"นิติพล" ซัด "บิ๊กตู่" กลางวงเสวนา ชี้ ไม่เคยสนใจ สิทธิมนุษยชนในเมียนมา
https://www.thairath.co.th/news/politic/2545613
"นิติพล" ส.ส.ก้าวไกล ซัด "บิ๊กตู่" กลางเวทีเสวนา FCCT ชี้ ไม่เคยสนในสิทธิมนุษยชนในเมียนมา เหตุ เป็นพวกรัฐประหารมาเหมือนกัน อ้าง 8 ปี รัฐบาลประยุทธ์ ดึงภาพลักษณ์ของอาเซียนให้ตกต่ำลงเรื่อยๆ
วันที่ 6 พ.ย. 65 นาย
นิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาการรัฐประหารในพม่า โดยเป็นกรรมการ 1 ใน 8 คน จากทุกทวีปทั่วโลก ได้เข้าร่วมเวทีเสวนา "เวลาไม่ได้อยู่ข้างเรา" : การตอบสนองของนานาชาติต่อการรัฐประหารในเมียนมา รายงานฉบับสมบูรณ์โดยการสอบสวนของฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างประเทศ ในประเด็นว่าด้วยการตอบสนองของโลกต่อวิกฤตการณ์ในเมียนมา ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย
นาย
นิติพล กล่าวต่อว่า จากรายงานการสอบสวนของฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างประเทศ ทำให้พวกเราในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิด ต้องตระหนักถึงสถานการณ์หลังกองทัพเมียนมา ทำการรัฐประหารเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพราะการรัฐประหารดังกล่าว ได้นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงในหลายกรณี มีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 2,371 ราย ผู้พลัดถิ่นหลายแสนคน และมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ 1.3 ล้านคน มีการจำคุกนักโทษการเมืองไม่ต่ำกว่า 15,000 คน โดยมีรายงานถึงการทารุณกรรมผู้ถูกจับกุมด้วย
นอกจากนี้ ผลที่ตามมา คือ การต่อต้านรัฐบาลด้วยอาวุธ ซึ่งการสู้รบยังดำรงอยู่ในหลายรูปแบบ และหลายครั้งยังได้มีการล่วงล้ำเข้ามายังชายแดนของประเทศไทย ไม่ว่ากระสุน หรือเครื่องบินรบของรัฐบาลเมียนมา รวมถึงผู้ลี้ภัยความตายที่หนีมาฝั่งไทยจำนวนมาก ดังนั้น จึงไม่อาจบอกได้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของเมียนมาเท่านั้น แต่หมายถึงประเทศข้างเคียง อาเซียน และโลกที่ได้รับผลกระทบไปด้วย
นาย
นิติพล ยังกล่าวต่อว่า บทบาทของรัฐบาลไทยในฐานะที่มีพรมแดนติดกันและมีความสัมพันธ์กันในหลายมิติ จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยในเมียนมา แต่นั่นหมายถึงการที่รัฐบาลไทยเองก็ต้องเป็นประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน เพราะเป็นที่รับรู้กันในความเป็นจริงว่าปัจจุบันมันไม่เป็นเช่นนั้น แต่ทั้งสองประเทศกลับกลายเป็นเหมือนฝาแฝดรัฐประหารที่ทำให้ภาพลักษณ์ของอาเซียนย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ทั้งที่หากเปรียบเทียบกลับไปในยุคที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ทั้งไทยและเมียนมาล้วนคือดาวเด่นในเวทีโลกในช่วงเวลานั้นทั้งสิ้น นี่คือความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการบริหารโดยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารกับรัฐบาลประชาธิปไตย
รายงานฉบับนี้ ยังมีข้อเสนอแนะต่ออาเซียนหลายข้อ ซึ่งตนคิดว่าไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญเพื่อความเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของอาเซียนไปสู่การเติบโตร่วมกันได้อีกครั้ง แต่หมายถึงการที่ไทยเองจะต้องเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปีหน้า เพื่อไปสู่ฝั่งประชาธิปไตยที่มีเจตจำนงในการไม่จับมือหรือผสมพันธุ์กับฝ่ายรัฐประหารอย่างแท้จริง
“
ผมยืนยันว่า 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะรุ่นพี่รัฐประหารของรัฐบาลมิน อ่อง หล่าย ไม่เคยทำอะไรเลยเพื่อช่วยคนเมียนมา และไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าในไทยหรือเมียนมาเลย นอกจากนี้ คงต้องบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ คือหัวโจกคนสำคัญในการดึงเอาภาพลักษณ์ของอาเซียนให้ตกต่ำลงเรื่อยๆ มาเพราะอาเซียนจะไปได้ไกลกว่านี้แน่หากไม่มีการรัฐประหารเข้ามาแทรกแซงและจะไม่มีต้นแบบให้เอาอย่างในการดึงพวกเราทั้งหมดถอยหลังแล้วกอบโกยผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองและพวกพ้อง เอาแต่เสวยสุขบนความทุกข์ของประชาชนดังเช่นทุกวันนี้” นาย
นิติพล กล่าว.
โพล ชี้ เพื่อไทย แลนด์สไลด์ ได้ 30 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์-พปชร.จับตา "แพแตก"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2545688
"ซูเปอร์โพล" เผย ผลสำรวจประชาชน พบ "เพื่อไทย" แลนด์สไลด์ ได้เก้าอี้ ส.ส.บัญชีรายชื่อสูงถึง 30 ที่นั่ง รองลงมา "ภูมิใจไทย" 21 ที่นั่ง ขณะที่ "พลังประชารัฐ" 16 ที่นั่ง เหตุมาจากปัจจัยแพแตก ของ "บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม" ทำส.ส.วงแตกย้ายรัง
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง เพื่อไทย แลนด์สไลด์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถามผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,643 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา
โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย จะชนะการเลือกตั้งด้วยจำนวนที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือจำนวน ผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองมากที่สุด คือ 25 ที่นั่ง และอาจสูงขึ้นถึง 30 ที่นั่งในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ประมาณการว่าจะได้ 21 ที่นั่ง และอาจจะสูงถึง 26 ที่นั่ง ตามมาด้วยพรรคพลังประชารัฐ คาดว่าจะได้ 16 ที่นั่ง หรืออาจจะสูงถึง 21 ที่นั่ง โดยยังไม่มีปัจจัยย้ายพรรคของ ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐและความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดขึ้นเพิ่มเติม
อันดับที่สี่และอันดับที่ห้า สูสีกันคือ พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคก้าวไกล โดยพรรคประชาธิปัตย์คาดว่าจะได้ 11 ที่นั่ง และพรรคก้าวไกล คาดว่า จะได้ 9 ที่นั่ง เป็น ส.ส. ผู้แทนราษฎรส่วนของพรรคการเมือง ตามด้วยส่วนของ พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ที่นั่ง และพรรคการเมืองอื่น ๆ จำนวน 10 ที่นั่ง และมีอีกจำนวนที่นั่งที่อาจจะเทไปให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอีกจำนวน 5 ที่นั่ง
ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า พรรคเพื่อไทยแลนด์สไลด์ในภาคอีสาน ร้อยละ 45.6 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 32.9 ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 29.6 ในภาคกลางร้อยละ 8.0 และในภาคใต้ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคภูมิใจไทย ได้ในภาคกลางมากที่สุดคือร้อยละ 26.2 ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.0 ภาคอีสานได้ร้อยละ 21.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 19.3 และภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ
สำหรับพรรคพลังประชารัฐในเงื่อนไขว่า ยังไม่มีการย้ายพรรคของ ส.ส.และยังไม่เกิดความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบว่า ภาคใต้ได้ร้อยละ 26.0 ภาคกลางได้ร้อยละ 25.8 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 13.3 ภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 และภาคอีสานได้ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.3 ภาคกลางได้ร้อยละ 11.5 ภาคเหนือได้ร้อยละ 11.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 7.4 และภาคอีสานได้ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ
ส่วนพรรคก้าวไกล กระจายไปได้ภาคเหนือมากสุดร้อยละ 14.0 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 9.6 ภาคอีสานได้ร้อยละ 8.7 ภาคกลางได้ร้อยละ 8.2 และภาคใต้ได้ร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
EIC ห่วง 2 ล้านครัวเรือนไทย แบกหนี้หนัก กินเวลาเกินทศวรรษกว่าหลุดพ้น
bangkokbiznews.com/finance/investment/1036154
EIC เผยครัวเรือนไทยเปราะบางมากขึ้น พบ 2.1 ล้านครัวเรือน มีปัญหาหนี้สูงเมื่อเทียบรายได้ โดยเพิ่มขึ้นถึง 24% จากช่วงก่อนโควิด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนชั้นกลาง อนาคตเสี่ยงเผชิญปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย และต้องใช้เวลาถึง 13 ปีในการแก้ไขปัญหาความเปราะบาง
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ(EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ประเมินความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยด้วย Machine learning พบว่า “ครัวเรือนเปราะบาง” มีจำนวนถึง 2.1 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนวิกฤตโควิดถึง 24%
EIC ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ยังสูง ส่งผลทำให้ครัวเรือนไทยจำนวนมากยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สูง EIC ประเมินความเปราะบางทางการเงินของไทยในระดับครัวเรือนด้วย Machine learning พบว่า “ครัวเรือนเปราะบาง” หรือ ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้และทรัพย์สิน มีจำนวนถึง 2.1 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านครัวเรือนในช่วงก่อนวิกฤตโควิดปี 2019 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 24%
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนเปราะบางเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง คือมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่กลับมีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ โดยจากการศึกษาพบว่า การเป็นครัวเรือนเปราะบางทำให้มีโอกาสประสบปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 30%
แนวโน้มในระยะข้างหน้า
ปัญหาความเปราะบางใช้เวลานานในการแก้ไข ครัวเรือนเปราะบางมีปัญหาจากการมีหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้หรือสินทรัพย์ทำให้การปลดหนี้เพื่อหลุดพ้นจากความเปราะบางทำได้ยากในเวลาอันสั้น ต้องอาศัยการมีรายได้ที่ต่อเนื่องควบคู่ไปกับความมีวินัยในการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีแนวโน้มจะใช้เวลานาน
EIC ประเมินว่าการหลุดพ้น ความเปราะบางครัวเรือนอาจต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยถึงราว 13 ปีภายใต้สมมติฐานว่าครัวเรือนจะคงความสามารถในการชำระหนี้เท่าเดิมกับในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า เพื่อที่จะลดหนี้ลงมาในจุดที่บริหารจัดการได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยในภาพรวม คือ ไม่ใช่ทุกครัวเรือนเปราะบางจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยง่าย เพราะยังมีหลายข้อจำกัดที่สำคัญ ได้แก่
(1) การไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเป็นปัญหาของครัวเรือนสัดส่วนถึงประมาณ 61.2% ของกลุ่มเปราะบาง คนกลุ่มนี้จะไม่มีเงินเหลือไปใช้หนี้เดิม หรืออาจต้องก่อหนี้ก้อนใหม่มาเพื่อใช้หนี้เก่า เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม ซึ่งสุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้เสีย
(2) การเป็นครัวเรือนสูงอายุ ครัวเรือนเปราะบางประมาณ 15.1% มีคนทำงานในครัวเรือนใกล้วัยเกษียณ ทำให้ระยะเวลาในการหารายได้มาเพื่อลดความเปราะบางมีจำกัด อาจต้องทำงานจนเลยวัยเกษียณ เพื่อให้สถานะทางการเงินกลับสู่ภาวะปกติ
(3) การมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ถือเป็นอีกความท้าทายสำหรับหลายครัวเรือน ซึ่งทำให้บางส่วนอาจต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบซึ่งมักมีดอกเบี้ยสูงที่ทำให้ภาระการชำระหนี้สูงตามไปด้วย เป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของความเปราะบางในหลายครัวเรือน
นอกจากนี้ ปัญหาค่าครองชีพและดอกเบี้ยขาขึ้นในปัจจุบันมีแนวโน้มทำให้การแก้ไขปัญหาค วามเปราะบางยากขึ้นและกินเวลานานขึ้น การเร่งตัวของค่าครองชีพจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก
และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อล้วนแล้วแต่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือน โดยจะส่งมีกลไกการส่งผลใน 3 ด้านประกอบด้วย
(1) รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นทำให้เงินเหลือไปใช้หนี้ลดลง EIC ทำการวิเคราะห์ด้วยสมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจล่าสุดพบว่า สถานการณ์ค่าครองชีพในปัจจุบันส่งผลทำให้อัตราการออมของครัวเรือนไทยลดลงจาก 15.6% เป็น 10%
โดยครัวเรือนที่รายได้ไม่พอรายจ่ายมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 7.1 เป็น 8.4 ล้านครัวเรือน ส่งผลทำให้ในภาพรวมเงินส่วนเหลือไปใช้หนี้จะลดน้อยลง
JJNY : "นิติพล"ซัด"ตู่"กลางวงเสวนา| โพลชี้เพื่อไทยแลนด์สไลด์| EIC ห่วง 2 ล้านครัวเรือนไทย| “เซเลนสกี” ซัด “อิหร่าน”
https://www.thairath.co.th/news/politic/2545613
"นิติพล" ส.ส.ก้าวไกล ซัด "บิ๊กตู่" กลางเวทีเสวนา FCCT ชี้ ไม่เคยสนในสิทธิมนุษยชนในเมียนมา เหตุ เป็นพวกรัฐประหารมาเหมือนกัน อ้าง 8 ปี รัฐบาลประยุทธ์ ดึงภาพลักษณ์ของอาเซียนให้ตกต่ำลงเรื่อยๆ
วันที่ 6 พ.ย. 65 นายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาการรัฐประหารในพม่า โดยเป็นกรรมการ 1 ใน 8 คน จากทุกทวีปทั่วโลก ได้เข้าร่วมเวทีเสวนา "เวลาไม่ได้อยู่ข้างเรา" : การตอบสนองของนานาชาติต่อการรัฐประหารในเมียนมา รายงานฉบับสมบูรณ์โดยการสอบสวนของฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างประเทศ ในประเด็นว่าด้วยการตอบสนองของโลกต่อวิกฤตการณ์ในเมียนมา ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย
นายนิติพล กล่าวต่อว่า จากรายงานการสอบสวนของฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างประเทศ ทำให้พวกเราในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิด ต้องตระหนักถึงสถานการณ์หลังกองทัพเมียนมา ทำการรัฐประหารเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพราะการรัฐประหารดังกล่าว ได้นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงในหลายกรณี มีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 2,371 ราย ผู้พลัดถิ่นหลายแสนคน และมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ 1.3 ล้านคน มีการจำคุกนักโทษการเมืองไม่ต่ำกว่า 15,000 คน โดยมีรายงานถึงการทารุณกรรมผู้ถูกจับกุมด้วย
นอกจากนี้ ผลที่ตามมา คือ การต่อต้านรัฐบาลด้วยอาวุธ ซึ่งการสู้รบยังดำรงอยู่ในหลายรูปแบบ และหลายครั้งยังได้มีการล่วงล้ำเข้ามายังชายแดนของประเทศไทย ไม่ว่ากระสุน หรือเครื่องบินรบของรัฐบาลเมียนมา รวมถึงผู้ลี้ภัยความตายที่หนีมาฝั่งไทยจำนวนมาก ดังนั้น จึงไม่อาจบอกได้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของเมียนมาเท่านั้น แต่หมายถึงประเทศข้างเคียง อาเซียน และโลกที่ได้รับผลกระทบไปด้วย
นายนิติพล ยังกล่าวต่อว่า บทบาทของรัฐบาลไทยในฐานะที่มีพรมแดนติดกันและมีความสัมพันธ์กันในหลายมิติ จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยในเมียนมา แต่นั่นหมายถึงการที่รัฐบาลไทยเองก็ต้องเป็นประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน เพราะเป็นที่รับรู้กันในความเป็นจริงว่าปัจจุบันมันไม่เป็นเช่นนั้น แต่ทั้งสองประเทศกลับกลายเป็นเหมือนฝาแฝดรัฐประหารที่ทำให้ภาพลักษณ์ของอาเซียนย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ทั้งที่หากเปรียบเทียบกลับไปในยุคที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ทั้งไทยและเมียนมาล้วนคือดาวเด่นในเวทีโลกในช่วงเวลานั้นทั้งสิ้น นี่คือความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการบริหารโดยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารกับรัฐบาลประชาธิปไตย
รายงานฉบับนี้ ยังมีข้อเสนอแนะต่ออาเซียนหลายข้อ ซึ่งตนคิดว่าไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทสำคัญเพื่อความเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของอาเซียนไปสู่การเติบโตร่วมกันได้อีกครั้ง แต่หมายถึงการที่ไทยเองจะต้องเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปีหน้า เพื่อไปสู่ฝั่งประชาธิปไตยที่มีเจตจำนงในการไม่จับมือหรือผสมพันธุ์กับฝ่ายรัฐประหารอย่างแท้จริง
“ผมยืนยันว่า 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะรุ่นพี่รัฐประหารของรัฐบาลมิน อ่อง หล่าย ไม่เคยทำอะไรเลยเพื่อช่วยคนเมียนมา และไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าในไทยหรือเมียนมาเลย นอกจากนี้ คงต้องบอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ คือหัวโจกคนสำคัญในการดึงเอาภาพลักษณ์ของอาเซียนให้ตกต่ำลงเรื่อยๆ มาเพราะอาเซียนจะไปได้ไกลกว่านี้แน่หากไม่มีการรัฐประหารเข้ามาแทรกแซงและจะไม่มีต้นแบบให้เอาอย่างในการดึงพวกเราทั้งหมดถอยหลังแล้วกอบโกยผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองและพวกพ้อง เอาแต่เสวยสุขบนความทุกข์ของประชาชนดังเช่นทุกวันนี้” นายนิติพล กล่าว.
โพล ชี้ เพื่อไทย แลนด์สไลด์ ได้ 30 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์-พปชร.จับตา "แพแตก"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2545688
"ซูเปอร์โพล" เผย ผลสำรวจประชาชน พบ "เพื่อไทย" แลนด์สไลด์ ได้เก้าอี้ ส.ส.บัญชีรายชื่อสูงถึง 30 ที่นั่ง รองลงมา "ภูมิใจไทย" 21 ที่นั่ง ขณะที่ "พลังประชารัฐ" 16 ที่นั่ง เหตุมาจากปัจจัยแพแตก ของ "บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม" ทำส.ส.วงแตกย้ายรัง
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง เพื่อไทย แลนด์สไลด์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถามผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,643 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา
โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย จะชนะการเลือกตั้งด้วยจำนวนที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือจำนวน ผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองมากที่สุด คือ 25 ที่นั่ง และอาจสูงขึ้นถึง 30 ที่นั่งในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ประมาณการว่าจะได้ 21 ที่นั่ง และอาจจะสูงถึง 26 ที่นั่ง ตามมาด้วยพรรคพลังประชารัฐ คาดว่าจะได้ 16 ที่นั่ง หรืออาจจะสูงถึง 21 ที่นั่ง โดยยังไม่มีปัจจัยย้ายพรรคของ ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐและความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดขึ้นเพิ่มเติม
อันดับที่สี่และอันดับที่ห้า สูสีกันคือ พรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคก้าวไกล โดยพรรคประชาธิปัตย์คาดว่าจะได้ 11 ที่นั่ง และพรรคก้าวไกล คาดว่า จะได้ 9 ที่นั่ง เป็น ส.ส. ผู้แทนราษฎรส่วนของพรรคการเมือง ตามด้วยส่วนของ พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ที่นั่ง และพรรคการเมืองอื่น ๆ จำนวน 10 ที่นั่ง และมีอีกจำนวนที่นั่งที่อาจจะเทไปให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอีกจำนวน 5 ที่นั่ง
ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า พรรคเพื่อไทยแลนด์สไลด์ในภาคอีสาน ร้อยละ 45.6 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 32.9 ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 29.6 ในภาคกลางร้อยละ 8.0 และในภาคใต้ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคภูมิใจไทย ได้ในภาคกลางมากที่สุดคือร้อยละ 26.2 ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.0 ภาคอีสานได้ร้อยละ 21.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 19.3 และภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ
สำหรับพรรคพลังประชารัฐในเงื่อนไขว่า ยังไม่มีการย้ายพรรคของ ส.ส.และยังไม่เกิดความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบว่า ภาคใต้ได้ร้อยละ 26.0 ภาคกลางได้ร้อยละ 25.8 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 13.3 ภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 และภาคอีสานได้ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.3 ภาคกลางได้ร้อยละ 11.5 ภาคเหนือได้ร้อยละ 11.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 7.4 และภาคอีสานได้ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ
ส่วนพรรคก้าวไกล กระจายไปได้ภาคเหนือมากสุดร้อยละ 14.0 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 9.6 ภาคอีสานได้ร้อยละ 8.7 ภาคกลางได้ร้อยละ 8.2 และภาคใต้ได้ร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
EIC ห่วง 2 ล้านครัวเรือนไทย แบกหนี้หนัก กินเวลาเกินทศวรรษกว่าหลุดพ้น
bangkokbiznews.com/finance/investment/1036154
EIC เผยครัวเรือนไทยเปราะบางมากขึ้น พบ 2.1 ล้านครัวเรือน มีปัญหาหนี้สูงเมื่อเทียบรายได้ โดยเพิ่มขึ้นถึง 24% จากช่วงก่อนโควิด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนชั้นกลาง อนาคตเสี่ยงเผชิญปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย และต้องใช้เวลาถึง 13 ปีในการแก้ไขปัญหาความเปราะบาง
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ(EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ประเมินความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยด้วย Machine learning พบว่า “ครัวเรือนเปราะบาง” มีจำนวนถึง 2.1 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนวิกฤตโควิดถึง 24%
EIC ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ยังสูง ส่งผลทำให้ครัวเรือนไทยจำนวนมากยังคงมีความเปราะบางจากปัญหาหนี้สูง EIC ประเมินความเปราะบางทางการเงินของไทยในระดับครัวเรือนด้วย Machine learning พบว่า “ครัวเรือนเปราะบาง” หรือ ครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้และทรัพย์สิน มีจำนวนถึง 2.1 ล้านครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านครัวเรือนในช่วงก่อนวิกฤตโควิดปี 2019 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 24%
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนเปราะบางเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง คือมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่กลับมีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ โดยจากการศึกษาพบว่า การเป็นครัวเรือนเปราะบางทำให้มีโอกาสประสบปัญหารายได้ไม่พอใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 30%
แนวโน้มในระยะข้างหน้า
ปัญหาความเปราะบางใช้เวลานานในการแก้ไข ครัวเรือนเปราะบางมีปัญหาจากการมีหนี้สูงเมื่อเทียบกับรายได้หรือสินทรัพย์ทำให้การปลดหนี้เพื่อหลุดพ้นจากความเปราะบางทำได้ยากในเวลาอันสั้น ต้องอาศัยการมีรายได้ที่ต่อเนื่องควบคู่ไปกับความมีวินัยในการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีแนวโน้มจะใช้เวลานาน
EIC ประเมินว่าการหลุดพ้น ความเปราะบางครัวเรือนอาจต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยถึงราว 13 ปีภายใต้สมมติฐานว่าครัวเรือนจะคงความสามารถในการชำระหนี้เท่าเดิมกับในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า เพื่อที่จะลดหนี้ลงมาในจุดที่บริหารจัดการได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยในภาพรวม คือ ไม่ใช่ทุกครัวเรือนเปราะบางจะสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยง่าย เพราะยังมีหลายข้อจำกัดที่สำคัญ ได้แก่
(1) การไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเป็นปัญหาของครัวเรือนสัดส่วนถึงประมาณ 61.2% ของกลุ่มเปราะบาง คนกลุ่มนี้จะไม่มีเงินเหลือไปใช้หนี้เดิม หรืออาจต้องก่อหนี้ก้อนใหม่มาเพื่อใช้หนี้เก่า เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม ซึ่งสุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้เสีย
(2) การเป็นครัวเรือนสูงอายุ ครัวเรือนเปราะบางประมาณ 15.1% มีคนทำงานในครัวเรือนใกล้วัยเกษียณ ทำให้ระยะเวลาในการหารายได้มาเพื่อลดความเปราะบางมีจำกัด อาจต้องทำงานจนเลยวัยเกษียณ เพื่อให้สถานะทางการเงินกลับสู่ภาวะปกติ
(3) การมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ถือเป็นอีกความท้าทายสำหรับหลายครัวเรือน ซึ่งทำให้บางส่วนอาจต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบซึ่งมักมีดอกเบี้ยสูงที่ทำให้ภาระการชำระหนี้สูงตามไปด้วย เป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งของความเปราะบางในหลายครัวเรือน
นอกจากนี้ ปัญหาค่าครองชีพและดอกเบี้ยขาขึ้นในปัจจุบันมีแนวโน้มทำให้การแก้ไขปัญหาค วามเปราะบางยากขึ้นและกินเวลานานขึ้น การเร่งตัวของค่าครองชีพจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก
และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อล้วนแล้วแต่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือน โดยจะส่งมีกลไกการส่งผลใน 3 ด้านประกอบด้วย
(1) รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นทำให้เงินเหลือไปใช้หนี้ลดลง EIC ทำการวิเคราะห์ด้วยสมมติฐานประมาณการเศรษฐกิจล่าสุดพบว่า สถานการณ์ค่าครองชีพในปัจจุบันส่งผลทำให้อัตราการออมของครัวเรือนไทยลดลงจาก 15.6% เป็น 10%
โดยครัวเรือนที่รายได้ไม่พอรายจ่ายมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 7.1 เป็น 8.4 ล้านครัวเรือน ส่งผลทำให้ในภาพรวมเงินส่วนเหลือไปใช้หนี้จะลดน้อยลง