ดีจริงหรือจกตา? เจาะลึกไทยคว้า อันดับ 28 ประเทศที่ดีที่สุด และอันดับ 5 จาก 16 ประเทศเอเชีย
https://brandinside.asia/is-thailand-really-28th-best-country/
ดีจริงหรือจกตา? ไทยคว้าตำแหน่งประเทศที่ดีที่สุด อันดับ 28 โดย usnews ได้อันดับ 5 ของเอเชียจากทั้งหมด 16 ประเทศ ลองมาเจาะกันว่าที่ผลออกมาว่าดี สรุปแล้วดีจริงหรือ?
ไม่นานมานี้ ไทยเพิ่งจะคว้าตำแหน่งประเทศที่ดีที่สุด อันดับ 28 จากการประเมินของ usnews ท่ามกลางประเทศทั้งหมดในการสำรวจกว่า 105 ประเทศ ซึ่งถือว่าเราอยู่โซนบนๆ เลยทีเดียว แถมไทยยังได้อันดับ 5 ในทวีปเอเชียจากทั้งหมด 16 ประเทศ
ประเด็นก็คือแม้การจัดอันดับจะออกมาดูดี แต่ก็มีความเห็นว่าค้านความรู้สึกของหลาย ๆ ความเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็นก็คือการจัดอันดับครั้งนี้จะมีการประเมิน 10 ด้าน ได้แก่
• ความเอื้อธุรกิจ
• มรดกวัฒนธรรม
• คุณภาพชีวิต
• อำนาจบนเวทีโลก
• วัฒนธรรมทรงอิทธิพล
• ความน่าตื่นตาตื่นใจ
• ความเป็นผู้ประกอบการ
• ศักยภาพเติบโต
• ความสามารถในการปรับตัว
• ความตระหนักทางสังคม
และในแต่ละด้านก็จะมีการประเมินย่อย ๆ ออกไปอีก ลองมาเจาะดูกันว่าทำไมแม้ผลลัพธ์การประเมินจะออกมาดีแต่ทำไมหลายคนยังรู้สึกแย่ มีด้านไหนบ้างที่ไทยไปได้สวย และมีด้านไหนที่เรายังต้องปรับปรุง
ถ้ามองในภาพรวม อย่างที่กล่าวไปแล้ว ประเทศไทยได้อันดับที่ 28 ในของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย ตามหลังเพียงแค่ประเทศระดับท็อปในภูมิภาคคือ
• ญี่ปุ่น (อันดับ 6)
• จีน (อันดับ 17)
• สิงคโปร์ (อันดับ 19)
• เกาหลีใต้ (อันดับ 20)
ประเทศไทยทำได้ดีในแง่การเอื้อธุรกิจ (ซึ่งจะเจาะลึกให้เห็นเบื้องหลังถัดไป) และแง่มุมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (อันดับ 5) นอกจากนี้ ยังถูกประเมินในแง่บวกเกี่ยวกับศักยภาพเติบโต (อันดับ 7) แต่ก็ทำได้ไม่ดีในด้านคุณภาพชีวิตประชาชน (ได้ 23.7 เต็ม 100 คะแนน) อำนาจบนเวทีโลก (11.6 คะแนน) แถมยังไม่เอื้อให้คนเป็นผู้ประกอบการ (17.2 คะแนน)
ถ้าลองดู
“ความเอื้อต่อธุรกิจ” จะเห็นว่าไทยได้คะแนนสูงถึง 73.2 คะแนนเต็ม 100 แต่ที่เป็นไฮท์ไลต์สำคัญก็คือคะแนนตรงนี้มาจาก แรงงานราคาถูกที่ได้ไปถึง 99.1 คะแนน แถมความโปร่งใสของรัฐ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีหากอยากให้ระบบทุนนิยมก่อดอกผลให้คนทุกคนจริง ๆ) กลับได้เพียง 4.6 จาก 100 คะแนน
“คุณภาพชีวิต” คือหมวดที่กระทบถึงทุกคนแต่ไทยทำได้ไม่ดีเท่าการเอื้อต่อภาคธุรกิจ เพราะได้คะแนนเพียง 23.7 คะแนน จุดน่าสนใจคือต่างชาติมองว่าประเทศไทยของถูกแบบ 100 คะแนนไม่หัก แต่ความเหลื่อมล้ำของรายได้กลับตกต่ำ ได้คะแนนแค่ 3.3 คะแนน แถมระบบสาธารณสุขและการศึกษาของรัฐก็ได้คะแนนราว ๆ 3 จาก 100 คะแนนเท่านั้น
ถ้าถามว่าทำไมประเทศไทยถึงได้คะแนนสูงในภาพรวม ต้องบอกว่าหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเข้ามาแบกเราเอาไว้ เช่น ในหมวด
“มรดกวัฒนธรรม” ที่เรากวาดคะแนนไปกว่า 74.8 คะแนน อยู่ในอันดับ 10 ของโลกและอันดับ 2 ของเอเชีย ได้คะแนนเรื่องอาหารไปกว่า 91.3 คะแนน ได้เรื่องของที่เที่ยวทางภูมิศาสตร์ถึง 85.9 คะแนน พูดง่าย ๆ คือเราทำได้ดีในของที่เคยมีอยู่แล้ว
ประเทศไทยถูกมองว่า
“น่าตื่นตาตื่นใจ” เพราะคะแนนในหมวดนี้ของเราสูงถึง 82 คะแนน ทั้งความสนุก ความเป็นมิตร ภูมิอากาศ ภูมิทัศน์ ก็ได้คะแนนเกิน 70 กันทั้งสิ้น ถูกลงความเห็นว่าเหมาะกับการท่องเที่ยว โดยเราถูกจัดเป็นเบอร์ 1 ของเอเชียในเรื่องนี้เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ในด้าน
“ความทรงอำนาจ” ต้องยอมรับว่าไทยไม่ได้โดดเด่นในเรื่องนี้ เพราะไทยได้คะแนนผู้นำแค่ 4.1 คะแนน กำลังทหารที่เราภูมิใจนักก็ได้แค่ 3.1 คะแนน แถมคะแนนพันธมิตรที่มีบนเวทีโลกก็มีแค่ 5.4 คะแนน และที่แย่ที่สุดคือ เราได้คะแนนเรื่องการส่งออก (ซึ่งถือเป็นอำนาจต่อรอง) 39.2 คะแนน ซึ่งแม่จะดูสูงอยู่แต่ก็ต่ำกว่าเพื่อนบ้านที่เป็นดาวรุ่งหน้าใหม่อย่างเวียดนาม
อำนาจเชิงวัฒนธรรมของไทยที่รัฐพยายามส่งเสริมก็ไม่ได้ดีสักเท่าไหร่ เพราะคะแนนด้าน
“วัฒนธรรมทรงอิทธิพล” ของเราอยู่ที่ 39 เต็ม 100 คะแนน ข้อดีคือเราได้คะแนนอิทธิพลวัฒนธรรมในสื่อบันเทิงสูง แต่ขาดแบรนด์ที่เป็นที่จดจำและขาดความเข้ากับสมัยใหม่ สำหรับกรณีศึกษาที่น่าสนใจก็อยากให้เราลองดูญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่มีคะแนนในเรื่องนี้สูงมาก
และแม้ความเอื้อต่อธุรกิจของเราจะสูง แต่นั่นอาจไม่ได้ดีสำหรับทุกคนเพราะคะแนนเรื่อง
“ความเป็นผู้ประกอบการ” ของเราถือว่าต่ำมากโดยได้คะแนนไปเพียง 17.2 คะแนน คือแรงงานของเรามีฝีมือก็จริงแต่ประเด็นคือธุรกิจมีความโปร่งใสต่ำ ระบบการศึกษาไม่เอื้อ โครงสร้างดิจิทัลก็ไม่ดี ไม่ได้เอื้อให้ประชาชนพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ถ้าลองไปเชื่อมโยงกับคะแนนด้านความเอื้อกับธุรกิจ (แรงงานถูกแต่ไม่โปร่งใส) ก็จะเห็นภาพเรื่องนี้ชัดขึ้น
นอกจากนี้ สำหรับคะแนนด้านที่เหลือ ประเทศไทยถูกมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพเติบโตสูงเป็นอันดับ 7 ได้ไป 64.7 คะแนน ได้คะแนน
“ความสามารถในการปรับตัว” 24.7 คะแนน และได้คะแนนด้าน
“ความตระหนักทางสังคม” 7.4 คะแนน
ที่น่าสนใจคือ ประเทศในเอเชียได้คะแนนเรื่องนี้ต่ำกันทั้งสิ้น ถ้าถามว่าต่ำแค่ไหน บอกได้เลยว่าขนาดไทยได้คะแนนต่ำเตี้ยแบบนี้ก็ยังเป็นที่ 4 ของเอเชีย แถมอันดับ 1 ของเอเชียอย่างญี่ปุ่นก็ยังได้แค่ 25 คะแนนเท่านั้น
ที่มา – usnews (
1)(
2)
ขอนแก่นน้ำท่วมหนัก กระทบฟาร์มเป็ด ต้องย้ายที่เลี้ยงไปเรื่อย ทำให้ไข่ลดลง
https://siamrath.co.th/n/392789
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 21 ต.ค.2565 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมในเขต จ.ขอนแก่น โดยเฉพาะที่บ้านดงพอง ม.10 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่กว่า 3,000 ตัว ได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็ดออกไข่ได้ไม่เต็มที่ทำให้สูญเสียรายได้อย่างมาก
นาย
อำพล แสนนา อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 96/1 บ.ดงพอง ม.10 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะว่าเป็ดไข่ต้องเลี้ยงเอาจำนวนไข่แต่น้ำท่วมแบบนี้ต้องย้ายที่เลี้ยงเป็ดเพื่อหนีน้ำท่วมบ่อยครั้งทำให้เป็ดออกไข่น้อยลงมาก และตอนนี้ระดับน้ำทรงตัว
"ที่ฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่ 3,000 ตัว น้ำท่วมแต่ละครั้งขาดทุนเยอะมาก และยังต้องลงทุนทำโรงเรือนชั่วคราวให้เป็ดอยู่จึงเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็ด 3,000 ตัว ออกไข่ประมาณ 2,000 ฟองต่อวัน แต่หลังจากมีน้ำท่วมเหลือ 1,500 ฟองต่อวัน จากเคยได้ 80 แผงต่อวันเหลืออยู่ 60 แผงต่อวันแต่ก็ยังต้องทำต่อไปเพราะว่าเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ และ เมื่อครั้งตอนปี 2560 น้ำท่วมแบบนี้หน่วยงานราชการเข้ามาดูแลเอายาฆ่าเชื้อมาให้และสอบถามแต่ปีนี้ยังไม่เห็นมีใครเข้ามาส่วนในเรื่องเงินเยียวยายังไม่เคยได้รับจากหน่วยงานไหนเลยแต่ก็เข้าใจภาครัฐเพราะน้ำท่วมเยอะ น้ำท่วมหลายที่เราต้องช่วยตัวเองดีที่สุดถ้าจะรอภาครัฐก็จะไม่ได้ทำอะไร"
นาย
อำพล กล่าวต่ออีกว่า น้ำท่วมครั้งนี้หนักกว่าปี2560 และหนักกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาปีนี้ถือว่าท่วมหนักที่สุด ซึ่งครอบครัว คงไม่มีการย้ายที่เลี้ยง และต้องปล่อยให้เป็นไปตามสภาพและต้องรู้จักการปรับตัว อย่างไรก็ตามราคาไข่เป็ดในตลาดตอนนี้ถือว่าราคาดีแผงละ 130-150 บาท แต่ถ้านำไปแปรรูปเป็นไข่เค็มจะตกราคาแผงละ 200 บาท อย่างไรก็ตามในระยะนี้ไข่เป็ดขาดตลาดมีเท่าไรก็ไม่พอขายและมาเจอสถานการณ์น้ำท่วมอีกทำให้เสียรายได้อย่างมาก
เพื่อไทย จี้ “บิ๊กตู่” ศึกษาปัญหาให้ดี ก่อนจะล้มเหลวทางเศรษฐกิจซ้ำซ้อน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2532371
“อาจารย์อู๋ จุฑาพร” คณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย จี้ “บิ๊กตู่” ศึกษาปัญหาให้ดีก่อนส่งคนโต้มั่ว เตือน จะล้มเหลวทางเศรษฐกิจซ้ำซ้อน ชี้ เศรษฐกิจไทยเสื่อมถอย เพราะผู้นำคิดได้แค่แจกเงิน แนะ ศึกษาแนวทางต่างประเทศในการฟื้นเศรษฐกิจ
วันที่ 21 ต.ค. นางสาว
จุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตบางรัก และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ด้านเศรษฐกิจได้แนะนำพลเอกประยุทธ์ว่า โครงการคนละครึ่ง ไม่ควรดำเนินการแล้วในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพราะไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ควรจะนำเงินไปแก้ไขปัญหาหนี้และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมากกว่าจะนำมาแจกเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจของพลเอก
ประยุทธ์ตลอด 8 ปี สะท้อนชัดเจนจากเสียงหัวเราะปนความเอือมระอาของประชาชน เป็นตัวตลกในเวที เดี่ยว 13 ของ
โน้ต อุดม
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยที่ย่ำแย่มาตลอดหลายปี ก่อนวิกฤตการณ์โควิด จนหลังวิกฤติมา 2 ปีแล้ว เศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ฟื้นจากที่ตกลงมา ขณะที่ประเทศอื่นๆ ฟื้นตัวไปไกลแล้ว ตลอดเวลาที่มีการแจกเงินในรูปแบบต่างๆ ทั้งบัตรคนจน และโครงการคนละครึ่ง ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นหรือดีขึ้นมาเลย ตัวเลขเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เป็นเครื่องพิสูจน์ความล้มเหลวได้เป็นอย่างดี ยิ่งแจกเงินเศรษฐกิจไทยยิ่งเสื่อมถอย หนี้สาธารณะยิ่งพุ่ง แต่ประเทศไม่ได้พัฒนา เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ไม่ได้แก้ที่โครงสร้างของปัญหา แต่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ จริงอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจแย่สุดๆ การช่วยเหลือประชาชนผ่านมาตรการดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ แต่ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าพลเอกประยุทธ์จะคิดได้แค่การแจกเงินเท่านั้น ในความเป็นจริง ไม่มีประเทศไหนในโลกพัฒนาได้จากการแจกเงิน รัฐบาลที่ดีจะต้องคิดแนวทางการฟื้นเศรษฐกิจ เช่น การเร่งแก้ไขหนี้ต่างๆ การสร้างงาน การสร้างรายได้ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่องค์การการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แนะนำ ซึ่งจะต้องทำในหลายๆด้านพร้อมๆ กัน และเป็นแนวทางเดียวกันกับที่คณะทำงานพรรคเพื่อไทยเสนอแนวคิดแบบนี้มาตลอด
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลเพิ่งจะเริ่มมาคิดแก้หนี้ ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยจี้ให้เร่งแก้ปัญหาเรื่องหนี้นี้มานานแล้ว ก็เป็นสิ่งดีและควรต้องเร่งทำให้สำเร็จโดยเร็วก่อนที่ดอกเบี้ยจะขึ้นมากกว่านี้ ตามสภาวการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ ที่ต้องการจะหยุดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งหากดอกเบี้ยขึ้นสูงแล้ว การแก้ไขหนี้จะยิ่งทำได้ยากขึ้นมาก และอาจจะเป็นเพียงคำพูดหรือเป็นแค่วาทกรรมเท่านั้น ซึ่งหากพลเอกประยุทธ์ได้ฟังคำแนะนำของคณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยที่เสนอให้แก้ไขปัญหาหนี้มาตลอดตั้งแต่ดอกเบี้ยยังต่ำมาก ป่านนี้การแก้ไขปัญหาหนี้น่าจะทำไปได้มากแล้ว และเศรษฐกิจไทยก็น่าจะต้องฟื้นกว่านี้แล้ว
"การที่จะบริหารเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ พลเอกประยุทธ์ จะต้องศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ จะมาคิดเองเออเองไม่ได้ และคิดว่าแจกเงินคือความสำเร็จเหมือนการแจกบัตรคนจน 20 กว่าล้านใบ คือ ความสำเร็จของรัฐบาล นั่นไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริง แต่น่าจะเป็นความล้มเหลวมากกว่า สุดท้ายหนี้สาธารณะของประเทศจะพุ่งสูง แต่ประเทศกลับถอยหลัง คนตกงานมากขึ้น และประชาชนจนลง ประเทศหนี้ล้น ประชาชนหนี้ท่วม ลูกหลานไทย ต้องเผชิญตราบาปต้องใช้หนี้ไปอีกนานแสนนาน เพียงเพราะมีผู้นำไร้ความสามารถ" นางสาว
จุฑาพร กล่าว...
JJNY : ดีจริงหรือจกตา?│ขอนแก่นท่วมหนัก กระทบฟาร์มเป็ด│พท.จี้“ตู่”ศึกษาให้ดี ก่อนเหลวทางศก.ซ้ำ│อียูเพิ่มคว่ำบาตรอิหร่าน
https://brandinside.asia/is-thailand-really-28th-best-country/
ดีจริงหรือจกตา? ไทยคว้าตำแหน่งประเทศที่ดีที่สุด อันดับ 28 โดย usnews ได้อันดับ 5 ของเอเชียจากทั้งหมด 16 ประเทศ ลองมาเจาะกันว่าที่ผลออกมาว่าดี สรุปแล้วดีจริงหรือ?
ไม่นานมานี้ ไทยเพิ่งจะคว้าตำแหน่งประเทศที่ดีที่สุด อันดับ 28 จากการประเมินของ usnews ท่ามกลางประเทศทั้งหมดในการสำรวจกว่า 105 ประเทศ ซึ่งถือว่าเราอยู่โซนบนๆ เลยทีเดียว แถมไทยยังได้อันดับ 5 ในทวีปเอเชียจากทั้งหมด 16 ประเทศ
ประเด็นก็คือแม้การจัดอันดับจะออกมาดูดี แต่ก็มีความเห็นว่าค้านความรู้สึกของหลาย ๆ ความเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็นก็คือการจัดอันดับครั้งนี้จะมีการประเมิน 10 ด้าน ได้แก่
• ความเอื้อธุรกิจ
• มรดกวัฒนธรรม
• คุณภาพชีวิต
• อำนาจบนเวทีโลก
• วัฒนธรรมทรงอิทธิพล
• ความน่าตื่นตาตื่นใจ
• ความเป็นผู้ประกอบการ
• ศักยภาพเติบโต
• ความสามารถในการปรับตัว
• ความตระหนักทางสังคม
และในแต่ละด้านก็จะมีการประเมินย่อย ๆ ออกไปอีก ลองมาเจาะดูกันว่าทำไมแม้ผลลัพธ์การประเมินจะออกมาดีแต่ทำไมหลายคนยังรู้สึกแย่ มีด้านไหนบ้างที่ไทยไปได้สวย และมีด้านไหนที่เรายังต้องปรับปรุง
ถ้ามองในภาพรวม อย่างที่กล่าวไปแล้ว ประเทศไทยได้อันดับที่ 28 ในของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย ตามหลังเพียงแค่ประเทศระดับท็อปในภูมิภาคคือ
• ญี่ปุ่น (อันดับ 6)
• จีน (อันดับ 17)
• สิงคโปร์ (อันดับ 19)
• เกาหลีใต้ (อันดับ 20)
ประเทศไทยทำได้ดีในแง่การเอื้อธุรกิจ (ซึ่งจะเจาะลึกให้เห็นเบื้องหลังถัดไป) และแง่มุมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (อันดับ 5) นอกจากนี้ ยังถูกประเมินในแง่บวกเกี่ยวกับศักยภาพเติบโต (อันดับ 7) แต่ก็ทำได้ไม่ดีในด้านคุณภาพชีวิตประชาชน (ได้ 23.7 เต็ม 100 คะแนน) อำนาจบนเวทีโลก (11.6 คะแนน) แถมยังไม่เอื้อให้คนเป็นผู้ประกอบการ (17.2 คะแนน)
ถ้าลองดู “ความเอื้อต่อธุรกิจ” จะเห็นว่าไทยได้คะแนนสูงถึง 73.2 คะแนนเต็ม 100 แต่ที่เป็นไฮท์ไลต์สำคัญก็คือคะแนนตรงนี้มาจาก แรงงานราคาถูกที่ได้ไปถึง 99.1 คะแนน แถมความโปร่งใสของรัฐ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีหากอยากให้ระบบทุนนิยมก่อดอกผลให้คนทุกคนจริง ๆ) กลับได้เพียง 4.6 จาก 100 คะแนน
“คุณภาพชีวิต” คือหมวดที่กระทบถึงทุกคนแต่ไทยทำได้ไม่ดีเท่าการเอื้อต่อภาคธุรกิจ เพราะได้คะแนนเพียง 23.7 คะแนน จุดน่าสนใจคือต่างชาติมองว่าประเทศไทยของถูกแบบ 100 คะแนนไม่หัก แต่ความเหลื่อมล้ำของรายได้กลับตกต่ำ ได้คะแนนแค่ 3.3 คะแนน แถมระบบสาธารณสุขและการศึกษาของรัฐก็ได้คะแนนราว ๆ 3 จาก 100 คะแนนเท่านั้น
ถ้าถามว่าทำไมประเทศไทยถึงได้คะแนนสูงในภาพรวม ต้องบอกว่าหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเข้ามาแบกเราเอาไว้ เช่น ในหมวด “มรดกวัฒนธรรม” ที่เรากวาดคะแนนไปกว่า 74.8 คะแนน อยู่ในอันดับ 10 ของโลกและอันดับ 2 ของเอเชีย ได้คะแนนเรื่องอาหารไปกว่า 91.3 คะแนน ได้เรื่องของที่เที่ยวทางภูมิศาสตร์ถึง 85.9 คะแนน พูดง่าย ๆ คือเราทำได้ดีในของที่เคยมีอยู่แล้ว
ประเทศไทยถูกมองว่า “น่าตื่นตาตื่นใจ” เพราะคะแนนในหมวดนี้ของเราสูงถึง 82 คะแนน ทั้งความสนุก ความเป็นมิตร ภูมิอากาศ ภูมิทัศน์ ก็ได้คะแนนเกิน 70 กันทั้งสิ้น ถูกลงความเห็นว่าเหมาะกับการท่องเที่ยว โดยเราถูกจัดเป็นเบอร์ 1 ของเอเชียในเรื่องนี้เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ในด้าน “ความทรงอำนาจ” ต้องยอมรับว่าไทยไม่ได้โดดเด่นในเรื่องนี้ เพราะไทยได้คะแนนผู้นำแค่ 4.1 คะแนน กำลังทหารที่เราภูมิใจนักก็ได้แค่ 3.1 คะแนน แถมคะแนนพันธมิตรที่มีบนเวทีโลกก็มีแค่ 5.4 คะแนน และที่แย่ที่สุดคือ เราได้คะแนนเรื่องการส่งออก (ซึ่งถือเป็นอำนาจต่อรอง) 39.2 คะแนน ซึ่งแม่จะดูสูงอยู่แต่ก็ต่ำกว่าเพื่อนบ้านที่เป็นดาวรุ่งหน้าใหม่อย่างเวียดนาม
อำนาจเชิงวัฒนธรรมของไทยที่รัฐพยายามส่งเสริมก็ไม่ได้ดีสักเท่าไหร่ เพราะคะแนนด้าน “วัฒนธรรมทรงอิทธิพล” ของเราอยู่ที่ 39 เต็ม 100 คะแนน ข้อดีคือเราได้คะแนนอิทธิพลวัฒนธรรมในสื่อบันเทิงสูง แต่ขาดแบรนด์ที่เป็นที่จดจำและขาดความเข้ากับสมัยใหม่ สำหรับกรณีศึกษาที่น่าสนใจก็อยากให้เราลองดูญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่มีคะแนนในเรื่องนี้สูงมาก
และแม้ความเอื้อต่อธุรกิจของเราจะสูง แต่นั่นอาจไม่ได้ดีสำหรับทุกคนเพราะคะแนนเรื่อง “ความเป็นผู้ประกอบการ” ของเราถือว่าต่ำมากโดยได้คะแนนไปเพียง 17.2 คะแนน คือแรงงานของเรามีฝีมือก็จริงแต่ประเด็นคือธุรกิจมีความโปร่งใสต่ำ ระบบการศึกษาไม่เอื้อ โครงสร้างดิจิทัลก็ไม่ดี ไม่ได้เอื้อให้ประชาชนพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ถ้าลองไปเชื่อมโยงกับคะแนนด้านความเอื้อกับธุรกิจ (แรงงานถูกแต่ไม่โปร่งใส) ก็จะเห็นภาพเรื่องนี้ชัดขึ้น
นอกจากนี้ สำหรับคะแนนด้านที่เหลือ ประเทศไทยถูกมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพเติบโตสูงเป็นอันดับ 7 ได้ไป 64.7 คะแนน ได้คะแนน “ความสามารถในการปรับตัว” 24.7 คะแนน และได้คะแนนด้าน “ความตระหนักทางสังคม” 7.4 คะแนน
ที่น่าสนใจคือ ประเทศในเอเชียได้คะแนนเรื่องนี้ต่ำกันทั้งสิ้น ถ้าถามว่าต่ำแค่ไหน บอกได้เลยว่าขนาดไทยได้คะแนนต่ำเตี้ยแบบนี้ก็ยังเป็นที่ 4 ของเอเชีย แถมอันดับ 1 ของเอเชียอย่างญี่ปุ่นก็ยังได้แค่ 25 คะแนนเท่านั้น
ที่มา – usnews (1)(2)
ขอนแก่นน้ำท่วมหนัก กระทบฟาร์มเป็ด ต้องย้ายที่เลี้ยงไปเรื่อย ทำให้ไข่ลดลง
https://siamrath.co.th/n/392789
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 21 ต.ค.2565 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมในเขต จ.ขอนแก่น โดยเฉพาะที่บ้านดงพอง ม.10 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่กว่า 3,000 ตัว ได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็ดออกไข่ได้ไม่เต็มที่ทำให้สูญเสียรายได้อย่างมาก
นายอำพล แสนนา อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 96/1 บ.ดงพอง ม.10 ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะว่าเป็ดไข่ต้องเลี้ยงเอาจำนวนไข่แต่น้ำท่วมแบบนี้ต้องย้ายที่เลี้ยงเป็ดเพื่อหนีน้ำท่วมบ่อยครั้งทำให้เป็ดออกไข่น้อยลงมาก และตอนนี้ระดับน้ำทรงตัว
"ที่ฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่ 3,000 ตัว น้ำท่วมแต่ละครั้งขาดทุนเยอะมาก และยังต้องลงทุนทำโรงเรือนชั่วคราวให้เป็ดอยู่จึงเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็ด 3,000 ตัว ออกไข่ประมาณ 2,000 ฟองต่อวัน แต่หลังจากมีน้ำท่วมเหลือ 1,500 ฟองต่อวัน จากเคยได้ 80 แผงต่อวันเหลืออยู่ 60 แผงต่อวันแต่ก็ยังต้องทำต่อไปเพราะว่าเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ และ เมื่อครั้งตอนปี 2560 น้ำท่วมแบบนี้หน่วยงานราชการเข้ามาดูแลเอายาฆ่าเชื้อมาให้และสอบถามแต่ปีนี้ยังไม่เห็นมีใครเข้ามาส่วนในเรื่องเงินเยียวยายังไม่เคยได้รับจากหน่วยงานไหนเลยแต่ก็เข้าใจภาครัฐเพราะน้ำท่วมเยอะ น้ำท่วมหลายที่เราต้องช่วยตัวเองดีที่สุดถ้าจะรอภาครัฐก็จะไม่ได้ทำอะไร"
นายอำพล กล่าวต่ออีกว่า น้ำท่วมครั้งนี้หนักกว่าปี2560 และหนักกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาปีนี้ถือว่าท่วมหนักที่สุด ซึ่งครอบครัว คงไม่มีการย้ายที่เลี้ยง และต้องปล่อยให้เป็นไปตามสภาพและต้องรู้จักการปรับตัว อย่างไรก็ตามราคาไข่เป็ดในตลาดตอนนี้ถือว่าราคาดีแผงละ 130-150 บาท แต่ถ้านำไปแปรรูปเป็นไข่เค็มจะตกราคาแผงละ 200 บาท อย่างไรก็ตามในระยะนี้ไข่เป็ดขาดตลาดมีเท่าไรก็ไม่พอขายและมาเจอสถานการณ์น้ำท่วมอีกทำให้เสียรายได้อย่างมาก
เพื่อไทย จี้ “บิ๊กตู่” ศึกษาปัญหาให้ดี ก่อนจะล้มเหลวทางเศรษฐกิจซ้ำซ้อน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2532371
“อาจารย์อู๋ จุฑาพร” คณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย จี้ “บิ๊กตู่” ศึกษาปัญหาให้ดีก่อนส่งคนโต้มั่ว เตือน จะล้มเหลวทางเศรษฐกิจซ้ำซ้อน ชี้ เศรษฐกิจไทยเสื่อมถอย เพราะผู้นำคิดได้แค่แจกเงิน แนะ ศึกษาแนวทางต่างประเทศในการฟื้นเศรษฐกิจ
วันที่ 21 ต.ค. นางสาวจุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตบางรัก และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ด้านเศรษฐกิจได้แนะนำพลเอกประยุทธ์ว่า โครงการคนละครึ่ง ไม่ควรดำเนินการแล้วในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพราะไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ควรจะนำเงินไปแก้ไขปัญหาหนี้และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมากกว่าจะนำมาแจกเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจของพลเอกประยุทธ์ตลอด 8 ปี สะท้อนชัดเจนจากเสียงหัวเราะปนความเอือมระอาของประชาชน เป็นตัวตลกในเวที เดี่ยว 13 ของโน้ต อุดม
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยที่ย่ำแย่มาตลอดหลายปี ก่อนวิกฤตการณ์โควิด จนหลังวิกฤติมา 2 ปีแล้ว เศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ฟื้นจากที่ตกลงมา ขณะที่ประเทศอื่นๆ ฟื้นตัวไปไกลแล้ว ตลอดเวลาที่มีการแจกเงินในรูปแบบต่างๆ ทั้งบัตรคนจน และโครงการคนละครึ่ง ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นหรือดีขึ้นมาเลย ตัวเลขเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เป็นเครื่องพิสูจน์ความล้มเหลวได้เป็นอย่างดี ยิ่งแจกเงินเศรษฐกิจไทยยิ่งเสื่อมถอย หนี้สาธารณะยิ่งพุ่ง แต่ประเทศไม่ได้พัฒนา เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ไม่ได้แก้ที่โครงสร้างของปัญหา แต่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ จริงอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจแย่สุดๆ การช่วยเหลือประชาชนผ่านมาตรการดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ แต่ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าพลเอกประยุทธ์จะคิดได้แค่การแจกเงินเท่านั้น ในความเป็นจริง ไม่มีประเทศไหนในโลกพัฒนาได้จากการแจกเงิน รัฐบาลที่ดีจะต้องคิดแนวทางการฟื้นเศรษฐกิจ เช่น การเร่งแก้ไขหนี้ต่างๆ การสร้างงาน การสร้างรายได้ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่องค์การการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แนะนำ ซึ่งจะต้องทำในหลายๆด้านพร้อมๆ กัน และเป็นแนวทางเดียวกันกับที่คณะทำงานพรรคเพื่อไทยเสนอแนวคิดแบบนี้มาตลอด
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลเพิ่งจะเริ่มมาคิดแก้หนี้ ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยจี้ให้เร่งแก้ปัญหาเรื่องหนี้นี้มานานแล้ว ก็เป็นสิ่งดีและควรต้องเร่งทำให้สำเร็จโดยเร็วก่อนที่ดอกเบี้ยจะขึ้นมากกว่านี้ ตามสภาวการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ ที่ต้องการจะหยุดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งหากดอกเบี้ยขึ้นสูงแล้ว การแก้ไขหนี้จะยิ่งทำได้ยากขึ้นมาก และอาจจะเป็นเพียงคำพูดหรือเป็นแค่วาทกรรมเท่านั้น ซึ่งหากพลเอกประยุทธ์ได้ฟังคำแนะนำของคณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยที่เสนอให้แก้ไขปัญหาหนี้มาตลอดตั้งแต่ดอกเบี้ยยังต่ำมาก ป่านนี้การแก้ไขปัญหาหนี้น่าจะทำไปได้มากแล้ว และเศรษฐกิจไทยก็น่าจะต้องฟื้นกว่านี้แล้ว
"การที่จะบริหารเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ พลเอกประยุทธ์ จะต้องศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ จะมาคิดเองเออเองไม่ได้ และคิดว่าแจกเงินคือความสำเร็จเหมือนการแจกบัตรคนจน 20 กว่าล้านใบ คือ ความสำเร็จของรัฐบาล นั่นไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริง แต่น่าจะเป็นความล้มเหลวมากกว่า สุดท้ายหนี้สาธารณะของประเทศจะพุ่งสูง แต่ประเทศกลับถอยหลัง คนตกงานมากขึ้น และประชาชนจนลง ประเทศหนี้ล้น ประชาชนหนี้ท่วม ลูกหลานไทย ต้องเผชิญตราบาปต้องใช้หนี้ไปอีกนานแสนนาน เพียงเพราะมีผู้นำไร้ความสามารถ" นางสาวจุฑาพร กล่าว...