อจินไตยกับศรัทธาที่ไม่งมงาย
๑. ศรัทธาญาณสัมปยุตต์
พระพุทธศาสนาศรัทธาที่ประกอบด้วยญาณปัญญา ไม่งมงาย ได้แก่ ศรัทธา ๑. กรรม ๒. ผลของกรรม ๓. เรื่องสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ว่า ผู้ทำดีจักได้ดี ผู้ทำชั่วจักได้ชั่ว และ ๔. ปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒. อจินไตย ๔ กับ พุทธอาณา
สำหรับเทพอจินไตยในศาสนาฮินดูแบบบาหลี ดูที่ อจินไตย (เทพเจ้า)
อจินไตย แปลว่า สิ่งที่ไม่ควรคิด อจินไตย มาจากคำว่า อะ + จินไตย (พึงคิดพิจารณา) แปลว่า ไม่พึงคิดหรือจำแนกตรรกะลงไปได้ หมายถึง สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี ๔ อย่างได้แก่
· พุทธวิสัย วิสัยแห่งความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
· ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของผู้มีฌาน ทั้งมนุษย์ และเทวดา
· กรรมวิสัย วิสัยของกฎแห่งกรรม และวิบากกรรม คือการให้ผลของกรรมที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติ
· โลกวิสัย วิสัยแห่งโลก คือการมีอยู่ของสวรรค์ นรก และสังสาระวัฏฏ์
ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ ถ้าคิดมากจริงจังในการหาคำตอบเหล่านั้นจากการคิดเดาเอาด้วยตรรกะเองจึงอาจกลายเป็นคนบ้าได้ อจินไตยในเรื่องทางจิตจึงเป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมชั้นสูงเท่านั้น (เครดิต
https://th.wikipedia.org/wiki/อจินไตย )
๓. พุทธอาณา
ส่วนเรื่องใครทำกรรมอันใดจะได้รับวิบาก (ผลของการกระทำ) อย่างไร ไม่เป็นวิสัยของการคิดของใคร ๆ ดังแสดงในข้างต้น แปลกที่ “อริยสัจจ์ ๔” และ “ปฏิจจสมุปบาท” วิเคราะห์อย่างผิวเผิน ก็ว่าด้วยเรื่องเหตุผลเหมือนกัน แต่อันหนึ่งทรงห้ามคิดอีกอันหนึ่งทรงส่งเสริมให้พิจารณาได้ แท้ที่จริงมิได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องแยกกันเป็นคนละหมวดธรรม กล่าวคือ ในเรื่องกรรม ทรงสอนให้ปล่อยวาง เช่นว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ไม่ว่าจักทำกรรมอันใดไว้ ผู้ทำดีจักได้ดี ผู้ทำชั่วจักได้ชั่ว” และวิสัยเหล่านี้ทั้งหมดรวมลงใน “ตถาคตโพธิศรัทธา” ทั้งสิ้น คือ ให้เชื่อ แต่ไม่ได้ใช้ความคิด แล้วให้เรารีบเร่งละชั่วทำดีให้สุดความสามารถต่อไปไม่หยุดยั้ง ในเรื่อง “อริยสัจจ์ ๔” และ “ปฏิจจสมุปบาท” ให้พิจารณาในเรื่อง “กิจญาณ” คือ ทุกข์ ควร กำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ควรทำให้เจริญ
อจินไตยกับศรัทธาที่ไม่งมงาย เวอร์ชั่นปรับปรุง ครั้งที่ ๑
อจินไตยกับศรัทธาที่ไม่งมงาย
๑. ศรัทธาญาณสัมปยุตต์
พระพุทธศาสนาศรัทธาที่ประกอบด้วยญาณปัญญา ไม่งมงาย ได้แก่ ศรัทธา ๑. กรรม ๒. ผลของกรรม ๓. เรื่องสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ว่า ผู้ทำดีจักได้ดี ผู้ทำชั่วจักได้ชั่ว และ ๔. ปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๒. อจินไตย ๔ กับ พุทธอาณา
สำหรับเทพอจินไตยในศาสนาฮินดูแบบบาหลี ดูที่ อจินไตย (เทพเจ้า)
อจินไตย แปลว่า สิ่งที่ไม่ควรคิด อจินไตย มาจากคำว่า อะ + จินไตย (พึงคิดพิจารณา) แปลว่า ไม่พึงคิดหรือจำแนกตรรกะลงไปได้ หมายถึง สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี ๔ อย่างได้แก่
· พุทธวิสัย วิสัยแห่งความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
· ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของผู้มีฌาน ทั้งมนุษย์ และเทวดา
· กรรมวิสัย วิสัยของกฎแห่งกรรม และวิบากกรรม คือการให้ผลของกรรมที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติ
· โลกวิสัย วิสัยแห่งโลก คือการมีอยู่ของสวรรค์ นรก และสังสาระวัฏฏ์
ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ ถ้าคิดมากจริงจังในการหาคำตอบเหล่านั้นจากการคิดเดาเอาด้วยตรรกะเองจึงอาจกลายเป็นคนบ้าได้ อจินไตยในเรื่องทางจิตจึงเป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมชั้นสูงเท่านั้น (เครดิต https://th.wikipedia.org/wiki/อจินไตย )
๓. พุทธอาณา
ส่วนเรื่องใครทำกรรมอันใดจะได้รับวิบาก (ผลของการกระทำ) อย่างไร ไม่เป็นวิสัยของการคิดของใคร ๆ ดังแสดงในข้างต้น แปลกที่ “อริยสัจจ์ ๔” และ “ปฏิจจสมุปบาท” วิเคราะห์อย่างผิวเผิน ก็ว่าด้วยเรื่องเหตุผลเหมือนกัน แต่อันหนึ่งทรงห้ามคิดอีกอันหนึ่งทรงส่งเสริมให้พิจารณาได้ แท้ที่จริงมิได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องแยกกันเป็นคนละหมวดธรรม กล่าวคือ ในเรื่องกรรม ทรงสอนให้ปล่อยวาง เช่นว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ไม่ว่าจักทำกรรมอันใดไว้ ผู้ทำดีจักได้ดี ผู้ทำชั่วจักได้ชั่ว” และวิสัยเหล่านี้ทั้งหมดรวมลงใน “ตถาคตโพธิศรัทธา” ทั้งสิ้น คือ ให้เชื่อ แต่ไม่ได้ใช้ความคิด แล้วให้เรารีบเร่งละชั่วทำดีให้สุดความสามารถต่อไปไม่หยุดยั้ง ในเรื่อง “อริยสัจจ์ ๔” และ “ปฏิจจสมุปบาท” ให้พิจารณาในเรื่อง “กิจญาณ” คือ ทุกข์ ควร กำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ควรทำให้เจริญ