คิดผิดที่เรียน ป.ตรี วิศวะไฟฟ้า แทนที่จะเรียนเพียวฟิสิกส์ครับ

สวัสดีครับ กระทู้นี้ ผมขอเล่าเรื่องราวของตนเองก่อนนะครับ แล้วอยากทราบว่า พอจะมีท่านใดให้คำแนะนำในการเรียน การทำงาน ให้แก่ผมได้บ้างมั้ยครับ
ขอบคุณครับ

ปัจจุบัน ผมกำลังศึกษาในระดับ ป.ตรี วิศวะไฟฟ้า ปี3 เทอม1 ผมรู้สึกคิดผิดที่ผมเลือกเรียนวิศวะ ผมควรจะเลือกเรียนฟิสิกส์ตั้งแต่แรก แต่พอมารู้ตัวอย่างชัดเจนตอนนี้ เมื่อได้กลับมาเรียน on-site เลยยิ่งรู้สึกทรมานครับ แล้วก็คิดว่า ไม่ควรซิ่วด้วยครับ

ตอนนั้นที่ผมกำลังตัดสินใจว่าจะเรียนคณะอะไร ผมไม่น่าคิดเลยว่า ฟิสิกส์หางานยาก แต่พอมาในปัจจุบัน ผมคิดว่า หางานง่าย-ยาก เป็นประเด็นรอง ประเด็นหลักคือ ผมรู้สึกชอบที่ได้ค้นหาความจริงของธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ผมมั่นใจว่า ถ้าผมมีฉันทะ ยังไงผมก็ต้องขวนขวายหาทางทำงานจนได้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผมค่อนข้างมั่นใจในระดับหนึ่งด้วยว่า ทักษะภาษาอังกฤษไม่ได้แย่ โดยเฉพาะทักษะการอ่านจับใจความ เป็นสิ่งที่ผมชอบที่สุด ในบรรดา การฟัง พูด อ่าน เขียน

ตั้งแต่ตอนเด็ก ผมเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมากกว่าทำกิจกรรม เลยไม่ชอบการลงมือปฏิบัติ ไม่ชอบงานช่าง ชอบทางด้านทฤษฎี ผมไม่เกี่ยงเลยว่า คณิตศาสตร์เรื่องนั้นๆจะยากแค่ไหน ลึกแค่ไหน ขอแค่ผมได้นั่งขีดๆเขียนๆ คำนวณ prove derive สมการและทฤษฎี นั่งเชื่อมหน่วยทางฟิสิกส์ เพื่อเป็นการพิสูจน์อีกทางว่า สมการถูกต้องหรือไม่ แบบนี้ ผมรู้สึกมีความสุขครับ

1. ปัจจุบัน ผมได้ซื้อtextbookมาอ่าน ชื่อหนังสือว่า particle physics by martin and shaw

2. ผมได้ลองติดต่อ ขอเข้าฝึกงานที่ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือไม่ก็ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนครับ ซึ่งทั้ง2แห่งนี้ ดีทั้งคู่ ความจริง ผมสนใจทางด้านฟิสิกส์อนุภาค หากได้ฝึกงานที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จะตรงสายมากกว่าครับ แต่ผมเลือกตัดสินใจฝึกงานที่กรมอุตุนิยมวิทยา เพราะสะดวกในการเดินทางมากกว่า + อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ทางด้าน ธรณีฟิสิกส์ ครับ

3. และผมได้ลองติดต่อ อาจารย์ท่านหนึ่งในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่เชี่ยวชาญด้าน elctromagnetic theory อาจารย์ท่านก็เมตตา ให้ผมได้ลองเข้าไปช่วยงาน เรียนรู้ในห้องlabฟิสิกส์ กับ พี่ป.เอก จากภาควิชาฟิสิกส์ครับ

4. ผมได้ลองค้นหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการไปศึกษาต่อที่ผมสนใจคือ ป.โท theoretical particle physics ที่ nagoya university รองลงมาก็ hokkaido university ที่แต่ยังรู้สึกว่า ข้อมูลที่ผมมี วิธี ขั้นตอนการสมัครต่างๆ ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน สำหรับผมอยู่ครับ (รู้แค่คร่าวๆครับ)

ทั้ง4อย่างที่กล่าวมานี้ ทำให้ผมรู้สึกมีความสุขมากยิ่งขึ้นครับ แต่ว่าผมก็ยังรู้สึกทรมานที่ยังต้องเรียนวิศวะต่อไปอยู่ดี

อย่างวิชาบังคับของวิศวะไฟฟ้า อย่างเช่น microprocessor, linear control system ผมรู้สึกทุกข์ใจครับ อย่างlinear control system โอเคที่ว่า มันคือทฤษฎีคณิตตัวนึง แต่ว่ามันก็เป็นคณิตสำหรับที่เอาไว้ใช้ควบคุมระบบครับ ซึ่งไม่ใช่คณิตในทางฟิสิกส์ครับ สำหรับผม จะเอาฟิสิกส์นำ แล้วเอาคณิตตาม ไม่ใช่มีแต่คณิตเพียวๆครับ  อย่างวิชา วัสดุสำหรับวิศวกร วิชานี้ได้ยินเพื่อนบอกว่า เป็นวิชาที่บรรยายเยอะมาก ออกทางแนวเคมี จริงๆผมค่อนข้างความจำดี ไม่มีปัญหากับวิชาความจำ แต่พอรู้ว่า เดี๋ยวเทอมหน้าจะต้องเจอวิชาบรรยาย ตัวอักษรเยอะๆ เลยรู้สึกท้อครับ

ส่วนวิชาเลือกเทอมนี้ ที่ผมรู้สึกว่า ยังไม่ค่อยตอบโจทย์ เช่น industrial automation and control , data communication and network , principle of communication อย่างวิชา principle of communication อันนี้ก็ยังไม่ค่อยตอบโจทย์ผมครับ จริงอยู่ที่ว่า มันมี fourier series ซึ่งแม้แต่ในฟิสิกส์ก็ยังใช้ เช่น ในเรื่องของ yukawa potential แต่วิชานี้ก็เอาพวกfourierมาดัดแปลง ประยุกต์ใช้ในทางสื่อสารครับ ยังไม่ใช่คณิตแบบที่ใช้กับฟิสิกส์ เหมือนที่ผมต้องการอยู่ดีครับ

ไฟฟ้าจะมีอยู่4แขนง ได้แก่ power อิเล็ก control สื่อสาร  นี่ขนาดผมไม่เลือกpower+control   แต่มีความคิดที่จะไปลงเรียนวิชาด้านสื่อสาร+อิเล็ก ก็ยังรู้สึกไม่ตอบโจทย์อยู่ดีครับ

พอผมจะอธิบายฟิสิกส์หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับฟิสิกส์ อย่างเช่น introฟิสิกส์อนุภาค , โฟตอนเป็นอนุภาคไร้มวล แต่ทำไมจึงมีโมเมนตัมและพลังงาน , yukawa potential ไม่ใช่ศักย์ไฟฟ้า แต่คือพลังงานไฟฟ้า ใช่หรือไม่ ประมาณนี้ พอผมไปพูดกับเพื่อนวิศวะ เค้ากลับไม่สนใจ ไม่เข้าใจ ในสิ่งที่ผมต้องการอธิบาย
พอผมไปถามอาจารย์บางท่าน อาจารย์ท่านก็พยายามอธิบาย(อาจจะเป็นข้อจำกัดเรื่องเวลาเรียนในคาบมีจำกัด) แต่ก็ยังเป็นคำตอบสั้นๆ ไม่ลึกพอ ไม่กระจ่างตามมุมมองที่ผมต้องการ อยู่ดีครับ

ผมเลยยิ่งรู้สึกว่า ผมอยู่ผิดที่ครับ

ปล. ผมเคยอ่านประวัติของ paul dirac เดิมทีก่อนที่เค้าจะมาเป็นนักฟิสิกส์ เค้าก็เคยเรียนวิศวะไฟฟ้ามาก่อนครับ แต่เค้าศึกษาฟิสิกส์จากการอ่านหนังสือด้วยตนเอง ส่วนตัวผมให้ paul diracเป็นหนึ่งในบิดาของฟิสิกส์อนุภาคครับ เพราะทฤษฎีของเค้าคือ เอากลศาสตร์ควอนตัม มาmixกับ สัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งจากทฤษฎีนี้ จะเป็นพื้นฐานให้แก่ quantum electrodynamics > quantum chromodynamics > quantum field theory > particle physics & standard model ต่อไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่