ตัดสินใจลาออกจาก ป.โท ภาคปรัชญา จุฬาฯ

ตามชื่อนี้เลย ตอนแรก เรากะจะเรียนต่อจนจบ เพราะปรัชญาเป็นวิชาที่เราเลือกเรียนเป็นวิชาโท สมัยอยู่ ป.ตรี แล้วรู้สึกดี ได้ขบคิด เราเลยตัดสินใจสอบเข้า ป.โท ภาควิชาปรัชญา ของที่นั่น โดยที่นั่นรับเด็กเข้าไปเรียนเพียงแค่ 10 คน ก็สอบข้อเขียน ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ปรากฏว่าเราก็ผ่านทั้งสองรอบ ประกาศรายชื่อออกมา เราติดคนที่ 11 ซึ่งก็คือคนสุดท้ายนั่นเอง -- หลังจากนั้นเราก็เข้าซูมสอบสัมภาษณ์ กรรมการก็ถามตามปรกติ จบจากที่ไหนอะไรอย่างไง เขาก็ดูแฮปปี้ดี กระทั่งหลังสอบเสร็จ ปรากฏว่า มีคนสอบติดแค่ 8 คน ซึ่งเราติดคนสุดท้ายพอดี (ตอนนั้นเราก็เริ่มทำงานจากที่เก่าด้วย)
.
ด้วยความอยากเรียนต่อ ป.โท เราจึงเข้าไปอ่านรายละเอียดของทุน เราเลยดาวน์โหลดแบบฟอร์มของทุน กรอกใบสมัคร เพื่อส่งไปให้ทางภาควิชาดำเนินเรื่องให้หัวหน้าภาคเซ็นชื่อ พร้อมส่งเรื่องไปยังบัณฑิตวิทยาลัย -- แล้วอาจารย์ก็เริ่มติดต่อให้เรามานั่งคุยก่อนส่งเรื่อง
.
สิ่งที่เขาเรียกเรามาคุยก็คือ เขาบอกว่าไม่ติดที่เราจะขอทุน แต่คิดดีแล้วหรอที่จะสมัคร เพราะต้องบอกก่อนว่าภาควิชาเขา ให้โอกาสด้วยการรับเด็ก 2 คนเข้ามา ซึ่งตัวเราเป็น 1 ใน 2 ที่พวกเขาจับตาดูเป็นพิเศษ เลยเป็นห่วง และเขาก็บอกว่า คะแนนเราตอนสอบเข้ามาได้ น่าเป็นห่วง คำถามตอนนั้นก็คือ ทำไมเขาถึงเลือกรับเราเข้ามา ถ้าไม่มั่นใจว่าเราจะเรียนไหว --- เราจึงคาดเดาได้ว่า รายชื่อที่เรียงตามลำดับ นั้นเรียงตามคะแนน --- แล้วเขาก็โหลดรายละเอียดสัญญาทุนขึ้นมา แล้วเน้นย้ำไปที่ 'สัญญาการระงับทุน' --- ซึ่งก่อนหน้าที่เราจะสมัคร เราได้อ่านอยู่แล้วว่าจะต้องเจออะไรบ้าง ย้ำเหมือนกับจะบอกว่า อย่างเธอไม่รอดหรอก อะไรแบบนั้น --- แม้เราจะรู้สึกไม่พอใจ เราก็เก็บความรู้สึกไว้ แล้วตามน้ำแกไป แกก็เซ็นให้ แล้วก็ส่งเรื่อง (ในใบนั้น เราขอทั้งทุนค่ากินและค่าเทอมเต็มจำนวนไว้)
.
แน่นอนว่าหลังจากนั้น เราทำงานประจำไปได้สักระยะหนึ่ง เราก็ทำเรื่องลาออก เพื่อไปเรียนที่จุฬาฯ แต่การลาออกไปครั้งนี้ เราก็ต้องแบ่งเวลาเรียนและทำงานฟรีแลนซ์ไปด้วย -- เรารู้ว่ามันลำบาก แต่ก็อยากจะรู้ เพราะถ้าไม่เวิร์ก เราจะได้กลับมาหางานประจำทำ
.
เมื่อเปิดเทอมมา เรียนไปได้สัปดาห์แรก เจออาจารย์ แนะนำตัว --- ก็จะมีเด็กในรุ่นเหลือเพียง 6 คน และเด็กในรุ่นเวลาสงสัยอะไรทเขาก็จะถามอาจารย์ และอาจารย์ก็จะตอบทันที แต่พอถึงตาเราถาม กลับใช้เวลานานมาก กว่าจะตอบเรา หรือบางทีเราถามอะไรไป เหมือนลอยอยู่ในอากาศ --- เป็นแบบนี้กับอาจารย์เกือบทุกคนเลย 
.
ตอนนั้นเราก็ไม่อะไร อยากจะพยายามพิสูจน์ตัวเองให้อาจารย์ได้เห็น ไม่รู้ได้ว่าเพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น แต่คิดแค่ว่า มันอาจมาจากที่เราขอทุนจุฬาฯหรือเปล่า --- เรียนไปได้สักระยะ เรายอมรับนะว่าทำการบ้านแบบฝึกส่งอาจารย์ในบางวิชา (แบบฝึกไม่เก็บคะแนน) และทำออกมาได้ไม่ค่อยดี เขาก็เริ่มที่จะไม่ตรวจการบ้านของเรา เมื่อคนอื่น ๆ เริ่มถกเถียงเรื่องทางปรัชญา เพื่อรอเวลาให้เด็กคนอื่น ๆ มาจนครบ เด็กคนแรก คนที่สอง เขาจะเรียกชื่อ พอเราซึ่งเป็นคนที่สามถาม เขาก็พูดคุยตามปรกตินะ แต่พอมีเด็กเข้ามาในห้องเพิ่ม เขาก็จะบอกว่าตอยนี้เราถกเถียงอะไรไป คนแรกว่ามางี้ คนที่สองว่ามางั้น แต่เราซึ่งเป็นคนที่สาม เลี่ยงที่จะไม่เอ่ยชื่อ 
.
เราคิดว่านี่เป็นสัญญาณแล้วล่ะ ที่เขาไม่ยอมรับในตัวเรา ว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชา --- ตอนนั้นบัณฑ ตวิทยาลัยก็ประกาศรายชื่อออกมา ปรากฏว่า เราติดสอบสัมภาษณ์ทุน รอบที่ 3 ซึ่งมีคนสมัครกว่า 100 คน 
.
แล้ววันนั้นก็มาถึง เราสอบสัมภาษณ์อะไรไปกับทางกรรมการ พูดว่าจะทำหัวข้ออะไร มีอาจารย์ที่ปรึกษาหรือยัง ? เราก็บอกว่า มีคุยกับอาจารย์บ้างแล้ว แล้วจะืำืำหัวข้อนี้ --- เราเลือกที่จะทำหัวข้อ แนวคิดต่อต้านการมีลูก -- เพราะมันเข้ากับสภาพสังคมของไทยในปัจจุบันมาก ให้เด็กเกิดมาในยุคนี้เหมือนเป็นบาป อะไรแบบนั้น --- เขาก็สนใจหัวข้อเรานะ 
.
จนล่าสุด ผลปรากฏว่า เราติดทุน แทบจะคนสุดท้ายเลย แต่เสียดาย ที่ได้แค่ค่าเทอมเรียนฟรี แต่ไม่ได้ค่ากินด้วย มันเลยทำให้เรากลับไปนั่งคิดแล้วว่า ถ้าไปต่อ คงเสี่ยงมากที่จะไม่มีเงินใช้ชีวิต และเป็นไปได้ที่จะเรียนแล้วไม่รอดจนจบ
.
นั่นแหละทำให้อาจารย์ในภาควิชาบางคนเริ่มมาพูดคุยกับเรา อาจารย์คนหนึ่ง มาซื้อข้าวในโรงอาหาร เราก็ซื้ออาหารมากินเหมือนกัน เขาก็ถามเราว่า เรียนเป็นไงบ้าง วิชาไหนยากสุด จบจากที่ไหนมา ซึ่งเราก็ไม่อยากบอกเท่าไหร่ว่าจบจากที่ไหน เพราะเรามองว่า มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ก็ตอบไปตามน้ำ ณ เวลานั้นเรารู้สึกดีขึ้น
.
จนกระทั่งเราสอบกลางภาควิชา ๆ หนึ่ง สอบตรรกวิทยาสัญลักษณ์มั้ง (เป็นวิชาที่ไม่คิดเกรด ประเมินแค่ 'ผ่าน' หรือ 'ไม่ผ่าน') แรก ๆ เราทำได้นะ แต่พอมาเป็นข้อท้าย ๆ เราทำแทบไม่ได้ และทำไม่ทันด้วย --- เราเลยเห็นแววละ ว่าไม่น่ารอด หากจะทำงานไป เรียนไปด้วยในภาคนี้ ร่วมกับความเชื่อมั่นของอาจารย์ที่มีต่อตัวเรา --- เรารู้สึกเหมือนอยู่ในสถานะที่ต่ำกว่าเด็กคนอื่น ๆ ในภาควิชา
.
นั่นแหละ ทำให้เราตัดสินใจ ไม่เรียนต่อละ และคิดถึงตอนทำงาน คือเลิกงาน ก็มีชีวิตหลั่นล้า ได้เงินเดือน กินเที่ยวได้ --- บวกกับปัญหาเรื่องพี่สาวที่ต้องแบกรับภาระจากพ่อแม่ที่เราหนีเขามาอีก เพราะเราจะให้พี่สาวเราค้ำประกัน แต่นั่นก็เสีายงต่อพี่เรามาก หากเราเรียนไม่จบ แล้วไม่มีเงินชดใช้ให้จุฬาฯ ซึ่งรวมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี เราเลยออกมาทำงานเหมือนเดิม ได้ใช้เวลาว่างไปเที่ยวกับคนที่เรารัก --- จากแต่เดิมแทบไม่มีเวลาให้เขา เพราะเราทั้งทำงาน ทั้งอ่านหนังสือ Text Eng ล้วนของปรัชญา ทั้งต้องแบ่งเวลาไปสอนพิเศษเด็กตามบ้านอีก เราเริ่มมีปัญหากับเขามาได้สักระยะแล้วล่ะ เราไม่อยากให้เป็นแบบนั้น
.
เราเสียดายนะ ร้องไห้เลยล่ะ แต่เราก็ต้องทิ้งมันไป เพื่อรักษาตัวให้รอดต่อไป 
.
เราได้ค้นพบบางอย่างว่า การเรียนที่ดี ไม่ควรทำให้เราต้องรู้สึกทรมานถึงเพียงนั้น เราคิดว่า ทรมานเรื่องเรียนยังพอว่า แต่ให้มาทรมานเรื่องคน เราว่านั่นเป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ เราคิดว่านี่คงไม่ใช่ทางของเราจริง ๆ แหละ เรายอมรับแล้วจริง ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่