นับตั้งแต่ปรากฏการณ์ซื้อคอนโดที่มีการกราบในกระทู้
https://ppantip.com/topic/40745358 ก็มีลูกค้าส่วนนึงยอมแพ้ศุภาลัยโดยการคืนห้องไป บางส่วนก็ยอมโอนแบบไม่ค่อยพอใจนัก แต่ก็มีส่วนนึงที่ไปเรียกร้องความเป็นธรรมโดยการฟ้องศาลคดีผู้บริโภคเพื่อขอเงินดาวน์คืน
เรื่องที่เราจะเล่าต่อไปนี้ไม่ใช่ภาคต่อของการกราบแต่เป็นเรื่องของลูกค้าท่านหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างโครงการศุภาลัยลอฟท์เช่นเดียวกัน แต่เขาเลือกที่จะรับโอนห้อง แต่สุดท้ายก็ต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีในศาลอยู่ดีจากการกระทำของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) คิดว่าหลายๆคนที่ซื้อโครงการนี้ก็คงมีประสบการณ์เหมือนลูกค้าท่านนี้แต่บางคนก็อาจจะทนเก็บไว้ในใจเพราะรู้ว่าสู้กับองค์กรใหญ่มันมีอุปสรรคมากมาย เราเลยอาสามาเล่าให้ฟังเพื่อเป็นความรู้และเป็นแนวทางสำหรับผู้บริโภคที่ซื้อคอนโดแต่ต้องพบเจอปัญหากับทาง Developer จนหาทางออกไม่ได้ต้องเรียกร้องความยุติธรรมอ่านแล้วลองพิจารณากันดูว่า พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค สามารถคุ้มครองพวกเราได้จริงหรือไม่
ขอออกตัวว่าถึงเราจะไม่ได้จบด้านกฎหมายแต่ในฐานะที่เราเคยคลุกคลีอยู่กับคนในวงการกฎหมายก็พอเข้าใจหลักกฎหมายอยู่บ้าง เราจะเขียนโดยขอแทรก Tricks & Tips เป็นช่วงๆเพื่อว่าผู้อ่านอาจจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
และเพื่อความสะดวกให้ภาษาเขียนเข้าใจง่าย เราขออนุญาตเขียนเล่าเรื่องในมุมมองของบุคคลที่ 1 ให้ดูเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับเราเองโดยใช้ข้อมูลที่ลูกค้าคอนโดท่านนี้เล่าให้เราฟัง เราคิดว่าเรื่องนี้มีประโยชน์และน่าจะนำไปปรับใช้ได้กับทุก Developer ถ้าเขาปฏิบัติกับเราแบบเดียวกันกับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เรื่องมีอยู่ว่า
เราได้จองคอนโดของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2560 ราคาห้องสมมุติตัวเลขกลมๆ 2 ล้านบาท ตอนซื้อเซลล์ของบริษัทบอกเราว่าถ้าไม่รับเฟอร์นิเจอร์จะมีส่วนลดพิเศษอีก 200,000 บาท จึงทำให้เราตัดสินใจซื้อห้องเปล่า โดยทำสัญญาจอง ณ วันนั้นเลยแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
จากนั้นเวลาผ่านไปประมาณ 2 ปีเราก็ผ่อนดาวน์ไปเรื่อยๆจนกระทั่งมีเซลล์โทรมาแจ้งให้เราไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย โดยปกติวันที่จองห้อง เราจะต้องวางเงินจองและทำสัญญาจำนวนหนึ่ง และหลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือนทาง Developer ก็จะเรียกเรามาทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดถือว่าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
ธุรกิจที่ควบคุมสัญญาคืออะไร? สามารถหาอ่านได้ตาม link นี้
https://www.home.co.th/hometips/topic-22519
ส่วนใครขี้เกียจอ่านเราขออธิบายสั้นๆว่าธุรกิจที่ควบคุมสัญญาคือสัญญาจะต้องอยู่ในรูปแบบ ตามราชกิจจานุเบกษา ธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ห้องชุด ผู้ขายจะเขียนอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองโดยเอาเปรียบหรือสร้างข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคไม่ได้ ตามข้อความส่วนหนึ่งที่เราได้คัดลอกมาดังนี้
ราชกิจจานุเบกษา

มาเล่าต่อ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) แทนที่จะเรียกเรามาเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายภายใน 30 วันแต่ทางบริษัทกลับใช้วิธี ก่อสร้างไปก่อนจนบริษัทมั่นใจแล้วว่าจะสร้างคอนโดเสร็จเมื่อไหร่แน่ๆ ก็จะเรียกลูกค้าไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งในมุมมองของบริษัทเราก็พอเข้าใจได้ว่าเมื่อโครงการเปิดจองนั้นบริษัทเพิ่งจะผ่าน EIA และก็ไม่รู้ว่าจะมีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรที่จะทำให้การก่อสร้างล่าช้ารึเปล่า ทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) จึงยังไม่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกค้า แต่ปรากฏว่าผ่านมา 2 ปีบริษัทเพิ่งจะเรียกลูกค้าให้เข้าไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) โดยในสัญญาระบุว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2564
Tricks ที่ 1
นี่คือทริคที่ 1 ลูกค้าจองคอนโดปี 2560 ตอนนั้นเซลล์แจ้งว่าคอนโดจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากนี้ในสื่อโฆษณาของบริษัทก็ได้เขียนไว้ตัวเล็กเสียจนเหมือนที่โบราญเค้ามักจะเปรียบเปรยว่าเท่าอวัยวะหนึ่งของมดตัวเมีย เค้าเขียนว่าโครงการจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 และเสร็จในปี 2563 ตามรูป

จะเห็นว่าสายตาคนปกติแทบจะอ่านไม่ออกต้องใช้วิธีการถ่ายรูปและซูมประมาณ 400% เราก็จะเห็นข้อความซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะถ้าหากภายในปี 2563 โครงการยังก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาแล้ว ลูกค้าก็มีสิทธิ์ขอเงินที่ผ่อนชำระทั้งหมดคืนพร้อมกับดอกเบี้ยได้ หรือหากเลือกที่จะยังไปต่อกับโครงการจนสร้างเสร็จก็ควรจะได้รับค่าปรับล่าช้าจากทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) แต่เหตุการณ์จริงกลับกลายเป็นว่าในปี 2562 บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้เรียกลูกค้าไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายโดยระบุในสัญญาว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2564 ดังรูป
ซึ่งขัดแย้งกันเองกับสื่อโฆษณาของบริษัทที่ว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากนี้วันที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกลับเป็นวันเดียวกันกับวันที่ทำสัญญาจองซื้อห้องชุดซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ ดังรูป
จบ Tricks ที่ 1 เรื่องการใช้เงื่อนเวลาให้เป็นประโยชน์
Tricks ที่ 2
ต่อเนื่องจาก Tricks ที่ 1 เป็นเรื่องการเพิ่มบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจะซื้อจะขาย ทำไมถึงต่อท้ายสัญญา? ดังที่ได้เขียนไปแล้วข้างต้นว่าสัญญาขายห้องชุดเป็นสัญญาควบคุม ดังนั้นจะเขียนข้อความอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคลงในสัญญาโดยตรงไม่ได้ จึงมีการใช้เทคนิคเพิ่มอีก 1 หรือ 2 หน้าโดยใช้หัวข้อว่าบันทึกข้อตกลงเพื่อ xxx สักอย่างและ ระบุว่าข้อตกลงฉบับนี้ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย ดังรูป

และข้อความในวรรคสุดท้าย ที่บอกว่า “ข้อความถูกต้องตรงกันตามเจตนารมณ์ทั้งสองฝ่ายทุกประการ” เราคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์กับทางบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ที่จะเอามาใช้อ้างอิงทางกฎหมาย เราจะเห็นว่าส่วนลดจำนวน 200,000 บาทที่เซลล์ได้บอกเราไว้ตอนเราตัดสินใจจองโครงการนี้กลับถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ที่จะต้องรับโอนห้องให้ตรงเวลาคือ กรกฎาคม 2564 ถึงจะได้ส่วนลด 2 แสน
ในฐานะผู้บริโภค การที่ให้ลูกค้าเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย โดยทิ้งช่วงจากสัญญาจองมาแล้วถึง 2 ปี ลูกค้าได้ผ่อนดาวน์ไปแล้วจำนวนหลายงวด เงินจมอยู่กับบริษัทจำนวนหลายแสนบาท เหมือนตกกระไดพลอยโจร ลูกค้าต้องยอมรับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับที่มีเงื่อนเวลาที่เปลี่ยนไป และบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาตามแต่ที่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้เขียนเอาไว้ ถ้าลูกค้าไม่พอใจก็คงยากที่จะขอเงินคืน
จบ Tricks ที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องต่อเนื่องจาก Tricks ที่ 1
Tips 1
ใช้แก้ปัญหา Tricks 1+2 คือให้ถือสัญญาจองโดยไม่ต้องเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายเพราะว่าสัญญาจองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายเช่นเดียวกันตาม พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 มาตรา 11

ในกรณีนี้คอนโดสร้างเสร็จปี 2564 แต่ในสื่อโฆษณาเขียนเอาไว้ว่าคอนโดคาดว่าจะสร้างเสร็จปี 2563 ดังนั้น เราจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เพราะ
1.ถ้าเราไม่ต้องการห้องแล้ว เราสามารถขอเงินจอง เงินทำสัญญา และเงินดาวน์ทั้งหมดคืนได้อย่างแน่นอนแต่ดอกเบี้ยนั้นคิดว่า บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) คงไม่ยอมจ่ายถ้าอยากได้ต้องไปฟ้องศาลเอา
2.ถ้าเราต้องการห้อง เราสามารถตรวจความเรียบร้อยภายในห้องชุดจนพอใจแล้วก็รับโอนกรรมสิทธิ์ตามปกติ แต่ถ้าใครอยากได้ค่าปรับล่าช้าก็คงต้องไปฟ้องศาลเช่นเดียวกันเพราะทนายของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เคยแถลงในศาลว่าบริษัทไม่มีนโยบายที่จะจ่ายค่าปรับล่าช้า
ดังนั้น ถ้าจะซื้อคอนโดของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ถือสัญญาจองไว้ได้เปรียบกว่าไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย
จบ Tips 1
เล่าเรื่องต่อ จากนั้นเมื่อคอนโดสร้างเสร็จในปี 2564 ฝ่ายโอนกรรมสิทธิ์ได้ส่งจดหมายแจ้งให้ตรวจรับห้องพร้อมทั้งกำหนดวันรับโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมทั้งจำกัดสิทธิ์ของลูกค้าไว้ให้เรียบร้อยเลย คือทางบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) จะอนุญาตให้มีการตรวจห้องเพียงครั้งเดียว และบริษัทจะเก็บงานตามข้อทักท้วงของลูกค้า ดังแสดงข้อความในจดหมายการรับมอบห้องชุด
ในการตรวจห้องครั้งแรกเราตรวจห้องด้วยตัวเองเนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่อพาร์ทเม้นท์และคอนโดมาหลายสิบปีจึงคิดว่าปัญหาที่เคยประสบมากับตัวเองมาในอดีตในการซ่อมแซมแก้ไขห้องชุดน่าจะเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องจ้างตรวจให้เสียเงิน และก็เป็นไปตามคาด ห้องไม่ได้เรียบร้อยอย่างที่ในจดหมายของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งไว้เลย ดังแสดง ในรูปตัวอย่างของความไม่เรียบร้อยภายในห้องชุด จากการตรวจครั้งที่ 1











เรื่อง wallpaper แปะสติ๊กเกอร์ไปจนที่เตรียมมาเกือบหมด

รอยอะไรกลมๆที่กระเบื้อง


สีเลอะกระจกและกรอบอลูมิเนียม




ผนังนอกอาคารยังไม่ได้ทาสีเลย


เหรียญ 2 ด้านของคดีผู้บริโภค กรณีศึกษา คอนโดของศุภาลัย
เรื่องที่เราจะเล่าต่อไปนี้ไม่ใช่ภาคต่อของการกราบแต่เป็นเรื่องของลูกค้าท่านหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างโครงการศุภาลัยลอฟท์เช่นเดียวกัน แต่เขาเลือกที่จะรับโอนห้อง แต่สุดท้ายก็ต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีในศาลอยู่ดีจากการกระทำของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) คิดว่าหลายๆคนที่ซื้อโครงการนี้ก็คงมีประสบการณ์เหมือนลูกค้าท่านนี้แต่บางคนก็อาจจะทนเก็บไว้ในใจเพราะรู้ว่าสู้กับองค์กรใหญ่มันมีอุปสรรคมากมาย เราเลยอาสามาเล่าให้ฟังเพื่อเป็นความรู้และเป็นแนวทางสำหรับผู้บริโภคที่ซื้อคอนโดแต่ต้องพบเจอปัญหากับทาง Developer จนหาทางออกไม่ได้ต้องเรียกร้องความยุติธรรมอ่านแล้วลองพิจารณากันดูว่า พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค สามารถคุ้มครองพวกเราได้จริงหรือไม่
ขอออกตัวว่าถึงเราจะไม่ได้จบด้านกฎหมายแต่ในฐานะที่เราเคยคลุกคลีอยู่กับคนในวงการกฎหมายก็พอเข้าใจหลักกฎหมายอยู่บ้าง เราจะเขียนโดยขอแทรก Tricks & Tips เป็นช่วงๆเพื่อว่าผู้อ่านอาจจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
และเพื่อความสะดวกให้ภาษาเขียนเข้าใจง่าย เราขออนุญาตเขียนเล่าเรื่องในมุมมองของบุคคลที่ 1 ให้ดูเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับเราเองโดยใช้ข้อมูลที่ลูกค้าคอนโดท่านนี้เล่าให้เราฟัง เราคิดว่าเรื่องนี้มีประโยชน์และน่าจะนำไปปรับใช้ได้กับทุก Developer ถ้าเขาปฏิบัติกับเราแบบเดียวกันกับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เรื่องมีอยู่ว่า
เราได้จองคอนโดของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2560 ราคาห้องสมมุติตัวเลขกลมๆ 2 ล้านบาท ตอนซื้อเซลล์ของบริษัทบอกเราว่าถ้าไม่รับเฟอร์นิเจอร์จะมีส่วนลดพิเศษอีก 200,000 บาท จึงทำให้เราตัดสินใจซื้อห้องเปล่า โดยทำสัญญาจอง ณ วันนั้นเลยแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
จากนั้นเวลาผ่านไปประมาณ 2 ปีเราก็ผ่อนดาวน์ไปเรื่อยๆจนกระทั่งมีเซลล์โทรมาแจ้งให้เราไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย โดยปกติวันที่จองห้อง เราจะต้องวางเงินจองและทำสัญญาจำนวนหนึ่ง และหลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือนทาง Developer ก็จะเรียกเรามาทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดถือว่าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
ธุรกิจที่ควบคุมสัญญาคืออะไร? สามารถหาอ่านได้ตาม link นี้ https://www.home.co.th/hometips/topic-22519
ส่วนใครขี้เกียจอ่านเราขออธิบายสั้นๆว่าธุรกิจที่ควบคุมสัญญาคือสัญญาจะต้องอยู่ในรูปแบบ ตามราชกิจจานุเบกษา ธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ห้องชุด ผู้ขายจะเขียนอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองโดยเอาเปรียบหรือสร้างข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคไม่ได้ ตามข้อความส่วนหนึ่งที่เราได้คัดลอกมาดังนี้
ราชกิจจานุเบกษา
มาเล่าต่อ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) แทนที่จะเรียกเรามาเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายภายใน 30 วันแต่ทางบริษัทกลับใช้วิธี ก่อสร้างไปก่อนจนบริษัทมั่นใจแล้วว่าจะสร้างคอนโดเสร็จเมื่อไหร่แน่ๆ ก็จะเรียกลูกค้าไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งในมุมมองของบริษัทเราก็พอเข้าใจได้ว่าเมื่อโครงการเปิดจองนั้นบริษัทเพิ่งจะผ่าน EIA และก็ไม่รู้ว่าจะมีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรที่จะทำให้การก่อสร้างล่าช้ารึเปล่า ทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) จึงยังไม่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกค้า แต่ปรากฏว่าผ่านมา 2 ปีบริษัทเพิ่งจะเรียกลูกค้าให้เข้าไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) โดยในสัญญาระบุว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2564
Tricks ที่ 1
นี่คือทริคที่ 1 ลูกค้าจองคอนโดปี 2560 ตอนนั้นเซลล์แจ้งว่าคอนโดจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากนี้ในสื่อโฆษณาของบริษัทก็ได้เขียนไว้ตัวเล็กเสียจนเหมือนที่โบราญเค้ามักจะเปรียบเปรยว่าเท่าอวัยวะหนึ่งของมดตัวเมีย เค้าเขียนว่าโครงการจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 และเสร็จในปี 2563 ตามรูป
จะเห็นว่าสายตาคนปกติแทบจะอ่านไม่ออกต้องใช้วิธีการถ่ายรูปและซูมประมาณ 400% เราก็จะเห็นข้อความซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะถ้าหากภายในปี 2563 โครงการยังก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาแล้ว ลูกค้าก็มีสิทธิ์ขอเงินที่ผ่อนชำระทั้งหมดคืนพร้อมกับดอกเบี้ยได้ หรือหากเลือกที่จะยังไปต่อกับโครงการจนสร้างเสร็จก็ควรจะได้รับค่าปรับล่าช้าจากทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) แต่เหตุการณ์จริงกลับกลายเป็นว่าในปี 2562 บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้เรียกลูกค้าไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายโดยระบุในสัญญาว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2564 ดังรูป
ซึ่งขัดแย้งกันเองกับสื่อโฆษณาของบริษัทที่ว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากนี้วันที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกลับเป็นวันเดียวกันกับวันที่ทำสัญญาจองซื้อห้องชุดซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ ดังรูป
จบ Tricks ที่ 1 เรื่องการใช้เงื่อนเวลาให้เป็นประโยชน์
Tricks ที่ 2
ต่อเนื่องจาก Tricks ที่ 1 เป็นเรื่องการเพิ่มบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจะซื้อจะขาย ทำไมถึงต่อท้ายสัญญา? ดังที่ได้เขียนไปแล้วข้างต้นว่าสัญญาขายห้องชุดเป็นสัญญาควบคุม ดังนั้นจะเขียนข้อความอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคลงในสัญญาโดยตรงไม่ได้ จึงมีการใช้เทคนิคเพิ่มอีก 1 หรือ 2 หน้าโดยใช้หัวข้อว่าบันทึกข้อตกลงเพื่อ xxx สักอย่างและ ระบุว่าข้อตกลงฉบับนี้ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย ดังรูป
และข้อความในวรรคสุดท้าย ที่บอกว่า “ข้อความถูกต้องตรงกันตามเจตนารมณ์ทั้งสองฝ่ายทุกประการ” เราคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์กับทางบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ที่จะเอามาใช้อ้างอิงทางกฎหมาย เราจะเห็นว่าส่วนลดจำนวน 200,000 บาทที่เซลล์ได้บอกเราไว้ตอนเราตัดสินใจจองโครงการนี้กลับถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของทาง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ที่จะต้องรับโอนห้องให้ตรงเวลาคือ กรกฎาคม 2564 ถึงจะได้ส่วนลด 2 แสน
ในฐานะผู้บริโภค การที่ให้ลูกค้าเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย โดยทิ้งช่วงจากสัญญาจองมาแล้วถึง 2 ปี ลูกค้าได้ผ่อนดาวน์ไปแล้วจำนวนหลายงวด เงินจมอยู่กับบริษัทจำนวนหลายแสนบาท เหมือนตกกระไดพลอยโจร ลูกค้าต้องยอมรับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับที่มีเงื่อนเวลาที่เปลี่ยนไป และบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาตามแต่ที่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้เขียนเอาไว้ ถ้าลูกค้าไม่พอใจก็คงยากที่จะขอเงินคืน
จบ Tricks ที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องต่อเนื่องจาก Tricks ที่ 1
Tips 1
ใช้แก้ปัญหา Tricks 1+2 คือให้ถือสัญญาจองโดยไม่ต้องเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายเพราะว่าสัญญาจองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายเช่นเดียวกันตาม พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 มาตรา 11
ในกรณีนี้คอนโดสร้างเสร็จปี 2564 แต่ในสื่อโฆษณาเขียนเอาไว้ว่าคอนโดคาดว่าจะสร้างเสร็จปี 2563 ดังนั้น เราจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เพราะ
1.ถ้าเราไม่ต้องการห้องแล้ว เราสามารถขอเงินจอง เงินทำสัญญา และเงินดาวน์ทั้งหมดคืนได้อย่างแน่นอนแต่ดอกเบี้ยนั้นคิดว่า บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) คงไม่ยอมจ่ายถ้าอยากได้ต้องไปฟ้องศาลเอา
2.ถ้าเราต้องการห้อง เราสามารถตรวจความเรียบร้อยภายในห้องชุดจนพอใจแล้วก็รับโอนกรรมสิทธิ์ตามปกติ แต่ถ้าใครอยากได้ค่าปรับล่าช้าก็คงต้องไปฟ้องศาลเช่นเดียวกันเพราะทนายของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เคยแถลงในศาลว่าบริษัทไม่มีนโยบายที่จะจ่ายค่าปรับล่าช้า
ดังนั้น ถ้าจะซื้อคอนโดของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ถือสัญญาจองไว้ได้เปรียบกว่าไปเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย
จบ Tips 1
เล่าเรื่องต่อ จากนั้นเมื่อคอนโดสร้างเสร็จในปี 2564 ฝ่ายโอนกรรมสิทธิ์ได้ส่งจดหมายแจ้งให้ตรวจรับห้องพร้อมทั้งกำหนดวันรับโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมทั้งจำกัดสิทธิ์ของลูกค้าไว้ให้เรียบร้อยเลย คือทางบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) จะอนุญาตให้มีการตรวจห้องเพียงครั้งเดียว และบริษัทจะเก็บงานตามข้อทักท้วงของลูกค้า ดังแสดงข้อความในจดหมายการรับมอบห้องชุด
ในการตรวจห้องครั้งแรกเราตรวจห้องด้วยตัวเองเนื่องจากเคยใช้ชีวิตอยู่อพาร์ทเม้นท์และคอนโดมาหลายสิบปีจึงคิดว่าปัญหาที่เคยประสบมากับตัวเองมาในอดีตในการซ่อมแซมแก้ไขห้องชุดน่าจะเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องจ้างตรวจให้เสียเงิน และก็เป็นไปตามคาด ห้องไม่ได้เรียบร้อยอย่างที่ในจดหมายของ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งไว้เลย ดังแสดง ในรูปตัวอย่างของความไม่เรียบร้อยภายในห้องชุด จากการตรวจครั้งที่ 1
เรื่อง wallpaper แปะสติ๊กเกอร์ไปจนที่เตรียมมาเกือบหมด
รอยอะไรกลมๆที่กระเบื้อง
สีเลอะกระจกและกรอบอลูมิเนียม
ผนังนอกอาคารยังไม่ได้ทาสีเลย