเมารีต่างขาย Mokomokai มากขึ้น
และหัวที่มีรอยสักเหล่านี้ถูกขายเป็นวัตถุโบราณ
งานศิลปะ และเป็นตัวอย่างพิพิธภัณฑ์
ซึ่งได้ราคาสูงมากทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
หนึ่งในสินค้าที่มีค่าที่สุดของชาวเมารี
สำหรับการแลกเปลี่ยนคือ ปืนคาบศิลา
สงครามเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเมารี
ที่รบกันเองระหว่างชนเผ่ามาโดยตลอด
แต่การนำปืนคาบศิลาเข้ามา
ได้เปลี่ยนบทบาทของสงคราม
ชนเผ่าเมารีที่มีปืนคาบศิลาได้เปรียบอย่างแรง
ในการทำสงครามกับชนเผ่าเมารีอื่น
และสิ่งนี้ทำให้ชนเผ่าอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้
ต้องจัดหาปืนคาบศิลาเพื่อสู้รบกับศัตรู
และต่างพยายามทำทุกวิถีทาง
เพื่อจัดหาปืนคาบศิลาจากพวกยุโรป
ในขั้นต้น
ชาวเมารีแลกเปลี่ยนป่าน มันฝรั่ง ทาสหญิง
และหัวขาดที่มีรอยสัก Mokomokai
เพื่อแลกกับปืนคาบศิลาและกระสุน
แต่เมื่อความต้องการ Mokomokai เพิ่มขึ้น
สินค้าประเภทอื่น ๆ ก็ถือว่ามีค่าน้อยกว่า เช่น
ป่าน 2 ตัน จะแลกปืนคาบศิลาได้ 1 กระบอก
แต่ถ้าใช้ Mokomokai 2 หัวก็แลกปืนได้แล้ว
เมื่อชาวเมารีต่างจมปลักอยู่กับ
การแข่งขันทางอาวุธและต่อสู้รบกันเอง
ในที่สุดก็เริ่มหมดหนทางจัดหาสินค้าเพิ่มเติม
จึงลักไก่ด้วยการสักหัวทาสและนักโทษ
ก่อนจะตัดหัว อบแห้ง ทำเป็น Mokomokai
บางครั้ง Mokomokai ก็ถูกสักขึ้นหลังตาย
ปืนคาบศิลาที่นำเข้านิวซีแลนด์
เพื่อแลกเปลี่ยนกับ Mokomokai
ได้สร้างผลกระทบอย่างร้ายแรง
สงครามนองเลือดระหว่างชนเผ่าเมารี
ทำให้มีคนตายราว 20,000 - 40,000 คน
และกลายเป็นทาสหลายหมื่นคน
ในปี ค.ศ. 1831
ผู้ว่าการรัฐนิวเซาธ์เวลส์ได้ออกประกาศ
ห้ามส่งออก Mokomokai
ไปยังต่างประเทศอย่างเด็ดขาด
ในช่วงทศวรรษที่ 1830
ความต้องการอาวุธปืนคาบศิลาลดลง
เพราะแต่ละเผ่าเหลือคนน้อยมาก
หลายคนหันไปนับถือศาสนาคริสต์
และคนที่รอดตายต่างมีอาวุธครบมือ
แบบพวกมึxมี พวกกูก็มี มีพอ ๆ กันพร้อมยิง
God created men equal.
Colonel Colt made them equal.
พระเจ้าสร้างคนเหมือนกัน
แต่โคลท์ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
(นัดเดียวจอด One Shot Dead)
.
.
.
ปืนลูกโม่ 6 นัด ไม่ใช่รุ่นแรกสุดของ Colt
แต่ปรับปรุงระบบให้เหนี่ยวไกได้ดีขึ้น
ผลิตในช่วงปี 1848 -1861 © NMAH
.
.
ในปี ค.ศ. 1840
มีการลงนามสนธิสัญญา Treaty of Waitangi
นิวซีแลนด์จึงกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ทำให้การส่งออก Mokomokai แทบจะยุติลง
รวมทั้งชาวเมารีเลิกนิยมการสักหัว
การเก็บรักษาหัวขาด Mokomokai
เพราะกลัวว่าจะถูกลักขโมยไป
จาก Demand หัว Mokomokai ที่ไม่จำกัด
ตามที่
Rev. G. Woods เขียนว่า :
“ ในตอนแรก
ไม่มีผู้ชายคนไหนที่มีรอยสักบนหัว
จะเดินทางลำพังได้อย่างปลอดภัยเกิน 1 ชั่วโมง
เว้นแต่จะเป็นหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่/มีพรรคพวกตาม
เพราะอาจถูกจับตามองตลอดเวลา
จนกว่าจะเผลอตัวไม่ทันตั้งหลัก
ก็จะถูกฆ่าตัดหัวเอาไปขายให้กับพ่อค้า ”
แม้จะมีคำสั่งห้ามค้าขาย Mokomokai
แต่รอยสักบนหัวขาดก็ยังคงถูกขายต่อไป
นานนับอีกหลายสิบปีหลังจากนั้น
มีการประมาณว่า Mokomokai
จำนวนหลายร้อยหัวมีการซื้อขาย
กันในประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ในช่วงปีที่มีการซื้อขายสูงสุด
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1820 - 1831
ทุกวันนี้
Mokomokai บางหัวถูกส่งกลับคืน
มายังประเทศนิวซีแลนด์
แต่ Mokomokai อีกจำนวนมาก
ยังคงอยู่ในพิพิธภัณฑ์บางประเทศ
และของสะสมส่วนตัวของเอกชน
.
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/3Et7AO8
http://bit.ly/3TxKxpy
http://bit.ly/3Uw13ba
http://bit.ly/3EpQYXs
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ในอดีตสยามไม่นิยมรอยสักเท่าใดนัก
เพราะเชื่อว่าพวกที่มีรอยสักคือ นักเลง/อันธพาล
ทั้งยังมีข้อจำกัดในการขอเข้ารับราชการ
การสมัครทำงานกับเอกชนในบางตำแหน่ง
แต่ถ้าบรรจุแล้ว มักจะไปสักได้ตามต้องการ
รอยสักของคนสยามที่นิยมมี 2 แบบ
เมตตามหานิยม กับ อยู่ยงคงกระพันชาตรี
ให้แคล้วคลาดจากของมีคม อุบัติเหตุภยันตราย
ส่วนในปัจจุบัน มักนิยมดอกไม้ ชื่อต่าง ๆ
รอยสักบนใบหน้าของคนสยามมีน้อยมาก
เพราะในอดีตจะ
สักประจานบนหน้าผาก เช่น
นักโทษ หมายเลขนักโทษ/ทาส คบชู้ ปาราชิก
คนสยามมักจะสักที่หลัง หน้าอก ท้องลงถึงตีน
ที่โด่งดังและมีบันทึกไว้ในพงศาวดาร คือ
รอยสัก
ลาวพุงขาว ลาวพุงดำ
ที่สยามกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์
ให้ไปอยู่แถวราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี
ฉะเชิงเทรา บางกอก บางกลุ่มยังตกค้างในพม่า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณสังวร
มาจากชุมชนลาวในกาญจนบุรี
พระองค์ก็เว่าอีสาน/ลาวได้
แต่เว่ากับเพื่อนพ้องน้องพี่คนสนิทเท่านั้น
การสักของสยามมี 2 แบบ
คือ การสักด้วยหมึกสีดำ ติดทน ติดนาน
จนกว่าจะขูดลอกออกด้วยเลเซอร์ หรือสักทับ
แต่มักจะมีร่องรอย/แผลเป็นตกค้างอยู่
เพราะตอนสักมักจะใช้เข็มทิ่ม
จนทะลุลงผ่านผิวหนังชั้นนอก
ทำให้หมึกลงล่าง/ลึกถึงผิวหนังชั้นใน
ถ้าเข็มสักไม่สะอาดอาจติดเชื้อ/ตายได้
อีกแบบคือ การสักน้ำมัน
ซึ่งมักจะไม่มีร่องรอย หรือมีรอยสักจาง ๆ
รอยสักมองไม่เห็นชัดเหมือนการสักน้ำหมึก
โดยทั่วไปมักจะสักบนหัว ที่มีผมดกปกคลุม
ทำให้ปกปิดมองไม่เห็นรอยสักชัดเจนมากนัก
ลายสักที่วิจิตรศิลป์สวยงามของญี่ปุ่น
มักจะเป็นของพวกหญิงเกอิชา นักเลงยากูซ่า
ที่สลักเต็มแผ่นหลัง บริเวณอื่น ๆ จนเต็มร่าง
แผ่นหนังรอยสักไม่ค่อยมีขายในตลาดมืด
เพราะส่วนมากญี่ปุ่นนิยมเผามากกว่าฝัง
ลายสักสุดโหดต้อง
ถังข่าหนังคน
ด้วยการจับทาสมาสักรูปต่าง ๆ
พอแผลสักหายดีและแต่งตึงแล้ว
จากนั้นจะเจาะรูที่ผิวหนังลึกราว 2 ซม.
หยอดปรอทลงไปฆ่าให้ตาย
แล้วค่อยถลกผิวหนังแยกออกมา
นักโทษรัสเซียชอบสักรูปเลนินที่หน้าอก
เพราะมีคำสั่งห้ามยิงวัตถุที่มีรูปผู้นำ
นาซีเยอรมันก็นิยมรอยสัก
ที่มาจากการคัดเลือก/ฆ่านักโทษในคุกกักกัน
แล้วถลกหนังมาทำโคมตะเกียง ปกหนังสือ
มีการซื้อขายกันในตลาดมืดได้ราคาดีมาก
ปกของอัลบั้มรูปถ่ายช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำจากผิวหนังมนุษย์
.
.
ลายเส้นการสักของคนลาวพุงดำ
เขียนโดยฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 5
'
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
©
ตำนานความเชื่อเรื่อง รอยสัก มาจากอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า
©
การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ
©
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ลาว สมัย ร.3 ร.4 จากบันทีกของสังฆราชปาเลกัวซ์
Mokomokai รอยสักหัวชนเผ่าเมารีกับสงครามปืนคาบศิลา
.
Mokomokai ของสะสมของ
Horatio Gordon Robley
นายทหารอังกฤษ © Wikimedia
.
.
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
การค้าขายที่น่าอัปยศเกิดขึ้นในนิวซีแลนด์
ระหว่างชาวเมารีพื้นเมืองกับพ่อค้าชาวยุโรป
ที่จัดหาอาวุธปืนคาบศิลาให้ชาวเมารี
ในทางกลับกัน
ชาวเมารีได้มอบสินค้าให้กับพ่อค้าชาวอังกฤษ
เป็นหัวชาวเมารีที่ตายแบบหัวขาดและแห้งแล้ว
หัวที่มีลายสักลวดลายสวยงามบนใบหน้า
หัวเหล่านี้เรียกว่า Mokomokai
และเป็นข้าวของชาวเมารีที่มีค่าในอดีต
รอยสักบนใบหน้า/ที่รู้จักกันในชื่อ Moko
เคยพบเห็นได้ทั่วไปในหมู่บ้านชาวเมารี
ซึ่งแตกต่างจากรอยสักสมัยใหม่
เพราะนี่เป็นมากกว่าการตกแต่งร่างกาย
รอยสักมีความเชื่อมโยงอย่างประณีต
กับชีวิตทางสังคม การเมือง และศาสนา
บ่งบอกถึงสถานะและยศที่สูง
การออกแบบมักมีข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อสาย
เผ่า อาชีพ ยศ การไต่เต้าทางชนชั้นของคนนั้น
การสัก Moko ถือเป็นก้าวสำคัญในชีวิต
มักถูกทำเครื่องหมายว่าผ่านพิธีกรรม
เช่น วัยแรกรุ่น ผ่านการรบ เด็ดหัวไปกึ่คน
เมื่อคนที่มี Moko เสียชีวิต
หัวมักจะถูกตัดออกจากร่างกาย
ในขั้นแรกจะควักสมองและตาออก
ช่องปากผนึกด้วยเส้นใยป่านและยางไม้
จากนั้นนำหัวไปต้มหรือนึ่งในหม้อ
ก่อนจะนำไปรมควันในกองไฟ
แล้วตากแดดให้แห้งเป็นเวลาหลายวัน
จากนั้นนำไปชุบ/ทาด้วยน้ำมันปลาฉลาม
หัวที่ได้รับการอนุรักษ์ Mokomokai
จะกลายเป็นสมบัติล้ำค่าของครอบครัว
และนำออกมาแสดงในโอกาสพิเศษเท่านั้น
.
.
หัวหน้า Tuterei Karewa
.
.
.
หัวหน้า Tāmati Wāka Nene
.
.
ชาวเมารียังตัดหัวหัวหน้าศัตรู/พวกศัตรู
ในการรบระหว่างชนเผ่าเป็นรางวัลสงคราม
แล้วเปลี่ยนหัวพวกนั้นให้เป็น Mokomokai
หัวเหล่านั้นมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับสงครามและสันติภาพ
เพราะมีบทบาทสำคัญในการเจรจาทางการฑูต
ระหว่างชนเผ่าที่อยู่ระหว่างรบกัน
ในการเจรจาสงบศึกหรือรบต่อ
การแลกเปลี่ยน Mokomokai ซึ่งกันและกัน
จะเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สำคัญในเรื่องสันติภาพ
(ชนเผ่าเมารียังมีการกินเนื้อศพศัตรู
นัยว่าข่มผีให้กลัว ไม่มาหลอกหลอน ทำร้าย
มีตำนานการรบครั้งหนึ่ง
ที่ศพของศัตรูเยอะมากจนกินไม่ทัน
ต้องโยนทิ้งในหุบเหว ทะเล เพราะเน่าเหม็น)
ในปี ค.ศ. 1770
เมื่อเรือ HMB Endeavour
ซึ่งมี James Cook เป็นกัปตันอยู่ในนิวซีแลนด์
Joseph Banks นักพฤกษศาสตร์บนเรือ
ได้พบกับชาวเมารีสูงอายุบนเรือแคนู
ที่มีหัว Mokomokai จำนวน 3 หัวอยู่ในเรือ
Joseph Banks จึงขอแลกของกับ Mokomokai
แต่ชายชราคนนั้นลังเลใจอยู่สักพัก
จน Joseph Banks ทำท่าว่าจะยกเลิก
การแลกเปลี่ยน Mokomokai กับชายชรา
ในที่สุด ชายชราชาวเมารีก็มอบ Mokomokai
ซึ่งเป็นหัวของเด็กชายวัยรุ่นอายุราว 14 ปี
เพื่อแลกเปลี่ยนกับเสื้อผ้ากางเกงชั้นใน
นี่เป็นครั้งแรกที่ Mokomokai
ตกอยู่ในการครอบครองโดยชาวยุโรป
และไม่ต้องสงสัยเลยว่าหัวขาดที่ถูกสักใบหน้า
จะได้รับความสนใจอย่างมาก
เมื่อมันถูกนำกลับไปยังประเทศอังกฤษ
.
.
HMB Endeavour
.
.
.
James Cook
.
.
.
Joseph Banks
.
.
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ชาวเมารีต่างขาย Mokomokai มากขึ้น
และหัวที่มีรอยสักเหล่านี้ถูกขายเป็นวัตถุโบราณ
งานศิลปะ และเป็นตัวอย่างพิพิธภัณฑ์
ซึ่งได้ราคาสูงมากทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
หนึ่งในสินค้าที่มีค่าที่สุดของชาวเมารี
สำหรับการแลกเปลี่ยนคือ ปืนคาบศิลา
สงครามเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวเมารี
ที่รบกันเองระหว่างชนเผ่ามาโดยตลอด
แต่การนำปืนคาบศิลาเข้ามา
ได้เปลี่ยนบทบาทของสงคราม
ชนเผ่าเมารีที่มีปืนคาบศิลาได้เปรียบอย่างแรง
ในการทำสงครามกับชนเผ่าเมารีอื่น
และสิ่งนี้ทำให้ชนเผ่าอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้
ต้องจัดหาปืนคาบศิลาเพื่อสู้รบกับศัตรู
และต่างพยายามทำทุกวิถีทาง
เพื่อจัดหาปืนคาบศิลาจากพวกยุโรป
ในขั้นต้น
ชาวเมารีแลกเปลี่ยนป่าน มันฝรั่ง ทาสหญิง
และหัวขาดที่มีรอยสัก Mokomokai
เพื่อแลกกับปืนคาบศิลาและกระสุน
แต่เมื่อความต้องการ Mokomokai เพิ่มขึ้น
สินค้าประเภทอื่น ๆ ก็ถือว่ามีค่าน้อยกว่า เช่น
ป่าน 2 ตัน จะแลกปืนคาบศิลาได้ 1 กระบอก
แต่ถ้าใช้ Mokomokai 2 หัวก็แลกปืนได้แล้ว
เมื่อชาวเมารีต่างจมปลักอยู่กับ
การแข่งขันทางอาวุธและต่อสู้รบกันเอง
ในที่สุดก็เริ่มหมดหนทางจัดหาสินค้าเพิ่มเติม
จึงลักไก่ด้วยการสักหัวทาสและนักโทษ
ก่อนจะตัดหัว อบแห้ง ทำเป็น Mokomokai
บางครั้ง Mokomokai ก็ถูกสักขึ้นหลังตาย
ปืนคาบศิลาที่นำเข้านิวซีแลนด์
เพื่อแลกเปลี่ยนกับ Mokomokai
ได้สร้างผลกระทบอย่างร้ายแรง
สงครามนองเลือดระหว่างชนเผ่าเมารี
ทำให้มีคนตายราว 20,000 - 40,000 คน
และกลายเป็นทาสหลายหมื่นคน
ในปี ค.ศ. 1831
ผู้ว่าการรัฐนิวเซาธ์เวลส์ได้ออกประกาศ
ห้ามส่งออก Mokomokai
ไปยังต่างประเทศอย่างเด็ดขาด
ในช่วงทศวรรษที่ 1830
ความต้องการอาวุธปืนคาบศิลาลดลง
เพราะแต่ละเผ่าเหลือคนน้อยมาก
หลายคนหันไปนับถือศาสนาคริสต์
และคนที่รอดตายต่างมีอาวุธครบมือ
แบบพวกมึxมี พวกกูก็มี มีพอ ๆ กันพร้อมยิง
God created men equal.
Colonel Colt made them equal.
พระเจ้าสร้างคนเหมือนกัน
แต่โคลท์ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
(นัดเดียวจอด One Shot Dead)
.
.
ปืนลูกโม่ 6 นัด ไม่ใช่รุ่นแรกสุดของ Colt
แต่ปรับปรุงระบบให้เหนี่ยวไกได้ดีขึ้น
ผลิตในช่วงปี 1848 -1861 © NMAH
.
.
ในปี ค.ศ. 1840
มีการลงนามสนธิสัญญา Treaty of Waitangi
นิวซีแลนด์จึงกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ทำให้การส่งออก Mokomokai แทบจะยุติลง
รวมทั้งชาวเมารีเลิกนิยมการสักหัว
การเก็บรักษาหัวขาด Mokomokai
เพราะกลัวว่าจะถูกลักขโมยไป
จาก Demand หัว Mokomokai ที่ไม่จำกัด
ตามที่ Rev. G. Woods เขียนว่า :
“ ในตอนแรก
ไม่มีผู้ชายคนไหนที่มีรอยสักบนหัว
จะเดินทางลำพังได้อย่างปลอดภัยเกิน 1 ชั่วโมง
เว้นแต่จะเป็นหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่/มีพรรคพวกตาม
เพราะอาจถูกจับตามองตลอดเวลา
จนกว่าจะเผลอตัวไม่ทันตั้งหลัก
ก็จะถูกฆ่าตัดหัวเอาไปขายให้กับพ่อค้า ”
แม้จะมีคำสั่งห้ามค้าขาย Mokomokai
แต่รอยสักบนหัวขาดก็ยังคงถูกขายต่อไป
นานนับอีกหลายสิบปีหลังจากนั้น
มีการประมาณว่า Mokomokai
จำนวนหลายร้อยหัวมีการซื้อขาย
กันในประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ในช่วงปีที่มีการซื้อขายสูงสุด
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1820 - 1831
ทุกวันนี้
Mokomokai บางหัวถูกส่งกลับคืน
มายังประเทศนิวซีแลนด์
แต่ Mokomokai อีกจำนวนมาก
ยังคงอยู่ในพิพิธภัณฑ์บางประเทศ
และของสะสมส่วนตัวของเอกชน
.
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/3Et7AO8
http://bit.ly/3TxKxpy
http://bit.ly/3Uw13ba
http://bit.ly/3EpQYXs
.
.
.
หัวหน้า Tomika Te Mutu
.
.
.
Mokomokai ที่ส่งคืน New Zealand
.
.
.
.
.
© http://bit.ly/3X0S2bu
.
.
© https://bit.ly/3EpQYXs
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ในอดีตสยามไม่นิยมรอยสักเท่าใดนัก
เพราะเชื่อว่าพวกที่มีรอยสักคือ นักเลง/อันธพาล
ทั้งยังมีข้อจำกัดในการขอเข้ารับราชการ
การสมัครทำงานกับเอกชนในบางตำแหน่ง
แต่ถ้าบรรจุแล้ว มักจะไปสักได้ตามต้องการ
รอยสักของคนสยามที่นิยมมี 2 แบบ
เมตตามหานิยม กับ อยู่ยงคงกระพันชาตรี
ให้แคล้วคลาดจากของมีคม อุบัติเหตุภยันตราย
ส่วนในปัจจุบัน มักนิยมดอกไม้ ชื่อต่าง ๆ
รอยสักบนใบหน้าของคนสยามมีน้อยมาก
เพราะในอดีตจะ สักประจานบนหน้าผาก เช่น
นักโทษ หมายเลขนักโทษ/ทาส คบชู้ ปาราชิก
คนสยามมักจะสักที่หลัง หน้าอก ท้องลงถึงตีน
ที่โด่งดังและมีบันทึกไว้ในพงศาวดาร คือ
รอยสัก ลาวพุงขาว ลาวพุงดำ
ที่สยามกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์
ให้ไปอยู่แถวราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี
ฉะเชิงเทรา บางกอก บางกลุ่มยังตกค้างในพม่า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณสังวร
มาจากชุมชนลาวในกาญจนบุรี
พระองค์ก็เว่าอีสาน/ลาวได้
แต่เว่ากับเพื่อนพ้องน้องพี่คนสนิทเท่านั้น
การสักของสยามมี 2 แบบ
คือ การสักด้วยหมึกสีดำ ติดทน ติดนาน
จนกว่าจะขูดลอกออกด้วยเลเซอร์ หรือสักทับ
แต่มักจะมีร่องรอย/แผลเป็นตกค้างอยู่
เพราะตอนสักมักจะใช้เข็มทิ่ม
จนทะลุลงผ่านผิวหนังชั้นนอก
ทำให้หมึกลงล่าง/ลึกถึงผิวหนังชั้นใน
ถ้าเข็มสักไม่สะอาดอาจติดเชื้อ/ตายได้
อีกแบบคือ การสักน้ำมัน
ซึ่งมักจะไม่มีร่องรอย หรือมีรอยสักจาง ๆ
รอยสักมองไม่เห็นชัดเหมือนการสักน้ำหมึก
โดยทั่วไปมักจะสักบนหัว ที่มีผมดกปกคลุม
ทำให้ปกปิดมองไม่เห็นรอยสักชัดเจนมากนัก
ลายสักที่วิจิตรศิลป์สวยงามของญี่ปุ่น
มักจะเป็นของพวกหญิงเกอิชา นักเลงยากูซ่า
ที่สลักเต็มแผ่นหลัง บริเวณอื่น ๆ จนเต็มร่าง
แผ่นหนังรอยสักไม่ค่อยมีขายในตลาดมืด
เพราะส่วนมากญี่ปุ่นนิยมเผามากกว่าฝัง
ลายสักสุดโหดต้อง ถังข่าหนังคน
ด้วยการจับทาสมาสักรูปต่าง ๆ
พอแผลสักหายดีและแต่งตึงแล้ว
จากนั้นจะเจาะรูที่ผิวหนังลึกราว 2 ซม.
หยอดปรอทลงไปฆ่าให้ตาย
แล้วค่อยถลกผิวหนังแยกออกมา
นักโทษรัสเซียชอบสักรูปเลนินที่หน้าอก
เพราะมีคำสั่งห้ามยิงวัตถุที่มีรูปผู้นำ
นาซีเยอรมันก็นิยมรอยสัก
ที่มาจากการคัดเลือก/ฆ่านักโทษในคุกกักกัน
แล้วถลกหนังมาทำโคมตะเกียง ปกหนังสือ
มีการซื้อขายกันในตลาดมืดได้ราคาดีมาก
ปกของอัลบั้มรูปถ่ายช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำจากผิวหนังมนุษย์
.
ลายเส้นการสักของคนลาวพุงดำ
เขียนโดยฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 5
'
ข้อมูลเพิ่มเติม
© ตำนานความเชื่อเรื่อง รอยสัก มาจากอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า
© การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ
© วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ลาว สมัย ร.3 ร.4 จากบันทีกของสังฆราชปาเลกัวซ์