ในที่สุดก็จบลงไปแล้วสำหรับการแข่งขันในรายการชิงแชมป์โลก 2022 ของวอลเลย์บอลสาวไทย โดยสามารถเข้าไปได้ถึงรอบที่ 2 ตามเป้าและนัดสุดท้ายกับทีมอเมริกาก็ส่งท้ายแบบสุดมันส์ถึงแม้จะแพ้ไปด้วยสกอร์ 3-2 เซตก็ตาม
สำหรับกระทู้นี้จะว่ากันด้วยศักยภาพของทีมโดยภาพรวมของทีมไทยในแต่ละนัดและแยกให้เห็นแต่ละทักษะในรายการชิงแชมป์โลกโดยจะยกค่าเฉลี่ยของ VNL และชิงแชมป์โลก (WCH) มาเปรียบเทียบกันว่าการทำทีมของโค้ชและทีมงานทีมไทยโดยใช้ผู้เล่นนิวเจนทั้งทัวร์นาเม้นเป็นปีแรกนั้นเป็นยังไงบ้าง รวมถึงแสดงให้เห็นว่าในรายการชิงแชมป์โลกนั้นไทยมีพัฒนาการและได้ปรับปรุงข้อบกพร่องจาก VNL ที่แข่งขันห่างกันเพียง 1 เดือนครึ่งหรือไม่ จากสถิติก็พอจะมองภาพออก โดยจะเริ่มกันที่ประสิทธิภาพทีมในรายการชิงแชมป์โลกนี้ก่อนค่ะ
1. ประสิทธิภาพการทำคะแนนเมื่อเทียบกับคู่ต่อสู้ในรายการชิงแชมป์โลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยจะขอเน้นในรอบที่ 2 ที่เราแพ้ทั้ง 4 นัดรวดดังนี้
แคนาดา ไทยแพ้ไป 3-1 เซต แต่หากมองประสิทธิภาพการทำคะแนนต้องบอกว่าสูสีกันมาก หากรวมลูกเสียไทยมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเพียง -2.2% ในรายละเอียดนั้นจำนวนครั้งในความพยายามทำแต้มใกล้เคียงกันเพียงแต่แคนาดาทำแต้มจากการบล็อกได้ดีกว่าไทยโดยทำไปถึง 12 คะแนน ไทยทำไปเพียง 5 คะแนน แต้มจากการตบและ error ใกล้เคียงกันมากๆ
เยอรมัน ไทยแพ้ไป 3-1 เซตเช่นกัน สำหรับกับเยอรมันนั้นต้องบอกว่าน่าเสียดายกว่าแคนาดามากเพราะเมื่อดูประสิทธิภาพเรวมลูกเสียแล้วใกล้เคียงกับไทย ห่างกันเพียง -1.0% เท่านั้น นัดนี้ error ของเยอรมันสูงถึง 26 ลูก ส่วนไทยเสียเพียง 18 ลูก ส่วนทักษะอื่นๆไม่ว่าจะตบล็อกเสิร์ฟสูสีกันมากทีเดียว
เซอร์เบีย ไทยแพ้ไป 3-0 เซต ในการแข่งขันทั้ง 9 นัดของทีมไทย ถ้าหากจะให้บอกว่านัดไหนที่ไทยแพ้แบบสู้ไม่ได้ที่สุด จากสถิติก็ต้องบอกว่ากับเซอร์เบียนี่แหละค่ะ แม้จะไม่ส่งบอสโควิชมาเป็นตัวหลัก เพราะประสิทธิภาพการบุกเราต่ำมากพอเล่นกับเซอร์เบียร์ โดยหากรวมลูกเสีย ไทยทำไปเพียง 9.8% เท่านั้นในขณะที่เซอร์เบียร์อยู่ที่ 18.0% ห่างกันถึง -8.2% เลยทีเดียว
อเมริกา ไทยแพ้ไป 3-2 เซต สำหรับนัดเจอสาวอุสานั้น ใครได้ดูคือพูดได้คำเดียวว่ามันส์ แบบว่าสู้ได้แน่ๆ จากประสิทธิภาพการทำคะแนนของทีมหากไม่รวมลูกเสียนั้นไทยก็ยังเป็นรองถึง -3.3% แต่เมื่อรวมลูกเสียกลายเป็นทีมไทยมีประสิทธิภาพดีกว่า +0.4% ซึ่งก็สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เรามีโอกาสปิดเซตที่ 4 ได้ เพราะกลางๆเซตนำห่างถึง 4-5 แต้มเลย แต่ก็มาพลาดช่วงปลายๆเซตแทน และเซตที่ 5 ก็สูสีกัน แต่เป็นอเมริกาที่แก้เกมส์และแข็งแกร่งกว่าเก็บชัยไปได้
ทีนี้เราลองมาดูศักยภาพในภาพรวมของทีมและศักยภาพแบบแยกทักษะทั้งตบ บล็อก เสิร์ฟ ขุด รับเสิร์ฟ และการเซต ในชิงแชมป์โลกแต่ละนัดและเทียบกับภาพรวมของรายการ VNL ว่าจะเป็นยังไง
โดยจะแสดง ค่าเฉลี่ยแต่ละทักษะของ VNL และ WCH ไว้ทางซ้ายมือ สีตามภาพ
สำหรับ VNL แข่งขันรวม 13 แมตช์ คือ 1.บัลแกเรีย 2.เซอร์เบีย 3.เบลเยี่ยม 4.จีน 5.แคนาดา 6.โปแลนด์ 7.ญี่ปุ่น 8.อเมริกา 9.เกาหลี 10.โดมิ 11.บราซิล 12.อิตาลี 14.ตุรกี
สำหรับ WCH แข่งขันรวม 9 แมตช์ คือ 1.ตุรกี 2.โปแลนด์ 3.โครเอเชีย 4.เกาหลี 5.โดมิ 6.แคนาดา 7.เยอรมัน 8.เซอร์เบีย 9.อเมริกา
สัญลักษณ์สีตามด้านล่าง โดยทีมที่มีเส้นประคือทีมที่เราสามารถเอาชนะได้
*ถึงแม้ทั้ง 2 รายการเราจะไม่ได้เจอทีมเดียวกัน แต่มารตฐานทีมที่เจอก็คือระดับ 1-15 ของโลกและ line up หลายแมตช์ก็จัดเต็มไม่แพ้กัน*
2. ประสิทธิภาพโดยรวมของทีม (Team Efficiency)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับประสิทธิภาพทีมภาพรวมนั้นจะคิดเป็นอัตราส่วนการทำคะแนนทั้งตบบล็อกเสิร์ฟหักลบรวมลูกเสียทั้งแมตช์กับจำนวนความพยายามทำแต้ม โดยจะเห็นว่าค่าเฉลี่ยในรายการ WCH อยู่ที่ 18.5% ส่วนรายการ VNL อยู่ที่ 24.7% นั่นหมายความในชิงแชมป์โลกประสิทธิภาพทีมตกลงไปถึง -6.2%
หากพิจารณาการแข่งขันในแต่ละรอบจะพบว่าในรอบแรกทั้ง 4 นัดที่ไทยชนะประสิทธิภาพทีมค่อนข้างสูงกว่าหรือเท่าๆกับค่าเฉลี่ยตลอดทัวร์นาเม้น ยกเว้นกับนัดที่เจอโปแลนด์ที่ทำไปเพียง 14.8% และหากมองในรอบที่ 2 ที่เราแพ้ทั้ง 4 นัดจะพบว่า 3 นัดหลังสุดที่เจอเยอรมัน เซอร์เบียร์ อเมริกา ประสิทธิภาพเราตกลงไปจากค่าเฉลี่ยชัดเจน ยกเว้นแมตช์ที่เจอกับแคนาดาที่ทำไป 21.3% สูงกว่าค่าเฉลี่ย
ก็คงต้องมองถึงสาเหตุที่แท้จริงกันต่อไปว่าทำไมในรอบที่สองประสิทธิภาพทีมโดยรวมถึงตกลงกว่ารอบแรก สำหรับปัจจัยภายในก็อาจจะเป็นเรื่องความฟิตและอาการเหนื่อยล้าของร่างกายหรือไม่ หรือเป็นเพราะกลยุทธ์การวางเกมส์ที่เราถูกคู่แข่งจับทางได้ ก็อยู่ที่ทีมงานเท่านั้นที่สามารถตอบได้ชัดเจน ทีนี้ก็ต้องมาดูปัจจัยแต่ละทักษะว่า ทักษะการตบ บล็อก หรือเสิร์ฟ หรือลูก error ที่ทำให้ประสิทธิภาพทีมตกลง ส่วนปัจจัยภายนอกก็ต้องบอกว่าชิงแชมป์โลกทุกทีมเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดและแผนการเล่นที่ดีที่สุดในการแข่งขันอยู่แล้ว พูดง่ายๆว่าจัดเต็มแน่นอน
*สำหรับศักยภาพในแต่ละทักษะจะยังไม่รวม Error แต่จะแยก Error จากการเสียแต้มไว้ในหัวข้อสุดท้าย*
3. ตบ (Attack)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาต่อกันที่ทักษะการตบทำคะแนน ค่าเฉลี่ย WCH อยู่ที่ 40.1% สูงกว่า VNL (39.9%) เพียง +0.2% เท่านั้น นั่นหมายความว่าทั้ง 2 รายการทีมไทยมีประสิทธิภาพในทักษะการตบเท่าๆกัน
โดยพิจารณาการแข่งขันในแต่ละรอบจะพบว่าแนวโน้มศักยภาพของทักษะการตบเหมือนกับประสิทธิภาพทีมในหัวข้อที่ 2 ด้านบน นั่นหมายความว่าศักยภาพในรอบที่ 2 ต่ำกว่ารอบแรกอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งสะท้อนภาพรวมเรื่องความฟิตของร่างกายนักกีฬาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะว่ายิ่งทีมไทยยืนระยะในการแข่งขันนานเท่าไหร่ประสิทธิภาพการตบโดยรวมของทีมจะลดลง เพราะอะไร ปัจจัยแรกเลยคือ เราใช้นักกีฬาตัวหลักชุดเดิมทั้งทัวร์นาเม้นโดยหมุนเวียนสำรองน้อยมาก ดังนั้นศักยภาพการตบก็สะท้อนไปถึงสภาพร่างกาย ความฟิต ความเหนื่อยล้าของน้องๆตัวหลัก โดยเฉพาะบุ๋มบิ๋มบีมเพียว
และ % ที่เท่ากันของ VNL และ WCH สะท้อนให้เห็นว่าทีมไม่ได้มีพัฒนาการในการหมุนเวียนตัวผู้เล่นแต่อย่างใดและจริงๆ VNL ดีกว่าด้วยซ้ำหากพิจารณา Ratio การแข่งขันเพราะ VNL แข่งถึง 13 นัด แต่ WCH แข่งเพียง 9 นัด เท่านั้น และนอกจากนี้ Win Ratio ของ VNL (ชนะ 5 ใน 13 = 38%) ต่ำกว่า WCH (ชนะ 4ใน9 = 44%) นั่นหมายความว่า WCH ควรจะมีประสิทธิภาพแต่ละทักษะสูงกว่า VNL อย่างน้อย 15% เพราะการสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้เล่นใกล้เคียงกัน ก็คงเป็นปัจจัยสนับสนุนได้ดีว่านักกีฬาตัวหลักเราค่อนข้างล้าสะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากแรงก็คือฝีมือและฟอร์มของนักกีฬาแต่ละคนเองด้วยซึ่งก็คงไม่ขาดจากกันซะทีเดียว มันเป็นปัจจัยที่ทับซ้อนกันอยู่
4. บล็อก (Block)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาที่ศักยภาพการบล็อก ค่อนข้างมีพัฒนาการที่ดีค่ะ โดยค่าเฉลี่ยนใน WCH อยุ่ที่ 21.2% สูงกว่า VNL (15.5%) ถึง +5.7% โดยนัดที่พบกับโครเอเชียและเกาหลีใต้ทำได้ค่อนข้างสูงถึง 44.4% และ 37.5% และประสิทธิภาพการบล็อก 2 ทีมที่แย่ที่สุดคือวันที่เจอโปแลนด์ทำไป 10.0% เท่านั้น รองลงมาคือนัดเจอโดมิเท่าไป 14.8%
แต่หากวิเคราะห์ลักษณะการเล่น ต้องบอกว่าโปแลนด์และโดมินิกันจะเน้นการเซตบอลเล่นยกสูงชิดเน้นและตบเหนือบล็อกกับทีมไทยเป็นหลักซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างได้ผลเลย แต่อย่างไรก็ตามถึงศักยภาพการบล็อกไทยจะต่ำกว่ามาตรฐานรายการแต่นัดเจอโดมินิกันเราก็สามารถเก็บชัยชนะมาได้
5. เสิร์ฟ (Serve)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับศักยภาพในทักษะการเสิร์ฟ ค่าเฉลี่ย WCH อยู่ที่ 4.1% โดย VNL 3.4% มีพัฒนาการขึ้นมา + 0.7% ถ้าพูดให้เห็นภาพคือทุกๆการเสิร์ฟ 100 ลูก ใน WCH จะได้คะแนนเพิ่มจากการเสิร์ฟ 0.7 คะแนน หรือทุกๆการได้เซต 1 เซตจะได้แคะแนนเพิ่มเซตละ 0.2 แต้ม ก็ต้องบอกว่าทีมไทยแทบไม่มีความแตกต่างในทักษาะการเสิร์ฟในทั้ง 2 รายการ และพิจารณาการแข่งขันแต่ละรอบ รอบแรกนั้นทำได้ดีรอบ 2 ค่อนข้างมาก จากสถิติตรงนี้บอกได้หลายอย่างว่าทีมไทยเลือกใช้แผนการเล่นแบบไหน เลือกเสิร์ฟไปยังตำแหน่งที่ผู้เล่นที่รับได้แย่ที่สุดหรือไม่ หรือเลือกเสิร์ฟไปยังตัวรุกที่อันตรายที่สุดของคู่แข่งเพื่อตัดเกมส์รุก หรือหากเป็นปัจจัยภายนอก ในรอบที่ 2 นี้ ทีมอย่างเยอรมัน เซอร์เบีย และอเมริกา รับลุกเสิร์ฟทีมไทยได้ดีมาก หากใครได้ดูการแข่งขันทุกๆนัดก็จะพบคำตอบตรงนี้ค่ะ
ก็คงต้องเป็นการบ้านสำหรับทีมงานในทักษะการเสิร์ฟว่าในปีหน้า ทีมไทยจะสามารถกดดันคู่แข่งจากการเสิร์ฟได้มากน้อยขนาดไหนและจะมีผู้เล่นที่สามารถ power jump เสิร์ฟแบบหวังผลได้แบบอรอุมาหรือไม่ ณ ขณะนี้ที่ใกล้เคียงที่สุดคงเป็นออมศศิภาพร เพียงแต่น้องยังไม่ใช่ผู้เล่นตัวหลักของทีมในปีนี้ ก็คงต้องรอการเปลี่ยนแปลงในปีหน้าต่อไปค่ะ
6. รับเสิร์ฟ (Reception)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาถึงศักยภาพการรับลูกเสิร์ฟ จะคำนวณจากการรับลูกเสิร์ฟเข้าจุด setter zone (Successful) และตัวเซตสามารถส่งให้ตัวรุกทำคะแนนได้ ค่าเฉลี่ย WCH อยู่ที่ 19.6% และ VNL อยํ่ที่ 26.3% ต่ำลงไป -6.7% ตอนเห็นสถิติก็ค่อนข้างประหลาดใจพอสมควร (เพราะหากเปรียบเทียบข้อมูลแล้วต้องบอกว่ารอบแรก นัดที่ 1 เราแข่งที่สนามเนเธอแลนด์ แต่นัด 2-5 แข่งที่โปแลนด์ ในขณะที่รอบที่ 2 ทั้ง 4 นัดย้ายไปแข่งอีกเมือง เป็นไปได้ว่าคนเก็บสถิติคนละคนกันรึเปล่า? เพราะคะแนนกระจุกแบบมีนัยยะสำคัญ ไม่แน่ใจว่า Successful มีความแม่นยำของโปรแกรมมากน้อยเพียงใด)
ยังไงก็ตามหากเราเชื่อในตัวเลขจากทาง FIVB ว่าถูกต้องแม่นยำจริง สิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้คือจะเห็นว่าในรอบแรกค่าเฉลี่ยการรับลูกเสิร์ฟแบบ Successful ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ยกเว้นนัดที่เจอกับตุรกี แต่ตัวตีเราก็สามาถทำคะแนนโดย %ตบนั้นสูงมาก เท่ากับว่าตัวตีสามารถตีได้คะแนนแม้ลูกที่เซตจะไม่เข้า Setter zone ก็ตาม ส่วนรอบ 2 %การรับเสิร์ฟสูงมากโดยเฉพาะ 3 นัดหลังสุดแต่ %ตบ ในหัวข้อที่ 3 ทำได้แย่กว่าค่าเฉลี่ย แบบนี้ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าตัวตบเราโดยภาพรวมน่าจะล้ามากทีเดียว
ต่อใน คห.1
วิเคราะห์สถิติศักยภาพทีมไทยในรายการชิงแชมป์โลก 2022เทียบกับ VNL 2022 | ปี 2022 นี้ทีมไทยนิวเจนเป็นอย่างไรในเวทีระดับโลก
สำหรับกระทู้นี้จะว่ากันด้วยศักยภาพของทีมโดยภาพรวมของทีมไทยในแต่ละนัดและแยกให้เห็นแต่ละทักษะในรายการชิงแชมป์โลกโดยจะยกค่าเฉลี่ยของ VNL และชิงแชมป์โลก (WCH) มาเปรียบเทียบกันว่าการทำทีมของโค้ชและทีมงานทีมไทยโดยใช้ผู้เล่นนิวเจนทั้งทัวร์นาเม้นเป็นปีแรกนั้นเป็นยังไงบ้าง รวมถึงแสดงให้เห็นว่าในรายการชิงแชมป์โลกนั้นไทยมีพัฒนาการและได้ปรับปรุงข้อบกพร่องจาก VNL ที่แข่งขันห่างกันเพียง 1 เดือนครึ่งหรือไม่ จากสถิติก็พอจะมองภาพออก โดยจะเริ่มกันที่ประสิทธิภาพทีมในรายการชิงแชมป์โลกนี้ก่อนค่ะ
1. ประสิทธิภาพการทำคะแนนเมื่อเทียบกับคู่ต่อสู้ในรายการชิงแชมป์โลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทีนี้เราลองมาดูศักยภาพในภาพรวมของทีมและศักยภาพแบบแยกทักษะทั้งตบ บล็อก เสิร์ฟ ขุด รับเสิร์ฟ และการเซต ในชิงแชมป์โลกแต่ละนัดและเทียบกับภาพรวมของรายการ VNL ว่าจะเป็นยังไง
โดยจะแสดง ค่าเฉลี่ยแต่ละทักษะของ VNL และ WCH ไว้ทางซ้ายมือ สีตามภาพ
สำหรับ VNL แข่งขันรวม 13 แมตช์ คือ 1.บัลแกเรีย 2.เซอร์เบีย 3.เบลเยี่ยม 4.จีน 5.แคนาดา 6.โปแลนด์ 7.ญี่ปุ่น 8.อเมริกา 9.เกาหลี 10.โดมิ 11.บราซิล 12.อิตาลี 14.ตุรกี
สำหรับ WCH แข่งขันรวม 9 แมตช์ คือ 1.ตุรกี 2.โปแลนด์ 3.โครเอเชีย 4.เกาหลี 5.โดมิ 6.แคนาดา 7.เยอรมัน 8.เซอร์เบีย 9.อเมริกา
2. ประสิทธิภาพโดยรวมของทีม (Team Efficiency)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
*สำหรับศักยภาพในแต่ละทักษะจะยังไม่รวม Error แต่จะแยก Error จากการเสียแต้มไว้ในหัวข้อสุดท้าย*
3. ตบ (Attack)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. บล็อก (Block)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. เสิร์ฟ (Serve)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
6. รับเสิร์ฟ (Reception)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต่อใน คห.1