ขอรบกวนปรึกษาดังนี้ค่ะ พอดีสนใจอยากศึกษาด้านจิตวิทยาการปรึกษา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเรามีความไม่สบายใจมากและได้อ่านหนังสือด้านจิตวิทยาหลายเล่มที่แต่งโดยนักจิตวิทยา เราเห็นเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก และสามารถทำเป็นอาชีพที่ได้และได้ช่วยคนให้พ้นจากปัญหาอย่างเป็นระบบ จึงอยากลองศึกษาด้านนี้ดูค่ะ แต่ดูนักจิตวิทยาคลินิค คงไกลตัวสำหรับเราเกินไป เพราะกว่าจะเรียนจบอายุคงเกินที่จะรับราชการได้แล้ว เลยอยากเป็น นักจิตวิทยาที่ปรึกษา (ทำกับบุคคล) หรือไม่ก็นักจิตวิทยาองค์กร (ทำกับองค์กรหรือพนักงานบริษัทด้านงาน)
ขอสอบถามว่า
(1) หากเรียนจบด้าน การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Guidance and Psychological Counseling) ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) สามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาได้มั้ยคะ โดยมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนตั้งแต่ ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก
ปริญญาตรีจะเน้น การแนะแนวและให้คำปรึกษาในการศึกษา และกับเด็กวัยรุ่นระดับประถม หรือ มัธยม
รายละเอียดหลักสูตรป. ตรี
ปริญญาโทจะเนิน การแนะแนวและให้คำปรึกษาในเชิงที่กว้างขึ้น ทั้งเรื่องทั่วไปและระดับองค์กร
รายละเอียดหลักสูตรปริญญาโท
ส่วนปริญญาเอกจะเน้น การวิจัยเป็นหลัก
(2) หากสามารถช่วยในการเปลี่ยนอาชีพได้ ควรเริ่มเรียนที่ ปริญญาโทเลยได้มั้ยคะ หรือควรกลับไปเรียนปริญญาตรีก่อน (เนื่องหาดูไม่ได้ต่อเนื่องกันนัก)
(3) จากที่ศึกษามาทราบว่า การแนะแนว (Guidance) กับ การให้คำปรึ๋กษา (Counseling) มีความต่างกันอยู่ในเรื่องของวิธีการในการให้คำแนะนำ
หรือ ควรจะเรียนด้านจิตวิทยาการปรึกษาโดยตรงเลยดีกว่า แต่ติดปัญหาคือ หลักสูตรส่วนมากเป็นในเวลาราชการ ซึ่งติดงานประจำอยู่จึงไม่ค่อยสะดวกค่ะ
ที่เห็นมีนอกเวลา จะมีของ ABAC ที่ตรงแต่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก หรือมีหลักสูตรใดแนะนำหรือไม่คะ
(4) นักจิตวิทยาการปรึกษาต้องมีเงื่อนไขการฝึกงานเหมือน Clinical Psychologist มั้ยคะ หรือสามารถเป็นได้เลย เห็นในอเมริกาและอังกฤษ ต้องการคนที่จบระดับปริญญาเอก จึงจะได้ License ในการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาได้ สำหรับประเทศไทยไม่พบข้อมูลค่ะ
เป้าหมายหลังเรียนจบอยากเป็นผู้ให้คำปรึกษาทาง Online หรือ ทำเป็นอาสาสมัครก็ได้ ในเรื่องการเรียน การทำงาน การเลือกอาชีพ การรับมือกับปัญหาในที่ทำงาน จิตวิทยาด้านการเงิน การพัฒนาทักษะผู้นำ จิตวิทยาสำหรับวัยรุ่น การรับมือปัญหาจากโซเชี่ยลมีเดีย เป็นต้นค่ะ ไม่อยากเป็น Life Coach นะคะ อยากช่วยให้ผู้ที่รับปรึกษาได้ตัดสินใจและก้าวผ่านเรื่องซับซ้อนทางใจได้ด้วยตัวเองค่ะ อาจทำเป็นอาชีพที่สองจากงานประจำ หรือ หากรู้สึกชอบอาจกลายมาเป็นอาชีพหลักได้ค่ะ
รบกวนขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ด้วยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ
นักจิตวิทยาการปรึกษา: เรียนจบวุฒิ ศษ.ม. การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ขอสอบถามว่า
(1) หากเรียนจบด้าน การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Guidance and Psychological Counseling) ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) สามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาได้มั้ยคะ โดยมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนตั้งแต่ ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก
ปริญญาตรีจะเน้น การแนะแนวและให้คำปรึกษาในการศึกษา และกับเด็กวัยรุ่นระดับประถม หรือ มัธยม รายละเอียดหลักสูตรป. ตรี
ปริญญาโทจะเนิน การแนะแนวและให้คำปรึกษาในเชิงที่กว้างขึ้น ทั้งเรื่องทั่วไปและระดับองค์กร รายละเอียดหลักสูตรปริญญาโท
ส่วนปริญญาเอกจะเน้น การวิจัยเป็นหลัก
(2) หากสามารถช่วยในการเปลี่ยนอาชีพได้ ควรเริ่มเรียนที่ ปริญญาโทเลยได้มั้ยคะ หรือควรกลับไปเรียนปริญญาตรีก่อน (เนื่องหาดูไม่ได้ต่อเนื่องกันนัก)
(3) จากที่ศึกษามาทราบว่า การแนะแนว (Guidance) กับ การให้คำปรึ๋กษา (Counseling) มีความต่างกันอยู่ในเรื่องของวิธีการในการให้คำแนะนำ
หรือ ควรจะเรียนด้านจิตวิทยาการปรึกษาโดยตรงเลยดีกว่า แต่ติดปัญหาคือ หลักสูตรส่วนมากเป็นในเวลาราชการ ซึ่งติดงานประจำอยู่จึงไม่ค่อยสะดวกค่ะ
ที่เห็นมีนอกเวลา จะมีของ ABAC ที่ตรงแต่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก หรือมีหลักสูตรใดแนะนำหรือไม่คะ
(4) นักจิตวิทยาการปรึกษาต้องมีเงื่อนไขการฝึกงานเหมือน Clinical Psychologist มั้ยคะ หรือสามารถเป็นได้เลย เห็นในอเมริกาและอังกฤษ ต้องการคนที่จบระดับปริญญาเอก จึงจะได้ License ในการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาได้ สำหรับประเทศไทยไม่พบข้อมูลค่ะ
เป้าหมายหลังเรียนจบอยากเป็นผู้ให้คำปรึกษาทาง Online หรือ ทำเป็นอาสาสมัครก็ได้ ในเรื่องการเรียน การทำงาน การเลือกอาชีพ การรับมือกับปัญหาในที่ทำงาน จิตวิทยาด้านการเงิน การพัฒนาทักษะผู้นำ จิตวิทยาสำหรับวัยรุ่น การรับมือปัญหาจากโซเชี่ยลมีเดีย เป็นต้นค่ะ ไม่อยากเป็น Life Coach นะคะ อยากช่วยให้ผู้ที่รับปรึกษาได้ตัดสินใจและก้าวผ่านเรื่องซับซ้อนทางใจได้ด้วยตัวเองค่ะ อาจทำเป็นอาชีพที่สองจากงานประจำ หรือ หากรู้สึกชอบอาจกลายมาเป็นอาชีพหลักได้ค่ะ
รบกวนขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ด้วยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ