แพงอะไรขนาดนี้! เซ่นน้ำท่วมทำผักแพง ผักบุ้งโลละ 100 กะเพรา 140 ผักชี 150 บ.
https://www.dailynews.co.th/news/1592696/
กรมการค้าภายใน เร่งเชื่อมโยงผักจากแหล่งผลิต ลงตลาดกลาง รถพุ่มพวง แก้ปัญหาผักแพง หลังชาวบ้านร้องลั่นผักสดแพงมาก จากน้ำท่วม ผักบุ้งจีน พุ่ง กก. 100 กะเพรา 140 คะน้า 60 ถั่วฝักยาว 70 บาท
นาย
อุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมเชื่อมโยงผักสด จากแหล่งเพาะปลูกไปยังตลาดกลาง และตลาดตามชุมชน เพื่อแก้ปัญหาผักสดราคาแพงในช่วงนี้ หลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนว่าในช่วงนี้มีผักสดหลายชนิดราคาเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผักใบ เช่น ผักบุ้ง ใบกะเพรา ผักคะน้า เนื่องจากได้ความเสียหายจากฝนตกหนัก อีกทั้งแหล่งเพาะปลูกหลายแห่ง เช่น นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง จนทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาลดลง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าผักสดราคาแพงจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราว และคลี่คลายภายใน 1 สัปดาห์ เพราะผักรุ่นใหม่จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาด และราคาผักจะกลับเข้าสู่ความสมดุลตามกลไกตลาดอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกัน กรมฯ ได้ประสานไปยังพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศให้ติดตามสถานการณ์การจำหน่ายผัก รวมทั้งสถานที่เพาะปลูกผักที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนให้กับประชาชนด้วย
สำหรับแนวทางแก้ปัญหา กรมจะมีการเชื่อมโยงผลผลิตจากแหล่งที่มีผลผลิตมาก และไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมไปสู่จังหวัดที่มีปัญหาด้านราคาและปริมาณผลผลิตน้อย รวมถึงเชื่อมโยงกระจายผลผลิตผ่านตลาดกลางสินค้าเกษตร เพื่อสนับสนุนช่องทางค้าขายให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันได้จัดโครงการโมบายพาณิชย์ลดราคาจำหน่ายผักสด ขายไปตามเขตชุมชน ซอกซอยต่างๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้แก่ประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ประชาชนหลายพื้นได้ร้องเรียนว่า ในช่วงสัปดาห์นี้ราคาผักสดหลายชนิด ปรับเพิ่มขึ้นมาก อาทิ ตลาดยิ่งเจริญ ราคาผักบุ้งจีนพุ่งไปถึง กก.ละ 100 บาท ผักคะน้า กก. 60-70 บาท ผักกาดหอม กก. 130 บาท ผักขึ้นฉ่าย กก.150 บาท ถั่วฝักยาว กก. 70 บาท พริกสดชี้ฟ้า 80 บาท ต้นหอม กก. 180 บาท ผักชี 150 บาท ผักกวางตุ้ง กก. 80 บาท ใบกะเพรา กก. 140 บาท ขณะที่ตลาดสดย่านนนทบุรี ที่เน้นขายปลีกให้ผู้บริโภค ผักชะอมกำละ 60 บาท ใบแมงลักเพิ่มจากกำละ 10 บาท เป็น 15 บาท เช่นเดียวกับผักที่แยกขายเป็นกำ ก็มีราคาเพิ่มจาก 10 บาท เป็น 15-20 บาท และมีขนาดเล็กลง
ส่วนข้อมูลจากเว็บไซต์กรมการค้าภายใน ที่เปรียบเทียบราคาขายปลีก สินค้าอาหารสดในกรุงเทพฯ พบว่า ผักคะน้า กก. 50-55 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อน กก. 40 บาท ผักบุ้งจีน กก. 70-75 บาท เพิ่มจากเดือนก่อน 30 บาท ผักกวางตุ้ง กก. 40-45 บาท เพิ่มจาก 28.50 บาท กะหล่ำปลี 30-35 บาท และผักกาดขาว กก. 30-35 บาท ใกล้เคียงกับเดือนที่แล้ว ผักชี กก. 170-180 บาท เพิ่มจาก 150 บาท ต้นหอม กก.160-170 บาท เพิ่มจาก 100 บาท พริกขี้หนู กก. 100-120 บาท เพิ่มจาก 80-85 บาท ส่วนราคาเนื้อหมูมีแนวโน้มลดลง กก. 185-190 บาท ลงจากเดือนก่อน กก. 190-195 บาท เนื้อไก่ราคาใกล้เคียงเดิม 80-90 บาท เช่นเดียวกับไข่ไก่เบอร์ 3 ฟอง 4-4.2 บาท
“กรมการค้าภายในได้ระบุสาเหตุว่า ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักกวางตุ้ง ต้นหอม พริกขี้หนูจินดา และมะนาว ราคาสูงขึ้น เนื่องจากใกล้สิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว และจากภาวะฝนตกชุกมีน้ำท่วมขังในพื้นที่แหล่งเพาะปลูก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวและการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง”.
ค้านประกาศอุทยานฯ ออบขานทับที่ชาวสะเมิง ขอกันพื้นที่ 2.4 หมื่นไร่ที่มาทับที่ชาวบ้าน
https://prachatai.com/journal/2022/10/101032
ชาวปกาเกอะญอ อ.สะเมิงกว่า 300 คน ค้านประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน พร้อมขอให้กันพื้นที่ 24,513 ไร่ที่มาทับที่ดินทำกิน-ป่าจิตวิญญาณของชาวบ้าน ชี้กระบวนการรับฟังความเห็นขาดการมีส่วนร่วม
18 ต.ค. 2565 ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่ลานคำ หมู่ที่ 6 และบ้านป่าคา หมู่ที่ 11 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ประมาณ 300 คน เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน ณ ที่ว่าการ อ.สะเมิง โดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านต่างไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความกังวลด้านการใช้ชีวิตในเขตป่า
เวลาประมาณ 12.30 น. ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่ลานคำและบ้านป่าคา ในนามสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้ตั้งขบวนที่เทศบาล ต.สะเมิงใต้ แล้วเดินเท้าระยะทางประมาณ 250 เมตร ไปยังที่ว่าการ อ.สะเมิง ซึ่งเป็นสถานที่ประชุม ได้มีการปราศรัยหน้าหอประชุม อ.สะเมิง แล้วจึงเข้าร่วมเวทีการประชุมในเวลา 13.30 น.
หลังจากนั้นชาวบ้านได้เริ่มแสดงความเห็นทีละหมู่บ้าน เริ่มจาก
ตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ชาวปกาเกอะญอวัย 75 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณหน่อมบ้านสบลาน หมู่ที่ 6 ที่ยืนยันว่าชุมชนมีประวัติศาสตร์การกทอตั้งชุมชนและต่อสู้กับการสัมปทานป่าไม้มาอย่างยาวนาน และมีการดำเนินการสำรวจร่วมกับอุทยานฯ ในพื้นที่ ผ่านหัวหน้าอุทยานฯ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 คน ตลอดเวลาการเตรียมการประกาศอุทยานฯ กว่า 30 ปี จนถึงวันนี้ยังไม่จบ ซึ่งตนกังวลเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่า ทั้งการเก็ยหาของป่า สมุนไพร และการเลี้ยงสัตว์
“เมื่อก่อนเราทำกิน ไม่ผิดอะไร เราทำไร่ เราเข้าป่า เราทำพิธีกรรม แต่ตอนนี้มีกฎกติกามากมาย มีข้อกฎหมาย เราก็กลัวว่าจะทำไร่ไม่ได้ เข้าป่าไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็มาลาดตระเวณ ตอนนี้ชีวิตเราวิกฤต เราจะต้องถูกกดขี่ไปขนาดไหน” ตาแยะกล่าว
เช่นเดียวกับ
นันทวัฒน์ เที่ยงตรงสกุล ผู้ใหญ่บ้าน บ้านแม่ลานคำ หมู่ที่ 6 ต.สะเมิงใต้ ก็ยืนยันว่า ต้องกันพื้นที่ 24,513 ไร่ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ป่าจิตวิญญาณของชุมชนออกจากการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ก่อน เนื่องจากเป็นป่าที่ชุมชนดูแลรักษามานานแล้ว และยังตั้งข้อสังเกตถึงการจัดเวทีรับหังความคิดเห็นในวันนี้ว่าจะนำไปสู่การแก้ไขัญหาป่าทับคนหรือไม่
“เวทีรับฟังความคิดเห็นวันนี้มันเป็นแค่ขั้นตอนหนึ่งที่ลบขั้นตอนยุ่งยากตลอด 30 ปีที่เราต่อสู้กันมา ณ วันนี้ มันเป็นกฎหมายรวบรัดให้ประกาศอุทยานฯ ง่ายขึ้น เราไม่แน่ใจเลยว่ามันจะได้รับการบันทึกลงในรายงานการประชุม ส่งไปถึงอธิบดีกรมอุทยานฯ ไหม เพื่อยืนยันว่าข้อเสนอของเรามันส่งไปถึง ทั้งอธิบดี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 กล่าว
ส่วน
ศิระพงศ์ วานิช ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทรายมูล หมู่ที่ 5 ต.สะเมิงใต้ หนึ่งในขุมชนที่จะได้รับผลกระทบ ย้ำว่ากระบวนการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ที่ผ่านมามีปัญหา เนื่องจากตรได้ขอแผนที่จากอุทยานฯ มานานแล้ว แต่เพิ่งได้เห็นแผนที่ครั้งแรกในวันนี้ที่ต้องเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นพอดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนของอุทยานฯ จากการดูแผนที่พบว่าจะกระทบกับชุมชนอย่างมาก และยืนยันไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุทยานฯ ออบขานทับพื้นที่ชุมชนที่ดูแลรักษาป่า
“อยากให้เจ้าหน้าที่มองชาวบ้านเป็นผู้รักษาป่า อย่ามองชาวบ้านเป็นผู้บุกรุกแล้วคิดว่าเจ้าหน้าที่คือผู้พิทักษ์ ถ้ามองเราเป็นผู้บุกรุก เราก็อยู่ในบทผู้ร้าย แต่ถ้ามองเราเป็นผู้รักษาป่า เราจะทำงานร่วมกันได้” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ต.สะเมิงใต้ ย้ำ
อุทยานฯ-พีมูฟ เห็นต่าง ประกาศอุทยานฯ เพื่อคนทั้งประเทศ
นิภาพร ไพศาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขานแจงว่า ที่ผ่านมาได้มีกลไกระดับอำเภอในการแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามตนได้รับมอบหมายจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้มาดำเนินการสำรวจแนวเขตและจัดทำข้อเสนอไปยังกรมฯ โดยย้ำว่า การประกาศอุทยานฯ ออบขานจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย
“เราต่างทราบว่าการประกาศอุทยานฯ นั้นต้องมีผลกระทบ แต่โดยความตั้งใจของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขานมองว่าพื้นที่ทั้งหมด 141,000 ไร่ ไม่มีพื้นที่ทำกินของประชาชนอยู่แล้ว เรากันออกหมดแล้ว มันเตรียมประกาศมาตั้งแต่ปี 2532 ตอนนี้เรากันออกหมดแล้ว ยังมีป่าอุดมสมบูรณ์อีกเยอะแยะที่พี่น้องก็ยังใช้ประโยชน์ได้” นิภาพรกล่าว
ท้ายที่สุดแล้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขานก็ย้ำว่าการรับฟังความเห็นในวันนี้ ถึงจะสำรวจออกมาแล้วว่ามีป่าสมบูรณ์อย่างไร มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างไร มีคุณค่าต่อประเทศนี้อย่างไร แต่ความคิดเห็นของประชาชนก็ยังสำคัญ จึงขอยืนยันว่าจะนำเสนอทุกประเด็นไปยังผู้บังคับบัญชา คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และอธิบดีต่อไป
ด้าน
วิศรุต ศรีจันทร์ ผู้แทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ก็ได้ยืนยันว่ามีข้อจำกัดด้านกฎหมายที่กระทบกับชุมชนอยู่มาก กล่าวคือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกาศใช้ไปแล้ว มีมาตรา 64 และ 65 อนุญาตให้ทำกินและใช้ประโยชน์จากป่า แต่กฎหมายว่าสามารถใช้ได้แค่อุทยานฯ ที่ประกาศไปแล้ว เราก็อยากจะถามว่าแล้วมีอะไรรับรองชาวบ้าน เพราะอุทยานฯ ออบขานกำลังประกาศหลังปี 2562
“ชาวบ้านที่นี่ต่อสู้มา 30 ปี ไม่ใช่แค่หัวหน้าอุทยานฯ คนนั้น ชาวบ้านไม่ได้อยู่นิ่ง เขามีการต่อสู้ เขามีข้อเสนอมาต่อเนื่อง แต่จากการนำเสนอวันนี้ อุทยานฯ ไม่นำเสนอในมุมการแก้ปัญหาตามกลไกรัฐบาลเลย” วิศรุตย้ำ
สกน. ยื่นหนังสือถึง 3 หน่วยงาน ค้านประกาศอุทยานฯ ออบขานทับที่ชุมชน
ในช่วงท้ายของการประชุม ตัวแทนชาวบ้านหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 11 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ได้ยื่นหนังสือถึง 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ ยืนยันว่าชุมชนจะได้รับผลกระทบจากการประกาศอุทยานฯ เรื่องวิถีการทำไร่หมุนเวียนและการใช้ประโยชน์จากป่า และยืนยันข้อเรียกร้องให้กันพื้นที่ป่าจิตวิญญาณ 24,513 ไร่ ออกจากการประกาศอุทยานฯ ออบขาน
หลังจากนั้น
นันทวัฒน์ เที่ยงตรงสกุล ผู้ใหญ่บ้าน แม่ลานคำ หมู่ที่ 6 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ได้อ่านแถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) คัดค้านการประกาศอุทยานฯ ออบขานทับป่าจิตวิญญาณของชุมชน
แถลงการณ์ระบุว่า ชาวล้ายแม่ลานคำและป่าคา ได้เรียกร้องให้อุทยานแห่งชาติออบขานกันแนวเขตพื้นที่จำนวน 24,513 ไร่ ออกจากการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายป่าอนุรักษ์สร้างข้อจำกัดและความเปราะบางให้กับสิทธิชุมชนในพื้นที่ป่า ไม่ต่างจากการบีบบังคับไล่ชุมชนดั้งเดิมออกจากป่า บั่นทอนวิถีชีวิตวัฒนธรรมดั่งเดิมของชุมชนหายไป
“เราขอประกาศต่อสาธารณะว่า พวกเราชาวปกาเกอะญอชุมชนบ้านแม่ลานคำและบ้านป่าคา ต่างได้พิสูจน์ต่อสังคมอย่างชัดแจ้งว่าเป็นผู้ปกป้องสมดุลแห่งการใช้ประโยชน์ ดูแลและรักษาอย่างเกื้อกูลป่าจนมีอุดมความสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งการทำแนวกันไฟ จัดการไฟป่าและหมอกควัน การจัดการพื้นที่ต้นน้ำให้ยังคงมีความชุ่มชื้น ลดปัญหาการพังทลายของหน้าดิน จนเป็นแหล่งพื้นที่ต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่และของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้พวกเราดูแลจัดการมาตั้งแต่บรรพบุรุษไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วอายุคน แม้กระทั่งผ่านช่วงระยะเวลาที่พื้นที่ของเราถูกนำไปทำสัมปทานป่าไม้โดยรัฐและเอกชน เราก็ยังคัดค้าน และฟื้นฟูจนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งด้วยตัวของชุมชนเอง” แถลงการณ์ระบุ
JJNY : แพงอะไรขนาดนี้!│ค้านประกาศอุทยานฯทับที่ชาวสะเมิง│ชูวิทย์แนะอย่าร้องมั่วซั่ว│“เสรีพิศุทธ์”บอกถูกชกไม่ใช่ความรุนแรง
https://www.dailynews.co.th/news/1592696/
กรมการค้าภายใน เร่งเชื่อมโยงผักจากแหล่งผลิต ลงตลาดกลาง รถพุ่มพวง แก้ปัญหาผักแพง หลังชาวบ้านร้องลั่นผักสดแพงมาก จากน้ำท่วม ผักบุ้งจีน พุ่ง กก. 100 กะเพรา 140 คะน้า 60 ถั่วฝักยาว 70 บาท
นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมเชื่อมโยงผักสด จากแหล่งเพาะปลูกไปยังตลาดกลาง และตลาดตามชุมชน เพื่อแก้ปัญหาผักสดราคาแพงในช่วงนี้ หลังได้รับร้องเรียนจากประชาชนว่าในช่วงนี้มีผักสดหลายชนิดราคาเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผักใบ เช่น ผักบุ้ง ใบกะเพรา ผักคะน้า เนื่องจากได้ความเสียหายจากฝนตกหนัก อีกทั้งแหล่งเพาะปลูกหลายแห่ง เช่น นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง จนทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาลดลง
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าผักสดราคาแพงจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราว และคลี่คลายภายใน 1 สัปดาห์ เพราะผักรุ่นใหม่จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาด และราคาผักจะกลับเข้าสู่ความสมดุลตามกลไกตลาดอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกัน กรมฯ ได้ประสานไปยังพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศให้ติดตามสถานการณ์การจำหน่ายผัก รวมทั้งสถานที่เพาะปลูกผักที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนให้กับประชาชนด้วย
สำหรับแนวทางแก้ปัญหา กรมจะมีการเชื่อมโยงผลผลิตจากแหล่งที่มีผลผลิตมาก และไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมไปสู่จังหวัดที่มีปัญหาด้านราคาและปริมาณผลผลิตน้อย รวมถึงเชื่อมโยงกระจายผลผลิตผ่านตลาดกลางสินค้าเกษตร เพื่อสนับสนุนช่องทางค้าขายให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันได้จัดโครงการโมบายพาณิชย์ลดราคาจำหน่ายผักสด ขายไปตามเขตชุมชน ซอกซอยต่างๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้แก่ประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ประชาชนหลายพื้นได้ร้องเรียนว่า ในช่วงสัปดาห์นี้ราคาผักสดหลายชนิด ปรับเพิ่มขึ้นมาก อาทิ ตลาดยิ่งเจริญ ราคาผักบุ้งจีนพุ่งไปถึง กก.ละ 100 บาท ผักคะน้า กก. 60-70 บาท ผักกาดหอม กก. 130 บาท ผักขึ้นฉ่าย กก.150 บาท ถั่วฝักยาว กก. 70 บาท พริกสดชี้ฟ้า 80 บาท ต้นหอม กก. 180 บาท ผักชี 150 บาท ผักกวางตุ้ง กก. 80 บาท ใบกะเพรา กก. 140 บาท ขณะที่ตลาดสดย่านนนทบุรี ที่เน้นขายปลีกให้ผู้บริโภค ผักชะอมกำละ 60 บาท ใบแมงลักเพิ่มจากกำละ 10 บาท เป็น 15 บาท เช่นเดียวกับผักที่แยกขายเป็นกำ ก็มีราคาเพิ่มจาก 10 บาท เป็น 15-20 บาท และมีขนาดเล็กลง
ส่วนข้อมูลจากเว็บไซต์กรมการค้าภายใน ที่เปรียบเทียบราคาขายปลีก สินค้าอาหารสดในกรุงเทพฯ พบว่า ผักคะน้า กก. 50-55 บาท สูงขึ้นจากเดือนก่อน กก. 40 บาท ผักบุ้งจีน กก. 70-75 บาท เพิ่มจากเดือนก่อน 30 บาท ผักกวางตุ้ง กก. 40-45 บาท เพิ่มจาก 28.50 บาท กะหล่ำปลี 30-35 บาท และผักกาดขาว กก. 30-35 บาท ใกล้เคียงกับเดือนที่แล้ว ผักชี กก. 170-180 บาท เพิ่มจาก 150 บาท ต้นหอม กก.160-170 บาท เพิ่มจาก 100 บาท พริกขี้หนู กก. 100-120 บาท เพิ่มจาก 80-85 บาท ส่วนราคาเนื้อหมูมีแนวโน้มลดลง กก. 185-190 บาท ลงจากเดือนก่อน กก. 190-195 บาท เนื้อไก่ราคาใกล้เคียงเดิม 80-90 บาท เช่นเดียวกับไข่ไก่เบอร์ 3 ฟอง 4-4.2 บาท
“กรมการค้าภายในได้ระบุสาเหตุว่า ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักกวางตุ้ง ต้นหอม พริกขี้หนูจินดา และมะนาว ราคาสูงขึ้น เนื่องจากใกล้สิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว และจากภาวะฝนตกชุกมีน้ำท่วมขังในพื้นที่แหล่งเพาะปลูก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวและการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง”.
ค้านประกาศอุทยานฯ ออบขานทับที่ชาวสะเมิง ขอกันพื้นที่ 2.4 หมื่นไร่ที่มาทับที่ชาวบ้าน
https://prachatai.com/journal/2022/10/101032
ชาวปกาเกอะญอ อ.สะเมิงกว่า 300 คน ค้านประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน พร้อมขอให้กันพื้นที่ 24,513 ไร่ที่มาทับที่ดินทำกิน-ป่าจิตวิญญาณของชาวบ้าน ชี้กระบวนการรับฟังความเห็นขาดการมีส่วนร่วม
18 ต.ค. 2565 ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่ลานคำ หมู่ที่ 6 และบ้านป่าคา หมู่ที่ 11 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ประมาณ 300 คน เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน ณ ที่ว่าการ อ.สะเมิง โดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านต่างไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความกังวลด้านการใช้ชีวิตในเขตป่า
เวลาประมาณ 12.30 น. ชาวปกาเกอะญอบ้านแม่ลานคำและบ้านป่าคา ในนามสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้ตั้งขบวนที่เทศบาล ต.สะเมิงใต้ แล้วเดินเท้าระยะทางประมาณ 250 เมตร ไปยังที่ว่าการ อ.สะเมิง ซึ่งเป็นสถานที่ประชุม ได้มีการปราศรัยหน้าหอประชุม อ.สะเมิง แล้วจึงเข้าร่วมเวทีการประชุมในเวลา 13.30 น.
หลังจากนั้นชาวบ้านได้เริ่มแสดงความเห็นทีละหมู่บ้าน เริ่มจาก ตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ชาวปกาเกอะญอวัย 75 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณหน่อมบ้านสบลาน หมู่ที่ 6 ที่ยืนยันว่าชุมชนมีประวัติศาสตร์การกทอตั้งชุมชนและต่อสู้กับการสัมปทานป่าไม้มาอย่างยาวนาน และมีการดำเนินการสำรวจร่วมกับอุทยานฯ ในพื้นที่ ผ่านหัวหน้าอุทยานฯ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 คน ตลอดเวลาการเตรียมการประกาศอุทยานฯ กว่า 30 ปี จนถึงวันนี้ยังไม่จบ ซึ่งตนกังวลเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่า ทั้งการเก็ยหาของป่า สมุนไพร และการเลี้ยงสัตว์
“เมื่อก่อนเราทำกิน ไม่ผิดอะไร เราทำไร่ เราเข้าป่า เราทำพิธีกรรม แต่ตอนนี้มีกฎกติกามากมาย มีข้อกฎหมาย เราก็กลัวว่าจะทำไร่ไม่ได้ เข้าป่าไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็มาลาดตระเวณ ตอนนี้ชีวิตเราวิกฤต เราจะต้องถูกกดขี่ไปขนาดไหน” ตาแยะกล่าว
เช่นเดียวกับ นันทวัฒน์ เที่ยงตรงสกุล ผู้ใหญ่บ้าน บ้านแม่ลานคำ หมู่ที่ 6 ต.สะเมิงใต้ ก็ยืนยันว่า ต้องกันพื้นที่ 24,513 ไร่ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ป่าจิตวิญญาณของชุมชนออกจากการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ก่อน เนื่องจากเป็นป่าที่ชุมชนดูแลรักษามานานแล้ว และยังตั้งข้อสังเกตถึงการจัดเวทีรับหังความคิดเห็นในวันนี้ว่าจะนำไปสู่การแก้ไขัญหาป่าทับคนหรือไม่
“เวทีรับฟังความคิดเห็นวันนี้มันเป็นแค่ขั้นตอนหนึ่งที่ลบขั้นตอนยุ่งยากตลอด 30 ปีที่เราต่อสู้กันมา ณ วันนี้ มันเป็นกฎหมายรวบรัดให้ประกาศอุทยานฯ ง่ายขึ้น เราไม่แน่ใจเลยว่ามันจะได้รับการบันทึกลงในรายงานการประชุม ส่งไปถึงอธิบดีกรมอุทยานฯ ไหม เพื่อยืนยันว่าข้อเสนอของเรามันส่งไปถึง ทั้งอธิบดี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 กล่าว
ส่วน ศิระพงศ์ วานิช ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทรายมูล หมู่ที่ 5 ต.สะเมิงใต้ หนึ่งในขุมชนที่จะได้รับผลกระทบ ย้ำว่ากระบวนการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ที่ผ่านมามีปัญหา เนื่องจากตรได้ขอแผนที่จากอุทยานฯ มานานแล้ว แต่เพิ่งได้เห็นแผนที่ครั้งแรกในวันนี้ที่ต้องเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นพอดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนของอุทยานฯ จากการดูแผนที่พบว่าจะกระทบกับชุมชนอย่างมาก และยืนยันไม่เห็นด้วยกับการประกาศอุทยานฯ ออบขานทับพื้นที่ชุมชนที่ดูแลรักษาป่า
“อยากให้เจ้าหน้าที่มองชาวบ้านเป็นผู้รักษาป่า อย่ามองชาวบ้านเป็นผู้บุกรุกแล้วคิดว่าเจ้าหน้าที่คือผู้พิทักษ์ ถ้ามองเราเป็นผู้บุกรุก เราก็อยู่ในบทผู้ร้าย แต่ถ้ามองเราเป็นผู้รักษาป่า เราจะทำงานร่วมกันได้” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ต.สะเมิงใต้ ย้ำ
อุทยานฯ-พีมูฟ เห็นต่าง ประกาศอุทยานฯ เพื่อคนทั้งประเทศ
นิภาพร ไพศาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขานแจงว่า ที่ผ่านมาได้มีกลไกระดับอำเภอในการแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามตนได้รับมอบหมายจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้มาดำเนินการสำรวจแนวเขตและจัดทำข้อเสนอไปยังกรมฯ โดยย้ำว่า การประกาศอุทยานฯ ออบขานจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย
“เราต่างทราบว่าการประกาศอุทยานฯ นั้นต้องมีผลกระทบ แต่โดยความตั้งใจของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขานมองว่าพื้นที่ทั้งหมด 141,000 ไร่ ไม่มีพื้นที่ทำกินของประชาชนอยู่แล้ว เรากันออกหมดแล้ว มันเตรียมประกาศมาตั้งแต่ปี 2532 ตอนนี้เรากันออกหมดแล้ว ยังมีป่าอุดมสมบูรณ์อีกเยอะแยะที่พี่น้องก็ยังใช้ประโยชน์ได้” นิภาพรกล่าว
ท้ายที่สุดแล้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขานก็ย้ำว่าการรับฟังความเห็นในวันนี้ ถึงจะสำรวจออกมาแล้วว่ามีป่าสมบูรณ์อย่างไร มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างไร มีคุณค่าต่อประเทศนี้อย่างไร แต่ความคิดเห็นของประชาชนก็ยังสำคัญ จึงขอยืนยันว่าจะนำเสนอทุกประเด็นไปยังผู้บังคับบัญชา คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และอธิบดีต่อไป
ด้าน วิศรุต ศรีจันทร์ ผู้แทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ก็ได้ยืนยันว่ามีข้อจำกัดด้านกฎหมายที่กระทบกับชุมชนอยู่มาก กล่าวคือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกาศใช้ไปแล้ว มีมาตรา 64 และ 65 อนุญาตให้ทำกินและใช้ประโยชน์จากป่า แต่กฎหมายว่าสามารถใช้ได้แค่อุทยานฯ ที่ประกาศไปแล้ว เราก็อยากจะถามว่าแล้วมีอะไรรับรองชาวบ้าน เพราะอุทยานฯ ออบขานกำลังประกาศหลังปี 2562
“ชาวบ้านที่นี่ต่อสู้มา 30 ปี ไม่ใช่แค่หัวหน้าอุทยานฯ คนนั้น ชาวบ้านไม่ได้อยู่นิ่ง เขามีการต่อสู้ เขามีข้อเสนอมาต่อเนื่อง แต่จากการนำเสนอวันนี้ อุทยานฯ ไม่นำเสนอในมุมการแก้ปัญหาตามกลไกรัฐบาลเลย” วิศรุตย้ำ
สกน. ยื่นหนังสือถึง 3 หน่วยงาน ค้านประกาศอุทยานฯ ออบขานทับที่ชุมชน
ในช่วงท้ายของการประชุม ตัวแทนชาวบ้านหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 11 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ได้ยื่นหนังสือถึง 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ ยืนยันว่าชุมชนจะได้รับผลกระทบจากการประกาศอุทยานฯ เรื่องวิถีการทำไร่หมุนเวียนและการใช้ประโยชน์จากป่า และยืนยันข้อเรียกร้องให้กันพื้นที่ป่าจิตวิญญาณ 24,513 ไร่ ออกจากการประกาศอุทยานฯ ออบขาน
หลังจากนั้น นันทวัฒน์ เที่ยงตรงสกุล ผู้ใหญ่บ้าน แม่ลานคำ หมู่ที่ 6 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ได้อ่านแถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) คัดค้านการประกาศอุทยานฯ ออบขานทับป่าจิตวิญญาณของชุมชน
แถลงการณ์ระบุว่า ชาวล้ายแม่ลานคำและป่าคา ได้เรียกร้องให้อุทยานแห่งชาติออบขานกันแนวเขตพื้นที่จำนวน 24,513 ไร่ ออกจากการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายป่าอนุรักษ์สร้างข้อจำกัดและความเปราะบางให้กับสิทธิชุมชนในพื้นที่ป่า ไม่ต่างจากการบีบบังคับไล่ชุมชนดั้งเดิมออกจากป่า บั่นทอนวิถีชีวิตวัฒนธรรมดั่งเดิมของชุมชนหายไป
“เราขอประกาศต่อสาธารณะว่า พวกเราชาวปกาเกอะญอชุมชนบ้านแม่ลานคำและบ้านป่าคา ต่างได้พิสูจน์ต่อสังคมอย่างชัดแจ้งว่าเป็นผู้ปกป้องสมดุลแห่งการใช้ประโยชน์ ดูแลและรักษาอย่างเกื้อกูลป่าจนมีอุดมความสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งการทำแนวกันไฟ จัดการไฟป่าและหมอกควัน การจัดการพื้นที่ต้นน้ำให้ยังคงมีความชุ่มชื้น ลดปัญหาการพังทลายของหน้าดิน จนเป็นแหล่งพื้นที่ต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่และของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้พวกเราดูแลจัดการมาตั้งแต่บรรพบุรุษไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วอายุคน แม้กระทั่งผ่านช่วงระยะเวลาที่พื้นที่ของเราถูกนำไปทำสัมปทานป่าไม้โดยรัฐและเอกชน เราก็ยังคัดค้าน และฟื้นฟูจนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งด้วยตัวของชุมชนเอง” แถลงการณ์ระบุ