เรื่องน่ารู้วันลอยกระทง ทำอย่างไรให้เก็บกระทงขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด

ใกล้ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ วันที่คนไทยทุกคนน่าจะรู้จักดี อย่าง “เทศกาลวันลอยกระทง” ที่ปีนี้ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ถือว่าเป็นเทศกาลลอยกระทงปีแรกที่จัดหลังจากประเทศก้าวผ่านวิกฤต โควิด 19 อย่างเต็มตัวและที่พิเศษคืออากาศของประเทศไทยช่วงเดือน พฤศจิกายนนี้ก็ถือว่ากำลังเย็นสบาย (กว่าปีก่อนๆ) ทำให้ปีนี้การออกมาเที่ยววันงานลอยกระทงตอนกลางคืนนี่เป็นอะไรที่น่าสนใจสุดๆเลยทีเดียว 

     ในส่วนของการไปลอยกระทงตามแม่น้ำต่างๆ เราก็จะเห็นการรณรงค์หลากหลายรูปแบบเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ใช้วัสดุจากธรรมชาติ , ลดการใช้กระทงจากโฟม, ลดการใช้ลวด แม็กซ์ หมุด ตะปู , 1 ครอบครัว 1 กระทง ซึ่งการรณรงค์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก เพราะปริมาณการใช้กระทงในปีที่ผ่านมาก็จำนวนกระทงโฟมก็ลดลงอย่างมากจริงๆ
     เข้าใจว่ามีบางเสียงอยากให้ยกเลิกการลอยกระทงไปเลย แต่เรื่องพวกนี้ต้องค่อยๆทำความเข้าใจ ค่อยๆปรับเปลี่ยนกันไปละเนอะ แต่ในเมื่อยังไงๆก็ยังมีคนลอยกระทง ซึ่งต่อให้เป็นกระทงรักษ์โลก เราก็ควรเก็บกระทงมันขึ้นมา ดังนั้นวันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังว่าเค้าเก็บกันยังไง แล้วการเก็บกระทงให้ “หมดภายใน 24 ชม” นั้นทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด แล้วเค้าจัดเก็บกันยังไงให้ไวขนาดนั้นมาดูพร้อมกัน

- สิ่งสำคัญคือการตระเตรียมงานและอุปกรณ์
     คือการวางแผนเก็บกระทงเนี่ย ต้องพึ่งพาสามส่วนใหญ่ๆคือ คนที่มีประสบการณ์ , อุปกรณ์ที่ใช้ และ เงื่อนไขทางด้านเวลา ซึ่งทั้งสามอย่างต้องถูกวางแผนตระเตรียมการณ์เป็นอย่างดีก่อนวันงาน โดยเฉพาะเงื่อนไขด้านเวลาเพราะต้องรู้ว่าเวลาที่ลอยไปสุดที่กี่โมง ไม่สามารถปล่อยให้ลอยได้ทั้งคืน เพราะจะได้กำหนดเวลาปริมาณกำลังพลที่ใช้ได้อย่างถูกต้อง
อุปกรณ์หลักที่ใช้ตักกระทงที่ถืออยู่คือ Rare Item เลยนะ 

- ความปลอดภัยของทุกคนคือสิ่งสำคัญ
     หลักๆการจัดเก็บคือต้องออกไปกับเรือเพื่อตักกระทงขึ้นมาจากน้ำ ดังนั้นการออกไปกับเรือนี่คือ ชูชีพต้องใส่ สภาพเรือต้องดี และมีจุดนึงที่หลายคนคาดไม่ถึงคือ การออกไปยืนบนเรือกลางแม่น้ำต้อง “ดูสภาพอากาศ” ด้วย บางทีลมแรง มีฝนตกอะไรพวกนี้ล้วนมีผลทั้งสิ้น บอกเลยคนที่นั่งเรือออกไปนี่คือมีความแข็งแรงระดับนึงเลยทีเดียว
เรือถือว่าใหญ่เก็บได้เยอะอยู่นะ


- Teamwork ความร่วมมือจากทุกฝ่ายหน้างานคือส่วนจำเป็น
     สุดท้ายสิ่งที่จำเป็นอย่างมากคือ Teamwork ที่ดี คนขับเรือ คนตักกระทง บนแม่น้ำขนาดใหญ่ ต้องทำงานแบบร่วมมือกันอย่างเต็มที่ว่าใครไปทางไหน พอตักเต็มเรือจะกลับมาเปลี่ยนถ่ายอย่างไร จัดเก็บอย่างไร พวกนี้คือแผนการณ์ส่วนนึง ที่พอเวลาทำงานจริงก็มีเงื่อนไขหน้างานส่วนนึง ดังนั้นคนบนฝั่งที่คอยตระเตรียม หรือขึ้นไปทดแทนคนที่กลับฝั่งมาคือสิ่งที่ต้องทำงานไปพร้อมๆกันเสมอ และสำหรับคำถามที่ว่าพอเก็บกระทงแล้วเอาไปทำอะไรต่อ โดยส่วนมากกระทงที่จัดเก็บได้จะเข้าสู่กระบวนการแยกประเภท โดยกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและกระทงที่ย่อยสลายได้ จะนำไปบดย่อยแล้วส่งไปทำปุ๋ยหมักที่ศูนย์กำจัดมูลฝอย ส่วนกระทงโฟมหรือวัสดุที่ย่อยสลายยากจะนำไปฝังกลบ 

ครอบคลุมทุกพื้นที่แม่น้ำ ตามกระแสน้ำที่พากระทงไหลผ่านแน่นอน


     บอกได้เลยว่าจากปีที่ผ่านๆมา (ก่อนเกิดโควิด) ที่มีคนลอยกระทงกันเยอะๆ บางช่วงของแม่น้ำนี่สามารถเก็บกระทงได้เกือบหมดภายในวันเดียว ยิ่งถ้าชัดเจนว่าพื้นที่ไหน ลอยได้ถึงกี่โมงด้วยแล้ว พอจบเวลาทีมลงทำงานตามแผนเลย นี่แปปเดียวเท่านั้นก็จัดเก็บกระทงได้เกือบหมดแล้ว ดังนั้น คนที่ไปลอยกระทงก็ขอให้เคารพเรื่องกฎ ระเบียบ ของเวลาและสถานที่ ตามแต่ละพื้นที่ที่จัดงานด้วย เพราะทุกพื้นที่ที่จัดงานมีการเตรียมการรับมือการจัดเก็บกระทงเพื่อไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อมกันอย่างสุดกำลัง ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันรับรองว่าผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่