@@@@ การทำประมงอย่างยั่งยืน ภายใต้ รบ.บิ๊กตู่ @@@@

จากแรงกดดันของนานาชาติ ต่อประเทศไทยในประเด็นของการทำประมงที่ผิดกฎหมายนานาชาติ และไม่ได้รับการยอมรับจาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization; FAO) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สหภาพยุโรป (EU) กําหนดมาตรการเพื่อป้องกันและขจัดการทําประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated fishing; IUU) ซึ่งมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าประมงรายใหญ่สู่สหภาพยุโรป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายการประมง ให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานใหม่ของยุโรปและสหประชาชาติด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ มาตรฐานใหม่เพื่อการป้องกันและการขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายนั้น สุดท้ายแล้ว เป็นผลดีกับประเทศไทยเอง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ, ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้แก่วิสาหกิจชุมชนชาวประมงรายย่อยได้อีกด้วย

รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการประมงไทย ให้เป็น “การทำประมงอย่างยั่งยืน” เพื่ออนาคตทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง, ทรัพยากรธรรมชาติที่มั่นคง และวิถีชีวิตของชาวประมงที่ยั่งยืน

จากข้อมูลสถิติย้อนหลังของกลุ่มสถิติการประมง กรมประมง จะเห็นได้ว่า ในปี พ.ศ. 2556 ก่อนที่รัฐบาลพลเอกเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจะเข้ามาบริหารงาน จำนวนเรือประมงขึ้นทะเบียนมีเพียง 16,548 ลํา แต่ล่าสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 มีจำนวนเรือประมงขึ้นทะเบียนแล้ว 60,713 ลำ เพิ่มมากขึ้นถึง 3.67 เท่า

สำหรับปริมาณการทำประมงในประเทศไทย นับตั้งแต่ที่ถูกกีดกันทางการค้า และเริ่มการปฏิรูปการทำประมง จะทำให้ปริมาณการทำประมงลดลงมาก็จริง แต่แนวโน้มการทำประมงของไทยกำลังอยู่ในช่วงที่กำลังปรับตัวดีขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2564 ประมงไทยสามารถจับสัตว์น้ำได้ถึง 1.63 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปริมาณเมื่อไทยเริ่มปฏิรูปการประมงแล้ว และมีแนวโน้มที่จะดีมากขึ้นกว่าเดิม

ผลจากการปฏิรูปการประมงไทย ของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้มาตรฐานการประมงไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากลของสหประชาชาติ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในโลก อีกทั้งยั้งช่วยฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของชาติ สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้แก่วิสาหกิจชุมชนชาวประมงรายย่อยและชาวประมงท้องถิ่น สร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศทั้งในทางเศรษฐกิจ, วิถีชีวิตชุมชน และทรัพยากรทางทะเลของชาติได้อย่างยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่