"ขอขอบคุณเพจ Nguyen Military History อย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/NguyenMilitaryHistory/
ในช่วงสงครามเวียดนามหากกล่าวถึงจรวดต่อสู้รถถังที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางที่สามารถทำลายรถถังของกองทัพเวียดนามเหนือโดยการยิงเพียงนัดเดียวจากระยะไกลได้อย่างแม่นยำ จะต้องนึกถึงจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังผลิตโดย สหรัฐแบบ TOW อันโด่งดังอย่างแน่นอน และ ในฝ่ายทหารเวียดนามเหนือและกองกำลังเวียดกงก็มี จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังผลิตโดยโซเวียตแบบ 9M14 Malyutka(AT-3 Sagger) ที่สามารถทำลายยานเกราะของทหารเวียดนามใต้ได้จำนวนมาก.
ฮ.UH-1 กำลังยิงจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง SS.11/AGM-22
แต่ในสงครามเวียดนามยังมีจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังอีกแบบที่ถูกนำมาใช้ในสงครามครั้งนี้ก่อนใคร แต่ด้วยประสิทธิภาพและความยากในการใช้งานทำให้ถูกใช้ในจำนวนจำกัดและไม่ค่อยถูกกล่าวถึงนัก.
จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ SS.11 ต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศสเริ่มประจำการในปี 1956 ถูกนำไปใช้ในการรบในแอลจีเรีย ทางกองทัพสหรัฐให้ความสนใจและนำมาประจำการรวมทั้งขอซื้อแบบมาผลิตเองและตั้งรหัสใหม่เป็น AGM-22 กองทัพสหรัฐทำการติดตั้งจรวดแบบ SS.11/AGM-22 กับ ฮ.UH-1 พร้อมระบบ XM-11/M22 สามารถติดตั้งจรวดได้จำนวน 6 ลูก พร้อมใช้กับศูนย์เล็งแบบ XM-55/58 .
ระบบนำวิถีของ SS.11 /AGM-22 เป็นระบบ Manual Command to line of sight (MCLOS)ในยุคแรก กล่าวคือ ผู้ยิงต้องเล็งเป้าหมาย พร้อมบังคับจรวดด้วยคันบังคับ เพื่อให้จรวดโดนเป้าหมายผ่านเส้นลวดเป็นตัวส่งสัญญานไปบังคับตัวจรวด โดยผู้ยิงจะสังเกตลูกจรวดจากไฟสัญญานจากส่วนท้ายของจรวด เมื่อยิงจากอากาศยานเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากเพราะมีปัจจัยหลายอย่างกว่าการยิงบนพื้น ทำให้ผู้ยิงต้องมีความชำนาญสูงในการบังคับ รวมทั้งสภาพแวดล้อมต้องเหมาะสมในการยิง.
ฮ.UH-1 พร้อมด้วย จรวด SS.1/AGM-22 .
ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดต่างจากระบบของ จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ TOW ที่เป็นระบบ Semi-automatic command to line of sight (SACLOS) ซึ่งผู้ยิงสามารถเล็งที่เป้าแล้วตัวจรวดจะวิ่งเข้าหาจุดที่ผู้ยิงเล็งไว้ ทำให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ Command to line of sight (MCLOS) .
ฮ.UH-1 พร้อมระบบ จรวดต่อสู้รถถังแบบ SS.11/AGM-22 ถูกนำไปวางกำลังในเวียดนามใต้ ในช่วงราวปี ค.ศ. 1966 แต่ช่วงเวลานั้นฝ่ายทหารเวียดนามเหนือและกองกำลังเวียดกงยังไม่มีการนำยานเกราะมาใช้ในการรบ เป้าหมายของ SS.11/AGM-22 จึงเป็น ฐานที่มั่น,บังเกอร์ เป็นหลัก.
แต่แล้วในช่วง Easter Offensive ในปี 1972 กองทัพเวียดนามเหนือได้บุกเวียดนามใต้ด้วยยานเกราะจำนวนมหาศาล ในช่วงเวลานั้น จรวดนำวิถีต่อสู้แบบ TOW ได้แสดงประสิทธิภาพได้อย่างน่าประทับใจ ขณะนั้นกองทัพสหรัฐยังมี จรวด SS.11/AGM-22 อยุ่ในเวียดนามใต้ จึงได้เวลาที่ จะได้แสดงประสิทธิภาพของมัน แต่ผลเมื่อเทียบกับจรวด TOW SS.11/AGM-22 มีประสิทธิภาพต่อการทำลายเป้าหมายที่ 10 เปอรเซนต ส่วน TOW อยู่ที่ 50 เปอรเซนต ในการรบยืนยันว่า SS.11/AGM-22 ทำลายยานเกราะได้เพียง 2 คัน และทำความเสียหายจำนวนหนึ่ง ส่วน จรวด TOW สามารถทำลาย ยานเกราะได้กว่า 24 คันและเป้าหมายอื่นๆ รวม 47 เป้าหมาย . SS.11/AGM-22 ถูกปลดประจำการในกองทัพสหรัฐทั้งหมดในปี ค.ศ. 1976.
แต่ด้วยที่ SS.11 เป็นระบบต่อสู้รถถังที่ราคาถูกทำให้มันยังคงเป็นที่นิยมในกองทัพหลายประเทศ มีการผลิตมากกว่า 180,000 ลูก.
ฮ.UH-1 กำลังทำการยิง จรวด SS.11/AGM-22.
ระบบ อาวุธ XM11/M-22 สามารถติดตั้ง จรวด SS.11/AGM-22 ได้ทั้งสิ้น 6 ลูก.
ลูกจรวด SS.11/AGM-22.
คุณสมบัติจรวด SS.11/AGM-22
ยาว : 119 cm
ปีกกาง : 50 cm
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 16.4 cm
น้ำหนัก :30 kg
ความเร็ว 685 km/h
ระยะหลังผล : 500m-3000 m
ระบบขับเคลื่อน : Two-stage (boost/sustain) solid-fuel rocket
หัวรบ : 6.8 kg (15 lb) Type 140AC anti-armour
ความสามารถในการเจาะเกราะ : 600mm RHA
-ขอบคุณทุกๆท่านที่รับชม หากมีข้อแนะนำประการใดบอกได้เลยนะครับ.
แอดมิน Nguyen
ที่มาข้อมูล : ANTI-TANK HELICOPTERS. (Osprey VANGUARD Series No # 44)
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 1785 SS.11/AGM-22 จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังที่ถูกลืมในสงครามเวียดนาม
https://www.facebook.com/NguyenMilitaryHistory/
ในช่วงสงครามเวียดนามหากกล่าวถึงจรวดต่อสู้รถถังที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางที่สามารถทำลายรถถังของกองทัพเวียดนามเหนือโดยการยิงเพียงนัดเดียวจากระยะไกลได้อย่างแม่นยำ จะต้องนึกถึงจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังผลิตโดย สหรัฐแบบ TOW อันโด่งดังอย่างแน่นอน และ ในฝ่ายทหารเวียดนามเหนือและกองกำลังเวียดกงก็มี จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังผลิตโดยโซเวียตแบบ 9M14 Malyutka(AT-3 Sagger) ที่สามารถทำลายยานเกราะของทหารเวียดนามใต้ได้จำนวนมาก.
ฮ.UH-1 กำลังยิงจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง SS.11/AGM-22
แต่ในสงครามเวียดนามยังมีจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังอีกแบบที่ถูกนำมาใช้ในสงครามครั้งนี้ก่อนใคร แต่ด้วยประสิทธิภาพและความยากในการใช้งานทำให้ถูกใช้ในจำนวนจำกัดและไม่ค่อยถูกกล่าวถึงนัก.
จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ SS.11 ต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศสเริ่มประจำการในปี 1956 ถูกนำไปใช้ในการรบในแอลจีเรีย ทางกองทัพสหรัฐให้ความสนใจและนำมาประจำการรวมทั้งขอซื้อแบบมาผลิตเองและตั้งรหัสใหม่เป็น AGM-22 กองทัพสหรัฐทำการติดตั้งจรวดแบบ SS.11/AGM-22 กับ ฮ.UH-1 พร้อมระบบ XM-11/M22 สามารถติดตั้งจรวดได้จำนวน 6 ลูก พร้อมใช้กับศูนย์เล็งแบบ XM-55/58 .
ระบบนำวิถีของ SS.11 /AGM-22 เป็นระบบ Manual Command to line of sight (MCLOS)ในยุคแรก กล่าวคือ ผู้ยิงต้องเล็งเป้าหมาย พร้อมบังคับจรวดด้วยคันบังคับ เพื่อให้จรวดโดนเป้าหมายผ่านเส้นลวดเป็นตัวส่งสัญญานไปบังคับตัวจรวด โดยผู้ยิงจะสังเกตลูกจรวดจากไฟสัญญานจากส่วนท้ายของจรวด เมื่อยิงจากอากาศยานเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากเพราะมีปัจจัยหลายอย่างกว่าการยิงบนพื้น ทำให้ผู้ยิงต้องมีความชำนาญสูงในการบังคับ รวมทั้งสภาพแวดล้อมต้องเหมาะสมในการยิง.
ฮ.UH-1 พร้อมด้วย จรวด SS.1/AGM-22 .
ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดต่างจากระบบของ จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ TOW ที่เป็นระบบ Semi-automatic command to line of sight (SACLOS) ซึ่งผู้ยิงสามารถเล็งที่เป้าแล้วตัวจรวดจะวิ่งเข้าหาจุดที่ผู้ยิงเล็งไว้ ทำให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ Command to line of sight (MCLOS) .
ฮ.UH-1 พร้อมระบบ จรวดต่อสู้รถถังแบบ SS.11/AGM-22 ถูกนำไปวางกำลังในเวียดนามใต้ ในช่วงราวปี ค.ศ. 1966 แต่ช่วงเวลานั้นฝ่ายทหารเวียดนามเหนือและกองกำลังเวียดกงยังไม่มีการนำยานเกราะมาใช้ในการรบ เป้าหมายของ SS.11/AGM-22 จึงเป็น ฐานที่มั่น,บังเกอร์ เป็นหลัก.
แต่แล้วในช่วง Easter Offensive ในปี 1972 กองทัพเวียดนามเหนือได้บุกเวียดนามใต้ด้วยยานเกราะจำนวนมหาศาล ในช่วงเวลานั้น จรวดนำวิถีต่อสู้แบบ TOW ได้แสดงประสิทธิภาพได้อย่างน่าประทับใจ ขณะนั้นกองทัพสหรัฐยังมี จรวด SS.11/AGM-22 อยุ่ในเวียดนามใต้ จึงได้เวลาที่ จะได้แสดงประสิทธิภาพของมัน แต่ผลเมื่อเทียบกับจรวด TOW SS.11/AGM-22 มีประสิทธิภาพต่อการทำลายเป้าหมายที่ 10 เปอรเซนต ส่วน TOW อยู่ที่ 50 เปอรเซนต ในการรบยืนยันว่า SS.11/AGM-22 ทำลายยานเกราะได้เพียง 2 คัน และทำความเสียหายจำนวนหนึ่ง ส่วน จรวด TOW สามารถทำลาย ยานเกราะได้กว่า 24 คันและเป้าหมายอื่นๆ รวม 47 เป้าหมาย . SS.11/AGM-22 ถูกปลดประจำการในกองทัพสหรัฐทั้งหมดในปี ค.ศ. 1976.
แต่ด้วยที่ SS.11 เป็นระบบต่อสู้รถถังที่ราคาถูกทำให้มันยังคงเป็นที่นิยมในกองทัพหลายประเทศ มีการผลิตมากกว่า 180,000 ลูก.
ฮ.UH-1 กำลังทำการยิง จรวด SS.11/AGM-22.
ระบบ อาวุธ XM11/M-22 สามารถติดตั้ง จรวด SS.11/AGM-22 ได้ทั้งสิ้น 6 ลูก.
ลูกจรวด SS.11/AGM-22.
คุณสมบัติจรวด SS.11/AGM-22
ยาว : 119 cm
ปีกกาง : 50 cm
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 16.4 cm
น้ำหนัก :30 kg
ความเร็ว 685 km/h
ระยะหลังผล : 500m-3000 m
ระบบขับเคลื่อน : Two-stage (boost/sustain) solid-fuel rocket
หัวรบ : 6.8 kg (15 lb) Type 140AC anti-armour
ความสามารถในการเจาะเกราะ : 600mm RHA
-ขอบคุณทุกๆท่านที่รับชม หากมีข้อแนะนำประการใดบอกได้เลยนะครับ.
แอดมิน Nguyen
ที่มาข้อมูล : ANTI-TANK HELICOPTERS. (Osprey VANGUARD Series No # 44)