ถ้าบ้านในเมืองไทยทำแบบที่ผมคิด #ปัญหาน้ำรั่วซึมรอบกรอบขอบหน้าต่าง คงจะไม่เกิดขึ้นนะครับ

อยากจะขอพื้นที่แนะนำไอเดียแบบใหม่ของผม ในการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณรอบกรอบขอบหน้าต่างครับ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีแบบใหม่ของการสร้างบ้านในบ้านเราด้วยครับ ในอดีตนั้นกรอบหน้าต่างส่วนใหญ่จะทำจากไม้ และจะยึดติดกับผนังบ้านตอนก่ออิฐฉาบปูนเททับหลังและเสาเอ็นไปพร้อมกัน ทำให้กรอบหน้าตายืดติดกับผนังตัวบ้านทำได้ดีกว่าแบบในปัจจุบัน ประกอบกับกรอบไม้ที่เรานำมาใช้วางหน้าต่างหรือจะเรียกว่าวงกบหน้าต่างนั้น จะมีลักษณะคือขอบด้านในวงกบจะสูงกว่าขอบด้านนอก ทำให้โอกาสที่น้ำฝนจะรั่วซึมเข้ามาในตัวบ้าน ไม่ค่อยจะพบเจอ แต่ปัจจุบัน กรอบหน้าต่างมักจะทำจากอลูมิเนียม โดยตัวผนังบ้านที่จะใช้วางกรอบหน้าต่างอลูมิเนียมนั้น จะต้องเว้นระยะห่างให้มีช่องว่างที่จะไว้ใช้วางกรอบหน้าต่างในทุกๆด้าน เว้นไว้ซัก 1 ซม.ได้มั้ง เพื่อจะให้มีช่องว่างเพื่อที่จะใช้ตัวอุดร่องจำพวกโฟม,พียู,หรือซิลิโคน บีบอัดเข้าไปหลังติดตั้งกรอบหน้าต่างไปเรียบร้อยแล้ว ปัญหาที่จะตามมาก็คือ วัสดุอุดร่องพวกนี้ พอใช้นานไป มันเกิดการหด ยุบตัว หรือฉีกขาดจากพื้นผิวที่มันยึดเกาะ ผลก็คือโอกาสที่น้ำฝนจะรั่วซึมเข้ามาตัวบ้านก็เกิดขึ้นได้เรื่อยๆ หรือแม้แต่การเว้นช่องว่างที่น้อยเกินไป ทำให้วัสดุที่จะนำมาอุดช่องว่างระหว่างตัวกรอบหน้าต่าง กับผนังบ้าน ไม่สามารถแทรกเข้าไปแทนพื้นที่ว่างที่ต้องการได้ ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมเข้ามาในตัวบ้าน แบบที่เจอๆกันอยู่ ทางแก้ไขที่นิยมทำๆกันก็คือ ติดบัวรอบกรอบหน้าต่างเพิ่ม ติดหลังคาหรือกันสาดด้านบนหน้าต่าง,กรีดร่องยาแนวรอบกรอบหน้าต่างแล้วอุดด้วยวัสดุอุดร่องใหม่,กรีดหรือเจาะร่างเลื่อนหน้าต่างให้ใหญ่ขึ้น เพื่อระบายน้ำได้ดีขึ้น หรือ ติดตั้งกระจกหน้าต่างยี่ห้อที่แพงๆหน่อย โดยคิดกันว่ามันดี ไม่รั่วแลัว ซึ่งทางแก้ที่กล่าวมานี้ อาจจะแก้ไขได้ผลบ้าง หรืออาจแก้ไขได้ชั่วคราวเท่านั้น ทางแก้ที่ผมจะนำเสนอคือ ให้ทำฐานที่จะใช้วางกรอบหน้าต่างซึ่งส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนียมหรือพีวีซีก็ตาม ทำให้ขอบด้านในบ้านสูงกว่าขอบด้านนอก ลักษณะเป็นลิ้นกันน้ำหรือเป็นเหมือนวงกบ แต่จะมีข้อจำกัดก็คือ ความหนาของผนังบ้านเมื่อฉาบปูนแล้วจะมีความหนาประมาณ 10 ซม. ส่วนความหนาของกรอบหน้าต่างก็จะหนาประมาณ 9-10ซม ทำให้ไม่สามารถทำฐานที่จะใช้วางกรอบหน้าต่างด้านในตัวบ้านให้สูงกว่าฐานที่อยู่ด้านนอกได้ นอกจากเราจะเพิ่มส่วนความหนาของกรอบที่จะใช้วางกรอบหน้าต่างนั้นเอง โดยการจะเพิ่มความหนาที่ทำได้ก็คือก่อเรียงอิฐมอญให้มีความหนาแบบที่เราต้องการ,เข้าแบบไม้ผูกเหล็กหล่อในที่ ให้ได้ตามที่เราต้องการ หรือมีกรอบวงกบปูนแบบสำเร็จรูปแล้ว ยกมาวางครอบทับหลังและเสาเอ็น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ผมอยากจะนำเสนอครับ โดยรูปแบบของวงกบปูนสำเร็จรูปนั้น เราสามารถออกแบบได้หลากหลายแบบ เพียงเน้นให้มีหลักการแค่ให้ขอบที่อยู่ด้านในบ้านสูงกว่าขอบที่อยู่ด้านนอกเท่านั้น ตัวอย่างรูปแบบของกรอบวงกบปูนแบบคราวๆ มีประมาณดังรูปข้างล่างนี้ครับ ประโยชน์ของหลักการแบบนี้คือ ป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าในตัวบ้าน,เพิ่มความโดดเด่นให้กับกรอบรอบหน้าต่าง เสมือนมีบัวล้อมกรอบหน้าต่างอยู่โดยรอบ โดยสามารถเลือกแบบของกรอบวงกบปูนได้ ว่าจะต้องการมีบัวล้อมรอบกรอบหน้าต่างด้านในบ้านด้วยไหม ซึ่งสามารถติดตั้งในคราวเดียวกันที่ทำการติดตั้ง โดยส่วนของพื้นที่ในกรอบวงกบปูนที่เหลืออยู่เราสามารถนำผ้าม่าน,มูลี่หรือลูกกรงเหล็ก มาติดไว้ในกรอบวงกบปูนนี้ได้ด้วย ทั้งหมดนี้อาจจะยาวหน่อย แต่เป็นเพียงบางส่วนหลักๆของประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีวงกบปูนติดล้อมรอบกรอบหน้าต่างบ้านท่านครับ  รูปแสดงหลักการออกแบบ แบบที่ผมคิดไว้



น้ำฝนสามารถรั่วเข้ามาในตัวบ้านได้หลายจุด


ช่วงรอยต่อฉาก ของกรอบหน้าต่าง อย่างไรจุดนี้ก็แก้ยากนะ


การเจาะรูระบายน้ำให้ใหญ่ขึ้นเพิ่อระบายน้ำนั้น ถ้าน้ำฝนสาดมาโดนตัวแผ่นกระจกหน้าต่าง การเจาะรูระบายน้ำก็ช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่ก็จะมีน้ำฝนจำนวนหนึ่งไหลลงมาที่รางกระจกด้านล่างและล้นข้ามรางกระจกมาด้านในจากแรงดันน้ำฝนที่สาดโดนตัวกระจกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำฝนจำนวนหนึ่งค้างอยู่ในรางกระจก ซึ่งถ้ารอยต่อฉากของกรอบกระจกซีลไม่ดี น้ำฝนก็จะไหลซึมเข้ามาในตัวบ้านได้ และถ้าในบ้านปูพื้นไม้ที่บวมน้ำได้ ก็จะเป็นปัญหาให้ต้องแก้ไขเพิ่มอีกหนึ่งเรื่อง ซึ่งปัญหาไม้เทียมบวมน้ำนั้น เกิดขึ้นกันเยอะนะครับ


การแก้ไข ถ้าบ้านท่านทำกันสาดหรือหลังคาครอบหน้าต่างได้ เมื่อน้ำฝนไม่ได้โดนกระจกหน้าต่างบ้านท่าน ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้น  ส่วนการทำบัวมาติดด้านบนหรือรอบกรอบหน้าต่างนั้น จะแก้ปัญหาน้ำฝนไหลซึมผ่านตามขอบกรอบหน้าตาเข้ามาในตัวบ้านได้ แต่ส่วนที่น้ำฝนสาดโดนตัวกระจกหน้าต่างแล้วทำให้มีปริมาณน้ำฝนมุดใต้รางเลื่อนกระจกเข้ามายังรางกระจกด้านในตัวบ้าน แล้วประกอบกับจุดต่อฉากของกรอบกระจกซีลกันน้ำไม่ดี น้ำฝนก็จะซึมไหลเข้ามาในตัวบ้านด้านในตรงมุมฉากของกรอบหน้าต่างอยู่ดี  และเมื่อเปรียบเทียบการติดบัวล้อมรอบกรอบหน้าต่างด้านนอกโดยการใช้สกรูและปูนยึดนั้น โอกาสที่บัวปูนจะหลุด หรือแตกหักจากการใช้สกรูยึด ก็มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งการติดบัวแบบใช้บัวมาครอบทับหลังและเสาเอ็นแบบที่ผมออกแบบไว้ จะแข็งแรงและปลอดภัยกว่าการยึดบัวด้านนอกโดยใช้สกรูและปูนเหมือนในแบบที่ทำๆกัน  โดยเราสามารถออกแบบบัวที่จะนำมาใช้ครอบได้หลากหลายรูปแบบ ติดตั้งครั้งเดียว จะให้มีบัวล้อมรอบกรอบหน้าต่างด้านนอกเพียงด้านเดียว หรือจะให้มีบัวล้อมรอบกรอบหน้าต่างด้านในด้วย ก็สามารถทำได้ในคราวเดียวกัน (บ้านเมืองไทยยังไม่ค่อยนิยมที่จะมีบัวล้อมรอบกรอบหน้าต่างด้านในบ้านเหมือนบ้านที่อเมริกา เว้นแต่จะเป็นบ้านหลังใหญ่ๆถึงจะเจอการตกแต่งบริเวณรอบกรอบหน้าต่าง)  รูปตัวอย่างการออกแบบกรอบวงกบปูนที่สามารถใช้เป็นบัวรอบหน้าต่างไปในตัวครับ  เป็นแค่แบบจำลอง ซึ่งตัวจริงจะเป็นปูนครับ
                     

โดยเมื่อเราใช้กรอบวงกบปูนติดตั้งรอบกรอบหน้าต่างบ้านแล้ว ข้อดีอีกอย่างก็คือ เราจะมีพื้นที่ในกรอบหน้าต่างเหลือ เพื่อให้เราสามารถติดตั้ง ลูกกรงเหล็ก หรือมุ่ลี่ หรือม่าน ภายในกรอบหน้าต่างที่มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ได้ ส่วนจะติดตั้งไว้ด้านในหรือต้านนอก ก็แล้วแต่การออกแบบของตัววงกบปูนที่เราได้ออกแบบไว้ก่อนที่จะหล่อเพื่อนำมาติดตั้งครับ  รูปด้านล่างเป็นรูปตัวอบ่างการติดตั้งลูกกรงเหล็กไว้ในส่วนด้านนอกของกรอบหน้าต่าง ซึ่งก็ยังเป็นส่วนเดียวกันกับกรอบหน้าต่าง ภาพยืมมาจากในเน็ต ซึ่งต่างประเทศเขาทำกันได้ เนื่องจากหลักการของการทำผนังบ้านเขามันมีหลายชั้น มันจึงมีความหนาของกรอบหน้าต่างที่จะนำมาติดตั้งกระจกหน้าต่างเหลืออยู่พอที่จะทำอะไรอื่นๆเข้ามาติดตั้งในกรอบหน้าต่างที่มีพื้นที่เหลือได้

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่