1. “เบทาโกร” ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วย 4 กลุ่มธุรกิจ 1. เกษตร อาหารสัตว์ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ 2.อาหารและโปรตีน เนื้อสัตว์ไข่ไก่ อาหารแปรรูป อาหารพร้อมรับประทาน และโปรตีนทางเลือก 3.ต่างประเทศ ประกอบธุรกิจในกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา 4.สัตว์เลี้ยง อาหารและขนมขบเคี้ยว สำหรับสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์ดูแลสัตว์
2. ระดมทุนหุ้น IPO 434.80 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.1% หากรวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน จำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น หรือมูลค่าระดมทุนราว 20,000 ล้านบาท ในกลุ่มอุตสาหกรรม “เกษตรและอาหาร” มีมูลค่าเสนอขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย ถือเป็น IPO มูลค่าระดมทุนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของปีนี้ และยังมีมูลค่าเสนอขายสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในปีนี้
3. เคาะราคาหุ้นละ 40 บาท คิดเป็น P/E 21.9 เท่า หากเทียบ P/E Ratio ของบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกัน 3 บริษัท ได้แก่ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) อยู่ที่ 24.33 เท่า , บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) อยู่ที่ 20.88 เท่า และ บมจ. จีเอฟพีที (GFPT) อยู่ที่ 20.46 เท่า (ข้อมูล ณ ราคาปิด 4 ต.ค.65)
4. เงินระดมทุนขยายธุรกิจ-ก่อสร้างฟาร์ม-โรงงานใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ 8,000 ล้านบาท , ชำระหนี้สั้น-ระยะยาว 8,960-10,500 ล้านบาท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ
5.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิ 6.ภายหลังขาย IPO บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 35% รองลงมา TAE HK สัดส่วน 20% และ 7. จำนวนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period เท่ากับ 212 ล้านหุ้น คิดเป็น 11%
“วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BTG บอกว่า แม้ทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลัง 2565 จะมีสารพัดความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจำนวนมาก ทั้งความผันผวนต้นทุนวัตถุดิบ-ดอกเบี้ยขาขึ้น ทว่าบริษัทมีการบริหารความเสี่ยงไว้หมดแล้ว ดังนั้น การปรับดอกเบี้ยขึ้น มีผลกระทบต่อเราน้อยมาก เพราะหนี้สัดส่วน 40% เป็นดอกเบี้ยคงที่ไว้แล้ว และบริษัทมีสภาพคล่องและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาต่อเนื่อง ทำให้หนี้สินทยอยลดลงต่อเนื่อง
ขณะที่ คาดว่าระดับราคาสินค้ายังยืนในระดับสูง ด้านมีการบริหารต้นทุนวัตถุดิบ และคาดว่าเงินเฟ้อน่าจะอ่อนตัวลง ช่วยเรื่องต้นทุนวัตถุดิบลดลง ทำให้ครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มความสามารถทำกำไรดีกว่าครึ่งปีแรก
“การบริหารต้นทุนการผลิตที่ผ่านมา เราให้ความสำคัญมาโดยตลอด ภาวะวัตถุดิบในไทยและต่างประเทศ ช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาผันผวนมาก แต่เรามีทีมจัดซื้อแข็งแกร่งและมีการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ทำให้ต้นทุนเราดีกว่าในอุตสาหกรรมใช้ดิจิทัล และนวัตกรรมคุมต้นทุนได้อย่างโปร่งใส มีการผลิตที่ดี”
https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1030834
เปิดไฮไลท์หุ้น "เบทาโกร" 7ข้อควรรู้ก่อนลงทุน
2. ระดมทุนหุ้น IPO 434.80 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.1% หากรวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน จำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น หรือมูลค่าระดมทุนราว 20,000 ล้านบาท ในกลุ่มอุตสาหกรรม “เกษตรและอาหาร” มีมูลค่าเสนอขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย ถือเป็น IPO มูลค่าระดมทุนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของปีนี้ และยังมีมูลค่าเสนอขายสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในปีนี้
3. เคาะราคาหุ้นละ 40 บาท คิดเป็น P/E 21.9 เท่า หากเทียบ P/E Ratio ของบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกัน 3 บริษัท ได้แก่ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) อยู่ที่ 24.33 เท่า , บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) อยู่ที่ 20.88 เท่า และ บมจ. จีเอฟพีที (GFPT) อยู่ที่ 20.46 เท่า (ข้อมูล ณ ราคาปิด 4 ต.ค.65)
4. เงินระดมทุนขยายธุรกิจ-ก่อสร้างฟาร์ม-โรงงานใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ 8,000 ล้านบาท , ชำระหนี้สั้น-ระยะยาว 8,960-10,500 ล้านบาท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ
5.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิ 6.ภายหลังขาย IPO บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 35% รองลงมา TAE HK สัดส่วน 20% และ 7. จำนวนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period เท่ากับ 212 ล้านหุ้น คิดเป็น 11%
“วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BTG บอกว่า แม้ทิศทางธุรกิจครึ่งปีหลัง 2565 จะมีสารพัดความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจำนวนมาก ทั้งความผันผวนต้นทุนวัตถุดิบ-ดอกเบี้ยขาขึ้น ทว่าบริษัทมีการบริหารความเสี่ยงไว้หมดแล้ว ดังนั้น การปรับดอกเบี้ยขึ้น มีผลกระทบต่อเราน้อยมาก เพราะหนี้สัดส่วน 40% เป็นดอกเบี้ยคงที่ไว้แล้ว และบริษัทมีสภาพคล่องและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาต่อเนื่อง ทำให้หนี้สินทยอยลดลงต่อเนื่อง
ขณะที่ คาดว่าระดับราคาสินค้ายังยืนในระดับสูง ด้านมีการบริหารต้นทุนวัตถุดิบ และคาดว่าเงินเฟ้อน่าจะอ่อนตัวลง ช่วยเรื่องต้นทุนวัตถุดิบลดลง ทำให้ครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มความสามารถทำกำไรดีกว่าครึ่งปีแรก
“การบริหารต้นทุนการผลิตที่ผ่านมา เราให้ความสำคัญมาโดยตลอด ภาวะวัตถุดิบในไทยและต่างประเทศ ช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาผันผวนมาก แต่เรามีทีมจัดซื้อแข็งแกร่งและมีการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ทำให้ต้นทุนเราดีกว่าในอุตสาหกรรมใช้ดิจิทัล และนวัตกรรมคุมต้นทุนได้อย่างโปร่งใส มีการผลิตที่ดี” https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1030834