ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกรักษาโรคตา สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จในการผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจรเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน แก้ปัญหาความขาดแคลนในการใช้รักษาผู้ป่วยโรคตาและโรคอื่นๆ
ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากโครงการ “ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์” โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ม.วลัยลักษณ์ โดยเยื่อหุ้มรกที่ผลิตมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมเนื้อเยื่อบุผิว ยืดอายุเซลล์ต้นกำเนิด ยับยั้งการอักเสบ และไม่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์แบบสำหรับการปลูกถ่าย ใช้ในการรักษาโรคตาบางชนิด และสามารถใช้ปิดแผลไฟไหม้ในบริเวณอื่นนอกเหนือจากตาได้อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า อุดมเวช อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และจักษุแพทย์ ประจำศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า “การใช้เยื่อหุ้มรกเพื่อการรักษาทางการแพทย์อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยความพร้อมของอุปกรณ์ และสารเคมีที่มีราคาสูง ผนวกกับต้องมีความพร้อมของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ปัจจุบันยังพบปัญหาการขาดแคลนเยื่อหุ้มรกบ่อยครั้ง เนื่องจากหน่วยงานที่มีความพร้อมในการผลิตเยื่อหุ้มรกยังมีจำนวนน้อย รวมถึงการขนส่งทำได้ยาก และต้องจัดเก็บภายใต้ความเย็น -80 องศาเซลเซียสตลอดเวลา”
อย่างไรก็ตามถือเป็นความโชคดีของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เมื่อมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน จึงสามารถผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกอย่างครบวงจรได้ นับเป็นแห่งที่ 2 ในภาคใต้ ที่สามารถดำเนินการได้ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาวะความขาดแคลนเยื่อหุ้มรกและช่วยพัฒนามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยของ จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ภาคใต้ตอนบน และทั่วประเทศ โดยได้รับการติดต่อขอรับบริการไกลถึงจังหวัดมหาสารคามแล้ว
“ความพิเศษของเยื่อหุ้มรก คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะไม่คิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติหลายประการช่วยให้แผลหายดีขึ้น แพทย์จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยออกจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในแง่ของการรักษาโรคตา โดยการผ่าตัดที่ใช้บ่อยสุดคือ ต้อเนื้อ ภาวะแผลไฟไหม้หรือสารเคมีเข้าตา และภาวะอื่นๆ ที่มีการสูญเสียเยื่อบุตา แผลกระจกตาที่เสี่ยงต่อการทะลุ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการฯ ต้องขอขอบคุณ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์, ภาควิชาจักษุวิทยา ม.สงขลานคริทร์, และหน่วยเภสัชกรรม รพ.สงขลานครินทร์ ที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จในครั้งนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า กล่าว
ทั้งนี้ โครงการฯ เปิดรับสั่งจอง “แผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์” แล้วที่ชั้น 3 อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันและเวลาราชการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-7567-2587 เว็บไซต์: สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
https://riie.wu.ac.th/?p=20436 หรือ เว็บไซต์: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
https://www.wu.ac.th/th
ข่าวโดย ชลธิชา ลิมปิติ ส่วนสื่อสารองค์กร
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าวจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์
ภาคใต้ตอนบนมีเฮ! ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกรักษาโรคตา สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จในการผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจรเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน แก้ปัญหาความขาดแคลนในการใช้รักษาผู้ป่วยโรคตาและโรคอื่นๆ
ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากโครงการ “ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์” โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ม.วลัยลักษณ์ โดยเยื่อหุ้มรกที่ผลิตมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมเนื้อเยื่อบุผิว ยืดอายุเซลล์ต้นกำเนิด ยับยั้งการอักเสบ และไม่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์แบบสำหรับการปลูกถ่าย ใช้ในการรักษาโรคตาบางชนิด และสามารถใช้ปิดแผลไฟไหม้ในบริเวณอื่นนอกเหนือจากตาได้อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า อุดมเวช อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และจักษุแพทย์ ประจำศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า “การใช้เยื่อหุ้มรกเพื่อการรักษาทางการแพทย์อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยความพร้อมของอุปกรณ์ และสารเคมีที่มีราคาสูง ผนวกกับต้องมีความพร้อมของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ปัจจุบันยังพบปัญหาการขาดแคลนเยื่อหุ้มรกบ่อยครั้ง เนื่องจากหน่วยงานที่มีความพร้อมในการผลิตเยื่อหุ้มรกยังมีจำนวนน้อย รวมถึงการขนส่งทำได้ยาก และต้องจัดเก็บภายใต้ความเย็น -80 องศาเซลเซียสตลอดเวลา”
อย่างไรก็ตามถือเป็นความโชคดีของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เมื่อมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน จึงสามารถผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกอย่างครบวงจรได้ นับเป็นแห่งที่ 2 ในภาคใต้ ที่สามารถดำเนินการได้ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาวะความขาดแคลนเยื่อหุ้มรกและช่วยพัฒนามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยของ จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ภาคใต้ตอนบน และทั่วประเทศ โดยได้รับการติดต่อขอรับบริการไกลถึงจังหวัดมหาสารคามแล้ว
“ความพิเศษของเยื่อหุ้มรก คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะไม่คิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติหลายประการช่วยให้แผลหายดีขึ้น แพทย์จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยออกจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในแง่ของการรักษาโรคตา โดยการผ่าตัดที่ใช้บ่อยสุดคือ ต้อเนื้อ ภาวะแผลไฟไหม้หรือสารเคมีเข้าตา และภาวะอื่นๆ ที่มีการสูญเสียเยื่อบุตา แผลกระจกตาที่เสี่ยงต่อการทะลุ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการฯ ต้องขอขอบคุณ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์, ภาควิชาจักษุวิทยา ม.สงขลานคริทร์, และหน่วยเภสัชกรรม รพ.สงขลานครินทร์ ที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จในครั้งนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า กล่าว
ทั้งนี้ โครงการฯ เปิดรับสั่งจอง “แผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์” แล้วที่ชั้น 3 อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันและเวลาราชการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-7567-2587 เว็บไซต์: สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://riie.wu.ac.th/?p=20436 หรือ เว็บไซต์: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://www.wu.ac.th/th
ข่าวโดย ชลธิชา ลิมปิติ ส่วนสื่อสารองค์กร
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าวจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์