ข้อมูลเอามาจากโพสของเพจ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure นะครับ จากโพสนี้
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/pfbid02KaBUmAPhCpk7evZhuNTonXSFuYgzqQY8tw6tPBgKUSNusXsnm279DgBpw7knzdEzl
เมื่อวันก่อนมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมด้านการเปรียบเทียบเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงรายละเอียดในการออกแบบของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งตามรายละเอียดการศึกษาเดิมจะมีการก่อสร้างในเส้นทางสายสีแดงช่วงสถานีโรงพยาบาลนครพิงค์-สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี
จากการศึกษาเดิมเป็นรูปแบบรถไฟฟ้า LRT (รถราง) ล้อเหล็ก เป็นทางวิ่งระดับดินร่วมกับลดใต้ดินช่วงเขตเมืองชั้นใน ตั้งแต่สถานีข่วงสิงห์ - สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
รายละเอียดการศึกษาเดิมตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/715315845573564/?d=n&mibextid=nJa2DX
จากข้อสันนิษฐานของ รฟม และกระทรวงคมนาคม คิดว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงเกินไป เอกชนอาจจะไม่สนใจเข้าร่วม
จึงได้มีการสั่งให้รื้อผลการศึกษาเดิม โดยมีการเปรียบเทียบ ใน 2 ด้านคือ
1. รูปแบบการก่อสร้าง ระดับดิน 100% หรือ มีใต้ดินบางส่วน
2. รถไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการจะเป็นรูปแบบไหน ล้อเหล็ก ล้อยาง หรือไม่มีราง (ART)
รายละเอียดจากการประชุมครั้งล่าสุด
คลิปรายละเอียดผลการศึกษาใหม่ของที่ปรึกษา
สรุปรายละเอียดจากคลิปผลการศึกษาโครงการ
1. แนวเส้นทาง เป็นเส้นทางเดิม คือ สายสีแดง สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์-สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี
2. ทำการศึกษารูปแบบเส้นทางช่วงในเขตเมืองชั้นในใหม่ จากการทำทางใต้ดินแยกกับถนนอย่างอิสระ => เปลี่ยนเป็นทางระดับดิน บางช่วงวิ่งร่วมกับจราจรปรกติ (Mixed Traffic)
3. เทคโนโลยีที่ใช้ เปรียบเทียบระหว่าง LRT ล้อเหล็ก / LRT ล้อยาง / ART รถไฟฟ้าล้อยาง เลนเสมือน
ซึ่งหวยคงไปลงที่ ART รถไฟฟ้าล้อยาง เลนเสมือน เหมือนกับหลายๆเมืองที่ถูกสั่งรื้อไปแล้ว
ใครยังไม่รู้จักรถไฟ ART ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1210186532753157&id=491766874595130&mibextid=nJa2DX
ใครอยากไปร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถไปได้ที่เพจโครงการ ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/profile.php?id=100071186169677
ปล. ในเพจโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง ได้มีคลิปย้อนหลังตอนที่ประชุมกันครั้งล่าสุดด้วย ถ้าใครอยากฟังรายละเอียดก็รับชมคลิปย้อนหลังได้
ปล2. ในเพจต้นทางมีรูปรายละเอียดที่เค้าแคปมาจากในวีดีโออีกที ไม่ได้เอามาลงในนี้เข้าไปดูในเพจต้นทางได้
ความคืบหน้าของรถไฟฟ้าเชียงใหม่ มีปรับเปลี่ยนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
เมื่อวันก่อนมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมด้านการเปรียบเทียบเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงรายละเอียดในการออกแบบของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งตามรายละเอียดการศึกษาเดิมจะมีการก่อสร้างในเส้นทางสายสีแดงช่วงสถานีโรงพยาบาลนครพิงค์-สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี
จากการศึกษาเดิมเป็นรูปแบบรถไฟฟ้า LRT (รถราง) ล้อเหล็ก เป็นทางวิ่งระดับดินร่วมกับลดใต้ดินช่วงเขตเมืองชั้นใน ตั้งแต่สถานีข่วงสิงห์ - สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
รายละเอียดการศึกษาเดิมตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/715315845573564/?d=n&mibextid=nJa2DX
จากข้อสันนิษฐานของ รฟม และกระทรวงคมนาคม คิดว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงเกินไป เอกชนอาจจะไม่สนใจเข้าร่วม
จึงได้มีการสั่งให้รื้อผลการศึกษาเดิม โดยมีการเปรียบเทียบ ใน 2 ด้านคือ
1. รูปแบบการก่อสร้าง ระดับดิน 100% หรือ มีใต้ดินบางส่วน
2. รถไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการจะเป็นรูปแบบไหน ล้อเหล็ก ล้อยาง หรือไม่มีราง (ART)
รายละเอียดจากการประชุมครั้งล่าสุด
คลิปรายละเอียดผลการศึกษาใหม่ของที่ปรึกษา
สรุปรายละเอียดจากคลิปผลการศึกษาโครงการ
1. แนวเส้นทาง เป็นเส้นทางเดิม คือ สายสีแดง สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์-สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี
2. ทำการศึกษารูปแบบเส้นทางช่วงในเขตเมืองชั้นในใหม่ จากการทำทางใต้ดินแยกกับถนนอย่างอิสระ => เปลี่ยนเป็นทางระดับดิน บางช่วงวิ่งร่วมกับจราจรปรกติ (Mixed Traffic)
3. เทคโนโลยีที่ใช้ เปรียบเทียบระหว่าง LRT ล้อเหล็ก / LRT ล้อยาง / ART รถไฟฟ้าล้อยาง เลนเสมือน
ซึ่งหวยคงไปลงที่ ART รถไฟฟ้าล้อยาง เลนเสมือน เหมือนกับหลายๆเมืองที่ถูกสั่งรื้อไปแล้ว
ใครยังไม่รู้จักรถไฟ ART ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1210186532753157&id=491766874595130&mibextid=nJa2DX
ใครอยากไปร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถไปได้ที่เพจโครงการ ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/profile.php?id=100071186169677
ปล. ในเพจโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่สายสีแดง ได้มีคลิปย้อนหลังตอนที่ประชุมกันครั้งล่าสุดด้วย ถ้าใครอยากฟังรายละเอียดก็รับชมคลิปย้อนหลังได้
ปล2. ในเพจต้นทางมีรูปรายละเอียดที่เค้าแคปมาจากในวีดีโออีกที ไม่ได้เอามาลงในนี้เข้าไปดูในเพจต้นทางได้