เคยมีคำถามกับตัวเอง หรือรำคาญคนใกล้ตัว ที่เป็นแบบนี้ไหมคะ
1. ทำไมขี้เกียจ
2. ทำไมไม่ยอมลงมือ รออะไร
3. ทำไมผลัดวันประกันพรุ่ง ดินพอกหางหมู
4. ทำอะไรก็กล้าๆ กลัว ๆ ไม่ทุ่มเทเต็มที่
4 ประโยคแรกนั้น เป็น “อาการ” ค่ะ..... แล้วสาเหตุคืออะไร ?
จากประสบการณ์การบำบัด เราสรุปว่าอาการเหล่านั้น เกิดจาก 3 สาเหตุในวัยเยาว์ค่ะ
1.อยากทำ แต่ถูกสกัดดาวรุ่ง กีดกัน ไม่ส่งเสริมให้ทำ ตัวอย่างเช่น
- ตอนเล็ก ๆ อยากช่วยแม่ทำงาน พอไปหยิบจับอะไร แม่ก็จะพูดขึ้นมาว่า “อย่ายุ่ง เดี๋ยวจานแตก”
- ตอนเป็นเด็ก บอกคุณยายว่า อยากเป็นนางงามจักรวาล แล้วคุณยายตอบว่า “อย่าไปประกวดเลย หลานผิวคล้ำ ดั้งก็ไม่มี”
2. ทำอะไรสำเร็จแล้ว แต่โดนตำหนิ ล้อเลียน บอกว่าดีไม่พอ
- เคยวาดรูปแล้วเอาไปอวด เมื่อคนอื่นเห็นแล้วอาจจะหัวเราะ บอกว่าไม่สวย ตลก ฯ
- สอบได้ที่ 1 ของห้อง แต่กลับโดนดุ ว่าไม่ได้ที่ 1 ของโรงเรียน
- เลือกเสื้อผ้าใส่เอง แต่แม่บอกว่า เสื้อกับกางเกงสีไม่เข้ากันเลย เลือกมาได้ยังไง และบังคับให้ไปเปลี่ยน ... จนในที่สุด อาจทะเลาะกันกับลูก
3. ไม่ได้รับคำชม หรือได้รับ แต่ไม่มากพอ หรือถูกเปรียบเทียบ
- สอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเต็ม พอไปบอกคุณพ่อ คุณพ่อกลับไม่สนใจ
- สอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเต็ม พอไปบอกคุณพ่อ คุณพ่อบอกว่า “เก่งมาก... แต่เวลาสอบพี่ของลูกได้คะแนนมากกว่านี้อีกนะ”
- สอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเต็ม พอไปบอกคุณพ่อ คุณพ่อชม ชมแต่ปาก แต่อากับกิริยาไม่ส่งเสริมคำชมนั้น เช่นใบหน้าเรียบเฉย ไม่ยิ้ม ไม่ให้รางวัล หรือให้รางวัลน้อยเกินไป (ตามความรู้สึกของเด็ก)
นี่คือสาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมในปัจจุบันค่ะ
การที่มีใครพูดว่า ผู้ใหญ่คนนี้ เรียนจบแล้ว แต่ขี้เกียจ ไม่ชอบทำงาน คำว่า “ขี้เกียจ” เป็นการตัดสินของคนพูดค่ะ แต่ไม่ใช่สาเหตุที่คนคนนั้นไม่ทำงาน
การที่มีใครพูดว่า พนักงานคนนี้ เวลามอบหมายงานอะไรไป ก็จะต้องรอจนใกล้ส่ง รอจนงานเยอะ แล้วก็รีบ ๆ ทำ ทำออกมาก็ไม่ได้ดี ทำแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป เป็นพวก “ดินพอกหางหมู”
คนพวกนี้ กลัวการลงมือทำ และกลัวการทำเสร็จค่ะ เพราะแค่ลงมือ เค้าก็กลัวว่า จะมีใครบอกว่าวิธีการที่เค้าทำ ไม่ดีพอ ไม่ได้เรื่อง งานออกมาก็ไม่ดีหรอก หรือกลัวว่า ถ้าทำเสร็จแล้ว จะโดนตำหนิ หรือทำไป ก็ไม่มีใครเห็นคุณค่าของเค้า ไม่เห็นว่าเค้าเก่ง
มันเป็นอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความเสียใจผิดหวัง ซึ่งเคยขึ้นในวัยเด็ก และเค้าเก็บเอาไว้ เป็นบทเรียนหรือเป็นสิ่งที่ปกป้องตัวเองจากความผิดหวัง เสียใจ
ปกป้องยังไง ? ในส่วนลึกแสนลึกในคนคนนั้น จะมีเสียงกระซิบว่า......
อย่าทำสิ จะได้ไม่เสร็จ จะได้ไม่ต้องมีคนบอกว่ามันห่วย
อย่าทำสิ แค่ลงมือทำ ก็จะโดนวิพากษ์วิจารณ์แล้วว่าทำไม่ได้แน่ ๆ
อย่าทำสิ ทำไป ดีแค่ไหน ก็ไม่มีค่าในสายตาใคร ทำไป ก็เท่านั้น
*******แล้วจะแก้ไขยังไง ? ************
ถ้าเป็นตัวเราเอง ที่มีอาการแบบนั้น หลับตา ตั้งสติ ค้นหาว่า ตอนเราเป็นเด็ก เราเคยอยากทำอะไร หรือตั้งใจทำอะไร แล้ว…
- ถูกห้าม ถูกกีดกัน พูดให้เจ็บช้ำ เสียใจ หรือ
- เมื่อทำจนสำเร็จ กลับโดนตำหนิ หัวเราะเยาะ หรือ
- ทำสำเร็จ แต่ไม่ได้รับคำชื่นชมหรือการแสดงออกใด ๆ ที่ทำให้เราหัวใจพองฟู ภูมิใจในตัวเอง
เมื่อหาเจอแล้ว หลับตา เห็นภาพตัวเองอยู่ตรงหน้า
1. มองหน้าตัวเองที่อยู่ในจินตนาการ กอดเค้า กอดแน่น ๆ
2. พูดกับตัวเองในจินตนาการว่า “ไม่ว่าที่ผ่านมาจะเกิดอะไรขึ้น มันยอดเยี่ยมแล้ว เธอเก่งมากที่ผ่านพ้นมาได้ ฉันชื่นชมและขอบคุณเธอเหลือเกิน ขอโทษนะที่ฉันเพิ่งจะมาหาเธอ ฉันรู้ว่าเธอเสียใจ เจ็บปวด และรอให้ฉันมาปลอบโยน ฉันมาแล้วนะ ฟังนะ ต่อไปนี้ ฉันนี่แหละ จะเป็นคนที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้เธอทำในสิ่งที่เธอต้องการ ฉันเชื่ออย่างสุดหัวใจว่าเธอจะพยายาม ทุ่มเท และเมื่อผลออกมา ไม่ว่ามันจะเป็นยังไง ฉันนี่แหละ จะขอบคุณเธอ ชื่นชมเธอ ฉันรู้ว่าเธอยอดเยี่ยมที่สุด เราจะเป็นกำลังใจให้กันและกันตลอดไป
3. สังเกตสีหน้าท่าทางของตัวเองในจินตนาการ บอกเค้าว่า ฉันรักเธอ ขอบคุณที่อยู่ด้วยกันมาตลอด แล้วฉันจะมาคุยกับเธออีก
4. หายใจเข้าลึก ๆ ลืมตา
สังเกตุความรู้สึกตัวเอง และพฤติกรรมหลังจากนี้ค่ะ
ขอให้ทุกคน เจอกับ “ปม” ของตัวเอง และก้าวข้ามมันไปได้นะคะ
ติดตามข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์ พร้อมแนวทางการแก้ไขสารพัดปมในใจ ได้ที่ เพจ universeofLifes ค่ะ
https://www.facebook.com/Universeoflifes/
สาเหตุลึก ๆ ของการผลัดวันประกันพรุ่ง หรือการ "เอาไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยทำ... พร้อมกับวิธีแก้ไขค่ะ
1. ทำไมขี้เกียจ
2. ทำไมไม่ยอมลงมือ รออะไร
3. ทำไมผลัดวันประกันพรุ่ง ดินพอกหางหมู
4. ทำอะไรก็กล้าๆ กลัว ๆ ไม่ทุ่มเทเต็มที่
4 ประโยคแรกนั้น เป็น “อาการ” ค่ะ..... แล้วสาเหตุคืออะไร ?
จากประสบการณ์การบำบัด เราสรุปว่าอาการเหล่านั้น เกิดจาก 3 สาเหตุในวัยเยาว์ค่ะ
1.อยากทำ แต่ถูกสกัดดาวรุ่ง กีดกัน ไม่ส่งเสริมให้ทำ ตัวอย่างเช่น
- ตอนเล็ก ๆ อยากช่วยแม่ทำงาน พอไปหยิบจับอะไร แม่ก็จะพูดขึ้นมาว่า “อย่ายุ่ง เดี๋ยวจานแตก”
- ตอนเป็นเด็ก บอกคุณยายว่า อยากเป็นนางงามจักรวาล แล้วคุณยายตอบว่า “อย่าไปประกวดเลย หลานผิวคล้ำ ดั้งก็ไม่มี”
2. ทำอะไรสำเร็จแล้ว แต่โดนตำหนิ ล้อเลียน บอกว่าดีไม่พอ
- เคยวาดรูปแล้วเอาไปอวด เมื่อคนอื่นเห็นแล้วอาจจะหัวเราะ บอกว่าไม่สวย ตลก ฯ
- สอบได้ที่ 1 ของห้อง แต่กลับโดนดุ ว่าไม่ได้ที่ 1 ของโรงเรียน
- เลือกเสื้อผ้าใส่เอง แต่แม่บอกว่า เสื้อกับกางเกงสีไม่เข้ากันเลย เลือกมาได้ยังไง และบังคับให้ไปเปลี่ยน ... จนในที่สุด อาจทะเลาะกันกับลูก
3. ไม่ได้รับคำชม หรือได้รับ แต่ไม่มากพอ หรือถูกเปรียบเทียบ
- สอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเต็ม พอไปบอกคุณพ่อ คุณพ่อกลับไม่สนใจ
- สอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเต็ม พอไปบอกคุณพ่อ คุณพ่อบอกว่า “เก่งมาก... แต่เวลาสอบพี่ของลูกได้คะแนนมากกว่านี้อีกนะ”
- สอบวิชาภาษาไทยได้คะแนนเต็ม พอไปบอกคุณพ่อ คุณพ่อชม ชมแต่ปาก แต่อากับกิริยาไม่ส่งเสริมคำชมนั้น เช่นใบหน้าเรียบเฉย ไม่ยิ้ม ไม่ให้รางวัล หรือให้รางวัลน้อยเกินไป (ตามความรู้สึกของเด็ก)
นี่คือสาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมในปัจจุบันค่ะ
การที่มีใครพูดว่า ผู้ใหญ่คนนี้ เรียนจบแล้ว แต่ขี้เกียจ ไม่ชอบทำงาน คำว่า “ขี้เกียจ” เป็นการตัดสินของคนพูดค่ะ แต่ไม่ใช่สาเหตุที่คนคนนั้นไม่ทำงาน
การที่มีใครพูดว่า พนักงานคนนี้ เวลามอบหมายงานอะไรไป ก็จะต้องรอจนใกล้ส่ง รอจนงานเยอะ แล้วก็รีบ ๆ ทำ ทำออกมาก็ไม่ได้ดี ทำแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป เป็นพวก “ดินพอกหางหมู”
คนพวกนี้ กลัวการลงมือทำ และกลัวการทำเสร็จค่ะ เพราะแค่ลงมือ เค้าก็กลัวว่า จะมีใครบอกว่าวิธีการที่เค้าทำ ไม่ดีพอ ไม่ได้เรื่อง งานออกมาก็ไม่ดีหรอก หรือกลัวว่า ถ้าทำเสร็จแล้ว จะโดนตำหนิ หรือทำไป ก็ไม่มีใครเห็นคุณค่าของเค้า ไม่เห็นว่าเค้าเก่ง
มันเป็นอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความเสียใจผิดหวัง ซึ่งเคยขึ้นในวัยเด็ก และเค้าเก็บเอาไว้ เป็นบทเรียนหรือเป็นสิ่งที่ปกป้องตัวเองจากความผิดหวัง เสียใจ
ปกป้องยังไง ? ในส่วนลึกแสนลึกในคนคนนั้น จะมีเสียงกระซิบว่า......
อย่าทำสิ จะได้ไม่เสร็จ จะได้ไม่ต้องมีคนบอกว่ามันห่วย
อย่าทำสิ แค่ลงมือทำ ก็จะโดนวิพากษ์วิจารณ์แล้วว่าทำไม่ได้แน่ ๆ
อย่าทำสิ ทำไป ดีแค่ไหน ก็ไม่มีค่าในสายตาใคร ทำไป ก็เท่านั้น
*******แล้วจะแก้ไขยังไง ? ************
ถ้าเป็นตัวเราเอง ที่มีอาการแบบนั้น หลับตา ตั้งสติ ค้นหาว่า ตอนเราเป็นเด็ก เราเคยอยากทำอะไร หรือตั้งใจทำอะไร แล้ว…
- ถูกห้าม ถูกกีดกัน พูดให้เจ็บช้ำ เสียใจ หรือ
- เมื่อทำจนสำเร็จ กลับโดนตำหนิ หัวเราะเยาะ หรือ
- ทำสำเร็จ แต่ไม่ได้รับคำชื่นชมหรือการแสดงออกใด ๆ ที่ทำให้เราหัวใจพองฟู ภูมิใจในตัวเอง
เมื่อหาเจอแล้ว หลับตา เห็นภาพตัวเองอยู่ตรงหน้า
1. มองหน้าตัวเองที่อยู่ในจินตนาการ กอดเค้า กอดแน่น ๆ
2. พูดกับตัวเองในจินตนาการว่า “ไม่ว่าที่ผ่านมาจะเกิดอะไรขึ้น มันยอดเยี่ยมแล้ว เธอเก่งมากที่ผ่านพ้นมาได้ ฉันชื่นชมและขอบคุณเธอเหลือเกิน ขอโทษนะที่ฉันเพิ่งจะมาหาเธอ ฉันรู้ว่าเธอเสียใจ เจ็บปวด และรอให้ฉันมาปลอบโยน ฉันมาแล้วนะ ฟังนะ ต่อไปนี้ ฉันนี่แหละ จะเป็นคนที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้เธอทำในสิ่งที่เธอต้องการ ฉันเชื่ออย่างสุดหัวใจว่าเธอจะพยายาม ทุ่มเท และเมื่อผลออกมา ไม่ว่ามันจะเป็นยังไง ฉันนี่แหละ จะขอบคุณเธอ ชื่นชมเธอ ฉันรู้ว่าเธอยอดเยี่ยมที่สุด เราจะเป็นกำลังใจให้กันและกันตลอดไป
3. สังเกตสีหน้าท่าทางของตัวเองในจินตนาการ บอกเค้าว่า ฉันรักเธอ ขอบคุณที่อยู่ด้วยกันมาตลอด แล้วฉันจะมาคุยกับเธออีก
4. หายใจเข้าลึก ๆ ลืมตา
สังเกตุความรู้สึกตัวเอง และพฤติกรรมหลังจากนี้ค่ะ
ขอให้ทุกคน เจอกับ “ปม” ของตัวเอง และก้าวข้ามมันไปได้นะคะ
ติดตามข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์ พร้อมแนวทางการแก้ไขสารพัดปมในใจ ได้ที่ เพจ universeofLifes ค่ะ
https://www.facebook.com/Universeoflifes/