บรรลัยวิทยา: ทำไมหนังยางรัดถุงแกงมันถึงแกะไม่ออก ?


พี่ ๆ ทำไมหนังยางรัดถุงแกงมันถึงแกะไม่ออกอ๊ะ ?? 

เสียงน้องคนเดิม เพิ่มเติมคือคำถามใหม่ ๆ ที่สรรหามาถามผมได้แทบทุกครั้งที่เจอหน้ากันที่ร้านกาแฟ

ถ้าจะเล่านี้ยาวววววว เลยนะ ผมพยายามปฏิเสธกลับไปในแบบสุภาพ 

“โอเคพี่ หนูว่างได้พี่เหลามาเลย”

น้องตอบกลับผมมาอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 5 มิลลิเซคคัน 

ผมอึ้งไปซักพัก พร้อมกับคิดใจ นี้มันไม่มันเข้าใจความนัยที่ผมตอบไปใช่ไหม งั้นเลยตามเลยแล้วกันว่ะ !! 

เรารู้ไหมหนังยางมัดถุงแกงทำมาจากอะไร ? 

รู้ดิพี่ มันก็ทำมาจากยางพารา หนูรู้หนูดูยูทูปมา 

โอเค แล้วรู้ไหม ว่าหนังยางที่ทำจากยางพารามันมีสมบัติยืดหยุดสูง (Elastic Property) มาก

ก็พอรู้อยู่นะ หนูเรียนมาตั้งแต่ปี 1แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกันหรือพี่ ?

คืองี้ ถ้าเราดู Stress- Strain Curve ที่แสดงสมบัติทางกลของยางพารา
เราจะเห็นว่ายางพาราเนี่ย เมื่อเราใส่แรงลงไปเรื่อย ๆ ตัวยางเองก็จะยืดออกมากขึ้นเรื่อย ๆ 
และ Stress- Strain Curve ของยางพาราเองก็แทบจะเป็นเส้นตรง

แต่เมื่อไหร่ที่เราปลดแรงที่ใส่ลงไป ตัวยางเองก็จะหดกลับมาอยู่สภาพเดิมเลย ซึ่งเราเรียกสมบัตินี้ว่าสมบัติการยืดหยุ่นของวัสดุ
ในยางเราจะไม่เห็นลักษณะการเสียรูปแบบถาวร (Plastic Deformation) เหมือนกับที่พบในเหล็ก หรือ พลาสติกชนิดที่มีโครงสร้างผลึก (Crystalline)
ที่พอเรายืดไปอาจจะพบจุดคราก (Yield Point) หากวัสดุได้รับแรงหรือความเค้นสูงเกินกว่าจุดนี้ วัสดุจะยืดตัวออกและไม่หดกลับมาที่เดิม
หรือเกิดการเสียรูปอย่างถาวร



จากสมบัติการยืดหยุ่นตัวขั้นสุดของหนังยาง และการศึกษาและทดลองมัดปากถุงกว่าพันกว่าหมื่นถุงของแม่ค้าไทยเรานี้แหละ
ในที่สุดก็พบว่า วิธีการมัดถุงที่ดี (จนแกะไม่ออก) มีดังนี้

1. นำหนังยางคล้องรอบปากถุงแกงและยืดหนังยางให้มากที่สุดเท่าที่เป็น ไปได้
2. จับถุงแกงให้มั่นและใช้ปากถุงเป็นจุดศูนย์กลางในการหมุน
3. หมุนถุงแกงติ้ว ๆ ๆ โดยที่มืออีกข้างหนึ่งยังดึงหนังยางอยู่ 
    สำหรับหนังยางขนาดปกติให้หมุนหนังยางอย่างน้อย 9 รอบ จึงจะเหมาะสม
    ความยากง่ายในการแกะจะสัมพันธ์กับจำนวนรอบในการหมุน
4. คล้องปลายหนังยางและมัดปมให้เรียบร้อย



https://www.youtube.com/watch?v=ZnYlNW0hboo

ด้วยวิธีการข้างต้น หลังจากที่เราปล่อยมือจากหนังยาง
หนังยางที่ยืดตัวอย่างเต็มที่จะพยายามหดตัวกลับเข้าสู่สภาวะเดิม
หนังยางจึงรัดปากถุงแน่นขึ้นเรื่อย ๆ แน่นขึ้นเรื่อย ๆ แกงในถุงจึงไม่หก

อืมมมมน่าจะจริงของพี่แฮะ

แล้ววิธีการนี้มันเกี่ยวอะไรกับการแกะถุงไม่ออกละค่ะ ?

น้องคนเดิมถามสวนมาในขณะที่ผมยังเล่าไม่จบ

ก็อย่างที่บอกไปไง ว่ายิ่งถุงแกงหมุนติ้ว ๆ มากเท่าไหร่ก็ยิ่งแกะยาก

หนังยางแรกที่เรามัดมันก็ยืดตัวได้ไม่มากเพราะเรายืดหนังยางในขณะมัด
หนังยางส่วนสุดท้ายที่เหลืออยู่แม้จะยืดตัวได้มาก 
แต่ความยาวของหนังยางที่เหลืออยู่ก็ไม่มากพอที่จะทำให้เราสามารถแก้เงื่อนปมต่าง ๆ ที่อยู่บนถุงได้

“อ๋อมันเป็นอย่างนี้นี่เอง” หนูเข้าใจล่ะ

หลังจากสาธยามาเนิ่นนาน ปมหนังยางที่มัดอยู่ในใจของน้องก็คลายลง

พร้อม ๆ กับที่ผมได้จังหันหลังกลับไปหยิบแก้วกาแฟที่สั่งไว้ พร้อมกับน้องคนขายว่า

“เก็บเงินกับน้องที่อยู่ข้างหลังเหมือนเดิมนะครับ!! 

#เหล็กไม่เอาถ่าน

Ref.
1. https://www.youtube.com/watch?v=ZnYlNW0hboo
2. Alan N. Gent, Engineering with Rubber, 3rd Edition, Hanser Publishers, Munich, 2012.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่