ดี ชั่ว คืออะไร มันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมเราเลย ถูกผิดกลายเป็นเรื่องเอาตามใจตัวเองเป็นหลัก มันย่อมนำไปสู่ปัญหาต่างๆเยอะแยะ โรงเรียนหรือมหาลัยก็ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญนัก ความรู้ไม่คู่คุณธรรมถูกกันแยกออกไป เอาแต่เรียนเพื่อออกไปทำงานหาเงินเป็นหลัก หลงไหลเงินทองอำนาจกันจนไม่เห็นผิดชอบชั่วดี ชีวิตเรา สังคมเราก็วุ่นวายซิ
พื้นฐานหลักการที่สำคัญของดี ชั่ว ซึ่งอิงจากธรรมะ ใครเห็นต่างก็คุยได้ไม่มีปัญหา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาอยู่แล้ว
1) “ดี” ก็คือสิ่งนำไปสู่ความสุข “ชั่ว” ก็นำไปสู่ทุกข์ พุทธตรัส "การสะสมความดีนำสุขมาให้" ชั่วก็นำทุกข์มา โดยที่บางครั้งสิ่งดีๆความสุขสมหวังจะได้มาก็ต้องแลกด้วยความทุกข์ลำบากบ้างในเบื้องต้นแต่ว่ามันคุ้ม เราเลยเรียกว่ามันเป็นสิ่งที่"ดี" ผมกล่าวสิ่งนี้เพื่อจะได้เห็นคุณค่าของ"ความดี" เพราะสมัยนี้หลายคนเห็นคนดี/ความดีเป็นเรื่องตลกขบขัน น่าหัวเราะ เพราะก็เข้าใจว่าคำว่า"ความดี" "คนดี" มันถูกทำให้เพี้ยนไปหมดเพราะพวกดัดจริตดี บ้างก็ยกยอ บ้างก็มอบรางวัลให้กันเอง น่าทุเร..เนอะ และเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมที่มีหลายผู้คนก็ต้อง...
2) ทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงผู้อื่นด้วย เราอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน อะไรที่ไม่ดีไม่อยากให้เขามาทำกับเราๆก็อย่าไปทำกับเขา หรือ ไม่เบียดเบียนกัน ก็แค่นั้นเอง จบ ซึ่งปัญหาที่สำคัญมากกก…คือพวกหลงในเงินทอง ได้เงินมาแบบไม่ค่อยจะสนใจว่ามันสร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้ใคร แค่ไหนไหม อ้างโน่นนี่ไปเรื่อย ค้ำกำไรเกินควร ฯลฯ
ซึ่งการจะรู้อะไร “ดี” “ชั่ว” มันก็ต้องใช้ปัญญา เพราะเหตุผลสำคัญอันนึงที่ทำชั่วกันเพราะคิดว่ามันดี เพราะตัวเองได้ประโยชน์ คนอื่นทุกข์ก็ช่วยไม่ได้ (ซึ่งก็คงเรียกพวกนี้ว่าพวกเห็นแก่ตัว คนชั่ว) แต่ถ้ามีปัญญาเข้าใจก็จะมองเห็นว่า
ถ้าทำชั่ว,ทำไม่ดี ถึงแม้มันนำสุขมาให้(ทีแรก)แต่ภายหลังมันสามารถนำทุกข์มาให้ได้ ไม่กับตัวเองก็คนใกล้ตัว/คนที่เรารักได้ ก็จะพยายามไม่ทำชั่ว พยายามทำแต่ความดี ช่วยเหลือกัน(แต่ไม่ใช่ช่วยกันโกงนะ) ไม่เอาเปรียบกัน ไม่ขี้โกง ฯลฯ สังคมมันก็จะน่าอยู่ขึ้น ลูกหลานเราก็จะได้อยู่ในสังคมที่น่าอยู่ขึ้น
ทางธรรมมีว่า "มีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์" อย่างที่เห็นที่เป็นก็คือ รุ่นก่อนทำไม่ดีไว้ รุ่นใหม่รับกรรมไปด้วย ทำลายธรรมชาติเกิดโลกร้อน น้ำท่วม ฝุ่นพิษ2.5 ความไม่เป็นธรรม:-พวกมีก็ยิ่งมี พวกจนก็ยิ่งจน(ความเหลื่อมล้ำสูง อยู่กันลำบากขึ้น) ฯลฯ
ทางธรรมมี หิริโอตตัปปะ ความละอาย,ความกลัวต่อบาป เป็นธรรมะคุ้มครองโลก/คุ้มครองสังคม แต่เพราะหลายคนหน้าไม่อาย สังคมมันก็เลยวุ่นวาย มันก็
อธิบายได้ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ต้องไปชาติไหนๆ
คนรุ่นใหม่ก็น่าจะพยายามเข้าใจ จะได้หยุดที่รุ่นคุณ ค่อยๆแก้ไขกันไป มันทำได้อยู่แล้ว อย่าไปเอาอย่างบางคนบางกลุ่มที่อ้างโน่นนี่ไปเรื่อยหรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่คิดแก้ปัญหาอย่างจริงจังจริงใจ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ
+++อีกนิดเกี่ยวกับกระทู้นี้หน่อยเพราะเป็นบุคคลมีชื่อเสียงของคนรุ่นใหม่อยู่ไม่น้อยคือนายเนติวิทย์ นักเคลื่อไหวทางการเมือง การศึกษา เด็กจุฬาฯ เมื่อเร็วๆนี้พึ่งเห็นข่าวว่าบวชมาได้ 4เดือนแล้ว ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีมากของคนรุ่นใหม่ที่คิดเข้าไปศึกษา+ปฏิบัติธรรมให้จริงจัง หวังว่าจะได้แนวทางธรรมะเอามาแก้ปัญหาได้ถูกแนวทาง (ถ้าเขาไม่บวชยาวไปซะก่อนนะ)
ดีชั่วยังไม่รู้จักแล้วสังคมจะสงบสุขร่มเย็นได้ยังไง???
พื้นฐานหลักการที่สำคัญของดี ชั่ว ซึ่งอิงจากธรรมะ ใครเห็นต่างก็คุยได้ไม่มีปัญหา ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาอยู่แล้ว
1) “ดี” ก็คือสิ่งนำไปสู่ความสุข “ชั่ว” ก็นำไปสู่ทุกข์ พุทธตรัส "การสะสมความดีนำสุขมาให้" ชั่วก็นำทุกข์มา โดยที่บางครั้งสิ่งดีๆความสุขสมหวังจะได้มาก็ต้องแลกด้วยความทุกข์ลำบากบ้างในเบื้องต้นแต่ว่ามันคุ้ม เราเลยเรียกว่ามันเป็นสิ่งที่"ดี" ผมกล่าวสิ่งนี้เพื่อจะได้เห็นคุณค่าของ"ความดี" เพราะสมัยนี้หลายคนเห็นคนดี/ความดีเป็นเรื่องตลกขบขัน น่าหัวเราะ เพราะก็เข้าใจว่าคำว่า"ความดี" "คนดี" มันถูกทำให้เพี้ยนไปหมดเพราะพวกดัดจริตดี บ้างก็ยกยอ บ้างก็มอบรางวัลให้กันเอง น่าทุเร..เนอะ และเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมที่มีหลายผู้คนก็ต้อง...
2) ทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงผู้อื่นด้วย เราอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน อะไรที่ไม่ดีไม่อยากให้เขามาทำกับเราๆก็อย่าไปทำกับเขา หรือ ไม่เบียดเบียนกัน ก็แค่นั้นเอง จบ ซึ่งปัญหาที่สำคัญมากกก…คือพวกหลงในเงินทอง ได้เงินมาแบบไม่ค่อยจะสนใจว่ามันสร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้ใคร แค่ไหนไหม อ้างโน่นนี่ไปเรื่อย ค้ำกำไรเกินควร ฯลฯ
ซึ่งการจะรู้อะไร “ดี” “ชั่ว” มันก็ต้องใช้ปัญญา เพราะเหตุผลสำคัญอันนึงที่ทำชั่วกันเพราะคิดว่ามันดี เพราะตัวเองได้ประโยชน์ คนอื่นทุกข์ก็ช่วยไม่ได้ (ซึ่งก็คงเรียกพวกนี้ว่าพวกเห็นแก่ตัว คนชั่ว) แต่ถ้ามีปัญญาเข้าใจก็จะมองเห็นว่าถ้าทำชั่ว,ทำไม่ดี ถึงแม้มันนำสุขมาให้(ทีแรก)แต่ภายหลังมันสามารถนำทุกข์มาให้ได้ ไม่กับตัวเองก็คนใกล้ตัว/คนที่เรารักได้ ก็จะพยายามไม่ทำชั่ว พยายามทำแต่ความดี ช่วยเหลือกัน(แต่ไม่ใช่ช่วยกันโกงนะ) ไม่เอาเปรียบกัน ไม่ขี้โกง ฯลฯ สังคมมันก็จะน่าอยู่ขึ้น ลูกหลานเราก็จะได้อยู่ในสังคมที่น่าอยู่ขึ้น
ทางธรรมมีว่า "มีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์" อย่างที่เห็นที่เป็นก็คือ รุ่นก่อนทำไม่ดีไว้ รุ่นใหม่รับกรรมไปด้วย ทำลายธรรมชาติเกิดโลกร้อน น้ำท่วม ฝุ่นพิษ2.5 ความไม่เป็นธรรม:-พวกมีก็ยิ่งมี พวกจนก็ยิ่งจน(ความเหลื่อมล้ำสูง อยู่กันลำบากขึ้น) ฯลฯ
ทางธรรมมี หิริโอตตัปปะ ความละอาย,ความกลัวต่อบาป เป็นธรรมะคุ้มครองโลก/คุ้มครองสังคม แต่เพราะหลายคนหน้าไม่อาย สังคมมันก็เลยวุ่นวาย มันก็อธิบายได้ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ต้องไปชาติไหนๆ
คนรุ่นใหม่ก็น่าจะพยายามเข้าใจ จะได้หยุดที่รุ่นคุณ ค่อยๆแก้ไขกันไป มันทำได้อยู่แล้ว อย่าไปเอาอย่างบางคนบางกลุ่มที่อ้างโน่นนี่ไปเรื่อยหรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่คิดแก้ปัญหาอย่างจริงจังจริงใจ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ
+++อีกนิดเกี่ยวกับกระทู้นี้หน่อยเพราะเป็นบุคคลมีชื่อเสียงของคนรุ่นใหม่อยู่ไม่น้อยคือนายเนติวิทย์ นักเคลื่อไหวทางการเมือง การศึกษา เด็กจุฬาฯ เมื่อเร็วๆนี้พึ่งเห็นข่าวว่าบวชมาได้ 4เดือนแล้ว ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีมากของคนรุ่นใหม่ที่คิดเข้าไปศึกษา+ปฏิบัติธรรมให้จริงจัง หวังว่าจะได้แนวทางธรรมะเอามาแก้ปัญหาได้ถูกแนวทาง (ถ้าเขาไม่บวชยาวไปซะก่อนนะ)