🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭2ต.ค.สธ.แจ้งปรับรายงานเป็นรายสัปดาห์/ระบบเฝ้าระวังโควิดพร้อมยกระดับ/หมอ ยง ยก เหตุผลเป็นโรคเฝ้าระวัง

เพี้ยนแคปเจอร์สธ.แจ้งปรับรายงานยอด 'โควิด' เป็นรายสัปดาห์เริ่ม 3 ต.ค.นี้


2 ต.ค. 2565 – “กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข” ประกาศผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 โรคโควิด 19 ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งกำหนดให้มีการรายงานโรคเป็นรายสัปดาห์ โดยเริ่มรายงานครั้งแรกวันที่ 3 ตุลาคม 2565”

ทั้งนี้ จะทำให้หลังจากนี้การรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 และตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะดำเนินการรายงานผ่านช่องทางสื่อสารของกรมควบคุมโรคเองเป็นรายสัปดาห์ โดยจะเริ่มรายงานครั้งแรกในวันที่ 3 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

https://www.thaipost.net/covid-19-news/234125/

เพี้ยนปักหมุดเพิ่มระบบเฝ้าระวัง "โควิด" กลุ่มเสี่ยง-สถานที่เสี่ยง 8 จังหวัด เจอสัญญาณผิดปกติ พร้อมยกระดับ
กรมควบคุมโรคเผยเฝ้าระวัง "โควิด" จากนี้ทุกจังหวัดต้องติดตามผู้ป่วยเข้า รพ. การระบาดในชุมชน เฝ้าระวังสายพันธุ์ พร้อมกำหนด 8 จังหวัด เฝ้าระวังเข้มขึ้นในกลุ่มเสี่ยง-สถานที่เสี่ยง ติดตามถึงปลายปีประเมินสถานการณ์ รายงานทุกสัปดาห์ หากพบสัญญาณเตือนอาจยกระดับมาตรการ
เมื่อวันที่ 2 ต.ค. นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า มาตรการเฝ้าระวังโควิดหลังจากนี้ สธ.ระบบเฝ้าระวังไว้ 3 ระบบที่ทุกจังหวัดต้องมี คือ...👇👇👇

1.ติดตามผู้ป่วยที่เข้ารักษาใน รพ.

2.การระบาดในชุมชน

และ 3.เฝ้าระวังสายพันธุ์

อย่างไรก็ตาม จะเพิ่มระบบที่ 4 คือ การเฝ้าระวังในประชากรเสี่ยงและสถานที่เสี่ยง (Sentinel surveillance) เพื่อให้ระบบที่มีเข้มข้นมากขึ้น โดยจะติดตามข้อมูลในจังหวัดท่องเที่ยว จังหวัดที่มีความเสี่ยงที่จะระบาด มีแรงงานต่างด้าวเยอะ

"เบื้องต้นเลือกมา 8 จังหวัด เช่น กทม. และจังหวัดอื่นภาคละ 2 จังหวัด แต่อาจจะมีการติดตามข้อมูลในจังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อม หรือจังหวัดที่เห็นความสำคัญอาจทำคู่ขนานกันไป คาดว่าอาจเก็บข้อมูลไปจนถึงปลายปี 2565 เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยย้ำว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน" นพ.โสภณกล่าว

นพ.โสภณกล่าวว่า 8 จังหวัดนี้จะเป็นเหมือนสัญญาณเตือน หากมีโอกาสเกิดการระบาดในระยะข้างหน้า รวมถึงเฝ้าระวังเชื้อว่าจะเป็นสายพันธุ์เดิมหรือสายพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ระบบเฝ้าระวังสมบูรณ์มากขึ้น โดยจะสรุปข้อมูลเป็นรายสัปดาห์เหมืนโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังอื่นๆ เช่นโรคไข้หวัดใหญ่ เพราะโรคไม่ได้เปลี่ยนแปลงเร็วเหมือนช่วงแรก เพราะคนมีวัคซีน บางส่วนติดเชื้อตามธรรมชาติ ดังนั้น ความเสี่ยงที่จะระบาดเร็วก็จะน้อยลง เว้นแต่จะมีเชื้อใหม่

เมื่อถามว่าการติดตาม 8 จังหวัดนี้จะดูข้อมูลใด เพื่อประเมินว่าสถานการณ์นิ่งหรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า สัญญาณจะดูได้จาก 1.อัตราตรวจพบเชื้อ เช่นเก็บตัวอย่างมาแล้วพบติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ และ 2.นำเชื้อที่ได้ไปตรวจหาสายพันธุ์ว่าต่างจากเดิมหรือไม่ หากมีการติดเชื้อในเปอร์เซ็นต์ที่สูงก็อาจมีการยกระดับมาตรการได้ ปัจจุบันเราเข้มงวดบางกิจกรรม เช่น ขนส่งสาธารณะ สถานพยาบาล สถานดูแลผู้สูงอายุ/เด็ก ดังนั้น ถ้ามาตรการไม่เพียงพอ เกิดการระบาดก็อาจขยับให้เข้มข้นขึ้นได้ อย่าลืมว่าทั่วโลกมองโควิดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจหนึ่ง ประเทศต่างๆ ไม่มีอะไรที่เป็นพิเศษ

https://mgronline.com/qol/detail/9650000094516

เพี้ยนสายแล้ว"ยิ้มง" ยก 8 เหตุผลจับโควิด-19 เป็นแค่โรคประจำฤดูกาล หรือโรคที่ต้องเฝ้าระวัง



ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ยก 8 เหตุผลที่ทำให้โรคโควิด-19 เป็นเพียงแค่โรคประจำฤดูกาล หรือโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ชี้โรคไม่มีวันหมดไป ยังต้องปฏิบัติตนให้แข็งแรงลดการแพร่กระจายโรค

วันนี้ (2 ต.ค.) เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความ ระบุ "โควิด-19 เป็นโรคประจำฤดูกาล หรือโรคที่ต้องเฝ้าระวัง" โดยได้ระบุข้อความว่า....👇👇👇

"เมื่อ covid 19 เป็นโรคประจำฤดูกาลหรือโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ อีกหลายรอบ ทั้งนี้เพราะ

1. ประชากรส่วนใหญ่มีการติดเชื้อไปแล้ว น่าจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ร่วมกับการได้รับวัคซีนเป็นบางส่วน เมื่อรวมผลภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนและการติดเชื้อ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง

2. ประชากรที่ได้รับวัคซีน ไม่ว่าจะได้กี่เข็ม ก็สามารถติดเชื้อได้ แต่ความรุนแรงลดลงเป็นที่ยอมรับได้ ต่อไปเราจะมุ่งเน้น เรื่องของการกระตุ้นด้วยวัคซีนเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

3. การระบาดของโรคนี้จะอยู่ในรูปแบบของโรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล จะระบาดมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกันยายน แล้วก็จะลดลงเป็นประจำทุกปี และจะไประบาดเพิ่มอีกครั้งหนึ่งแต่ไม่สูงมากในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แล้วจะเป็นวงจรเช่นนี้ทุกปี การลดลงของโรคตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม เป็นเหตุปัจจัยปกติของโรคประจำฤดูกาล ทุกปีอยู่แล้ว เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

4. การให้วัคซีนในอนาคต ไม่มีวัคซีนไหนเป็นวัคซีนเทพ อย่างที่เคยเรียกร้อง วัคซีนทุกตัวไม่ต่างกันเลย และวัคซีนที่ควรให้ก่อนฤดูฝน เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นในฤดูฝน และกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มแรกที่ควรจะได้รับวัคซีนเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ วัคซีนในอนาคตไม่ว่าจะเป็น 2 สายพันธุ์หรือ 3 สายพันธุ์ ก็เป็นเพียงแค่ลดความรุนแรงของโรคเท่านั้น ไม่ได้หวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

5. ในผู้ที่ติดเชื้อและเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรได้ยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุดทันทีที่ตรวจเอทีเคเป็น 2 ขีด ถ้าให้เร็วจะลดระยะเวลาการดำเนินโรคลงได้ 3 วัน

6. ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ และในอนาคตเมื่อประชากรส่วนใหญ่มีพื้นฐานภูมิต้านทาน ความรุนแรงของโรคในกลุ่มที่มีร่างกายแข็งแรงปกติจะน้อยลง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

7. ในอนาคตที่แย่งกันจองวัคซีนจากต่างประเทศจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะไม่มีวัคซีนไหนเป็นวัคซีนเทพ ซึ่งขณะนี้วัคซีนที่อยู่ในประเทศไทยก็มีเหลือเป็นจำนวนมากมาย และในที่สุดก็จะต้องหมดอายุไปตามกาลเวลา โรงงานวัคซีนหลายแห่งลดการผลิต บางแห่งก็ปิดไปก็มี

8. การปฏิบัติตนให้แข็งแรง ป้องกันโรค ลดการแพร่กระจายโรค อย่างที่เรารู้จะช่วยลดการระบาดของโรคลง แต่ไม่สามารถที่จะทำให้โรคหมดไป และเราจะต้องอยู่ด้วยกัน ด้วยความจริง และเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน ยาที่ใช้รักษาก็จะดีขึ้น โควิด-19 จะเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง"

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000094428

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....

วันนี้ไม่มีรายงานผู้ป่วยนะคะ  สธ.ปรับเป็นรายสัปดาห์แล้ว
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8

เมื่อโควิดเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
แล้วเราต้องทำตัวอย่างไร?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid09tPSoz4wqeA1mz65kuxfp2gfrPUvVevkzQg4LUeZSiyfPRA7jt2jPcGXybwA1cmgl


ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
โรคโควิด 19 ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งกำหนดให้มีการรายงานโรคเป็นรายสัปดาห์ โดยเริ่มรายงานครั้งแรกวันที่ 3 ตุลาคม 2565
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02UyEN4oQdS7wGm5sQtjJ1NTaBvSD1eJHbPLBZWtTHWW9wMDyceUWoX3pRSqJWCiG5l&id=100068069971811


ครม. ไฟเขียวงบกว่าพันล้านบาท เป็นค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ฯ (เพิ่มเติม) - จัดซื้อยารักษาผู้ป่วยโควิด

ที่ประชุม ครม. (27 ก.ย. 65) อนุมัติการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง ตามที่ ก.สาธารณสุขเสนอ 2 รายการ ประกอบด้วย

• รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็น จำนวน 986.452 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มต่าง ๆ (เพิ่มเติม) ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันภัยโควิด-19 และดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงเดือน ต.ค. 64 - มิ.ย. 65

• รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 365.681 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโควิด-19 สำหรับหน่วยบริการสุขภาพ ก.สาธารณสุข ประกอบด้วยการจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ 25.739 ล้านเม็ด, ยาโมลนูพิราเวียร์ 1.03 ล้านเม็ด และยาเรมเดซิเวียร์ 1,220 ขวด

อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59720
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid02MtAVBxaw3rhdtKDHNn4iqWvwW1VSca9uRVDrMuXHPaZ4mSBNS41LDxjpGDVUQGW4l


นายกฯ ขอบคุณจนท.ทุกหน่วยงานรัฐ จิตอาสา หลังปิดศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ช่วยประเทศผ่านพ้นวิกฤต

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา รวมระยะเวลาให้บริการประชาชน 477 วัน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนจิตอาสาทุกคน ที่ได้ร่วมกันปฏิบัติงานให้บริการกระจายวัคซีนให้ประชาชน 3 ล้าน 3 แสนคน รวมวัคซีนกว่า 6 ล้าน 5 แสนโดส

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 รัฐบาลได้ประกาศให้โควิด19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และมาตรการทางสังคมต่างๆ มีความผ่อนคลายมากขึ้น แต่ยังคงแนะนำประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่แออัด ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อโรค
รวมทั้ง รัฐบาลยังคงรณรงค์ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีน โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยรับวัคซีน ขอให้เข้ารับวัคซีนโดยด่วน ขณะผู้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ก็ขอให้เข้ารับเข็มกระตุ้น เพื่อลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิต

ประชาชนสามารถติดต่อรับวัคซีนในสถานบริการใกล้บ้าน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้กระจายวัคซีนไปยังโรงพยาบาล สถานพยาบาลเครือข่ายทุกจังหวัด โดยประชาชนเข้ารับวัคซีนได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สถาบันโรคผิวหนัง ยังได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนสำหรับบุคคลอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทั้งรูปแบบจองคิวฉีดล่วงหน้า และลงทะเบียน ณ จุดฉีด (Walk in) ณ ห้องประชุมชั้น 20 สถาบันโรคผิวหนัง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยให้บริการวันเสาร์ ที่ 1, 8, 29 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 -15.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์ที่ 15 และ 22 ตุลาคม งดบริการเนื่องจากเป็นวันหยุดยาว)
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02TtmD6shYQTM7JyHJBgvXU6afyRe6HokG22qDX1VSRCfwqFJSxDL7Q6zPzgQAG1pal
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่