เหงือกบวมแบบไหน ? ต้องไปพบทันตแพทย์

กระทู้สนทนา
หนึ่งในกิจวัตรประจำวันหลังตื่นนอนยามเช้าของคนเรา คือ การแปรงฟัน ผู้คนจำนวนมากให้ความสำคัญด้วยการเน้นแปรงฟันให้ขาวสะอาด เพื่อที่จะได้มีรอยยิ้มที่สวยงาม สะอาดตา ซึ่งช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้เจ้าของได้เป็นอย่างดี แต่หลายคนกลับมองข้ามความสำคัญของเหงือกที่ทำให้หน้าที่รองรับฟันไปอย่างสิ้นเชิง

มาวันหนึ่ง เมื่อเรามีเวลามากขึ้นก็เริ่มมองสำรวจเข้าไปในช่องปากของตนเอง และสังเกตเห็นตุ่มปูดโปนของเหงือกบวมยื่นออกมา แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบนี้ต้องไปพบทันตแพทย์หรือไม่

1. บวมของกระดูก

สีเหงือกจะเป็นสีชมพูปกติ อาจมีสีขาวซีดมากขึ้น ถ้าตุ่มกระดูกนี้ก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก อาการบวมนี้เกิดจากกลไลที่ร่างกายสร้างกระดูกให้หนาขึ้นเพื่อรับแรงบดเคี้ยวที่หนักหน่วงไม่เท่ากันในแต่ละคน มักจะพบก้อนขนาดใหญ่ในผู้ป่วยที่มีฟันสึกกร่อนมากๆ ตุ่มกระดูกนี้ไม่ต้องตัดออก นอกจากกีดขวางการใส่ฟันปลอมค่ะ

2. เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะบวมหนาขึ้นมากแต่เนื้อแน่น มีสีชมพูปกติ อาการบวมจะมากขึ้นหากสุขอนามัยช่องปากไม่ดี ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติหากหยุดยาและขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมตัดแต่งเหงือกเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทำความสะอาดฟันได้ดียิ่งขึ้น

3. เหงือกบวมจากการระคายเคืองเป็นเวลานาน

เหงือกบวมเป็นก้อนแข็ง แต่ยังเป็นสีชมพู รักษาได้ด้วยกันตัดก้อนที่บวมออกร่วมกับกำจัดสิ่งที่ระคายเคืองเหงือกออกด้วย

4. เหงือกบวมจากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ป่วยที่มีสุขภาพอนามัยช่องปากไม่ดี แบ่งออกได้เป็น 2 โรค ที่รุนแรงต่างกัน คือ

4.1 โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก ทำให้เหงือกอักเสบรอบๆ ฟัน อาจะพบมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก และเสียวฟัน

4.2 โรคปริทันต์ (Periodontitis) เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก แต่ผู้ป่วยมีความต้านทานต่อเชื้อโรคน้อย เชื้อจึงลูกลามไปทำลายกระดูกที่รองรับฟัน ทำให้มีอาการมากขึ้นคือ ฟันโยก ฟันขยับหน้าบานออกหรือยาวยื่นผิดปกติ เหงือกบวมมีหนองไหล การรักษาคือ ไปพบทันตแพทย์ให้บูดหินปูน เกลารากฟัน เพื่อกำจัดหินปูนที่ระคายเคืองออก ร่วมกับผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากให้ดีอยู่เสมอ

5. เนื้องอกในหญิงมีครรภ์ (Pregnancy Tumor) มักพบในหญิงมีครรภ์ที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี เนื่องจากร่างกายจะตอบสนองต่อการระคายเคืองจากหินปูนได้ไวกว่าปกติ รักษาด้วยการตัดออกและขูดหินปูน

6. เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็กๆ มีหนองไหลผ่านออกมา (Fistula) มักพบอยู่ใกล้ฟันผุเป็นหลุมกว้าง เคยมีอาการปวดมาก่อน เกิดจากฟันผุที่ลุกลามถึงชั้นโพรงประสามฟัน เกิดจากการติดเชื้อจนฟันตาย และมีหนองสะสมในตัวฟันมากๆ จนแตกออกมาในช่องปก รักษาได้ด้วยการเข้ารับการรักษาคลองรากฟัน

7. ก้อนมะเร็ง (Malignant Tumor) ลักษณะก้อนมักจะฟูคล้ายดอกกะหล่ำ มีอาการบวมและทำลายรวดเร็วรุนแรง อาจมีอาการชาร่วมด้วย ผู้ป่วยต้องรีบมาพบทันตแพทย์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่